หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม pantip

หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม pantip

Show

หลอดเลือดหัวใจตีบ ดูแลตัวเองดี ต่อชีวิตได้อีกไกล

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองลงมาจากโรคมะเร็ง หากรู้ตัวว่าเป็นแล้วต้องมีการดูแลตนเองเป็นอย่างดี เพื่อยืดอายุของคนไข้ให้ยาวนานขึ้น ด้วยการปรับพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากกระทำได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถต่อเวลาชีวิตออกไปได้

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายขณะออกแรง
  • หัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรัง
  • ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
  • หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

  • อายุที่มากขึ้นมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้น
  • เพศชายเป็นได้มากกว่าเพศหญิง หากในวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงมีโอกาสเป็นเท่ากับเพศชาย
  • ประวัติครอบครัว

2. ปัจจัยที่ควบคุมได้

  • สูบบุหรี่
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • น้ำหนักมากหรืออ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • กินอาหารไม่มีประโยชน์
  • ความเครียด

ผลกระทบหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้หรือรู้ตัวช้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมตามเวลา เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีปัจจัยเสี่ยง ไขมันจะเริ่มเกาะที่ผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการปริแตกของหลอดเลือด เกล็ดเลือดหลุดเข้าไปอุดตันทางเดินของหลอดเลือด และเมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจเกินร้อยละ 50 คนไข้จะเริ่มมีอาการแสดง

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

หากคนไข้พบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอก  หรืออาการอื่นที่กล่าวมาข้างต้น คนไข้จะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที และเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของหัวใจ หากสูงขึ้นแสดงว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ ร่วมกับซักประวัติคนไข้ สอบถามระยะเวลาที่เจ็บแน่นหน้าอก หากมากกว่า 20 นาที อาจเกี่ยวข้องกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • หากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน รักษาด้วยยา
  • หากหลอดเลือดตันมาก รักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจ
  • หากไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้ รักษาด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ

การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง (ควบคุมอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม ลดน้ำหนักตัว)
  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  • กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
  • กินอาหารแต่พออิ่ม หลังกินเสร็จพัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพราะหลังกินอาหารเลือดจะไปเลี้ยงที่ท้อง หากไม่พักจะทำให้เจ็บหน้าอก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลังการรักษาแพทย์จะให้คนไข้ฝึกเดิน จากนั้นควรเพิ่มระยะเวลาทีละน้อย
  • ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน ลดความเครียด
  • ไม่สูบบุหรี่

การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว และอาหารเค็มจัด
  • กินอาหารที่มีไขมันน้อย
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ข้อมูลโดย
ผศ. ดร.อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ
อาจารย์พยาบาล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีวิธีการอย่างไร : Rama Square ช่วง นัดกับ Nurse” ได้ที่นี่

อาการเตือนก่อนเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบฉับพลัน คืออะไรและจะป้องกันได้อย่างไร

จากข่าว นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

เอ๋ อัจฉรา ทองเทพ อดีตรองอันดับ 1 มิสทีนไทยแลนด์ ปี 1992 และนักแสดงละครพื้นบ้านชื่อดัง เกิดอาการเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เข้ารักษา รพ.พญาไท นวมินทร์แพทย์เผยมาช้าอีก 15-20 นาที เสียชีวิตแน่

โดยเหตุเกิดวันที่ 12 มิ.ย. เวลาประมาณ 03.00 น. เอ๋ อัจฉราเกิดอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่ออกขณะนอนพัก เจ้าตัวจึงตะโกนเรียกแม่ และพี่น้องให้พาส่งโรงพยาบาล ตอนแรกแพทย์วินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่หลังส่งไปฉีดสีเพื่อตรวจสอบที่รพ.พญาไท 2 ถึงพบว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน หากมาถึงมือหมอช้าอีก15-20 นาที อาจเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ แพทย์รักษาโดยการทำบอลลูน ใส่ขดลวดในหัวใจ เจ้าตัวฝากขอบคุณคุณหมอชยุต ชีวะพฤกษ์ เจ้าของไข้ และคุณหมอไพศาล นาคปฐมกุล ผู้ผ่าตัดทำบอลลูนให้

เลยมีข้อสงสัยถึงอาการก่อนหน้านี้ และภาวะการดำเนินชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

พอดีว่าเมื่อก่อนซัก 4-5 เดือนที่ผมได้ออกกำลังกายแต่ผมไม่ได้มีอาการปวดหน้าอกเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันกลับมีอาการปวดหน้าอกบริเวณหัวใจ โดยเจ็บจี๊ดๆ เฉพาะตอนออกกำลังกายแบบหักโหมมากๆโดยไม่หยุดพัก ไม่หยุดหายใจ ถือว่าปกติไหมครับ เพราะไม่ได้ออกกำลังกายเลย อ้วนด้วย ไม่ได้ออกกำลังกายเพราะทำงาน ไม่ค่อยมีเวลา

แก้ไขข้อความเมื่อ

0

หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม pantip

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน รักษาด้วยยา หากหลอดเลือดตันมาก รักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจ หากไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้ รักษาด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ

เส้นเลือดหัวใจตีบร้ายแรงไหม

เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ทุกปัญหาล้วนมีทางแก้ (และแนวทางป้องกัน) หากพบว่าตัวเองอาจเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ควรศึกษาทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และแนวทางการรักษา เพื่อเตรียมความพร้อม

ฉีดสีหัวใจ พักฟื้นกี่วัน

ควรพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วัน นอนราบบนเตียง ห้ามงอขาหรืองอมือข้างที่ทำการฉีดสี 6-12 ชั่วโมง ห้ามลุกออกจากเตียง แม้แต่เข้าห้องน้ำก็ไม่ได้! และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ส่วนใหญ่แพทย์จะอนุญาตให้เดินในวันรุ่งขึ้น และหากไม่มีอาการผิดปกติแพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้

เส้นเลือดหัวใจตีบกินอะไรได้บ้าง

เน้นอาหารที่มีเส้นใยสูง เป็นประจำ อาหารที่มีกากหรือเส้นใยสูงมีประโยชน์กับสุขภาพ เนื่องจากช่วยลดการดูดซึมไขมัน ป้องกันท้องผูก ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และลดการเกิดโรคหัวใจได้ อาหารจำพวกข้าวที่มีเส้นใยมาก ได้แก่ ผักและผลไม้ ซีเรียล ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวิท จมูกข้าว หัวบุก เป็นต้น