มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งสำคัญของทุกบ้าน นอกจากจะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับบ้านแล้ว ยังเป็นส่วนช่วยในการประกอบอาหารและเป็นสิ่งที่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น สามารถใช้งานได้ หรือเรียกได้ว่าทุกๆ กิจวัตรประจำวันของเราทุกคนนั้น ต้องมีการใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอนั้นเอง

การวัดค่าไฟฟ้าของแต่ละบ้าน ต้องผ่านตัววัดค่าไฟฟ้า โดยอุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป เรียกว่า “มิเตอร์ไฟฟ้า” ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับมิเตอร์ไฟฟ้ากันก่อนนะคะ มิเตอร์ไฟฟ้าคือ เครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้า ต่อระยะเวลาที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งปกติจะติดตั้งเครื่องวัดมิเตอร์ไฟฟ้านี้ บริเวณพื้นที่ภายนอกบ้านหรือภายนอกอาคารก็ได้ โดยหน่วยวัดจะมีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง วันนี้ LeKise พาคุณมาไขข้อสงสัยตัวเลขบนมิเตอร์ไฟฟ้ากัน

ทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ที่อยู่บนมิเตอร์ไฟฟ้า 

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

ตัวเลขในหลักหน่วยจะเพิ่มขึ้นหนึ่งตัวเลข เมื่อตัวเลขหลักจุดทศนิยมมีการหมุนครบรอบ ตัวเลขในหลักหน่วยจะขึ้นมาหนึ่งตัวเลข เรียกว่า 1 หน่วย หรือ 1 ยูนิต หมายความว่า เรามีการใช้พลังงานไฟฟ้าไปทั้งหมดหนึ่งพันวัตต์นั้นเอง ถัดมาจะเป็นตัวเลขหลัก สิบ ร้อย พัน แสดงว่า มิเตอร์ ขนาด 5(15)A จะอ่านค่าได้ถึง 9,999 หน่วย และวนกลับมาที่ 0 ใหม่อีกครั้ง ซึ่งในการอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้าที่มีหลักจุดทศนิยมนี้ เราจะอ่านค่าตั้งแต่หลักหน่วย ถึงหลักพันจะไม่นำตัวเลขจุดทศนิยมมาอ่านด้วย
 


ตัวอย่างการอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้า 5(15)A

มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5(15)A มิเตอร์ไฟนี้ จะมีหลัก หน่วย สิบ ร้อย พัน ซึ่งหลักในการอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้านี้ อ่านคล้ายกับมิเตอร์ขนาด5(15)A แต่เราจะอ่านตั้งแต่หลักหน่วย ถึงหลักหมื่น ไม่อ่านหลักทศนิยมนั้นเอง

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

ตัวอย่างการอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้า 15(45)A

มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45)A ต้องนับช่องสุดท้ายด้วย เพราะรุ่นนี้ไม่มีช่องจุดทศนิยม จึงต้องเริ่มนับหลักหน่วยที่ช่องสุดท้าย ตามด้วยหลักสิบ ร้อย พัน หมื่น รุ่น 15(45)A จะต่างจาก 5(15)A ตรงที่จะมีหลักหมื่นเพิ่มขึ้นมาและไม่มีช่องจุดทศนิยมแต่จะมีเป็นเส้นขีดๆ เพื่อให้เห็นถึงทศนิยมที่เปลี่ยนไปแทน

มิเตอร์ไฟฟ้านั้นมีหลายขนาดและหลายแบบ ซึ่งแต่ละบ้านจะต้องเลือกให้เหมาะสม กับจำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน รวมถึงจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อให้คุณสามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับทริคดีๆ ในการอ่านค่ามิเตอร์ไฟฟ้า ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคนที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะคะ อย่างไรก็ตามในการเลือกมิเตอร์ไฟฟ้า ควรที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง อายุการใช้งานทนทาน เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานของคุณมากที่สุดนะคะ

--
LeKise | Innovative Light for Life นวัตกรรมแห่งแสงสว่างเคียงข้างคุณ

สนใจสินค้าติดต่อสอบถามข้อมูลได้ตามช่องทาง

  • Hotline : 095-4099280
  • Facebook : LeKise Lighting
  • Line : @lekisegroup
  • Website : lekise.com
  • IG : lekise.lighting

Skip to content

  • หน้าแรก
  • สินค้าของเรา

    • มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

  • โปรโมชั่น/ข่าวสาร
  • ผลงาน
  • แจ้งการโอนเงิน
  • ติดต่อเรา
  • บัญชีลูกค้า
    • Checkout
    • Cart

เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน

เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน

  • View Larger Image
    มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

ในการใช้ไฟฟ้านั้น ต้องมีมาตรฐานในการจดบันทึกว่าบ้านแต่ละหลังใช้ไฟไปปริมาณเท่าไหร่ เป็นเงินกี่บาท โดยผ่านอุปกรณ์มาตรฐานที่เรียกว่า มิเตอร์ไฟฟ้า วันนี้ KACHA ขอพาไปทำความความรู้จักมิเตอร์ไฟฟ้ากันให้มากขึ้นดีกว่า ว่าความสำคัญของมิเตอร์ไฟ มิเตอร์ไฟมีกี่ขนาด และวิธีการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบ้านคุณนั่นเอง

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

มิเตอร์ไฟฟ้า (Kilowatt-Hour Meter)

สามารถจําแนกตามระบบไฟฟ้าได้ 2 ประเภท ดังนี้

❶ วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส (Single phase watt-hour meter)

มีหลักการ ทํางานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า และมีส่วนประกอบที่และมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน คือ ขดลวดกระแสไฟฟ้า (Current coil) และขดลวดแรงดันไฟฟ้า (Potential coil) ส่วนที่แตกต่างกันคือ ในวัตต์มิเตอร์จะแสดงค่าด้วยการบ่ายเบนของเข็มชี้ซึ่งใช้ชี้ค่าบนสเกล ส่วนวัตต์ฮาวร์มิเตอร์จะแสดงค่าโดยใช้ แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลวนทำให้จานหมุนและใช้ชุดเฟืองไปขับ ชุดตัวเลขหรือชุดเข็มชี้ให้ แสดงค่าออกมาบนหน้าปัทม์

➧ โครงสร้างมิเตอร์ไฟฟ้า ประกอบด้วย ขดลวดกระแสต่ออนุกรมกับโหลด และขดลวดแรงดันต่อขนานกับโหลดขดลวด ทั้งสองชุดนี้จะพันอยู่บนแกนเหล็กที่ออกแบบโดยเฉพาะ และมีจานอะลูมิเนียมบาง ๆ ยึดติดกับแกนหมุนวางอยู่ในช่องว่างระหว่างแกนลวดทั้งสอง

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์


➧ หลักการทํางานขดลวดกระแสและขดลวดแรงดัน ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านไปยังจานอะลูมิเนียมที่วางอยู่ระหว่างขดลวดทั้งสองทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำและมีกระแสไหลวน (Eddy current) เกิดขึ้นในจานอะลูมิเนียม แรงต้านระหว่างกระแสไหลวน และสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันจะทำให้เกิดแรงผลักขึ้นกับจานอะลูมิเนียมจึงหมุนไปได้ที่แกนของจานอะลูมิเนียมจะมีเฟืองติดอยู่ เฟืองนี้จะไปขับ ชุดตัวเลขที่หน้าปัทมข์องเครื่องวัด แรงผลักที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนระหว่างความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดัน  และกระแสไหลวนในจานอะลูมิเนียมและขึ้นอยู่กับจานวนรอบของขดลวดด้วย ส่วนจำนวนรอบการหมุนของจานอะลูมิเนียมขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานไฟฟ้าของโหลด

➧ การนําไปใช้งานการต่อวัตต์ฮาวร์มิเตอร์หรือกิโลวตัตต์ฮาวร์มิเตอร์ เพื่อใช้วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1S และ 2S ส่วนด้านที่ต่อไปยังโหลดจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1L และ 2L ตัวอักษร S ย่อมาจากคำว่า “Supply” หมายถึงด้านที่จ่ายไฟเข้า ส่วนอักษร L ย่อมาจากคำว่า “Load” หมายถึง ด้านที่ต่อกับโหลดไฟฟ้า ส่วนตัวเลข 1 หมายถึง ต่อกับสายไฟ (Line) และเลข 2 หมายถึง สายนิวทรอล (Neutral)

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

❷ วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส (Three phase watt-hour meter) แบบ 3 จานหมุนและ 2 จานหมุน

เครื่องวัดแบบนี้มีส่วนประกอบเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิด 3 เฟส หรืออาจจะเอาวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 3 ตัวมาประกอบรวมกันเป็น วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส หลักการทํางานจะอาศัยการทำงานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการต่อใช้งานวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟสแบบ 3 จานหมุน อาจจะนําวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 2 ตัวมาประกอบรวมกัน เป็นกิโลวตัตฮ์าวร์มิเตอร์ 3 เฟส แบบ 2 จานหมุนได้

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

ประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้า

ในปัจจุบบันนี้มิเตอร์ไฟฟ้าก็จะมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดเล็ก
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดกลาง
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดใหญ่
  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว

มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านที่พักอาศัยมีขนาดไหนบ้าง?

มิเตอร์ไฟฟ้ามีด้วยกันหลายขนาด โดยสามารถสังเกตได้จากตัวเลขในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้า ดังนี้

  • ขนาดมิเตอร์ 5(15) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์ 

เลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์


ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในบ้านเรือนทั่วไปนั้น ต้องพิจารณาถึงจำนวนสมาชิกในบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปัจจุบันและในอนาคต
สามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองว่าบ้านของเราเหมาะกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่ โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต) เช่น

  • พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ จำนวน 2 ตัว คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (75 ÷ 220) x 2 = 0.68 แอมแปร์
  • หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (36 ÷ 220) x 6 = 0.98 แอมแปร์
  • เครื่องปรับอากาศ 1,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 1,000 ÷ 220 = 4.54 แอมแปร์
  • หม้อหุงข้าว 500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 500 ÷ 220 = 2.27 แอมแปร์
  • เตารีด 430 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 430 ÷ 220 = 1.95 แอมแปร์
  • โทรทัศน์ 43 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 43 ÷ 220 = 0.2 แอมแปร์
  • ตู้เย็น 70 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 70 ÷ 220 = 0.32 แอมแปร์

กระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันจะเท่ากับ 10.94 แอมป์ เมื่อนำมาคูณกับ 1.25 จะได้ประมาณ 13.68 แอมแปร์ ถือว่ายังสามารถใช้ขนาดเมิเตอร์ 5(15) ได้เนื่องจากยังไม่เกิน 15 แอมแปร์ และปกติเราจะไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กันอยู่แล้ว แต่หากเผื่อในอนาคตจะพบว่า มิเตอร์ไฟอาจมีขนาดไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหากต้องการติดเครื่องปรับอากาศเพิ่มอีก 1 ตัว ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วย เพื่อความปลอดภัย 👌


👉 คุณสมบัติของผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า
ผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า มีดังนี้

  1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า
  3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า

 👉 เอกสารที่ผู้ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าต้องนำมาแสดง ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า หลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ มีดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่าง ๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม
  8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)

มิเตอร์ ไฟฟ้า 15 45 ใช้ไฟกี่วัตต์

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าทำได้อย่างไร?

  1. หลังจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ
  2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน เป็นอันเสร็จสิ้น

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่งทั่วประเทศ

สอบถามการไฟฟ้า
► กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ติดต่อได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


สุดท้ายนี้ ขอแชร์ราคาการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าคร่าวๆ กันหน่อย  ดังนี้ 😘

ราคาติดตั้งมิเตอร์ใหม่
5(15) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 728.00 บาท
15(45) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 4,621.50 บาท
30(100) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 12,383.00 บาท
15(45) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 16,004.50 บาท
30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 38,754.00 บาท

นอกจากนี้ ยังมีการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบชั่วคราว โดยการขอจะเป็นการขอเพื่อการใช้งานระหว่างก่อสร้าง ค่าขอและราคาค่าไฟต่อหน่วยแพงกว่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบถาวร การขอมิเตอร์ชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอ้าท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย โดยราคาขอติดตั้งมิเตอร์แบบชั่วคราว มีดังนี้

ราคาติดตั้งมิเตอร์แบบชั่วคราว
15(45) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 10,802.50 บาท
30(100) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 26,605.00 บาท
15(45) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 32,407.50 บาท
30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 79,815.00 บาท
30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 38,754.00 บาท

Share This Post With Others!

Title

Page load link

Go to Top

15/45 แอมป์ กี่วัตต์

15(45) แอมป์ สามารถรองรับกระแสได้กี่แอมป์ . ซึ่งแอร์ 15,000 BTU จะมีกำลังไฟตาม Nameplate. อยู่ที่ประมาณ 1,400 วัตต์ ซึ่งจะกินกระแสอยู่ที่ประมาณ 7.6.

มิเตอร์ไฟฟ้า 15/45 ใช้ไฟได้กี่แอมป์

มิเตอร์ 15(45) เฟส 1. 11-30 แอมแปร์

มิเตอร์ 15(45) คืออะไร

โดยปกติขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้งได้จะมีขนาด 5(15) , 15(45) และ30(100) ตัวเลขที่อยู่ด้านซ้ายนอกวงเล็บหมายถึงกระแส ไฟฟ้าปกติสำหรับการใช้งานของระบบไฟฟ้าขนาดนั้นๆ ส่วนตัวเลขด้านขวาที่อยู่ภายในวงเล็บ หมายถึงกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบไฟฟ้าสามารถทนได้ ซึ่งถ้าจะบอกว่าโครงการบ้านหลายๆหลังมักให้มาเป็นไฟฟ้าเฟสเดียว และให้ ...

มิเตอร์ไฟฟ้า 15 แอมป์ ใช้แอร์ได้กี่ตัว

ปัจจุบัน ใช้ไฟ 15a โหลดได้ 45a ที่บ้านใช้ แอร์ 12000 btu/ 2 ตัว (5.5 x2 = 11a)