ข้อใดคือการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

        ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายอย่าง ประกอบกันคือ
    1. การรวบรวมข้อมูล
    2. การแยกแยะ
    3. การตรวจสอบความถูกต้อง
    4. การคำนวณ
    5. การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
    6. การรายงานผล
    7. การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น

วิธีการประมวลผล  มี 2 ลักษณะ คือ
         (1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
          หมายถึงการทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อ
จากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการ ประมวลผล
          การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบินการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงิน
เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

         (2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
        
หมายถึงการประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการ
ทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้ง สมาชิกสภา
ผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อ เก็บรวบรวม
ข้อมูลเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงาน
หรือสรุปผลหาคำตอบกรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะ
เป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน


คำแนะนำ

         1.  แบบทดสอบแบ่งเป็น  2  ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย  4  ตัวเลือก
              มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
         2.  ตอนที่  2  ภาคปฏิบัติแบบอัตนัย  2  ข้อ  10 คะแนน
         3.  ตอนที่ 1 ให้นักเรียนคลิกตัวเลือกที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว และเมื่อทำแบบทดสอบครบ
              ทุกข้อแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม  "ตรวจคำตอบ"  จะทราบคะแนนทันที


ตอนที่ 1

ข้อที่ 1 :  ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาขั้นตอนใดที่ผู้พัฒนาโปรแกรมต้องศึกษาถึงวิธีการประมวลผลมากที่สุด

   ก. สิ่งที่ต้องการ
   ข. รูปแบบการแสดงผลทางเอาต์พุต
   ค. การประมวลผล
   ง. ลักษณะของข้อมูลเข้า


ข้อที่ 2 :  ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิเคราะห์ปัญหา

   ก.  ทำความเข้าใจกับปัญหา 
   ข.  ทำความเข้าใจกับลักษณะข้อมูลเข้าออก
   ค.  ทดสอบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา
   ง.  ทดสอบรูปแบบข้อมูลเข้าและข้อมูลออก


ข้อที่ 3 :  ข้อใดคือความหมายของอัลกอริทึม

   ก. การทำความเข้าใจกับปัญหา
   ข. การอธิบายขั้นตอนการทำงานเป็นข้อๆ
   ค. การคิดวิธีแก้ปัญหา
   ง. การทดสอบขั้นตอนการทำงาน


ข้อที่ 4 :  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเขียนจากขั้นตอนใด    ก. พิจารณาข้อมูลอินพุต
   ข. พิจารณาข้อมูลเอาต์พุต
   ค. การอธิบายวิธีประมวลผล
   ง. สิ่งที่ต้องการทางเอาต์พุต
ข้อที่ 5 : ถ้าหากต้องการให้คอมพิวเตอร์คำนวณหาพื้นที่สามเหลี่ยม ท่านคิดว่าข้อมูลใดคือข้อมูลอินพุต

   ก. พื้นที่, ความสูง
   ข. พื้นที่, ความยาวฐาน
   ค. ความยาวฐาน, สูง
   ง. พื้นที่, ความยาวฐาน, สูง


ข้อที่ 6 :  การทดสอบความถูกต้องของขบวนการแก้ปัญหาควรจะทำกับข้อมูลตัวอย่างกี่ชุด

   ก. อย่างน้อย 1 ชุด
   ข. อย่างน้อย 2 ชุด
   ค. ขึ้นกับลักษณะของปัญหา
   ง. ทุกกรณีที่สามารถเป็นไปได้ในปัญหานั้นๆู


ข้อที่ 7 :  ข้อใดคือการวิเคราะห์สิ่งที่ต้องการทางเอาต์พุต

   ก. การวิเคราะห์ว่าโปรแกรมนั้นต้องทำงานบนเครื่องรุ่นใด
   ข. การวิเคราะห์ว่าต้องการผลลัพธ์อะไรจากการประมวลผล
   ค. การวิเคราะห์รูปแบบการพิมพ์ผลลัพธ์
   ง. ถูกทุกข้อ


ข้อที่ 8 : จากปัญหาต่อไปนี้

               "

ให้หาค่าเฉลี่ยของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน ที่ป้อนผ่านแป้นพิมพ์ และแสดง
               ค่าเฉลี่ยออกทางจอภาพ
"
           ผลลัพธ์ที่ต้องการจากปัญหานี้คือข้อใด

   ก. ค่าของตัวแปร 3 ตัว
   ข. ค่าของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน ที่รับผ่านทางแป้นพิมพ์
   ค. ค่าเฉลี่ยของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน
   ง. ค่าเฉลี่ยของเลขจำนวนเต็ม 3 จำนวน ที่แสดงออกทางจอภาพ


ข้อที่ 9 : ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปัญหาคือข้อใด

   ก.  ทำให้เข้าใจและแยกแยะปัญหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
   ข.  สามารถหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย
   ค.  ผู้เขียนโปรแกรมมองเห็นลำดับการทำงาน
   ง.   ถูกทุกข้อ


ข้อที่ 10 : ในชีวิตประจำวันบุคคลใดจัดว่าวิเคราะห์ปัญหาไม่เป็น

   ก. นิดฝึกคิดวิเคราะห์ และหารายได้เสริม
   ข. เอลำดับขั้นตอนการทำอาหารของตนเอง
   ค. เจลอกการบ้านเพื่อนเสมอ
   ง. โอสร้างปฏิทินการทำงานของตนเองเสมอ