Aqi กับ pm2 5 ต่าง กัน อย่างไร

เวลาเปิดแอปพลิเคชันเช็คสภาพอากาศกันในแต่ละวัน มีใครเคยสงสัยไหมว่า ค่า AQI กับค่าฝุ่น PM 2.5 มันเหมือนกันไหม มันใช่ตัวเดียวกันหรือเปล่า วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะ

Aqi กับ pm2 5 ต่าง กัน อย่างไร

อย่างที่รู้กันนะคะว่า PM 2.5 ก็คือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งการรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) 

ส่วน AQI (Air Quality Index) หรือดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นค่าตัวเลขที่บอกว่ามีความเข้มข้นของสารมลพิษที่อยู่ในอากาศเท่าไหร่ ซึ่งวัดความเข้มข้นจากสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิดรวมกันคือ

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) 
  • ก๊าซโอโซน (O3
  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 
  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2
  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2

Aqi กับ pm2 5 ต่าง กัน อย่างไร

ภาพจาก air4thai

ข้อมูลจะแสดงออกมาเป็นตัวเลขและสีต่างๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ดังนั้นตัวเลขของค่า AQI ที่แสดงไม่ใช่มีแค่ปริมาณฝุ่น PM 2.5 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสารมลพิษทางอากาศอื่นๆด้วย ซึ่งเกณฑ์การวัดก็ต่างกัน โดยอ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป แสดงผลสีเขียวจนไปถึงสีแดง จะเห็นว่าค่า AQI ที่ดีต่อสุขภาพคือไม่เกิน 50 ถ้าหากเกิน 100 ก็จะเริ่มส่งผลต่อสุขภาพแล้วค่ะ แต่ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพจะมีตัวเลขอยู่แค่ไม่เกิน 12 เท่านั้น  

Aqi กับ pm2 5 ต่าง กัน อย่างไร

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีปริมาณสารมลพิษอากาศแต่ละชนิดในปริมาณสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ซึ่งเอาจริงๆเราก็แยกออกมาเป็นตัวเลขได้ยากว่าแต่ละชนิดมีอยู่ในปริมาณเท่าไหร่ ทำให้ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วมีฝุ่น PM 2.5 อยู่ในอากาศมากน้อยแค่ไหน ค่า AQI 50 ที่ว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอาจจะมี PM 2.5 อยู่มากกว่า 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรก็ได้

สรุป

ค่า AQI ไม่เหมือนกับค่า PM 2.5 รวมทั้งเกณฑ์การวัดก็ต่างกันค่ะ ส่วนในเรื่องของตัวเลขที่ส่งผลต่อสุขภาพ ใครที่มีเครื่องกรองอากาศถ้าจะให้ปลอดภัยต่อสุขภาพชัวร์ๆค่าที่แสดงบนเครื่องฟอกอากาศไม่เกิน 12 น่าจะดีที่สุดค่ะ รวมถึงใครที่ต้องออกไปนอกบ้านในจุดเสี่ยงก็อย่าลืมหาหน้ากากใส่ป้องกันด้วยนะ

Source: 1, 2

ค่าฝุ่น PM2.5  คืออะไร

ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ในบรรยากาศทั่วไป หรือเรียกง่าย ๆ ว่าค่าฝุ่น PM2.5 คือ การกำหนดขึ้นเพื่อบ่งชี้ความเข้มข้นของการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ มีหน่วยเป็น ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยคิดค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง และรายปี 

แต่รู้ไหมว่าแท้จริงแล้วค่ามาตรฐาน PM2.5 ที่ไทยใช้หย่อนยานกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศล่าสุด! ยิ่งไปกว่านั้นปีนี้องค์การอนามัยโลกปรับค่าแนะนำลงอีกเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ทำให้ค่ามาตรฐานของไทยยิ่งห่างไกลจากค่าแนะนำของ WHO ถึง 3-5 เท่าไปใหญ่

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนองค์การอนามัยโลกแนะนำเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของประเทศไทยอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ฉะนั้นการที่ค่ามาตราฐาน PM2.5 ของไทยมีค่าที่สูงกว่าค่าแนะนำของ WHO  จึงไม่สามารถควบคุมและลดการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่างๆ อีกทั้งเปิดช่องให้กับผู้ปล่อยมลพิษมากกว่าที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด

ค่า AQI คืออะไร

ค่า AQI (Air Quality Index) คือ ข้อมูลการวัดคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) โอโซน (O3) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 

ค่าฝุ่น PM2.5 สำคัญยังไง 

การวัดค่า AQI คือการใช้ตัวเลขจากการวัดค่า PM2.5 มาร่วมคำนวนด้วย 

ค่าฝุ่น PM2.5 จึงเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการคำนวนค่าดัชนีคุณภาพอากาศ AQI 

ทั้งนี้ การวัดค่า AQI และ PM2.5 จะโชว์ตัวเลขและสีในการแบ่งระดับการเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนรับรู้ทราบระดับความรุนแรงและของความเสี่ยงต่อสุขภาพนั่นเอง

การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 คืออะไร

กรีนพีซจึงเรียกร้องให้รัฐปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศให้เข้มข้นขึ้นเพื่อยกระดับการเตือนภัยแก่ประชาชน รวมไปถึงทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆต้องยกระดับนโยบายของตัวเอง เช่น ปลดระวางถ่านหิน ตรวจวัดมลพิษ PM 2.5 จากปลายปล่องโรงงานอุตสาหกรรม ลดการเผาในที่โล่ง ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้สอดคล้องกับค่ามาตรฐานใหม่นั่นเอง

ร่วมเรียกร้องให้รัฐปรับค่ามาตรฐานให้เข้มข้นขึ้นเพื่ออากาศสะอาดสำหรับทุกคนได้ที่ https://act.seasia.greenpeace.org/th/right-to-clean-air

#RightToCleanAir #ขออากาศดีคืนมา