คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท้องถิ่น

เทศบาลตำบล ท่าน้ำอ้อยม่วงหัก ใช้คุ้กกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้

Hot News

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท้องถิ่น
หลัก 5 ป ป้องกันโรคไข้เลือดออก ป.ที่ 1 ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ ป.ที่ 2 เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท้องถิ่น
คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท้องถิ่น


คำสั่งที่ 215/2565 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก

ข่าว ณ. วันที่ 2 พ.ค. 2565 เวลา 12.34 น. โดย คุณ สุมิตรา ปานพรม

ผู้เข้าชม 1012 ท่าน

Google Earthแผนที่ดาวเทียมเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหักยินดีให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ
คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท้องถิ่น
คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท้องถิ่น
คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ท้องถิ่น
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นINTEGRITY AND TRANSPARENCY ASSESMENT SYSTEMการประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นLOCAL PERFORMANCE ASSESSMENT
ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 19/2562
เรื่องมอบหมายให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้มอบหมายให้นายกเทศมนตรี องค์การบริหารส่วนตำบล นายกเมืองพัทยา
ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพรบ. คุ้มครองผู้บริโภค เฉพาะในความผิดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พบการกระทำความผิดและความผิดนั้นได้เกิดขึ้นในเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเขตเมืองพัทยา นั้น ๆ

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์พ.ศ.2539คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที2000)ตามที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสังคมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ อุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศ ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจใหม่แห่งศตวรรษที่21โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญคือการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Law) หรือมักเรียกกันว่า "กฎหมายไอที (IT Law)

ในเบื้องต้นที่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ มีทั้งสิ้น 6 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายทั้ง6ฉบับแรกเป็นกฎหมายชุดที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นการยอมรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำนิติกรรม สัญญา ในรูปแบบใหม่ การรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคคลและการป้องกันอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการโอนเงินหรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความปลอดภัยและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ อีกทั้งจำเป็น อย่างยิ่งที่ต้องเตรียมประเทศให้พร้อมกับการก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศจึงต้องให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

ต่อมาเมื่อวันที่15ธันวาคม พ.ศ.2541คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่อการจัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ(National Information Technology Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า"คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC)" ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง6ฉบับโดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(National Electronics and Computer Technology Center) หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า           "เนคเทค" (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(National Science and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า"สวทช." กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง6ฉบับเนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นเพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง6ฉบับ ให้แล้วเสร็จ คือ

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Transactions Law) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Electronic Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law) เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้

4.กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Data Protection Law) เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ

5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม

6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law) เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และกฎหมายลิขสิทธิ์

งานอันมีลิขสิทธิ์ หมายถึง งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่าภาพ รวมถึงงานอื่น ๆ ในแผนกวรรณคดีวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ คือ สิทธิในลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใด ๆ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตน ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และคุ้มครองต่อไปนี้อีก 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

ประโยชน์ต่อผู้บริโภค การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า ทางวรรณกรรม และศิลปกรรมออกสู่ตลาดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ

การละเมิดลิขสิทธิ์

มีการละเมิดทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้

- การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชน รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

- การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้ว ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

อย่างไรก็ตามสังคมอินเทอร์เน็ตก็ไม่ต่างจากสังคมปกติทั่วไปที่ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี และมีทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และด้านที่เป็นโทษจึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ตลอดจนภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในทางสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดประโยชน์และความสงบสุขต่อสังคม ให้ประชาชนมีความปลอดภัยทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม และความมั่นคงของรัฐ