อินเทอร์เน็ต เชื่อม ต่อ กันได้อย่างไร

อินเทอร์เน็ต เชื่อม ต่อ กันได้อย่างไร

อินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมีใครพอจะทราบไหมว่าอินเตอร์เน็ตแท้จริงแล้วนั้นคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรวันนี้เราจะมาให้คำตอบกับทุกคน เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด แล้วรู้จักแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้นหากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานได้อย่างถูกต้องได้อย่างดีเยี่ยม

อินเตอร์เน็ตนั้นกล่าวได้ง่ายๆ มันหมายถึงเครือข่ายของวงจรคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก อินเตอร์เน็ตนี้จะมีการเชื่อมต่อหลากหลายรูปแบบระหว่างเครือข่ายทั่วโลก ซึ่งคนส่วนมากมักจะภาษาที่เอาไว้สื่อสารเกี่ยวกับสิ่งนี้ว่า โพรโทคอล ซึ่งเครือข่ายนี้มีคุณสมบัติพิเศษมากในการสื่อสารซึ่งสามารถทำได้หลายทางไม่ว่าจะเป็น เว็บบอร์ด อีเมล์ สื่อโซเชียล รวมถึงอินเตอร์เน็ตนี้ยังสามารถนำมาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ได้อีกด้วย

สำหรับองค์ประกอบที่เราจะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นจะมีทั้งหมด 5 ส่วนที่จำเป็นก็คือ

  • ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ผู้ใช้ และข้อมูล ซึ่งในแต่ละหน้าที่จะมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
  • ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค ซึ่งสิ่งพวกนี้จะเป็สิ่งที่ช่วยในการส่งเสริมการทำงานของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
  • ซอฟต์แวร์ เป็นโปรแกรม หรือที่เรารู้จักกันอีกชื่อนึงว่าชุดคำสั่ง สิ่งนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์นั้นสามารถทำงานขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • ผู้ใช้ คือคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์
  • ข้อมูล สิ่งนี้คือสิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องเตรียมตัวก่อนที่จะเริ่มใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย ส่วนตรงนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่คอยรับหรือส่งข้อมูลไปตามส่วนที่ต้องการ
  • เว็บเบราว์เซอร์ ในส่วนนี้เรียกว่าเป็นซอฟแวร์ซึ่งตัวนี้จำเป็นมากๆ ต่อการทำงานของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมถึงการทำงานของคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆ ในขั้นพื้นฐาน
  • มาตรฐาน สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเป็นกฎเพื่อให้ควบคุมดูแล รวมถึงกำหนดข้อตกลงต่างๆ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลสมบูรณ์ที่สุด
  • ผู้ใช้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต คือบุคคลทั่วไปที่จะเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อส่งข้อมูลจากอีกทีไปอีกที่ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือระหว่างประเทศก็ได้

รูปแบบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ แบบไร้สาย กับแบบมีสาย

  • แบบไร้สาย (Wireless Internet) จะมีการเชื่อมต่ออยู่ 2 แบบคือ การเชื่อมอินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านโทรศัพท์บ้านหรือโมเด็ม ซึ่งในส่วนนี้มักจะใช้กับโน๊ตบุ๊คหรือ คอมพิวเตอร์พกพา กับการเชื่อมอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมือถือโดยตรง ที่เรารู้จักกันดีอย่าง Wifi บลูธูทเป็นต้น
  • แบบมีสาย (Wire Internet) จะถูกใช้งานอยู่ 2 ประเภท คือแบบบุคคลที่ใช้การเชื่อมต่อโดยอาศัยคู่สายกับโทรศัพท์บ้าน โดยที่ผู้ใช้จะต้องสมัครสมาชิกเพื่อรับ User name กับPassword เสียก่อน กับแบบองค์กรจะใช้งานผ่านสาย Lan ทุกคนในหน่วยงานสามารถใช้งานได้ทุกคนโดยที่ไม่ต้องมี User name กับPassword

อินเทอร์เน็ต เชื่อม ต่อ กันได้อย่างไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินเทอร์เน็ต เชื่อม ต่อ กันได้อย่างไร

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ที่มา

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (email), สนทนา (chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์, การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่าง ๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (video conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรืออื่น ๆ

แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม(Social Network) ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต

ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการศึกษา ด้านธุรกิจและพาณิชย์ ด้านการบันเทิง

  • ด้านการศึกษา

การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสนับสนุนการศึกษา เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารเพื่อการส่งการบ้าน นัดหมาย อธิบารายละเอียด รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคณาจารย์กับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ การเรียนออนไลน์ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะเป็นการเรียนที่สะดวกสามารถเรียนได้ในเวลาที่ต้องการ อีกทั้งสามารถลดค่าเล่าเรียนลงไปได้อย่างมาก และทั้งนี้อินเทอร์เน็ตนั้นยังสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่พร้อมทั้งมีข้อมูลที่ครอบคลุมมีทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว

  • ด้านธุรกิจและพาณิชย์

การใช้อินเทอร์เน็ตกับงานธุรกิจณิชย์นั้นช่วยให้สามารถตัดสินใจซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วและสะดวก นับว่าเป็นตลาดที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพในการติดต่อซื้อสินค้าและบริการ เพราะคนเราสมัยนี้นิยมความสะดวกสบายและรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกก็ตามก็สามารถเปิดเว็บไซต์เพื่อเลือกสินค้าหรือหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งปรึกษาก็ได้ฉับไว

  • ด้านการบันเทิง

อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นแหล่งความบันเทิงในอีกรูปแบบหนึ่งเหมือนับการนั่งดูโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือหรือบทความต่าง ๆ ซึ่งสามารถจะดูหรือใช้งานที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ อินเทอร์เน็ตต่อด้านบันเทิงนั้นถือว่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ สามารถค้นคว้าวารสารทั้งหนังสือพิมพ์ ข่าวสาร นิยาย วรรณกรรมและอื่น ๆผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกทั้งสามารถฟังวิทยุออนไลน์ ดูรายการโทรทัศน์รวมทั้งภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่มาดูได้อีกด้วย

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตกับงานสื่อสารมวลชน

ในปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลกับงานทุกสาขาอาชีพรวมทั้งงานสื่อสารมวลชนด้วย สำหรับงานสื่อสารมวลชนเป็นงานที่ต้องเน้นความรวดเร็วเป็นหลักให้ทันกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน เพราะข่าวสารนั้นมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา มิใช่มีประโยชน์เพียงแค่นี้ อีกทั้งยังยังสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสาร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์

การสื่อสารโดยใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในจำนวนมากได้เป็นเวลาอันรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ และอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสื่อมวลชนตามความต้องการดังกล่าว

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2% ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่าง ๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน

หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3% รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1% และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3% ตามลำดับ

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30 คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]

อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท

ปัจจุบัน (สิงหาคม 2558) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet bandwidth) ภายในประเทศ 2,768.895 Gbps และระหว่างประเทศ 1,954 Gbps [3]

ดูเพิ่ม

  • ประวัติอินเทอร์เน็ต
  • รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
  • รายชื่อประเทศเรียงตามอันดับความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ย[4][5]

หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

  • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด

อ้างอิง

  1. ย้อนรอยอดีต ของอินเทอร์เน็ต มีที่มาที่ไปอย่างไร
  2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ/ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  3. ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  4. The State of the Internet
  5. Speedtest Global Index

  • ความหมายอินเทอร์เน็ต
  • หนังสือประวัติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เก็บถาวร 2008-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

แหล่งข้อมูลอื่น

  • สถิติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
  • การสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (Internet User Profile Survey) เก็บถาวร 2009-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ผลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2551 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