ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน อายุเท่าไหร่

ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน อายุเท่าไหร่

title เพราะ “วัยทอง” หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นผลเชื่อมโยงมาจากเรื่องของฮอร์โมน จึงไม่น่าแปลกเลยที่คนวัยนี้จะมีอารมณ์แปรปรวน ขึ้นๆลง ๆ หงุดหงิดง่าย

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การเตรียมตัวเพื่อรับมือวัยทองแบบถูกต้องจะช่วยให้สามารถก้าวเข้าสู่วัยทองได้แบบสุขใจไร้กังวล!!

วัยทอง…จะมาถึงเมื่ออายุเท่าไหร่?

ถ้าพูดถึงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนแต่ละคนนั้นอาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยมากมักพบว่าอยู่ที่อายุประมาณ 50 ปี แต่ ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตั้งแต่ช่วงกลางๆ อายุ 30 และจะแปรปรวนแบบสังเกตได้ชัดเจน เมื่อคุณอายุประมาณ 40 ปี

ประจำเดือน…สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเข้าสู่ “วัยใกล้หมดประจำเดือน”

การผันผวนของฮอร์โมนที่สังเกตได้ด้วยตัวเอง คือ ประจำเดือน โดยรอบเดือนของคุณจะเร็วขึ้นหรือมาทุกๆ3 สัปดาห์ ก่อนจะทิ้งระยะห่างเป็น 2-3 เดือนครั้ง และเว้นระยะห่างยาวนานจนครบ 1 ปี โดยระยะวัยใกล้หมดประจำเดือนนี้อาจกินเวลานานถึง 4-5 ปี เลยทีเดียว

อาการแบบนี้นี่แหละ ! ที่บอกว่าคุณได้เดินทางมาถึง…“วัยทอง” แล้ว

1.ปวดหัวมาก วิงเวียนศีรษะ
2.หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน และบางทีก็ซึมเศร้า
3.นอนหลับยาก และมักตื่นกลางดึกบ่อยๆ
4.มีอาการร้อนวูบวาบ มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ
5.ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลง

ไม่อยากเป็นวัยทองเจ้าอารมณ์ มาเตรียมความพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ดีกว่า

อาจเริ่มจากการใส่ใจในเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น โดยลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที แต่ถ้าใครที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน แนะนำให้ขอรับคำปรึกษาจากแพทย์จะดีกว่า เรื่องแอลกอฮอล์และบุหรี่ก็ควรลดหรือเลิกเพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

ด้วยอายุแล้ว เรื่องของสุขภาพของกระดูกก็ไม่ควรละเลย ควรฝึกออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ ควบคู่กับการเสริมแคลเซียมและวิตามินดีใครมีนัดตรวจสุขภาพก็ควรไปตามตารางนัด และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยทำให้จิตใจและอารมณ์สดใสขึ้นได้ด้วย

ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน อายุเท่าไหร่
สอบถามรายละเอียด
ศูนย์สุขภาพสตรี อาคาร 1 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1203-1204

Home > วัยทอง คืออะไร – อาการคุณเข้าข่ายหรือยัง?

แพทย์หญิงกัลยรัตน์ โอภาสวานิช
สูตินรีแพทย์

วัยทองคืออะไร?

วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ได้หยุดทำงานแล้ว และถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ โดยอายุเฉลี่ยที่ผู้หญิงไทยเข้าสู่วัยทองประมาณ 48-52 ปี  

สังเกตอาการ “วัยทอง”

  • อาการร้อนวูบวาบ (hot flush) โดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน เช่น บริเวณหน้า คอ และอก มักเกิดอาการนานประมาณ 1-5 นาที ร่วมกับ อาการอื่น ได้แก่ เหงื่อออก หนาวสั่น วิตกกังวล หรือใจสั่นได้ อาการเหล่านี้อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และการนอนหลับยากขึ้นได้ 
  • ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อและคันในช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคไขมันในเลือดสูงเพิ่ม โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น เนื่องจากจากการขาดเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่สำคัญในการลดไขมันไม่ดี( LDL)
  • เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • ซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย
  • ผิวหนังเหี่ยวแห้ง และบาง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผล และกระได้ง่าย

วัยทองรักษาได้หรือไม่?

  • การรักษาโดยการให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน (hormone replacement therapy: HRT) ใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการรุนแรงและไม่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน
  • กลุ่มยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเพศหญิง (non-hormonal treatment) ได้แก่ กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า (antidepressant) เช่น ยากลุ่ม SSRIs และ SNRIs ยากลุ่ม selective estrogen receptor modulators (SERMS) ตัวอย่างยาได้แก่ tamoxifen, raloxifene เป็นต้น ยา tibolone และ androgen เป็นต้น

วิธีดูแลตนเองรับมือกับวัยทอง

1. อาหาร สตรีวัยทองควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับเข้าไปจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ ควรควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดโดยงดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก เป็นต้น

3. ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน

4. ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง
ตรวจเช็คความดันโลหิต
ตรวจเลือดหาระดับไขมัน
ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก
ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography)
ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)
รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง

5. ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม

ผลดีของฮอร์โมนทดแทน
ช่วยรักษาอาการต่างๆ ของภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน อาการที่สำคัญได้แก่ อาการร้อนวูบวาบและลดการสูญเสียมวลกระดูก จึงช่วยป้องกันภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน นอกจากนี้ ยังรักษาอาการช่องคลอดแห้งที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน และช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผลเสียของฮอร์โมนทดแทนที่อาจเกิดขึ้น
อาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด คัดตึงเต้านม น้ำหนักเพิ่ม เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ขาบวม เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดดำอุดตัน และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ในปริมาณที่สูง และใช้ติดต่อกันนาน 10-15 ปี ซึ่งการใช้ฮอร์โมนทดแทนไม่ควรใช้ติดต่อนานเกิน 5 ปี

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมน

  1. ผู้ที่มีประวัติมะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูก
  2. ผู้ที่เป็นโรคตับ
  3. ผู้ที่เกิดลิ่มเลือดที่เท้า
  4. ผู้ที่มีประจำเดือนผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาจจะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเข้าสู่วัยทอง
และถ้าอาการเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ควรมาปรึกษาและตรวจสุขภาพวัยทองกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่เนิ่นๆ
เพื่อก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี


แชร์บทความ

บทความทางการแพทย์ ผู้หญิง