ยื่น ภพ.30 ผ่านเน็ตภายในวันที่เท่าไหร่

E-Commerce Insights,

"สรรพากร" ขยายเวลา "ยื่นภาษี" แบบหัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยอำนวยความสะดวกให้ยื่นแบบฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ถึง ก.ค. และ ส.ค. 2564

ยื่น ภพ.30 ผ่านเน็ตภายในวันที่เท่าไหร่

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19)  ยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลากหลายกลุ่ม ทำให้เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 กรมสรรพากร หรือที่เรานิยมเรียก “สรรพากร” กระทรวงการคลัง ได้ขยายเวลา “ยื่นภาษี” เงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับเดือนกรกฎาคม 2564 และเดือนสิงหาคม 2564 เพื่อสนับสนุนนโยบายการทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน หรือที่เรียกว่า TAX from Home ในการบรรเทาและเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากร ขยายเวลา ยื่นภาษี เงินได้แบบหัก ณ ที่จ่าย และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยอำนวยความสะดวกให้ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ประเภท ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด. 53 และ ภ.ง.ด. 54 และภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภท ภ.พ. 30 และ ภ.พ. 36 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จากปกติภาษีเงินได้แบบหัก ณ ที่จ่าย ต้องยื่นทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป ก็ให้มีการขยายเวลายื่นได้ถึงวันสุดท้ายของเดือน ที่ต้องยื่นแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีรายละเอียดดังนี้

  1. การยื่นแบบและชำระภาษีในเดือนกรกฎาคม 2564 จากกำหนดเดิม ภาษีเงินได้แบบหัก ณ ที่จ่ายต้องยื่นในวันที่ 15 กรกฎาคม และภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นในวันที่ 23 กรกฎาคม ให้ยืดออกไปเป็นภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
  2. การยื่นแบบและชำระภาษีในเดือนสิงหาคม 2564 จากกำหนดเดิม ภาษีเงินได้แบบหัก ณ ที่จ่ายต้องยื่นในวันที่ 15 สิงหาคม และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องยื่นในวันที่ 23 สิงหาคม ให้ยืดออกไปเป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2564

ในส่วนของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยังคงเป็นมาตรการเดิม คือให้ยื่นภาษีออนไลน์ เพื่อขอคืนภาษีเงินได้ ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th ของกรม สรรพากร

การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ ในครั้งนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเว้นระยะห่าง หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตามมาตรการของภาครัฐ และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ทั้งนี้การขยายเวลายื่นแบบภาษีข้างต้นเป็นผลมาจากนโยบายการทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน (TAX from Home) ในการบรรเทาและเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ซึ่งมีผลเฉพาะเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2564 เท่านั้น ส่วนหลังจากนี้จะขยายต่อหรือไม่ ติดตามความคืบหน้าจากกรมสรรพากรอีกครั้งหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ขายของออนไลน์’ ต้อง ‘ยื่นภาษี’ แบบไหน? เช็กวิธียื่นภาษีง่ายๆ จบไว ไม่ยุ่งยาก
  • เช็ก 10 หมวด ‘สินค้าขายดี’ รับกระแสช้อปปิงออนไลน์ช่วง ‘โควิด 19’

Post Views: 10,541

ยื่น ภพ.30 ผ่านเน็ตภายในวันที่เท่าไหร่

อ่านสั้นๆ :

  • ภ.พ.30 คือเอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน โดยต้องทำก่อนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • เจ้าของธุรกิจที่ต้องทำภ.พ.30 คือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
  • ใช้ FlowAccount ทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีประหยัดเวลาในการตามหาเอกสารและการคำนวณ

แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

ดังนั้นเจ้าของธุรกิจที่เพิ่งเปิดบริษัทใหม่ๆ ได้เพียง 2-3 เดือน ที่รายได้ยังไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ก็ยังไม่ต้องยื่นแบบภ.พ.30


  • ให้เราอ่านให้ฟัง
  • เจ้าของธุรกิจต้องทำความเข้าใจอะไรบ้าง
  • ส่ง ภ.พ.30 เมื่อไหร่
  • ทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ด้วยโปรแกรม FlowAccount

ให้เราอ่านให้ฟัง


เจ้าของธุรกิจต้องทำความเข้าใจอะไรบ้าง

1. ต้องทราบก่อนว่าภาษีซื้อและภาษีขายหมายถึงอะไร

ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีที่เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อวัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อมาทำเป็นสินค้าหรือบริการ ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน หรือค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ใช้ในการดำเนินการของกิจการ เมื่อจ่ายแล้วเจ้าของธุรกิจจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ภาษีขาย หมายถึง ภาษี 7% ที่เราเรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้าและบริการของเรา แต่เงิน 7% นี้จะไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่กำไรนะจ๊ะ แต่เป็นของรัฐที่ต้องนำส่ง

2. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องนำส่งนี้จะได้มาจากภาษีขาย ที่มาจากการขายสินค้าหรือบริการในเดือนนั้นๆ หักลบด้วยภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของเดือนนั้นๆ (ในธุรกิจสามารถนำใบกำกับภาษีซื้อที่ยังไม่ได้นำมาคำนวณภายใน 6 เดือน มาใช้ในการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มได้)

3. แบบภ.พ.30 จะทำหน้าที่รายงานกรมสรรพากรว่า ในแต่ละเดือนธุรกิจเรามีการดำเนินอย่างไร มีรายรับรายจ่ายที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่าไหร่ ดังนั้นไม่ว่าธุรกิจจะได้กำไรหรือขาดทุนในเดือนนั้นๆ หรือไม่ เจ้าของธุรกิจก็ต้องนำส่งแม้จะไม่ได้มีกิจกรรมซื้อขายเลยตาม

ยกตัวอย่างการตั้งราคาสินค้าที่รวมภาษีซื้อและภาษีขาย

แม่ค้าออนไลน์ซื้อกระเป๋ามาขายต่อ กระเป๋ามีราคา 100 บาท แต่เวลาซื้อจริงเราจ่าย 107 บาท นั่นคือภาษีซื้อ เราเอากระเป๋านี้มาขายต่อในราคา 110 บาท โดยอยากได้กำไร 10 บาท เพราะฉะนั้นเราต้องตั้งราคาโดยเอา

ต้นทุน + กำไร + 7% = ราคาขายที่ลูกค้าต้องจ่าย

100 + 10 + (110 x 7% = 7.7) = 117.70 บาท

7.7 บาท คือภาษีขายที่เจ้าของธุรกิจต้องนำส่งกรมสรรพากร 


ในแต่ละเดือนเราต้องเอาภาษีขายมาหักลบกับภาษีซื้อ ก็จะได้เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราต้องจ่ายให้กรมสรรพากรในแต่ละเดือน

ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่ม  

ถ้าเดือนนั้นภาษีซื้อ > ภาษีขาย ไม่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากร
ถ้าเดือนนั้นภาษีขาย > ภาษีซื้อ ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากร

ส่ง ภ.พ.30 เมื่อไหร่

ทำภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปทุกเดือน ไม่ว่าเดือนนั้นจะไม่มีทั้งยอดซื้อหรือยอดขายเลยก็ต้องนำส่งแบบเปล่า ยกตัวอย่างเช่น หากจะนำส่งภ.พ.30 ของเดือนมกราคม

เจ้าของธุรกิจจะต้องรวบรวมกิจกรรมซื้อขายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เพราะหากนำส่งหลังวันที่ 15 ก็จะทำให้ถูกเสียค่าปรับ หรือที่เรียกว่า เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

แต่ถ้าบังเอิญวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ล่ะทำยังไง ก็ให้มายื่นแบบในวันทำงานถัดไป ก็จะไม่ถูกเสียค่าปรับ

คนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ ก็สามารถทำภ.พ.30 ด้วยตัวเองได้ โดยเริ่มต้นจากการเก็บเอกสารใบกำกับภาษีซื้อต่างๆ (บิลซื้อตัวจริง) และสำเนาใบกำกับภาษีขาย (สำเนาบิลขาย) ในแต่ละเดือน แล้วมาทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย (อ่านวิธีการทำรายงานที่นี่)

เวลาจะส่งกรมสรรพากร กิจการทำเอกสาร ภ.พ.30 เพียงใบเดียว เพื่อรายงานภาษีซื้อและภาษีขายตามที่คำนวณได้เลย แต่หากกิจการใดที่มีสาขาจะต้องทำเอกสารเพิ่มอีก 1 ใบ คือ ใบแนบภ.พ.30 ที่เป็นรายละเอียดภาษีซื้อและภาษีขายของแต่ละสาขา

ทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ด้วยโปรแกรม FlowAccount

การเก็บเอกสารภาษีซื้อและภาษีขายที่ง่ายที่สุด คือการแบ่งเก็บออกเป็น 2 กองใหญ่ เอกสารเกี่ยวกับการซื้อ กับเอกสารเกี่ยวกับการขาย ซึ่งเจ้าของธุรกิจหลายคนเมื่อทำธุรกิจนานวันเข้าเอกสารเหล่านี้จะกลายเป็นกองเอกสารพะเนินเต็มห้องบัญชี พอจะรวบรวมทำภ.พ.30 ในแต่ละครั้ง จึงกลายเป็นเรื่องยุ่งยากนานาประการ

ยื่น ภพ.30 ผ่านเน็ตภายในวันที่เท่าไหร่

รายงานภาษีซื้อ

ยื่น ภพ.30 ผ่านเน็ตภายในวันที่เท่าไหร่

รายงานภาษีขาย

ในส่วนนี้เจ้าของธุรกิจสามารถใช้โปรแกรมบัญชี FlowAccount ช่วยลดขั้นตอนการตามหาหรือจัดเก็บเอกสาร โดยใช้ระบบบัญชีรายรับรายจ่ายช่วยบันทึกรายการซื้อและรายการขายต่างๆ ซึ่งในโปรแกรมจะสรุปเป็นรายงานภาษีซื้อและภาษีขายให้อัตโนมัติ และจะใช้วิธีสแกนรูปใบเสร็จแนบไว้ในระบบเพื่อป้องกันเอกสารหล่นหายได้อีกด้วย

พอถึงสิ้นเดือนค่อยรวบรวมรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย พร้อมใบกำกับภาษีที่ได้แยกไว้ทั้ง 2 กอง ส่งให้สำนักงานบัญชี หรือจะนำรายงานภาษีซื้อภาษีขายมาคำนวณการส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเองก็ได้ (แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องมั่นใจว่าจำนวนภาษีซื้อหรือภาษีขายที่นำมาคำนวณนั้นตัวไหนเสียหรือไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้

ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้

สมัครเลย

การยื่น ภพ.30 ภายในกี่วัน

ให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมกับ ชำระภาษี (ถ้ามี) เปนรายเดือนภาษีทุกเดือน ไม่ว่าจะได้ขายสินค้าหรือให้บริการ ในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สถานที่ดังต่อไปนี้ 1. ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น

ยื่นภาษี ภ.พ.30 ออนไลน์ 2565 ได้ถึงวันไหน

📌 เดือนตุลาคม ยื่นแบบ 15 พฤศจิกายน 2565. 📌 เดือนพฤศจิกายน ยื่นแบบ 15 ธันวาคม 2565. 📌 เดือนธันวาคม ยื่นแบบ 16 มกราคม 2566. .. 30 , .ธ. 40.

ยื่นเสียภาษีได้ถึงวันไหน

1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ภายในกำหนด หรือ ยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา (ปกติ กำหนดวันสุดท้าย ที่ 31 มีนาคม ของทุกปี กรณีปีภาษี 2564 ยื่นออนไลน์ได้ถึง 8 เม.ย.65) ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้

ยื่นภาษีได้ถึงวันไหน 2565

สำหรับระยะเวลาการยื่นภาษี 2565 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมจนถึง 31 มีนาคม 2566 แต่ถ้ายื่นออนไลน์ จะได้ถึง 8 เม.ย. 2566.