คำสั่งกระทรวงการคลัง 671/2565

คปภ. เปิดเผยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนธุรกิจ "อาคเนย์ประกันภัย-ไทยประกันภัย" มีผลตั้งแต่วันนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

01/04/2022


นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีผลตั้งแต่วันนี้ (1 เม.ย. 2565)

สำหรับการออกคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 670/2565 และคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 671/2565 อาศัยอำนาจมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งงเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะเข้ามาเป็นผู้ชำระบัญชีและดำเนินการจ่ายเคลมสินไหมให้กับผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนใบอนุญาตทั้งสองบริษัท

ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องมีคำสั่งเพิกถอน เนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่ยังยืนยันไม่สนับสนุนเงินเพิ่มทุนต่อเนื่อง ทำให้มีผลกระทบต่องบการเงินทั้งสองบริษัทเป็นอย่างมาก มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน และไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ตามกฎหมาย และมีสินไหมค้างจ่ายประกันภัยโควิดอีกเป็นจำนวนมาก อาคเนย์ประกันภัยมีสินไหมค้างจ่าย 1.35 หมื่นล้านบาท และไทยประกันภัย มีสินไหมค้างจ่าย 4.60 พันล้านบาท รวมเป็น 1.81 หมื่นล้านบาท

สำหรับกรมธรรม์ประกันโควิดส่วนที่เหลือจะถูกถ่ายโอนไปยังกองทุนประกันวินาศภัย และในวันจันทร์หน้า (4 เม.ย. 2565) จะหารือกับบริษัทประกันภัย จำนวน 15 บริษัท เป็นบริษัทประกันวินาศภัย 10 บริษัท และประกันชีวิต 5 บริษัท เข้ามาดูแลกรมธรรม์ไม่ใช่โควิดที่เหลือ 269 ราย หรืออาจจะมีการเจรจาคืนเบี้ยประกัน

  • คำสั่งกระทรวงการคลัง 671/2565

    WHO เตรียมยกเลิกภาวะฉุกเฉิน “โควิด-ฝีดาษลิง” ปี 66

  • คำสั่งกระทรวงการคลัง 671/2565

    SPA รายได้บริการ “สปา” ฟื้น หนุนไตรมาส 3 ขาดทุนลดลงเหลือ 15 ล้าน

Tags

เพิกถอนใบอนุญาต สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ไทยประกันภัย คปภ. อาคเนย์ประกันภัย สุทธิพล ทวีชัยการ โควิด19

คปภ.ตั้งศูนย์ทั่วประเทศให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียน และอำนวยความสะดวกทุกพื้นที่ โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะเข้ามารับช่วงจ่ายเคลมอย่างเป็นธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 670/2565 และคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 671/2565 ลงวันที่ 1 เมษายน 2565 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย เพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลกระทบไว้แล้ว ดังนี้

1.ร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) และบริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต ดังนี้

- ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายและได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว กับบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สามารถติดต่อกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยตามที่ประกาศกำหนด โดยกองทุนประกันภัยวินาศภัยจะเข้ารับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้มีการอนุมัติค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว   

 -ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้กับทั้งสองบริษัท สามารถติดต่อกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยตามที่ประกาศกำหนดโดยกองทุนประกันวินาศภัยจะพิจารณาค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย

- ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภทของทั้งสองบริษัท สามารถที่จะดำเนินการในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ดังนี้ 

ในกรณีขอรับคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วนระยะเวลาตามความคุ้มครองที่เหลืออยู่ 

3. มีการจัดเตรียมสถานที่ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้แก่

-กองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2791-1444 ต่อ 26-30

สำนักงาน คปภ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากกองทุนประกันวินาศภัยทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรับเอกสารหลักฐานการขอรับชำระหนี้แล้วส่งต่อให้กองทุนประกันวินาศภัยต่อไป โดยผู้เอาประกันภัยสามารถยื่นได้ทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด ดังนี้ 

ในส่วนกลาง ยื่นได้ 3 แห่ง ประกอบด้วย 

- สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง เลขที่ 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-2515-3999 หรือ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ chatbot “คปภ. รอบรู้”([email protected]) 

-สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2476-9940-3 

-สำนักงาน คปภ. เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนาตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2361-3769-70 ในส่วนภูมิภาค สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ที่สำนักงาน คปภ. ภาคและสำนักงาน คปภ. จังหวัด ทั่วประเทศ

4.สำนักงาน คปภ. ได้พัฒนา Web Application โดยเฉพาะขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เอาประกันภัยของทั้งสองบริษัทได้รวดเร็วขึ้น โดยระบบจะแจ้งข้อมูลไปยังผู้เอาประกันภัยทางออนไลน์ 

 5. สำนักงาน คปภ. มีการบูรณาการความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยจัดเตรียมหมายเลขโทรศัพท์รวม 124 คู่สายทั่วประเทศ เพื่อตอบข้อซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ ในช่วง 7 วันแรก นับแต่วันที่มีการเพิกถอนใบอนุญาตของทั้งสองบริษัท ได้มีการให้บริการโทรศัพท์ผ่านสายด่วน คปภ. 1186 จำนวน 10 คู่สาย ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ หากเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของทั้งสองบริษัท ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้

1) กรมธรรม์ประกันภัย

2) บัตรประจำตัวประชาชน

3) ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ และ

4) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

และหากเป็นเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้นำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้

1) หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้

2) บัตรประจำตัวประชาชน

 3) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

ในกรณีที่หากเจ้าหนี้ไม่สามารถยื่นได้ด้วยตนเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของทั้งสองบริษัทฯ

6.รวมทั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 สำนักงาน คปภ. ได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เพื่อสอบสวนว่ามีกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทรายใดบ้างที่กระทำการเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย 

7.สำนักงาน คปภ. จะจัดให้มีทีมการตรวจสอบพิเศษ (Special Audit) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกรณีที่บริษัทมีการโอนกรมธรรม์ไปยังบริษัทประกันภัยอื่น ในช่วงก่อนที่มีคำสั่งนายทะเบียนตามมาตรา 52 สำหรับรายชื่อบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ สามารถดูได้จากเว็บไซต์สำนักงาน คปภ. หรือสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Line [email protected] ข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง