รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

วันปิยมหาราช


วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระบรมราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 และบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
1. การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่ามีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมากและลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้วต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระราชหฤทัยแน่วแน่ว่าจะต้องเลิกทาสให้สำเร็จแม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก

2. การปฏิรูประบบราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกันจากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

3. การสาธารณูปโภค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานและถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคมและส่งเสริมการเพาะปลูก การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลังต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 การไฟฟ้าพระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2433 การไปรษณีย์โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลขซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

4. การเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ที่เสด็จฯ

5. การศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

6. การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์

Category: พระราชประวัติรัชกาลที่ ๑ -๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ Published on Monday, 04 April 2016 02:55 Hits: 13226

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4 

(พ.ศ. 2394-2411)

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๔๗ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี

เมื่อเสด็จพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงเป็นพระราชชนนี

ขณะทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุ สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็ตสวรรคต จึงทรงดำรงสมณเพศต่อมาจนตลอดรัชกาลที่ ๓

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ในสมัยที่ทรงพระผนวช ทรงศึกษาพระธรรมปริยัติธรรม ทรงเชี่ยวชาญรอบรู้ในพระไตรปิฎก และทรงแก้ไขปรับปรุงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เคร่งครัด มีภิกษุสามเณรปฏิบัติตาม เกิดเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุต

นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาศิลปวิทยาการสมัยใหม่ เช่น ภาษาอังกฤษ ดาราศาตร์ เป็นต้น

ทรงรับอัญเชิญจากพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ทั้งปวง ให้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔

พระบรมราโชบายในการป้องกันอธิปไตยของชาติ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่ประเืทศชาติเริ่มเผชิญกับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาแสวงหาอาณานิคม มีอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องทำสัญญา ทางพระราชไมตรีตามเงื่อนไขใหม่ที่ชาติมหาอำนาจเป็นฝ่ายกำหนด

ในพุทธศักราช ๒๓๙๘ ทรงทำสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์กับชาติอังกฤษเป็นชาติแรก รู้จักกันในนาม “สนธิสัญญาเบาริง”หลังจากนั้นได้ทรงดำเนินนโยบายเปิดสัมพั นธภาพกับชาติมหาอำนาจอื่นๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา โดยใช้สนธิสัญญาเบาริงเป็นต้นแบบ

การทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับชาติต่างๆ เหล่านี้ จำต้องเสียเปรียบทางการค้าและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับของชาตินั้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อแลกกับความอยู่รอดของชาติเป็นสำคัญ

ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการทูตสมัยใหม่โดยส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๐ และส่งราชทูตไปเฝ้าฯ พระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๔

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

การปรับปรุงชาติให้ทันสมัย 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงชาติให้ทันสมัย โดยรับศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับปรุงสังคมวัฒนธรรมตามที่เหมาะสมที่ควร เช่น

การศึกษาภาษาอังกฤษ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ภรรยามิชชันนารีเข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่กุลสตรีชาววัง เมื่อพระราชโอรส พระราชธิดา ทรงเจริญพ ระชันษา ทรงจ้างนางแอนนา เลียวโนเวนซ์ มาเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และวรรณคดี และยังทรงสนับสนุนให้มิชชันนารีอเมริกันตั้งโรงเรียนสอนแก่ราษฎรชาวบ้านด้วย

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชบริพารสวมเสื้อเข้าเฝ้าฯ 

ข้าราชบริพารแต่ก่อนเมื่อเข้าเฝ้าฯไม่มีธรรมเนียมสวมเสื้อเข้าเฝ้าฯ ทรงพระราชดำริว่า “ประเทศอื่นๆ ที่เป็นประเทศใหญ่เขาก็สวมเสื้อหมด ทุกภาษา ...ประเทศสยามก็เป็นประเทศใหญ่รู้ขนบธรรมเนียมมากอยู่แล้ว ไม่ควรจะถือเอาอย่างโบราณที่เป็นชาวป่ามาแต่ก่อน ขอท่านทั้งหลายจงสวมเสื้อเข้ามาในที่เฝ้าจงทุกคน...”

