การรู้เท่าทันดิจิทัล Digital Literacy มีความสําคัญต่อชีวิตประจําวันนักเรียนอย่างไร

ลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่เริ่มดู Youtube ใช้อินเตอร์เน็ต ใช้ไอแพดกันหรือยังคะ

.

ถ้าคำตอบคือใช่ ไม่ว่าเด็กๆ จะอายุกี่ขวบ เมื่อเด็กๆ เริ่มใช้อุปกรณ์ดิจิทัลก็เป็นช่วงเวลาที่ดีที่เด็กๆ ควรจะได้เรียนรู้เรื่อง Digital Literacy (การรู้เท่าทันดิจิทัล) เลยค่ะ

.

เพราะบนโลกดิจิทัลมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี และเด็กๆ ได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตั้งแต่เล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ แท็บเล็ต ไอแพด คอมพิวเตอร์ บางครั้งเราเองก็อาจจะไม่รู้ว่าเด็กๆ ไปพบเจออะไรบนอินเตอร์เน็ตบ้าง โพสต์อะไรบนโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่ในเวลาที่เด็กๆ ไม่ได้ใช้ ในชีวิตประจำวันรอบตัวเขาก็มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่เต็มไปหมด เช่น สื่อรอบตัว ระบบสแกนใบหน้า เทคโนโลยี AI ฯลฯ แล้วเราจะทำอย่างไรให้เด็กๆ อยู่กับเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

.

ในเมื่อเด็กๆ ได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว สิ่งที่จะมาคู่กันคือ Digital Literacy (การรู้เท่าทันดิจิทัล) ซึ่งไม่ใช่แค่การเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเท่านั้น แต่เป็น

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย

ใช้ให้เกิดประโยชน์

ป้องกันอันตรายจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองได้

และไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น

.

เด็กๆ จะรู้เท่าทันดิจิทัลได้ ต้องมีทั้งความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล มีทักษะในการใช้และเลือกรับเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ ยิ่งเด็กๆ ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีค่ะ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เด็กๆ จะเจอกับอันตรายในโลกดิจิทัล เช่น cyberbullying, fake news หรือเจอกับคนที่ไม่หวังดีเมื่อไหร่

.

รวมทั้งเด็กๆ จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและคนอื่น ไม่เผลอไปสร้างความเดือดร้อนโดยไม่ตั้งใจ Digital Literacy จะเป็นสิ่งที่สร้างเครื่องมือการรู้เท่าทันดิจิทัลให้กับเด็กๆ ค่ะ แล้วเด็กๆ จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน

.

และเมื่อพวกเขาโตขึ้น ไปโรงเรียน เรียนมหาวิทยาลัย ทำงาน ที่ตอนนี้และในอนาคตอาชีพต่างๆ ต้องการคนที่มีความรู้และทักษะด้านดิจิทัลมาทำงานมากขึ้น Digital Literacy ก็ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอน

.

เพราะฉะนั้น มาเริ่มสร้าง Digital Literacy ให้เด็กๆ กันตั้งแต่วันนี้กันเลยค่ะ!


แหล่งข้อมูล

 https://www.unicef.org/globalinsight/documents/digital-literacy-children-10-things-know#:~:text=Digital%20literacy%20goes%20beyond%20technical,and%20learning%20through%20digital%20technologies

https://www.britishcouncil.in/blog/guide-digital-literacy-kids

 https://teachyourkidscode.com/why-is-digital-literacy-important

          ในวันที่โลกเปลี่ยนผ่านจากยุค Analog เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว โลก Metaverse ที่ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ และการพึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนต้องพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยี Digital skill ยิ่งในที่ทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และการทำงานที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต ยิ่งทำให้เทคโนโลยีจำเป็นต่อชีวิตอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดคำว่า Digital Literacy คำศัพท์ใหม่แห่งยุคซึ่งเป็นทักษะจำเป็นของคนยุคใหม่ แล้ว Digital Literacy จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไรในที่ทำงาน เราลองมาค้นหาคำตอบกัน

การรู้เท่าทันดิจิทัล Digital Literacy มีความสําคัญต่อชีวิตประจําวันนักเรียนอย่างไร

          Digital Literacy หมายถึง ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จัดเป็นทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถงานดิจิทัลในด้านอื่น ๆ เป็นทักษะสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติงาน สื่อสาร และทำงานร่วมกับคนอื่น ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work less but get more” ผ่านการใช้งานเครื่องมือทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอแพด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมและแพลตฟอร์มออนไลน์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Cloud computing ในการทำงาน ซึ่งสามารถแบ่ง ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ได้ออกเป็น 4 มิติ คือ

  1. ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
  2. เข้าใจ (Understand) คือ ชุดของทักษะที่จะช่วยให้เข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ เพราะเทคโนโลยีและโลกอินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และส่งผลต้องพฤติกรรมและมุมมองของผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ความเข้าใจมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลมีวิจารณญาณในการใช้งาน
  3. สร้าง (Create) คือ ความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีที่หลากหลาย
  4. เข้าถึง (Access) คือ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การค้นหาข้อมูลผ่าน Search engine รู้จักช่องทางการค้นหา ซึ่งนี่เป็นฐานรากในการพัฒนาของผู้ใช้งาน

ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในองค์กร

          องค์กรส่วนใหญ่ในตอนนี้มักมีการเปลี่ยนผ่านการทำงานแบบเดิมเข้าสู่การทำงานที่ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มมากขึ้น เราจะเห็นได้จากหลายองค์กรที่มีแผนก Digital Transformation เพื่อช่วยให้องค์กรและพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีได้ ซึ่งทักษะความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในแต่ละแผนกหรือแต่ละบุคคลมักมีความแตกต่าง แต่ก็มีประเด็นที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ สื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงาน และอาจต้องการการเทรนนิ่งหรือฝึกฝนเพื่อให้พนักงานมีทักษะทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากทักษะนี้ในการทำงานได้อย่างเต็มที่

  • สามารถใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลได้

          พนักงานจำเป็นจะต้องรู้จักและเข้าใจการใช้งานเบื้องต้นของเครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้ Search engine การใช้อีเมล Calendar โปรแกรม video conference อย่าง Zoom หรือ MS team ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญและช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวกับโปรแกรมหรือแพลตฟอร์ม รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่บริษัทจะเอามาใช้ในการทำงานในอนาคตได้

  • เข้าใจความสำคัญของดิจิทัลและเทคโนโลยีในการทำงาน

          เพราะเทคโนโลยีและดิจิทัลมีมาเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นและทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการเรียนรู้ที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นเพิ่มเติม ทำให้องค์กรต้องสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานให้ดีว่าทำไมต้องเอาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้ และสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้พนักงานเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหมั่นปรับตัวอยู่เสมอ

  • ความสามารถและความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดีย (Social media literacy)

          บทบาทของโซเชียลมีเดียในตอนนี้แทบจะทำหน้าที่เป็นสื่อหลักในชีวิตประจำวันของทุกคนไปแล้ว ทำให้แทบทุกบริษัทต้องมี official account เป็นของตัวเองเพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้าง branding และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสินค้า บริการ และตัวบริษัทเอง จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่พนักงงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอย่างดี ต้องรู้ถึงประโยชน์และโทษ มีวิจารณญาณในการใช้ เพื่อให้สามารถเอาโซเชียลมีเดียมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานมากที่สุด

  • Cloud-based software และ การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (multi-device)

          หลายบริษัทใช้การเชื่อมโยงการทำงานของพนักงานทุกคนผ่านโปรแกรมในลักษณะของ Cloud-based ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ออฟฟิศเท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงโปรแกรมการทำงานได้ผ่านโน้ตบุ๊กที่สามารถทำให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเฉพาะของบริษัท รวมไปถึงทำงานประสานกับพนักงานคนอื่น ๆ ผ่านทางโปรแกรมและแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากคอมพิวเตอร์ (multi-device) เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็มีความจำเป็นเช่นกัน

           ประเด็นที่กล่าวไปด้านบนเป็นเพียงประเด็นเบื้องต้น บริษัทควรตรวจสอบว่าพนักงานในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ดีพอหรือยัง หรือมีส่วนไหนขาดไป ก็ต้องพร้อมให้ความช่วยเหลือ แนะนำ จัดเทรนนิ่งให้พนักงานเพื่อให้พนักงานในองค์กรมีทักษะ Digital Literacy เป็นอย่างดี เมื่อความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีและดิจิทัลพร้อมแล้ว องค์กรก็สามารถสรรหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการทำงาน เพื่อให้บริษัทก้าวหน้าก้าวไกลไปพร้อม ๆ กับโลกยุคใหม่ที่หมุนเร็วขึ้นในทุก ๆ วัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

การรู้เท่าทันดิจิทัล Digital Literacy มีความสําคัญต่อชีวิตประจําวันนักเรียนอย่างไร

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
Social media age restrictions อายุของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ปัจจัยสำคัญที่คนทำงานดิจิทัลควรใส่ใจ
Cryptocurrency สกุลเงินดิจิทัล สินทรัพย์นักลงทุนควรรู้
เปิดโลก MarTech พลิกกลยุทธ์การตลาดในยุคดิจิทัล
FinTech สายงานสุดฟินมาแรง แห่งยุคดิจิทัล
Negotiation skill: soft skill ที่ควรมีในงานยุคดิจิทัล
NFT Arts สินทรัพย์ดิจิทัล เทรนด์ใหม่ของคนวงการศิลปะ

การรู้เท่าทันดิจิทัล Digital Literacy มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันนักเรียนอย่างไร

Digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นทักษะด้านดิจิทัลพื้นฐานที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการปฏิบัติงาน การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในลักษณะ “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work less but get more impact” และช่วยสร้างคุณค่า (Value Co-creation) และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน (Economy of Scale) เพื่อการ ...

ความรู้ดิจิทัล(Digital Literacy) คืออะไร

Digital Literacy คือ ความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรมี เพราะทักษะนี้เป็นตัวช่วยในการต่อยอดไปสู่ทักษะอื่น ๆ ที่เฉพาะเจาะจงกับสายอาชีพมากขึ้น

ทักษะความสามารถสําหรับการรู้ดิจิทัล ( Digital Literacy) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Subpages (6): การรู้การสื่อสาร หรือ Communication Literacy การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น หรือ Visual Literacy การรู้เทคโนโลยี หรือ Technology Literacy การรู้เท่าทันสื่อ หรือ Media Literacy การรู้สังคม หรือ Social Literacy การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy.

เทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจําวัน มีอะไรบ้าง

10 เทคโนโลยี ที่จะช่วยทำให้ชีวิตดี พร้อมเข้ามามีบทบาทในอนาคต.
1. การซื้อ-ขายออนไลน์ & หุ่นยนต์ส่งของ ... .
2. การชำระเงินแบบดิจิทัล และแบบไร้สัมผัส ... .
3. การทำงานทางไกล ... .
4. การศึกษาทางไกล ... .
5. บริการทางการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Telehealth) ... .
6. ความบันเทิงออนไลน์ ... .
7. Supply Chain 4.0. ... .
8. เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing).