ระบบ โล จิ สติ ก ส์ ในปัจจุบัน

บริการโลจิสติกส์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เนื่องจากเป็นกลไกพื้นฐานที่ช่วยหล่อเลี้ยงกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ โดยประเทศที่มีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ดีและมีประสิทธิภาพจะมีความได้เปรียบด้านต้นทุน ส่งผลให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจได้สูงกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ “AEC Blue Print” มีความครอบคลุมการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจในทุกด้าน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทุกประเทศเข้าด้วยกัน ทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องหันมาให้ความสำคัญด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ โดยมีเป้าหมายหลักในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของประเทศให้ลดลง

 

จึงเกิดการวิจัยในเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ มุ่งวัฒนา และคณะ ที่ทำการศึกษาและค้นหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งระดับอาเซียนและระดับโลก ในการลดต้นทุนจากการขนส่งสินค้าทางถนนการลดต้นทุนสินค้าแตกหักเสียหาย การลดเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างการเปลี่ยนโหมดการขนส่งจากรถบรรทุกไปรถไฟ และการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

 

สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์

จากโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ในหลายปีที่ผ่านมา สัดส่วนของต้นทุนค่าขนส่งนั้นเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และ ต้นทุนการบริหารจัดการ ซึ่งรูปแบบการขนส่งของประเทศไทยจะขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 80-90 ของการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ทำให้เกิดปัญหาหลักคือ “ต้นทุนขนส่งสินค้าสูง” ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของประเทศไทยยังปรับลดไม่ได้ ปัญหาที่ตามมาคือ อุบัติเหตุบนท้องถนนและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal transportation) จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมโดยนำจุดเด่นของการขนส่งแต่ละรูปแบบมาผสมกันเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกและรถไฟ

 

ระบบ โล จิ สติ ก ส์ ในปัจจุบัน

ปัญหาโลจิสติกส์ไทย

นอกจากต้นทุนค่าขนส่งที่มีสัดส่วนสูงที่สุดจากการพึ่งพาการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นหลักปัจจุบันปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าของไทย ยังประกอบไปด้วยการที่สินค้าแตกหักเสียหายระหว่างการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ การใช้เวลายาวนานในการขนถ่ายสินค้าระหว่างเปลี่ยนโหมดการขนส่งจากรถบรรทุกไปรถไฟ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมขาดความเชื่อมั่นในการให้บริการขนส่งทางราง และผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนขาดข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ หรืออาจสรุปปัญหาโดยรวมเป็น 3 ประเด็น คือ 1. การเชื่อมโยงโหมดการขนส่ง 2. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของประเทศ

โดยการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในครั้งนี้จึงได้มีโครงการย่อยที่ทำการศึกษาเพิ่ม 3 โครงการนั่นคือ

  • โครงการที่ 1 การพัฒนาอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า – ที่ต้องการพัฒนาอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าระหว่างสถานีรถไฟ เนื่องจากกระบวนการและอุปกรณ์ในการขนถ่ายสินค้าระหว่างสถานีเป็นส่วนสำคัญของระบบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ ที่อาจเกิดต้นทุนค่าดำเนินการ หรือ “ค่าโสหุ้ย” เพิ่มขึ้นได้ หากมีกระบวนการจัดการหรือการใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมก็อาจก่อให้เกิดต้นทุนแฝงมหาศาลได้
  • โครงการที่ 2 การพัฒนารูปแบบธุรกิจและการปฏิบัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างรถบรรทุกและรถไฟ – ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบธุรกิจ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยผู้ประกอบการขนส่งในการตัดสินใจลงทุนภายใต้สภาวการณ์ต่างๆ โดยทำการศึกษารูปแบบทางธุรกิจทั้ง 4 สถานการณ์ ผ่านการวิเคราะห์ใน 4 ด้าน คือ การตลาด การเงินและการลงทุน วิศวกรรม และ การบริหารจัดการ
  • โครงการที่ 3 การพัฒนามาตรฐานของนิยามข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างรถบรรทุกและรถไฟ – เพื่อพัฒนาการมาตรฐานนิยามข้อมูลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

 


 

ข้อค้นพบในการพัฒนา

หลังจากศึกษา 3 โครงการที่กล่าวไปพบว่ามีทั้งสิ่งที่บรรลุตามเป้าหมาย และสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูป โดยอุปกรณ์ขนถ่ายที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับรูปแบบการขนส่ง ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ผ่านการทดสอบความแข็งแรงภายใต้การรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนตามมาตรฐาน ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีการพัฒนาในหลายส่วน เช่น การปรับขนาดคานเหล็กด้านล่าง การปรับความลึกและขนาดของเบ้ารับเสา เปลี่ยนตะแกรงด้านข้างเป็นเหล็กสานโครง และลดขนาดเสาทั้ง 4 ต้น นอกจากนี้มีการทดสอบองศาการล้มรวมถึงการนำไปทดลองใช้งานจริง จนได้อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าสำหรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบออกมาเป็นรูปธรรม โดยรองรับการใช้งานทั้งการขนส่งทางถนนและทางราง มีขนาดอยู่ที่ 1.20 x 1.00 x 1.15 เมตร และมีน้ำหนัก 95 กิโลกรัม

ระบบ โล จิ สติ ก ส์ ในปัจจุบัน

ส่วนในด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบธุรกิจ จากการเปรียบเทียบรูปแบบธุรกิจทั้ง 4 สถานการณ์ พบว่า กรณีสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทยซื้อระวางโดยตรงจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากในด้านการลงทุนนั้นเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมของสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทยและ มีโอกาสเพิ่มจำนวนลูกค้าได้ ถึงแม้ว่าการลงทุนมีมูลค่าสูงในด้านอุปกรณ์ แต่หากดำเนินการโดยไม่ผ่านตัวกลางซึ่งคิดค่าระวางโดยการรถไฟจะทำให้ได้ผลตอบแทนที่เร็วขึ้น ในด้านวิศวกรรม เครื่องมืออุปกรณ์ตรงตามการใช้งานและมีความปลอดภัยรวมถึงได้รับความร่วมมือจากการรถไฟในการทดสอบวิ่ง ส่วนด้านการบริหารจัดการนั้นก็ง่ายเนื่องจากเป็นการทำงานเพียง 2 หน่วยงาน รวมถึงเป็นการดำเนินงานที่ถูกต้องตามกฎข้อบังคับอีกด้วย เนื่องจากเป็นการซื้อค่าระวางโดยตรงจากการรถไฟ

ในด้านการพัฒนามาตรฐานของนิยามข้อมูลที่ได้ชุดนิยามข้อมูลเบื้องต้นระหว่างผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกและทางรถไฟ โดยการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างชุดข้อมูลที่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยน เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสะดวกต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดซึ่งสามารถแบ่งความสัมพันธ์ของข้อมูลออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า และ 2) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตู้บรรทุกสินค้า ซึ่งจากการศึกษานี้ได้พบปัญหาในด้านความแตกต่างของรูปแบบข้อมูลและความพร้อมทางอิเล็กทรอนิกส์ นั่นคือ ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกจะนำระบบสารสนเทศมาใช้อย่างครบวงจร แต่ยังคงมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันในแต่ละผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟยังให้บริการผ่านระบบเอกสารและเก็บข้อมูลบางส่วนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนรวมถึงการให้ชื่อข้อมูล (field name) ในเอกสารที่แตกต่างกันตามแต่ละหน่วยงาน ทำให้ยากแก่การศึกษาและสรุปชุดข้อมูลที่จะให้แลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต จึงส่งผลให้การพัฒนาข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนยังไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์

 

แม้ไทยเองจะมีข้อได้เปรียบสำคัญด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้า (Hub) โดยมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในหลายประเทศ หากสามารถนำข้อค้นพบดังกล่าวไปพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยให้มีประสิทธิภาพและความก้าวหน้า ก็จะยิ่งทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมมากขึ้นในการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

————————————————————–

อ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย “การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”