การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

“ถ้าตอนเด็กๆได้เรียนกับครูพละดีๆ สอนทักษะพื้นฐานดีๆ อนาคตอาจจะกลายเป็นนักกีฬาอาชีพได้ หรือถ้าไม่ได้เป็นนักกีฬาอาชีพ อย่างน้อยการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวที่ดี ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่นแจ่มใส มีพัฒนาการทางสมอง ทางสังคมได้ดีนะ“ความสำคัญของ Sports Fundamental Movement Skills คืออะไร สำคัญอย่างไร 
เป็นการฝึกทักษะพื้นฐานการเคลื่อนไหวทางกีฬา เป็น Physical Literacy คือการใช้ร่างกายอย่างมีคุณภาพซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่แพ้การอ่านออกเขียนได้ของเด็ก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 7-12ปี 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

ความสำคัญทางด้านความเป็นเลิศทางกีฬา
-ผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดี มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จทางกีฬาอาชีพมากกว่าคนที่ไม่เคยผ่านการฝึก
ความสำคัญด้านสุขภาพ
-ถึงแม้จะไม่อาจเป็นนักกีฬาอาชีพได้ แต่คนที่มีทักษะการเคลื่อนไหวทางกีฬาที่ดี ก็จะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดี ร่างกายแข็งแรง 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

Sports Fundamental Movement Skill Training (การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวทางกีฬา)จะมีการปฏิบัติแบ่งได้ดังนี้

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

1.การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (Locomotor Skills) 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

หมายถึง  การเคลื่อนไหวร่างกาย โดยที่ร่างกายเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  เช่น 

1.การเดิน (Walking)  หมายถึง  การถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง  ในขณะเปลี่ยนน้ำหนักตัว  เท้าข้างใดข้างหนึ่งจะอยู่กับพื้น  และน้ำหนักของเท้าที่ลงสู่พื้นจะถ่ายจากส้นเท้าไปยังปลายเท้า 

2.การวิ่ง  (Running)  หมายถึง  การก้าวเท้าสลับกันทีละข้าง  โดยการถีบเท้าส่งตัวขึ้นพ้นพื้น  งอเข่าสูง  ถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปเท้าหน้า  ลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าและในขณะถ่ายน้ำหนักตัวเท้าทั้งสองไม่อยู่บนพื้น

3.การกระโดด (Jumping)  หมายถึง  การสปริงตัวขึ้นจากพื้นแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมๆกัน 

4.การลื่นไถล  (Sliding)  หมายถึง  การเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง  โดยก้าวเท่าข้างใดข้างหนึ่งออกไปทางด้านข้าง  แล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งไปชิด  พร้อมกับเปลี่ยนน้ำหนักตัวมายังเท้าที่ลากเข้ามาชิด 

5.การกระโดดเขย่ง  (Hopping)  หมายถึง  การสปริงตัวขึ้นจากพื้นด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่ง  แล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างเดิม 

6.การก้าวกระโดดเขย่ง  (Step-hop)  หมายถึง  เป็นการรวมท่าการเดินกับท่าการกระโดดเขย่งเข้าด้วยกัน  เพื่อเคลื่นที่ไปข้างหน้าและข้างหลัง 

7.การวิ่งสลับเท้า  (Skipping)  หมายถึง  การนำเอาท่างทางการวิ่งกับการกระโดดเขย่งมารวมกัน  โดยการสปริงเท้าทั้งสองขึ้นพ้นพื้นพร้อมกับดึงเท้าที่อยู่ข้างหลังเอาไปไว้ข้างหน้า  ลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าทั้งสองพร้อมกัน  เท้าจะสลับกันนำตลอดการเคลื่อนไหว  ถ้าเคลื่อนไปข้างหน้าน้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหน้า 

8.การควบม้า  (Gallop)  หมายถึง  การก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งนำ  แล้วก้าวอีกเท้าหนึ่งเข้าไปชิดส้นเท้านำ โดยน้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้านำ  เท้าไหนนำจะต้องนำตลอดและปลายเท้าไม่เปิด  เป็นการเคลื่อนที่ไป
9.การทำก้าว-ชิด-ก้าว  (Two  -  Step)  หมายถึง  การก้าวเท้าไปข้างหน้า  ดึงอีกเท้าเข้าไปชิดเท้าแรก  ทิ้งน้ำหนักตัวไว้ที่เท้าหลัง  แล้วก้าวเท้าแรกไปข้างหน้า  น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหน้าเสมอ 

2.การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่หรือการฝึกความมั่นคงของร่างกาย (Non-Locomotor Skills or Stability Skills) 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  เช่น  

1.การก้มตัว(Bending) คือ การงอพับข้อต่างๆของร่างกาย ที่จะทำให้ร่างกายส่วนบนเข้ามาใกล้ส่วนล่างของร่างกาย

2.การยืดเหยียด (Stretching)  คือ การเคลื่อนไหวที่ตรงกันข้ามกับการก้มตัว โดยพยายามเหยียดทุกส่วนของร่างกาย

3.การบิดตัว (Twisting) คือ การเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยการบิดลำตัวท่อนบนไปรอบๆ

4.การหมุนตัว (Turning) คือ การหมุนตัวไปรอบๆร่างกายมากกว่าการบิดตัวโดยการหมุนรอบจุดใดจุดหนึ่ง

5.การแกว่ง(Swinging) คือ การเคลื่อนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แขน ขา ลำตัว ให้เป็นรูปโค้ง หรือแบบลูกตุ้มนาฬิกา

6.การเอียง (Swaying) คือ การพับลำตัวด้านข้างให้เป็นส่วนโค้งเข้าหาพื้น

7.การดัน (Pushing) คือ การเคลื่อนโดยการออกแรงกด  การดันมักเป็นการดันออกจากร่างกาย

8.การดึง (Pulling) คือ การเคลื่อนไหวที่ตรงกันข้ามกับการดัน  คือ  การออกแรงดึงเข้าหาร่างกาย หรือดึงไปในในทิศทางใดทางหนึ่ง

3.การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวที่บังคับหรือความคุมวัตถุ(Manipulative Skills) 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

ป็นการเคลื่อนไหวที่มีการบังคับหรือควบคุมวัตถุ เช่น โยน เตะ ขว้าง รับ เป็นต้น โดยนำอุปกรณ์ต่างๆ มาเล่นเป็นเกมกับเด็กๆแต่แฝงไปด้วย เช่น

1. การใช้มือ โยน ทุ่ม หรือขว้างสิ่งของ คือ การที่ใช้มือในการโยนสิ่งของให้แก่กัน หรือทุ่มขว้างไปให้ไกล หรือตามเป้าหมายที่วางไว้
2. การรับสิ่งของ คือ การที่ใช้มือรับในการโยนสิ่งของให้แก่กัน 
3. การใช้เท้าเตะ หรือส่ง คือ การที่ใช้เท้าเตะหรือส่งสิ่งของให้แก่กัน หรือตามเป้าหมายที่วางไว้
4. การใช้มือหรือเท้า ควบคุมสิ่งของ เช่นการรับบอลด้วยมือ การเลี้ยงฟุตบอลด้วยเท้าข้างใน

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ locomotor movement

เพื่อเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอย่างถูกต้อง อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำการสอนจึงต้องมี
องค์ความรู้ที่ถูกต้อง มีทักษะปฏิบัติที่ดี มีการถ่ายทอดที่มีคุณภาพ สามารถเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยี เลือกใช้วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสม สามารถนำการฝึกสมรรถภาพทางกายต่างๆเช่น ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) การทรงตัว (Balance) การทำงานร่วมกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Coordination) และการฝึกกับความเร็ว