ดอกเบี้ยต่อเดือน คิด ยัง ไง

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เป็นอะไรที่มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะคุ้นเคยเพราะจ่ายค่าบัตรเครดิตไม่ตรงเวลา (แต่หลาย ๆ คนก็จ่ายตรงเวลา ซึ่งพี่ทุยสนับสนุนแบบนี้นะ) ซึ่งขั้นกว่าที่น่ากลัวกว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต คือบางคนไม่รู้ วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจว่าตัวเองสร้างหนี้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง!

การที่หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต จึงทำให้เกิดปัญหาหนี้สะสมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามมา วันนี้พี่ทุยเลยจะมาปรับทัศนคติทุกคนเสียใหม่เกี่ยวกับดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพื่อที่จะได้เตือนตัวเองไว้เสมอก่อนจะก่อหนี้

ทำไมมีคนจำนวนมากมีหนี้บัตรเครดิต

พี่ทุยเชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนเกิน 80% ต้องมีบัตรเครดิตพกติดกระเป๋าไว้อย่างน้อย 1-2 ใบแน่นอน เพราะเดี๋ยวนี้บัตรเครดิตแข่งกันออกโปรโมชันดึงดูดลูกค้าตามร้านค้า ร้านอาหารต่าง ๆ กันเต็มไปหมด ทั้งส่วนลด สะสมแต้ม หรือผ่อน 0% พอเห็นโปรโมชันบัตรเครดิตมาล่อตาล่อใจซะขนาดนี้ ก็อดใจไม่ได้ที่จะสมัครเอาไว้สักใบสองใบ เท่านั้นยังไม่พอ บัตรเครดิตเองก็มีทั้งของแถมของรางวัล มีให้แลกแต้มเยอะแยะลายตายั่วกิเลสไปหมด แล้วใครจะไม่อยากมีบัตรเครดิตถือไว้สักใบจริงมั้ย

แต่การใช้บัตรเครดิตก็ต้องมาพร้อมกับความมีวินัยเสมอ”

เราจำเป็นที่จะต้องจ่ายบัตรเครดิตให้ตรงเวลา ถ้าเราเผลอใช้เงินเกินตัว พอถึงรอบวันชำระยอดหนี้บัตรเครดิต แต่ดันมีเงินสดในกระเป๋าไม่พอจ่าย เราก็ต้องกลายเป็น ‘หนี้’ และสิ่งที่ตามมาก็คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่จะต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แทนที่บัตรเครดิตจะช่วยให้เราได้ส่วนลด ประหยัดรายจ่ายลง กลับกลายเป็นต้องมีรายจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น แทนที่จะประโยชน์กลับกลายเป็นโทษ

วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่ถูกต้อง

อย่างที่พี่ทุยบอกไปว่าหลายคนยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยของบัตรเครดิต อาจจะคิดว่าเราชำระเงินไปส่วนหนึ่งแล้ว ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยแค่ส่วนคงค้าง แต่ความเข้าใจแบบนั้น เป็นความเข้าใจผิด!

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต จะเกิดขึ้นเมื่อเราชำระค่าสินค้าและบริการไม่เต็มจำนวน  ไม่ว่าจะเป็นการชำระขั้นต่ำหรือขาดไปแค่ 1 บาทก็ตาม ซึ่งการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะแยกคำนวณเป็น 2 ส่วน คือ

1. คิดจาก ‘ยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด’ ตั้งแต่ วันบันทึกรายการ ถึง วันสรุปยอดค่าใช้จ่าย

2. คิดจาก ‘ยอดคงค้าง’ ตั้งแต่ วันที่ชำระขั้นต่ำ ถึง วันสรุปยอดเดือนถัดไป

สมมติ พี่ทุยรูดบัตรเครดิตซื้อหญ้าพรีเมี่ยมเมื่อวันที่ 1 มี.ค. จำนวน 10,000 บาท ธนาคารสรุปยอดค่าใช้จ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน และกำหนดชำระเงินทุกวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ซึ่งธนาคารคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 20% ต่อปี ต่อมาในวันที่ 10 เม.ย. พี่ทุยนำเงินไปจ่ายขั้นต่ำ 10% คือ 1,000 บาท

ในรอบบิลถัดไป 25 เม.ย. พี่ทุยจะถูกคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ดังนี้

1. ยอดทั้งหมด 10,000 บาท x 20% x 25 วัน / 365 = 136.99 บาท (1 มี.ค. – 25 มี.ค.)

2. ยอดคงค้าง 9,000 บาท x 20% x 16 วัน / 365 = 78.90 บาท (10 เม.ย. – 25 เม.ย.)

ดังนั้น ยอดเงินที่พี่ทุยถูกเรียกเก็บคือ 9,000 + 136.99 + 78.90 = 9,215.89 บาท

สมมติ ต่อมาวันครบกำหนดชำระ 10 พ.ค. พี่ทุยไถนาได้มีเงินมาจ่ายเต็มจำนวนยอดเรียกเก็บของ 25 เม.ย. คือ 9,215.89 บาท

ในวันครบรอบบิล 25 พ.ค. พี่ทุยยังมียอดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมค้างอีก

9,000 บาท x 20% x 14 วัน / 365 =  69.04 บาท (26 เม.ย. – 10 พ.ค.)

ซึ่งรวม ๆ แล้วพี่ทุยต้องจ่ายดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทั้งหมด 284.93 บาท

จะเห็นได้ว่าการคิดดอกเบี้ยของบัตรเครดิตเรียกได้ว่าเอาทุกเม็ดเลยทีเดียว”

แล้วถ้าพี่ทุยยังคงจ่ายบัตรเครดิตยอดขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ พี่ทุยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยของดอกเบี้ยวนไปเรื่อย ๆ พอเห็นวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตแบบนี้แล้ว คงไม่อยากเป็นหนี้บัตรเครดิตกันเลยใช่มั้ยล่ะ

พี่ทุยบอกเสมอว่า ทุกครั้งที่รูดบัตรเครดิต เราต้องมีสติ มั่นใจว่าเงินในกระเป๋าเรามีพอจ่ายตอนนั้นเดี๋ยวนั้น ห้ามไปหวังว่าจะมีเงินก้อนตรงนู้นตรงนี้มา บัตรเครดิตเป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกให้เราไม่ต้องพกเงินสดเท่านั้น ไม่ใช่ที่กู้เงิน ! ห้ามเอาเงินในอนาคตมาใช้ถ้าไม่จำเป็น

พี่ทุยมีทิปส์ง่าย ๆ ให้ไม่รูดบัตรเครดิตเกินตัว คือ ถ้าเรารูดบัตร 1,000 บาท ก็ให้หักเงินสด 1,000 บาทไปใส่ไว้ในบัญชีที่ไม่มี ATM และเอาไว้สำหรับจ่ายยอดบัตรเครดิตอย่างเดียว แต่ถ้ารู้ตัวเองว่าไม่มีวินัย เผลอไม่ได้เป็นรูดปรื๊ด ๆ ก็เลิกใช้บัตรเครดิตไปเลยจะดีที่สุด

อ่านเพิ่ม

  • 5 เทคนิคใช้ บัตรเครดิต อย่างชาญฉลาด
  • เป็นหนี้บัตรเครดิต ทำไมห้ามจ่ายขั้นต่ำ ?
  • 3 เทคนิคผ่อน หนี้บัตรเครดิต ให้หมดไวจนน่าตกใจ

ดอกเบี้ยต่อเดือน คิด ยัง ไง

ช่วงกลางปีแบบนึ้น่าจะเป็นช่วงที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้กับคนที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร มีใครได้ลองเช็คดูหรือยังครับว่าได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่กันบ้าง จริงๆ ผมก็ลืมไปแล้วเหมือนกันว่าธนคารจ่ายดอกเบี้ยแต่เห็นเพื่อนโพสในเฟสบุ๊คเลยเข้าไปดูของตัวเอง ได้ดอกเบี้ยพอกินปิ้งย่างได้สักมื้อนึง ??

วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมดอกเบี้ยบ้างคนได้น้อยทบางคนได้เยอะ ธนาคารคิดดอกเบี้ยยังไงกันนะ

สิ่งที่นำมาใช้คิดดอกเบี้ย

  1. เงินต้นที่เราฝากไว้
  2. อัตราดอกเบี้ยของบัญชีนั้นๆ
  3. ระยะเวลาที่เราฝาก

อีกนิดนึงครับแม้ว่าดอกเบี้ยที่ธนาคารแจ้ง เช่น 1.6% หรือ 0.5% ต่อปี ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เราแบบรายวันเลยนะครับ แต่แค่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเราได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยแบบทุกครึ่งปีหรือเมื่อครบปี นั่นเองมาดูตัวอย่างกันครับ

แบบที่ 1 ฝากเงินเต็มปีหรือครึ่งปี

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท เมื่อสิ้นปีจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (365/365) = 50 บาท

2. ถ้ากรณีคิดดอกเบี้ยครึ่งปีจำนวนวันที่ฝากก็จะลดลง เหลือ 180 วัน แทนค่าในสูตรได้ 10,000* 0.5% *( 180/365) = ประมาณ 24.65 บาท

โดยปกติแล้วธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ย 2 รอบคือเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ฉะนั้นให้ใช้แบบตัวอย่างที่ 2 ก็ได้เพราะครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังก็จะได้ดอกเบี้ยเท่ากัน

แบบที่ 2 กรณีฝากเงินไม่ได้เริ่มต้นปี

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนเมษายน ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเดือน มิถุนายน ดังนั้นตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ระยะเวลาประมาณ 90 วัน จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

แบบที่ 3 กรณีฝากเงิน 2 รอบก่อนจ่ายดอกเบี้ยครึ่งปี

ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท และมาฝากเงินอีก 10,000 บาท วันที่ 1 เดือนเมษายน ในคอบครึ่งปีเดือนมิถุนายนจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

1. ดอกเบี้ยจากเงินฝากก้อนแรก 10,000 บาทตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคมมาถึงวันที่ 31 เดือนมีนาคมประมาณ 90 วันดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

2. ดอกเบี้ยจากเงินฝากเพิ่มอีก 10,000 บาทในวันที่ 1 เดือนเมษายนรวมเงินฝากก้อนเดิมอีก 10,000 บาทเป็น 20,000 บาท ไปจ่ายดอกเบี้ยในเดือน มิถุนายน รวมเวลา 90 วัน ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 20,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 24.65 บาท

ฉะนั้นในรอบเดือนมิถุนายนที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยก็จะได้ประมาณ  36.97 บาท

ฝากเงินอาทิตย์เดียวได้ดอกเบี้ยเบี้ยเท่าไหร่

เนื่องจากเงินฝากของเราธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เป็นรายวันอยู่แล้วแต่จะจ่ายให้ทุกรอบกลางปีและสิ้นปี ถ้าสมมติว่าไม่นับว่าเริ่มต้นฝากเงินเดือนไหนแต่ฝากแค่ 7 วันธนาคารก็ให้ดอกเบี้ยเหมือนกัน ตัวอย่างวิธีคิดคือ

ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ระยะเวลา 7 วัน จะได้ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (7/365) = 0.95 บาท ครับ

หลายคนไม่รู้ว่าถ้าเรามีเงินนิ่งๆ อยู่ในธนาคาร 1 วันหรือ 2 วันเค้าก็คิดดอกเบี้ยให้แล้ว แต่อาจจะไม่ได้เยอะ ฉะนั้นอย่าทิ้งเงินไว้ในกระปุกที่บ้านเลย เอาไปฝากไว้กับธนาคารจะดีกว่า

เปลี่ยนจากฝากเงินเอาดอกเบี้ยหลักสิบเป็นความคุ้มครองหลักล้านและได้ลงทุนดีกว่า

เพื่อนๆ กำลังฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อเอาดอกเบี้ยที่เท่ากับเงินทอนอยู่รึป่าว หรือกำลังมองหาประกันสะสมทรัพย์เพื่อความคุ้มครองแต่ผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่คุ้มค่า

แบบนี้ไม่ดีแน่เพราะอาจจะสู้เงินเฟ้อไม่ได้ มาเปลี่ยนจากดอกเบี้ยเงินฝากอันน้อยนิด เป็นประกันชีวิตคุ้มครองหลักล้านและได้ลงทุนรับเงินปันผลกันเถอะ (แผนประกันสะสมทรัพย์ออกแบบได้)

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine