ปริมาณปัสสาวะปกติ ต่อชั่วโมง

ในหนึ่งวัน เราควรเข้าปัสสาวะเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย และมีการขับถ่ายอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่หากการปัสสาวะของคุณมีความผิดปกติ ต้องแวะหาห้องน้ำอยู่บ่อยๆ เมื่อเปรียบเทียบกับคนข้างๆ ที่อยู่ด้วยกัน นั่นอาจหมายถึงคุณกำลังเสี่ยงโรคร้ายอยู่ก็เป็นได้

ปัสสาวะบ่อยแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ปกติ”

ปกติใน 1 วัน เราควรปัสสาวะในตอนกลางวัน 3-5 ครั้ง และตอนเย็นจนถึงก่อนนอนอีก 1-2 ครั้ง รวมเป็น 5-7 ครั้งต่อวัน ปริมาณของปัสสาวะแต่ละครั้งอยู่ที่ราวๆ 400-500 ซีซี หรือประมาณ 1 แก้วขนาดปกติ

ปัสสาวะที่ผิดปกติ

นอกจากเรื่องของสีปัสสาวะที่อาจสามารถบอกโรค หรืออาการผิดปกติของร่างกายได้แล้ว จำนวนครั้ง และปริมาณก็สำคัญเช่นกัน หากใน 1 วันปัสสาวะน้อยกว่า 3 ครั้ง และปัสสาวะมีสีเข้ม ก็ถือว่าปัสสาวะน้อยเกินไป หมายถึงดื่มน้ำน้อยเกินไป แต่หากปัสสาวะมากกว่า 7 ครั้ง และปริมาณของปัสสาวะออกมากะปริดกะปรอย แปลว่าอาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับไต

>> ปัสสาวะผิดปกติ เสี่ยง “โรคไต”

โรคอันตรายที่มีอาการ “ปัสสาวะบ่อย”

คนที่มีอาการปัสสาวะบ่อย อาจมีความเสี่ยง

  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • เบาหวาน
  • เบาจืด
  • ไตอักเสบ ไตเสื่อม
  • นิ่ว หรือก้อนบริเวณใกล้ๆ กระเพาะปัสสาวะ
  • ต่อมลูกหมากโต

>> “ปัสสาวะบ่อย” สัญญาณ 8 โรคอันตรายที่อาจคาดไม่ถึง

ดังนั้น นอกจากการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันแล้ว ยังต้องสังเกตพฤติกรรม และลักษณะของปัสสาวะของตัวเองอยู่เรื่อยๆ ด้วย เพราะเรื่องขับถ่ายเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงไม่ควรมองข้าม และหากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ ใครว่าไม่จำเป็น


ผศ.นพ.ชัยเลิศ พงษ์นริศร

หัวหน้าหน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน      

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รหัสเอกสาร SD-HA-IMC-097-R-00

อนุมัติวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559

เรื่องที่คุณผู้หญิงควรรู้ ถ้ามีปัญหาเรื่องขับถ่ายปัสสาวะ

      1. การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะคืออะไร ?

      2. คุณจะกลับมาควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะให้ดีเหมือนเดิมได้อย่างไร ?

      3. ทำอย่างไรเพื่อเอาชนะอาการปัสสาวะบ่อย ?

      4. ทำอย่างไรเพื่อเอาชนะอาการปวดปัสสาวะรีบและปัสสาวะเล็ดราด ?

      5. ทำอย่างไรให้ฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะประสบความสำเร็จ ?

    บทนำ



          สตรีจำนวนมากประสบปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะในบางช่วงของชีวิต ปัญหาที่พบบ่อยๆ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะรีบ และปัสสาวะเล็ดราด โดยทั่วไปถือว่าปัสสาวะบ่อยเมื่อคุณต้องถ่ายปัสสาวะเป็นจำนวนเกินกว่า 7 ครั้งต่อวัน หากคุณต้องตื่นขึ้นมาเพื่อไปถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า ภาวะปัสสาวะบ่อยกลางคืน (Nocturia) ส่วนอาการปวดปัสสาวะรีบ (Urgency) คือ ความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะอย่างมากที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและไม่สามารถรั้งรอต่อไปได้ ต้องรีบไปห้องน้ำทันที และถ้าคุณมีปัสสาวะเล็ดราดออกมาด้วยขณะที่มีอาการปวดปัสสาวะรีบนี้ เรียกว่า ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

    การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะคืออะไร ?



         การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ เป็นการฝึกฝนตนเองให้เลิกพฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่ดี และเรียนรู้พฤติกรรมการขับถ่ายที่ดี เพื่อให้สามารถกลับมาควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของตนเองได้ แทนที่จะให้กระเพาะปัสสาวะเป็นตัวควบคุมคุณและชีวิตของคุณอีกต่อไป

    ปริมาณปัสสาวะปกติ ต่อชั่วโมง

    ภาพที่ 1 กระเพาะปัสสาวะปกติ ที่มีน้ำปัสสาวะอยู่ครึ่งหนึ่งและอยู่ในสภาพผ่อนคลาย

    ปริมาณปัสสาวะปกติ ต่อชั่วโมง

    ภาพที่ 2 ผู้ป่วยที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน มีน้ำปัสสาวะอยู่ครึ่งหนึ่ง แต่อยู่ในสภาพหดรัดตัว ทำให้ปัสสาวะเล็ดราด

    คุณจะกลับมาควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะให้ดีเหมือนเดิมได้อย่างไร ?

        1. โปรแกรมการฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะ จะช่วยให้คุณยืดช่วงเวลาระหว่างการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งให้นานขึ้น ช่วยเพิ่มปริมาณความจุของกระเพาะปัสสาวะที่คุณจะกลั้นอยู่ได้ และช่วยคุณควบคุมความรู้สึกปวดปัสสาวะรีบเมื่อมีการหดรัดตัวของกระเพาะปัสสาวะในเวลาที่ไม่เหมาะสม การฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะจึงเป็นการฝึกฝนตนเอง ให้สามารถกลับมาควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เช่นเดิม

        2. ส่วนหนึ่งของโปรแกรมนี้ คือ การเรียนรู้ที่จะเข้าใจถึงการสื่อสารที่กระเพาะปัสสาวะส่งมายังคุณ โดยคุณจะเรียนรู้ว่าสัญญาณใดบ้างที่ต้องรับฟัง และสัญญาณใดบ้างที่สามารถเพิกเฉยได้ นอกจากนั้น การฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะยังช่วยให้คุณจำแนกว่า เมื่อไรที่กระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะอยู่เต็ม และเมื่อไรที่ยังไม่เต็ม

        3. กระเพาะปัสสาวะของคุณอาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ค่อยๆ เกิดพฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่ดี ฉะนั้นคุณจึงไม่สามารถกลับมาควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้โดยทันที จำเป็นต้องอาศัยเวลา ความมุ่งมั่นและอดทนที่จะฝึกฝนควบคุมกระเพาะปัสสาวะให้มีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ดี ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะเริ่มสังเกตเห็นถึงการพัฒนาที่ดีขึ้นภายในเวลา 2 สัปดาห์ แม้ว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน หรือนานกว่านี้ในการกลับมาควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะได้อีกครั้ง

        ทำอย่างไรเพื่อเอาชนะอาการปัสสาวะบ่อย ?

            1. สำรวจไดอารี่การขับถ่ายกระเพาะปัสสาวะประจำวัน ว่าคุณเข้าห้องน้ำบ่อยแค่ไหน ในช่วงเวลากลางวัน ถ้าบ่อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง คุณควรเริ่มต้นโดยค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาระหว่างครั้งให้นานขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าคุณเข้าห้องน้ำบ่อยทุกๆ ชั่วโมง ให้เริ่มตั้งเป้าหมายของคุณไว้ที่ 1 ชั่วโมง 15 นาที หากคุณรู้สึกปวดปัสสาวะรีบก่อนเวลาที่คุณตั้งไว้ ให้ฝึกฝนที่จะควบคุมความรู้สึกนี้ และทำให้กระเพาะปัสสาวะรู้จักรอคอย โดยใช้แนวทางที่จะอธิบายต่อไป 

            2. เมื่อคุณสามารถกลั้นปัสสาวะได้จนถึงเวลาที่คุณตั้งไว้ และสามารถทำเช่นนี้ได้สำเร็จเป็นเวลา 3 - 4 วันต่อเนื่องกัน ให้ยืดเวลาระหว่างครั้งให้นานออกไปอีก ค่อยๆ เพิ่มเวลาเว้นห่างระหว่างการเข้าห้องน้ำนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณสามารถเข้าห้องน้ำบ่อยน้อยลง เป็นมากกว่าทุกๆ 2 - 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน

            3. พยายามที่จะเลิกการไปเข้าห้องน้ำแบบว่า “กันไว้ก่อนเผื่อว่าจะปวดปัสสาวะ” ยกตัวอย่าง คุณลองถามตัวเองว่าคุณจำเป็นต้องไปเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่คุณจะออกจากบ้านจริงๆ หรือถ้าคุณเพิ่งไปมาเมื่อ 20 นาทีก่อนหน้านี้ เพราะว่าโดยปกติกระเพาะปัสสาวะสามารถจุได้ 400 มิลลิลิตร ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณเกือบ 2 ถ้วยแก้ว

            สิ่งที่คุณควรรู้และทำก่อนที่จะเริ่มฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ

              1. ก่อนอื่นคุณควรได้รับการตรวจสอบว่าไม่มีภาวะติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งสามารถทราบได้โดยการเก็บปัสสาวะของคุณไปตรวจ ซึ่งกระทำได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งหรือคลินิกบางแห่ง

              2. ลำดับถัดมา คือ การบันทึกไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะประจำวัน จากข้อมูลไดอารี่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในแต่ละวันคุณขับถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งแค่ไหน ปริมาณความจุของกระเพาะปัสสาวะที่คุณสามารถกลั้นได้เป็นเท่าไหร่  คุณดื่มเครื่องดื่มชนิดใดบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และคุณถูกรบกวนจากอาการปวดปัสสาวะรีบและมีปัสสาวะเล็ดราดเพราะกลั้นไม่อยู่เพียงใด นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะตอนเริ่มต้นก่อนรักษาเปรียบเทียบกับไดอารี่ภายหลังรักษาไปแล้วว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด

              เวลา

              ดื่ม ปริมาณปัสสาวะ อาการปวดปัสสาวะรีบ

              ปัสสาวะเล็ดและกิจกรรมขณะเล็ด

              การเปลี่ยนผ้าอนามัย

              การเปลี่ยนชุดชั้นใน

              การเปลี่ยนชุดที่สวมใส่

              06.00


              300 ซีซี

              X

              ขณะลุกขึ้นจากที่นอน


              X

              07.00

              น้ำชา 150 ซีซี







              07.15


              50 ซีซี






              08.10


              กาแฟ 150 ซีซี






              ภาพที่ 3 ตัวอย่างบางส่วนของไดอารี่ของกระเพาะปัสสาวะ

              ทำอย่างไรเพื่อเอาชนะอาการปวดปัสสาวะรีบและปัสสาวะเล็ดราด ?

                      ลองใช้แนวทางฝึกฝนต่อไปนี้ เพื่อควบคุมอาการปวดปัสสาวะรีบ และฝึกให้กระเพาะปัสสาวะรู้จักรอคอย แล้วสังเกตว่าแนวทางใดได้ผลดีที่สุดสำหรับคุณ เพื่อคุณจะได้เลือกใช้ในยามที่คุณจำเป็น

                  1. ขมิบกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานให้แรงที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ และคงกล้ามเนื้อให้หดตัวค้างไว้ให้นานที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้เช่นกัน ให้ทำเช่นนี้ไปจนกว่าคุณจะรู้สึกว่าอาการปวดปัสสาวะรีบหายไป นั่นคือคุณสามารถควบคุมอาการนี้ได้แล้ว อนึ่ง การขมิบกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานจะช่วยรูดรัดบริเวณท่อปัสสาวะให้ปิดแน่น เพื่อกันไม่ให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมา

                  2. ขมิบกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานแบบเร็ว โดยขมิบให้กล้ามเนื้อหดตัวแรงที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ แล้วหยุดขมิบให้กล้ามเนื้อคลายทันที ทำซ้ำๆ หลายครั้งติดต่อกัน ในสตรีบางคนวิธีนี้ได้ผลมากกว่าการขมิบให้กล้ามเนื้อหดแรงและรัดตัวค้างไว้

                  3. กดที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก คุณสามารถทำได้โดยการไขว้ขาหรือนั่งบนพื้นผิวที่แข็ง การกดที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก เป็นการสื่อสารผ่านทางเส้นประสาทไปยังกระเพาะปัสสาวะ ให้รับรู้ว่าบริเวณทางออกของกระเพาะปัสสาวะยังปิดอยู่ ต้องรอคอยต่อไปก่อนที่จะขับถ่ายปัสสาวะออกมา

