ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนจะมีส่วนในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้อย่างไร

วันเข้าพรรษา มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหนพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า "อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง" หมายถึง "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา" สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดตลอด 3 เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆเพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และเป็นช่วงเวลาหรือโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกัน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน" ซึ่งนอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทยยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น อย่างการถวาย เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในเดือนแปด (๘)
การที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝน ที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการพิจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆ  ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และการหล่อเทียนพรรษาของประชาชนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งสมัยก่อนใช้จุดเพื่อแสงสว่าง เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า เรียกว่า “ตามประทีป” เพื่อศึกษาหรือบำเพ็ญเพียรสมาธิในสถานที่มี  ถือว่าได้รับอานิสงส์  ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ได้ธรรมะจากกิจกรรมและได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ในการถวายเทียนพรรษา ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไปถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน  การถวายเทียนพรรษาเป็นกุศลอย่างหนึ่งของการให้แสงสว่าง โดยจัดขบวนแห่นำไปถวายที่วัด เพื่อเป็นพุทธบูชา ในวันนั้นจะมีการทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุ เพื่อเป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้าน  อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแด่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์ ในขณะเดียวกันพุทธศาสนิกชนก็ถือโอกาสในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาได้ไปบำเพ็ญกุศล  เช่น  ทำบุญตักบาตร  ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล สวดมนต์  ฟังธรรม เจริญภาวนา ตลอดจนไปศึกษาหาความรู้กับพระภิกษุ  งดเว้นอบายมุข  และมีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษาถือเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง  โดยปัจจุบันได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งที่ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันสำรวจพฤติกรรมของตนเองที่ได้ปฏิบัติผ่านมา และตั้งจิตอธิษฐานที่จะลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เช่น เลิกเหล้า อดบุหรี่ การพูดจาหยาบคาย ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน โดยใช้วันนี้เป็นวันเริ่มต้นในการกระทำดี ซึ่งก็นับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอสำหรับความตั้งใจสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น อันมีอานิสงส์ทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมเกิดความสุข สงบร่มเย็นซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นประเพณีนิยมที่จะให้ลูกหลานไปบวชเรียนในช่วงเข้าพรรษา
ดังนั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เปินอาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 (5) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ในส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ,(๘)  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และมาตรา 16 (11)    การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นแห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุผลนี้องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เปิน จึงได้กำหนดจัดงานโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา  เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา ประจำปี 2560 ขึ้น

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่โบราณกาล
2.2 เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณีเทศกาลวันเข้าพรรษาอันนำไปสู่ความสามัคคีในหมู่คณะ และ ความ  ผูกพันของประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่เปิน
2.3 เพื่อจัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษาตามวิถีพระพุทธศาสนา เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
2.4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่เปินมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์งานประเพณีแห่เทียน  และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระศาสนาในกาลสืบไป
2.5 เพื่อให้เด็กนักเรียน เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมกิจกรรมในวันเข้าพรรษา
2.6 เพื่อให้เด็กนักเรียน เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการแห่เทียนเข้าพรรษา
2.7 เพื่อใช้กิจกรรมประเพณีแห่เทียนวันเข้าพรรษาในการส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทย
2.8 เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี  มีความรักและความสามัคคี ระหว่างหน่วยงานราชการ ผู้นำ ชุมชน ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกัน

ข่าว ณ. วันที่ 18 ก.ค. 2560 เวลา 12.34 น. โดย คุณ จารุพรรณ ปลัดสังข์