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกทหารอย่างยุโรป 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้ปรับปรุงการทหารโดยทรงเลือกทหารนอกราชการกองทัพเรือ ชื่อ ร้อยเอกอิมเปย์ เข้ารับราชการ “ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง” หรือ “ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป” เป็นทหารประจำพระองค์ เช่นเดียวกับกองทหารเกณฑ์รักษา พระองค์ในประเทศยุโรป ภายหลังมีกองทหารที่ฝึกหัดและจัดแบบตะวันตกเพิ่มอีกสองกองคือ กองทหารหน้า และกองปืนใหญ่อาสาญวน

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนอย่างใหม่ 

ถนนในพระนครแต่ก่อนมา เมื่อถึงฤดูฝนมักเป็นโคลนสัญจรไปมาไม่สะดวกประจวบกับ “...พวกกงสุลมีหนังสือถวายว่าเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพ มหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนื่องๆ ได้ทรงทราบแล้ว ทรงพระราชดำริว่า พวกยุโรปเข้ามาิอยู่ในกรุงมากขึ้นทุกๆ ปี ด้วยประเทศบ้านเมืองเขามีถนนหนทางก็เรียบรื่นสะอาดไปทุกบ้านทุกเมือง บ้านเมืองของเรามีแต่รกเรี้ยว หนทางก็เป็นตรอกซอกเล็กน้อย หนทางใหญ่ก็เปรอะเปื้อนไม่เป็นที่เจริญตา...” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างถนนอย่างใหม่ขึ้น ๓ สาย ได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนหัวลำโพง และถนนสีลม ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้่่าฯให้สร้างถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนครเพิ่มขึ้น ทำให้ราษฎรสัญจรไปมาสะดวกขึ้น

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรงอุปถัมภ์ศาสนาอื่นๆที่มีผู้นับ ถือโดยถ้วนหน้ากัน

เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณเพศ ทรงพระราชอุตสาหะศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงได้เปรียญ ๕ ประโยค ทรงศึกษาวิปัสสนา ธุระในสำนักวัดสมอราย สำนักวัดพลับ จนทรงเชี่ยวชาญและยังทรงส่งเสริมให้ภิกษุสามเณรได้เล่าเรียนคันถธุระ

นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์ด้านพระุพุทธศาสนา เช่น บทสวดทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ ซึ่งภิกษุสา มเณรและพุทธศาสนิกชนใช้สวดมาจนปัจจุบัน

การพระราชกุศลสถาปนาพระอาราม

พระบาทสมเด็จพระจอมเ้กล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯให้สถาปนา และบูรณะพระอารามถวายในพระศาสนาตามโบราณราชประเพณี 

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

พระอารามทรงสถาปนาได้แก่

วัดบรมนิวาศ ทรงสถาปนาแต่เมื่อยังทรงดำรงสมณเพศ 

วัดโสมนัสวิหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอุทิศพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี

วัดปทุมวนาราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานสมเด็จพระศิรินทราบรมราชินี

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ทรงสถาปนาเป็นพระอารามประจำรัชกาล

วัดมกุฏกษัตริยารามทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระอารามประจำพระองค์คู่กับวัดโสมนัสวิหาร และทรงบูรณะวัดในพระนครและหัวเมืองอีก ๔๐ กว่าวัด

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง
 

พระราชดำริทรงริเริ่มใหม่

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่เรียกว่า เป็นสิ่งทรงริเริ่มใหม่ในรัชกาลหลายสิ่ง เช่น

แบบอย่างพระพุทธรูป ทรงสอบสวนใหม่ว่ามิควรมีพระเกตุมาลา คือ พระรัศมี ซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียร และยังโปรดฯให้ทำผ้าครองเป็นริ้ วเหมือนการครองผ้าจริงของพระสงฆ์  เป็นแบบอย่างพระพุทธรูปในรัชกาลที่ ๔ สืบมา

แบบอย่างศิลปกรรมวัดหลวงวัดราษฎร์ แต่เดิมเป็นขนบนิยมทางช่างว่า อาคารสถานที่เป็นพระอารามหลวงเท่านั้นที่มีช่อฟ้าใบระกา วัดราษฎร์ทั่วไปมีไม่ได้

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ราษฎรเฝ้าฯ รับเสด็จในเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินพระราชกำหนดบทพระอัยการแต่โบราณห้ามราษฎรเยี่ยมหน้าต่างประตูใกล้ทางเสด็จพระราชดำเนิน หากใครฝ่าฝืนจะถูกกระสุนธนู หอกซัดพุ่งใส่ ทรงพระักรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ราษฎรเฝ้าฯรับเสด็จสองข้างทางเสด็จพระราชดำเนินได้

การเสด็จประพาสหัวเมืองทรงเยี่ยมราษฎร

พระเจ้าแผ่นดินแต่ครั้งโบราณ เสด็จออกนอกพระราชวังเมื่อเสด็จฯไปในการพระราชสงคราม เสด็จไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระอารามต่างๆ และเสด็จประพาสต้นสำราญพระราชอิริยาบถ

 

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ให้ จ้าง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดการเสด็จประพาสหัวเมืองเพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร เป็นพระราชจริยวัตรเป็นแบบแผนสืบเนื่องต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาดาราศาสตร์อย่างยิ่ง ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสุริยปราคาเห็นได้เต็มดวงชัดเจนที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันอังคารที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช  ๒๔๑๑ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรด้วยความสนพระราชหฤทัย

หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงพระนคร ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา

จากหนังสือเหนือเกล้าชาวไทย