                  4. พยายามเบี่ยงเบนจิตใจของคุณออกไปจากอาการปวดปัสสาวะรีบ ยกตัวอย่าง บางคนเริ่มนับถอยหลังจาก 100 ลงมา อย่างไรก็ดี วิธีการอื่นๆ ที่ช่วยดึงความสนใจหรือผ่อนคลายล้วนใช้ได้ดีทั้งสิ้น

                  5. เปลี่ยนท่าของคุณ หากท่าทางนั้นช่วยลดความรู้สึกปวดปัสสาวะรีบลงได้ เช่น การนั่งโน้มตัวไปข้างหน้าอาจช่วยได้บ้างในบางคน

                  6. อยู่นิ่งๆ เมื่อคุณมีอาการปวดปัสสาวะรีบ และต้องการควบคุมอาการนี้ เพราะว่าคุณจะไม่สามารถกลั้นและควบคุมอาการนี้ได้พร้อมๆ กับวิ่งไปห้องน้ำในเวลาเดียวกัน

                  7. พยายามไม่รุกรี้รุกลนหรือผุดลุกผุดนั่ง เพราะการเคลื่อนไหวเช่นนี้อาจทำให้ปัญหาแย่ลง

                ทำอย่างไรให้ฝึกการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะแล้วประสบความสำเร็จ ?



                     การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะและการฝึกบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานอย่างถูกต้อง ช่วยแก้ปัญหาในสตรีที่มีปัสสาวะเล็ดราดได้ 1 คนในทุกๆ 2 - 3 คน พึงระลึกว่าเมื่อคุณฝึกจนประสบความสำเร็จแล้ว คือ มีนิสัยการขับถ่ายที่ดีแล้ว คุณยังจำเป็นที่จะต้องฝึกนิสัยเช่นนี้ให้คงอยู่ไปตลอดชีวิต

                ข้อแนะนำเพิ่มเติมที่ช่วยการควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ



                     บางครั้งการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ อาจช่วยให้คุณควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ดีขึ้น เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวมาก มีโรคประจำตัวที่ทำให้ไอมาก (เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ) หรือท้องผูก คุณควรแจ้งให้แพทย์ นักกายภาพบำบัดหรือผู้ดูแลทราบ เพราะทั้งหมดข้างต้นเป็นปัจจัยที่ทำให้ปัสสาวะเล็ดราดแย่ลง ยาบางชนิดมีผลทำให้ควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ยากขึ้น คุณควรตรวจสอบกับแพทย์ที่ดูแลหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้

                        ดื่มน้ำปกติ วันละอย่างน้อย 6-8 ถ้วยแก้ว (1,000-1,500 มิลลิลิตร) หากแพทย์ไม่ได้แนะนำเป็นอย่างอื่น อย่าพยายามหยุดดื่มน้ำเพียงเพราะคุณคิดว่ามันจะทำให้หายจากอาการปัสสาวะเล็ดราด เพราะว่าถ้าคุณดื่มน้อยเกินไปจะทำให้น้ำปัสสาวะเข้มข้นขึ้น แม้ว่าจะมีปริมาณน้ำปัสสาวะเพียงเล็กน้อยแต่ทำให้ระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะและทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อย นอกจากนี้การขาดน้ำยังนำไปสู่การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ

                อย่าดื่มน้ำในคราวเดียวกันมากๆ คุณควรเฉลี่ยการดื่มของคุณให้กระจายออกตลอดทั้งวัน ถ้าคุณดื่มปริมาณมากๆ ในครั้งเดียว ย่อมคาดหวังได้เลยว่าคุณต้องไปห้องน้ำในเวลาไม่นานหลังจากดื่ม

                     เครื่องดื่มบางประเภทมีผลระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ และทำให้คุณต้องไปห้องน้ำบ่อยๆ ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา โคล่า ช็อกโกแลต เครื่องดื่มชูกำลัง หรือน้ำอัดลม พยายามลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนลงให้เหลือเพียงวันละ 1-2 ถ้วยแก้ว

                 
                        หลีกเลี่ยงการดื่มในช่วงเวลา 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะว่าอาจทำให้คุณต้องลุกมาปัสสาวะตอนกลางคืน

                12 มิถุนายน 2556

                เอกสารอ้างอิง

                International Urogynecological Association (IUGA). Bladder Training: A Guide for Women. 2011.