ลงทะเบียน รับเงินชราภาพ ประกันสังคม

ประกันสังคมแจงผู้ประกันตน ม.33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ยื่นเรื่องขอรับเงินกรณีชราภาพ รับเงินสะดวกผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน

วันที่ 15 ตุลาคม 2564 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว สามารถขอรับเงินกรณีชราภาพตามเงื่อนไขและระยะเวลาการส่งเงินสมทบที่ออมไว้ โดยแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

  • กรมอุตุฯเตือน 24-26 ธ.ค. เจออากาศหนาวเย็นอีกระลอก ต่ำสุด 8-10 องศา
  • เปิดเงื่อนไขช้อปดีมีคืน ครม.เคาะ 20 ธ.ค.วงเงิน 40,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง
  • ผบ.ทร.แถลง เรือหลวงสุโขทัยอับปาง พบผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 6 ราย (อัพเดต)

1. แบบบำนาญ (จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต) สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน (จะจ่ายติดต่อกันหรือไม่ก็ได้) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

จะได้รับเงินเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้าง แต่หากจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ได้รับเพิ่มอีกในร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน นับจากระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน

2. แบบบำเหน็จ (จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว) สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

จะได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบไป ส่วนกรณีที่จ่ายเงินสมทบ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินชราภาพเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายรวมกัน

ลงทะเบียน รับเงินชราภาพ ประกันสังคม

“อย่างไรก็ดี ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีอายุเกิน 55 ปี แต่ยังคงมีนายจ้าง (ยังคงทำงาน) สามารถสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมต่อไปได้ เพื่อรับสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และเป็นการสะสมเงินออมเพื่อวัยเกษียณเพิ่มมากขึ้น จนกว่าจะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการขอรับเงินชราภาพภายใน 1 ปี หลังลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ไม่งั้นจะถูกตัดสิทธิ์” เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกล่าว

ขั้นตอนยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพมีดังนี้

  • กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) พร้อมลงลายมือชื่อ (ดาวน์โหลดแบบ สปส.2-01 โดยกดที่ลิงค์นี้)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ
  • หรือดำเนินการลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนกับธนาคารที่ผู้ประกันตนเปิดบัญชีไว้ ซึ่งเป็นช่องการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราแบบใหม่ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

Advertisement

  • สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบิดามารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
  • หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)
ลงทะเบียน รับเงินชราภาพ ประกันสังคม
ตัวอย่างแบบ สปส. 2-01

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวกได้ทุกแห่งในวันและเวลาราชการ หรือทางเฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

หลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วยการขอรับประโยชน์ทดแทน พ.ศ. 2565 เพิ่มช่องทางให้ผู้ประกันตน ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณีทางอิเล็กทรอนิกส์ได้  เพื่ออำนวยความสะดวกและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้ว เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา

ประกาศราชกิจจาฯเพิ่มช่องทางขอรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ทางอิเล็กทรอนิกส์

อัปเดต! จำนวนผู้ประกันตน ม.33,39,40 เดือนพฤษภาคม 2565 รวม 23.94 ล้าน

ลงทะเบียน รับเงินชราภาพ ประกันสังคม

ดังนั้นการขอรับประโยชน์ทดแทน ตามราชกิจจานุเบกษานนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีวิธีการยื่นเอกสารอย่างไร และต้องใช้เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนใดบ้าง ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวี ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ มาดังนี้

 

สำหรับ การขอรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณีนั้น ประกอบด้วย

  • ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย (เฉพาะกรณีทันตกรรม)
  • ชราภาพ
  • ว่างงาน
  • การบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พร้อมด้วยการฉีดยาอิริโธรปัวอิติน (Erythropoietin)
 

มีวิธีการยื่นเอกสารผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้

1.) ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

  • แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทน
2.) กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์ม จากนั้นให้นำส่งพร้อมเอกสารแนบไปยังช่องทางออนไลน์ของสำนักงานประกันสังคม ดังนี้
  • ไปรษณีย์ลงทะเบียน
  • โทรสาร (Fax)
  • อีเมล (E-mail)
  • ไลน์ (Line)
โดยทางสำนักงานประกันสังคม ได้รวบรวมที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ อีเมล และไอดีไลน์ คลิกที่นี่

 

ส่วน เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน มีดังนี้

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

  • ใช้แบบคำขอ (สปส. 2-01) หรือ (SSO. 2-01)
  • ขอรับค่ารักษาพยาบาล
  • ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ และ ใบเสร็จรับเงิน
  • ขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
  • ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองของนายจ้าง และ สถิติวันลาป่วย (ถ้ามี)
 

กรณีชราภาพ

  • ใช้แบบคำขอ (สปส. 2-01) หรือ (SSO. 2-01)
  • ใช้สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์
 

กรณีว่างงาน (ยกเว้นมาตรา 39)

  • ใช้แบบคำขอ (สปส. 2-01/7) หรือ (SSO. 2-01/7)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์
  • กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ใช้หนังสือรับรองการรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
4.)การบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พร้อมด้วยการฉีดยาอิริโธรปัวอิติน (Erythropoietin)
  • ใช้แบบคำขอ (สปส. 2-01) หรือ (SSO. 2-01)
  • สำเนาเวชระเบียนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • ผลการตรวจไตตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขฯ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน
  • หนังสือรับรองจากอายุรแพทย์โรคไต หรืออายุรแพทย์ผู้รักษา
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือรับรองการขอรับยาฮิริโธรปัวอิติน เฉพาะผู้ที่ขอรับยาอิริโธรปัวอิติน เท่านั้น
 

เพียงแค่เตรียมเอกสารเหล่านี้ให้พร้อม และส่งไปยังสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ ตามช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ก็สามารถขอรับประโยชน์ทดแทนได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคม