การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ

ฟอสซิลและวิธีการเกิดฟอสซิล

ฟอสซิล (fossil) หรือ บรรพชีวิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ในบางสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซากสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นตะกอน กลายเป็นฟอสซิล ปัจจุบัน นักบรรพชีวิน (paleontologist) ใช้ฟอสซิลในการศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งอายุหรือช่วงเวลาของเหตุการณ์ หรือบางครั้งอาจจะบอกถึงสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลานั้นด้วย

ฟอสซิลดัชนี (fossil index) คือ ซากของสิ่งมีชีวิตที่เคยแพร่กระจายอยู่โดยทั่วไปหรือทั่วโลก แต่มีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ และสูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไทรโลไบต์ แกรพโตไลต์ ฟิวซูลินิด เป็นต้น ซึ่งการที่พบฟอสซิลดัชนีในชั้นหินที่อยู่ต่างพื้นที่กัน นักวิทยาศาสตร์สามารถกำหนดได้ว่าหินที่พบฟอสซิลดัชนีดังกล่าวมีอายุในช่วงเดียวกัน

การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ
ตัวอย่างฟอสซิลดัชนี (ซ้าย) ไทรโลไบต์ ฟอสซิลดัชนียุคแคมเบรียน (ขวา) ฟิวซูลินิด ฟอสซิลดัชนียุคเพอร์เมียน

กระบวนการเกิดฟอสซิล (Fossilization)

1) ส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต (hard part) เมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลงโครงร่างส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น กระดูก ฟัน กะดอง กะโหลก จะถูกทับถมอย่างรวดเร็ว ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ตะกอนกลายเป็นหิน ซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะกลายเป็นฟอสซิล นอกจากนี้ในกรณีของพื้นที่ซึ่งหนาวเย็น ความเย็นยังสามารถช่วยเก็บรักษาซากพืชซากสัตว์เอาไว้ได้เช่นกัน เช่น ซากช้างแมมมอธที่ถูกฝังอยู่ใต้ธารน้ำแข็งแถบไซบีเรีย เป็นต้น

การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ
ฟอสซิลส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต (บน) กระดูกไดโนเสาร์ (ซ้าย) ฟันปลาฉลาม (ขวา) เปลือกหอย

2) การกลายเป็นหิน (petrification) โดยเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ช่องว่างในโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ฟอสซิลโดยส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ เรียกว่า ไม้กลายเป็นหิน (petrified wood) ซึ่งเกิดจากการที่สารละลายซิลิกาไหลแซกซึมและตกผลึกใหม่แข็งตัวอยู่ในช่องว่างภายในต้นไม้ หรือบางครั้งเนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ อาจถูกแทนที่ด้วยแร่ได้เช่นกัน เรียกว่า กระบวนการแทนที่ (replacement)

การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ
ฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน

3) รอยพิมพ์ (mold) และรูปหล่อ (cast) ในกรณีของส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต เช่น เปลือกแข็งของไทรโลไบต์ที่ถูกทับถมอยู่ในชั้นตะกอน เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกหอยดังกล่าวอาจถูกละลายไปกับน้ำใต้ดิน เกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน เรียกว่า รอยพิมพ์ (mold) และหากช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึกใหม่ จะเกิดเป็นฟอสซิลในลักษณะที่เรียกว่า รูปหล่อ (cast)

การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ
 (ซ้าย) รอยพิมพ์ (ขวา) รูปหล่อ

4) การเพิ่มคาร์บอน (carbonization) เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตพวกใบไม้หรือสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกทับถมด้วยตะกอนเนื้อละเอียด ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้นทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซในซากสิ่งมีชีวิตถูกขับออก เหลือเพียงแต่แผ่นฟิล์มบางของธาตุคาร์บอน แต่หากแผ่นฟิล์มคาร์บอนดังกล่าวหลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดนี้จะเรียกว่า รอยประทับ (impression)

การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ
รอยประทับของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

5) อำพัน (amber) ในกรณีของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบางเช่น แมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นฟอสซิลในสภาพแวดล้อมแบบปกตินั้นเป็นไปได้ยาก วิธีการที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ คือ การเก็บไว้ในยางไม้ ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กดังกล่าว จากการทำลายโดยธรรมชาติ

การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ
ก้อนอำพันที่เก็บรักษาซากมดไว้ข้างใน

6) ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต (track) นอกจากนี้ฟอสซิลอาจรวมถึงร่องรอยที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น รอยตีน รอยคืบคลาน รู โพรง ไข่ ก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (gastrolith) เพื่อช่วยในการย่อยอาหารหรือแม้แต่ มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ (coprolite) ก็ถือเป็นฟอสซิลได้เช่นกัน

การเกิดซากดึกดําบรรพ์ 4 แบบ
ฟอสซิลรูปแบบอื่นๆ (บนซ้าย) รอยตีน (บนขวา) ไข่(ล่างซ้าย) ก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (ล่างขวา) มูล

ไดโนเสาร์ถือเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นในทางวิชาการจึงเรียก รอยตีน ไม่ใช้ รอยเท้า

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

สันติ ภัยหลบลี้

ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ซากดึกดําบรรพ์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ - ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง - ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง.
ซากดึกดำบรรพ์พืช - ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน - ซากดึกดำบรรพ์ใบไม้ - ซากดึกดำบรรพ์ดอก - ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา - ซากดึกดำบรรพ์ผลไม้ - ซากดึกดำบรรพ์เมล็ด.
ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย.

ขั้นตอนการเกิดซากดึกดําบรรพ์ มีอะไรบ้าง

กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ กระบวนการแทรกซึมของแร่ธาตุ (Permineralization) เกิดขึ้นเมื่อซากสิ่งมีชีวิตถูกทับถมภายใต้ดินตะกอนเป็นเวลานาน ทำให้แร่ธาตุในตะกอนเหล่านี้ แทรกซึมเข้าไปภายในช่องว่างของร่างกาย ทั้งในเนื้อและกระดูกของสิ่งมีชีวิต

ลักษณะสําคัญของการเกิดซากดึกดําบรรพ์คืออะไร

การเกิดซากดึกดำบรรพ์ส่วนมากจะมีปัจจัยสำคัญสองประการ คือ โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็งของสิ่งมีชีวิต กับกระบวนการเก็บรักษาซากเหล่านั้น เมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลง โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น กระดูก ฟัน กะโหลก กิ่งก้าน ใบไม้ และเปลือกหอย เป็นต้น จะเหลืออยู่เป็นซาก ซากเหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ ด้วยกระบวนการ ...

หินที่พบในซากดึกดําบรรพ์ คือหินชนิดใด

ซากดึกดำบรรพ์สามารถพบได้ในหินตะกอน เช่น หินดินดาน หินทราย หรือหินปูน ทั้งที่พบโดยธรรมชาติ จากการกัดเซาะของน้ำ ลม หรือบริเวณที่มีทางน้ำไหลผ่าน หรือริมชายฝั่งทะเล และในบริเวณที่มีการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดถนน การขุดเหมืองถ่านหิน หรือการระเบิดภูเขาทำเหมืองหิน ในการสำรวจหาซากดึกดำบรรพ์ หากรู้อายุหินในบริเวณนั้นโดยคร่าวๆ ...