เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์

Skip to content

เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน

เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน

  • View Larger Image
    เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์

ในการใช้ไฟฟ้านั้น ต้องมีมาตรฐานในการจดบันทึกว่าบ้านแต่ละหลังใช้ไฟไปปริมาณเท่าไหร่ เป็นเงินกี่บาท โดยผ่านอุปกรณ์มาตรฐานที่เรียกว่า มิเตอร์ไฟฟ้า วันนี้ KACHA ขอพาไปทำความความรู้จักมิเตอร์ไฟฟ้ากันให้มากขึ้นดีกว่า ว่าความสำคัญของมิเตอร์ไฟ มิเตอร์ไฟมีกี่ขนาด และวิธีการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบ้านคุณนั่นเอง

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์

มิเตอร์ไฟฟ้า (Kilowatt-Hour Meter)

สามารถจําแนกตามระบบไฟฟ้าได้ 2 ประเภท ดังนี้

❶ วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส (Single phase watt-hour meter)

มีหลักการ ทํางานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า และมีส่วนประกอบที่และมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน คือ ขดลวดกระแสไฟฟ้า (Current coil) และขดลวดแรงดันไฟฟ้า (Potential coil) ส่วนที่แตกต่างกันคือ ในวัตต์มิเตอร์จะแสดงค่าด้วยการบ่ายเบนของเข็มชี้ซึ่งใช้ชี้ค่าบนสเกล ส่วนวัตต์ฮาวร์มิเตอร์จะแสดงค่าโดยใช้ แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลวนทำให้จานหมุนและใช้ชุดเฟืองไปขับ ชุดตัวเลขหรือชุดเข็มชี้ให้ แสดงค่าออกมาบนหน้าปัทม์

➧ โครงสร้างมิเตอร์ไฟฟ้า ประกอบด้วย ขดลวดกระแสต่ออนุกรมกับโหลด และขดลวดแรงดันต่อขนานกับโหลดขดลวด ทั้งสองชุดนี้จะพันอยู่บนแกนเหล็กที่ออกแบบโดยเฉพาะ และมีจานอะลูมิเนียมบาง ๆ ยึดติดกับแกนหมุนวางอยู่ในช่องว่างระหว่างแกนลวดทั้งสอง

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์


➧ หลักการทํางานขดลวดกระแสและขดลวดแรงดัน ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านไปยังจานอะลูมิเนียมที่วางอยู่ระหว่างขดลวดทั้งสองทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำและมีกระแสไหลวน (Eddy current) เกิดขึ้นในจานอะลูมิเนียม แรงต้านระหว่างกระแสไหลวน และสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันจะทำให้เกิดแรงผลักขึ้นกับจานอะลูมิเนียมจึงหมุนไปได้ที่แกนของจานอะลูมิเนียมจะมีเฟืองติดอยู่ เฟืองนี้จะไปขับ ชุดตัวเลขที่หน้าปัทมข์องเครื่องวัด แรงผลักที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนระหว่างความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดัน  และกระแสไหลวนในจานอะลูมิเนียมและขึ้นอยู่กับจานวนรอบของขดลวดด้วย ส่วนจำนวนรอบการหมุนของจานอะลูมิเนียมขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานไฟฟ้าของโหลด

➧ การนําไปใช้งานการต่อวัตต์ฮาวร์มิเตอร์หรือกิโลวตัตต์ฮาวร์มิเตอร์ เพื่อใช้วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1S และ 2S ส่วนด้านที่ต่อไปยังโหลดจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1L และ 2L ตัวอักษร S ย่อมาจากคำว่า “Supply” หมายถึงด้านที่จ่ายไฟเข้า ส่วนอักษร L ย่อมาจากคำว่า “Load” หมายถึง ด้านที่ต่อกับโหลดไฟฟ้า ส่วนตัวเลข 1 หมายถึง ต่อกับสายไฟ (Line) และเลข 2 หมายถึง สายนิวทรอล (Neutral)

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์

❷ วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส (Three phase watt-hour meter) แบบ 3 จานหมุนและ 2 จานหมุน

เครื่องวัดแบบนี้มีส่วนประกอบเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิด 3 เฟส หรืออาจจะเอาวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 3 ตัวมาประกอบรวมกันเป็น วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส หลักการทํางานจะอาศัยการทำงานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการต่อใช้งานวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟสแบบ 3 จานหมุน อาจจะนําวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 2 ตัวมาประกอบรวมกัน เป็นกิโลวตัตฮ์าวร์มิเตอร์ 3 เฟส แบบ 2 จานหมุนได้

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์

ประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้า

ในปัจจุบบันนี้มิเตอร์ไฟฟ้าก็จะมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดเล็ก
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดกลาง
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดใหญ่
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว

มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านที่พักอาศัยมีขนาดไหนบ้าง?

มิเตอร์ไฟฟ้ามีด้วยกันหลายขนาด โดยสามารถสังเกตได้จากตัวเลขในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้า ดังนี้

  • ขนาดมิเตอร์ 5(15) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์ 

เลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์


ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในบ้านเรือนทั่วไปนั้น ต้องพิจารณาถึงจำนวนสมาชิกในบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปัจจุบันและในอนาคต
สามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองว่าบ้านของเราเหมาะกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่ โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต) เช่น

  • พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ จำนวน 2 ตัว คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (75 ÷ 220) x 2 = 0.68 แอมแปร์
  • หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (36 ÷ 220) x 6 = 0.98 แอมแปร์
  • เครื่องปรับอากาศ 1,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 1,000 ÷ 220 = 4.54 แอมแปร์
  • หม้อหุงข้าว 500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 500 ÷ 220 = 2.27 แอมแปร์
  • เตารีด 430 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 430 ÷ 220 = 1.95 แอมแปร์
  • โทรทัศน์ 43 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 43 ÷ 220 = 0.2 แอมแปร์
  • ตู้เย็น 70 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 70 ÷ 220 = 0.32 แอมแปร์

กระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันจะเท่ากับ 10.94 แอมป์ เมื่อนำมาคูณกับ 1.25 จะได้ประมาณ 13.68 แอมแปร์ ถือว่ายังสามารถใช้ขนาดเมิเตอร์ 5(15) ได้เนื่องจากยังไม่เกิน 15 แอมแปร์ และปกติเราจะไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กันอยู่แล้ว แต่หากเผื่อในอนาคตจะพบว่า มิเตอร์ไฟอาจมีขนาดไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหากต้องการติดเครื่องปรับอากาศเพิ่มอีก 1 ตัว ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วย เพื่อความปลอดภัย 👌


👉 คุณสมบัติของผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า
ผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า มีดังนี้

  1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า
  3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า

 👉 เอกสารที่ผู้ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าต้องนำมาแสดง ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า หลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ มีดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่าง ๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม
  8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีขนาด 5 15 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินควรมีขนาดกี่แอมแปร์

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าทำได้อย่างไร?

  1. หลังจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ
  2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน เป็นอันเสร็จสิ้น

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่งทั่วประเทศ

สอบถามการไฟฟ้า
► กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ติดต่อได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


สุดท้ายนี้ ขอแชร์ราคาการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าคร่าวๆ กันหน่อย  ดังนี้ 😘

ราคาติดตั้งมิเตอร์ใหม่
5(15) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 728.00 บาท
15(45) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 4,621.50 บาท
30(100) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 12,383.00 บาท
15(45) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 16,004.50 บาท
30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 38,754.00 บาท

นอกจากนี้ ยังมีการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบชั่วคราว โดยการขอจะเป็นการขอเพื่อการใช้งานระหว่างก่อสร้าง ค่าขอและราคาค่าไฟต่อหน่วยแพงกว่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบถาวร การขอมิเตอร์ชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอ้าท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย โดยราคาขอติดตั้งมิเตอร์แบบชั่วคราว มีดังนี้

ราคาติดตั้งมิเตอร์แบบชั่วคราว
15(45) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 10,802.50 บาท
30(100) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 26,605.00 บาท
15(45) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 32,407.50 บาท
30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 79,815.00 บาท
30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 38,754.00 บาท

Share This Post With Others!

Title

Page load link

Go to Top