การ จัด ซื้อ จัดหา มี ความ สำคัญ ต่อ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

การจัดหา (Sourcing) คืออะไร?

Sourcing หรือการจัดหา คือ การคัดเลือกซัพพลายเออร์เพื่อซื้อสินค้าและบริการได้อย่างมีคุณภาพ ราคาสมเหตุสมผล สามารถจัดส่งสินค้าและบริการได้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ หากบริษัทซื้อสินค้าและบริการจากซัพพลายเออร์ที่มีศักยภาพไม่เหมาะสมผลที่ตามต่อมาก็คือ ความเสี่ยงในการจัดส่งสินค้าที่ด้อยคุณภาพ ล่าช้า ส่งผลให้ลูกค้าไม่พอใจและขาดความเชื่อมั่น

การจัดหา (Sourcing) มีความสัมพันธ์อย่างไรกับการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement?)

การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) คือ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ โดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน ในขณะที่การจัดหา (Sourcing) คือ การคัดเลือกซัพพลายเออร์เพื่อซื้อสินค้าและบริการได้อย่างมีคุณภาพ เพราะฉะนั้นการจัดหานับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

การ จัด ซื้อ จัดหา มี ความ สำคัญ ต่อ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร

7 ขั้นตอนการจัดหา (Sourcing) ตามหลักสากล

ก่อนที่จะถึงขั้นตอนการจัดหา คุณควรทราบก่อนว่า สินค้าที่คุณจะซื้อเป็นสินค้าประเภทไหนและมีความสำคัญมากน้อยกับบริษัทมากเพียงใด (เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ แน่นอนว่าจะให้ความสำคัญกับเครื่องยนต์มากกว่าล้อรถยนต์) เข้าใจสภาพตลาดของสินค้า รวมไปถึงการวิเคราะห์ supply risk อีกด้วย ถึงทำให้การจัดหาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 7 ขั้นตอนการจัดหานี้เป็นไปตามหลักสากลที่ International Trade Centre (ITC) WTO United Nations กำหนดไว้ มาดูกันดีกว่าว่าประกอบไปด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง?

  1. กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินซัพพลายเออร์:

    คุณควรกำหนดในการประเมินซัพพลายเออร์ให้ชัดเจนว่า คุณจะประเมินพวกเขาในด้านไหนบ้าง เช่น เรื่องคุณภาพ เรื่องต้นทุน เรื่องศักยภาพหลายๆด้าน เช่น การผลิต การส่งมอบ และสุขภาพทางการเงิน เป็นต้น เรื่องการซัพพอร์ตหลังจากซื้อของแล้ว แน่นอนว่า หากสินค้ายิ่งสำคัญกับบริษัทมากขนาดไหน (เช่น มูลค่าสูง บริษัทมีความเสี่ยงสูงหากขาดของประเภทนี้) หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์จะต้องยิ่งเข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น

  2. สรรหาและสกรีนซัพพลายเออร์:

    เมื่อได้หลักเกณฑ์ในการประเมินซัพพลายเออร์แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการสรรหาซัพพลายเออร์ คุณควรหาอย่างต่ำ 3 ซัพพลายเออร์เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ยิ่งคุณหาได้เยอะ คุณก็จะมีตัวเลือกที่เป็นไปได้เยอะขึ้น จากนั้นคุณก็นำรายการซัพพลายเออร์ที่หาได้มาสกรีนก่อนเบื้องต้นว่ามีซัพพลายเออร์เจ้าไหนบ้างที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซัพพลายเออร์ที่ผ่านการสกรีนควรจะผ่านในทุกหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้

  3. หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประเมินซัพพลายเออร์:

    ตอนนี้เราจะได้ซัพพลายเออร์ที่เรามีความสนใจอยู่ในมือแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซัพพลายเออร์กลุ่มนี้ เช่น คุณสามารถดูหลักฐานการเงินย้อนหลังของซัพพลายเออร์ได้ว่ามีผลประกอบการเป็นอย่างไร มีความมั่นคงทางการเงินมากน้อยเพียงไหน เป็นต้น จากนั้นก็เริ่มขั้นตอนของการประเมินซัพพลายเออร์ การสั่งซื้อสินค้าและบริการแต่ละครั้งคุณจะต้องกำหนดค่าน้ำหนัก (Weighted) ให้กับเกณฑ์การประเมินที่เกี่ยวข้องและประเมิน (Rate) ศักยภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้คือ การได้ shortlisted ซัพพลายเออร์

    การ จัด ซื้อ จัดหา มี ความ สำคัญ ต่อ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร

  4. ทำการวิเคราะห์ SWOT ของ shortlisted ซัพพลายเออร์:

    ในขั้นตอนนี้ หลายคนอาจคิดว่าไม่สำคัญและมองข้ามไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในระดับสากลจะมีการทำ SWOT analysis ของ shortlisted ซัพพลายเออร์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของซัพพลายเออร์และกระบวนการทำงาน ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (ความเสี่ยง)ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT ของซัพพลายเออร์นี้จะทำให้คุณรู้ว่า บริษัทของคุณมีความสำคัญกับบริษัทของเขามาน้อยขนาดไหน

  5. บันทึกผลการประเมิน:

    จากนั้น คุณควรจะบันทึกผลประเมินซัพพลายเออร์ไว้ในระบบของคุณเพื่อที่จะเอาไว้อ้างอิงในการประเมินซัพพลายเออร์ในรอบถัดไปได้ว่าคุณควรจะหาซัพพลายเออร์รายใหม่ หรือ พัฒนากับรายเดิม หากใช้รายเดิม ซัพพลายเออร์ควรได้คะแนนการประเมินผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม

  6. แจ้งผลการประเมินกับซัพพลายเออร์:

    เมื่อผลประเมินออกมาเป็นมติเอกฉันท์แล้วว่า คุณเลือกซัพพลายเออร์รายไหน ขั้นตอนต่อไปคือการแจ้งผลประเมินกับซัพพลายเออร์ทั้งรายที่ผ่านและรายที่ไม่ผ่านว่าเพราะเหตุผลอะไร ในส่วนของรายที่ผ่าน คุณจะต้องมีการเจรจาต่อรองถึงเรื่องราคา คุณภาพสินค้า การจัดส่ง และปัจจัยต่างๆอีกมากมาย เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามประเภทของสินค้านั้นๆ

  7. พัฒนาซัพพลายเออร์:

    ขั้นตอนสุดท้ายคือการพัฒนาซัพพลายเออร์เพื่อให้ซัพพลายเออร์สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ตรงตามที่ต้องการ การพัฒนาซัพพลายเออร์อาจเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพซัพพลายเออร์ เช่น การพัฒนาสินค้าไปด้วยกัน การให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับซัพพลายเออร์ได้อีกด้วย เช่น การเป็นบริษัทคู่ค้าที่จ่ายเงินตรงต่อเวลา มีคุณธรรม มีความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพนั้น ต้องผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์ในหลากหลายมิติ เพื่อให้มั่นใจว่า ซัพพลายเออร์ของคุณจะสามารถส่งสินค้าได้อย่างมีคุณภาพและภายในเวลาที่คุณกำหนด หากคุณต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์ต่อไป คุณควรจะต้องหา”เพื่อนคู่หู” ที่ร่วมมือทำธุรกิจไปกับคุณ

หากคุณอยากเข้าใจวิธีการทำ Sourcing อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การวิเคราะห์ประเภทและความสำคัญของสินค้า การวิเคราะห์ Supply market การวิเคราะห์ Supply risk การกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินซัพพลายเออร์แต่ละประเภทว่าเป็นอย่างไร รวมไปถึงการเจรจาต่อรองอย่างไรให้ประสบความสำเร็จด้วย คุณสามารถลงเรียนคอร์สประกาศนียบัตรวิชาชีพการจัดการซัพพลายเชน ระดับสากล ด้าน Sourcing กับเราได้เลย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ เพียงคลิก https://supplychainguru.co.th/international-professional-certificate-sourcing/

การจัดซื้อจัดหามีความสำคัญอย่างไร

สรุปความสำคัญของฝ่ายจัดซื้อจัดหา ฝ่ายจัดซื้อจัดหาถือเป็นศูนย์ต้นทุนหลัก (cost center) ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มีการผลิต (manufacturing) สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (ทำให้สูงกว่าที่กำหนด) ช่วยส่งเสริมกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ การตอบสนอง และการสร้างความแตกต่าง

กิจกรรมการจัดซื้อ การจัดหา มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

วัตถุประสงค์การจัดซื้อจัดหา (Purchasing objectives) 1) เพื่อสนับสนุนการด าเนินงานของบริษัท ด้วยการจัดวัสดุ และบริการสนองให้โดยไม่ ขาดสาย เพื่อมิให้กระบวนการผลิตหยุดชะงักเนื่องจากการขาดวัสดุ 2) ทาการซื้อโดยได้ราคาไม่เกินกว่าคู่แข่งขัน และทาการเสาะแสวงหาสิ่งที่มีคุณค่าที่ดีกว่าในราคาที่ ต้องจ่ายไป

การจัดซื้อที่จะมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญๆ อะไรบ้าง

1. ซื้อให้ได้ตามคุณภาพที่ต้องการ (Right Quality) ... .
2. ซื้อให้ได้ในปริมาณหรือจำนวน ตามที่ต้องการ (Right Quantity) ... .
3. ส่งสินค้าให้ได้ในเวลาที่ต้องการ (Right Time) ... .
4. การซื้อสินค้าได้ในราที่ยุติธรรม (Right Price) ... .
5. ส่งสินค้าได้ตามสถานที่ที่กำหนด (Right Place) ... .
6. ซื้อสินค้าจากแหล่งขายหรือผู้ขายที่เชื่อถือได้ (Right Source).

การจัดซื้อจัดหาคืออะไร

การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) คือ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ โดยการซื้อ จ้าง เช่า แลกเปลี่ยน ในขณะที่การจัดหา (Sourcing) คือ การคัดเลือกซัพพลายเออร์เพื่อซื้อสินค้าและบริการได้อย่างมีคุณภาพ เพราะฉะนั้นการจัดหานับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างให้บรรลุตามวัตถุประสงค์