ประเทศใดต่อไปนี้ใช้วิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ

ประเด็นสำคัญ

•    มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTMs) มักถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ประเทศต่างๆนำมาใช้
     เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตน

•    การติดตามการกำหนดมาตรการNTMs ในกรอบพหุภาคีได้เน้นการดูผลจากกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าต่างๆขององค์การการค้า
      โลก (WTO)หรือพันธกรณีระหว่างประเทศเป็นหลัก

•    การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในประเทศคู่ค้า 4 ประเทศเป้าหมายคือญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรปและจีนพบว่าประเทศคู่ค้าให้ความ
     สำคัญต่อ NTMs ที่แตกต่างกันโดยญี่ปุ่นจะเน้นมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้       บริโภคสหรัฐอเมริกาเน้นมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตสหภาพยุโรปเน้น
     มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมส่วนจีนนั้นมีแนวโน้มจะออกมาตรการ NTMs ที่คล้ายกับสหภาพยุโรปมากขึ้น

•    มาตรการ NTMs ในอนาคตมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต (production cost) และต้นทุนธุรกรรม (transaction cost) ที่เกี่ยวข้อง
     กับการค้าเป็นอย่างมาก

•    ในอนาคตควรมีการจัดตั้งองค์กรที่สามารถทำหน้าที่เป็น Information Bridging Centre เพื่อประสานงานติดตามวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูล
      เกี่ยวกับมาตรการ NTMs อย่างมีบูรณาการ


* Policy Brief ฉบับนี้เรียบเรียงและเขียนโดยดร. นลิตราไทยประเสริฐ () จากโครงการติดตามกระแสการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่อากรศุลกากรสำหรับสินค้าไทยส่งออกไปต่างประเทศ (NTMs Watch). นิรมลสุธรรมกิจและคณะ (2553) คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

1. บทนำ

           มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Measures: NTMs) คือการกีดกันทางการค้าที่อยู่ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก(World Trade Organization: WTO) หรือกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆเช่นการขนส่งปัญหาโลกร้อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนฯลฯหรือกรอบกฎหมายของประเทศคู่ค้าเองทั้งนี้มาตรการNTMs นี้มักถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ประเทศต่างๆนำมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตนหลังจากความร่วมมือกันลดอัตราภาษีศุลกากรภายใต้หลักการค้าเสรีไม่สามารถคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตนได้อีกต่อไปในเมื่อประเทศผู้นำเข้าเป็นผู้กำหนดมาตรการนี้ผู้ประกอบการไทยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าควรจะดำเนินการตามกฎระเบียบของมาตรการ NTMs ของประเทศคู่ค้าหรือไม่ผู้ประกอบการไทยจะเสียหรือได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใดหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการ NTMs ของคู่ค้าแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าการปฏิบัติตามระเบียบของมาตรการ NTMs นั้นมักมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ส่งออกและผู้ผลิตสินค้าไทยต้องมีภาระต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นก็ตามแต่หากผู้ประกอบการรายใดสามารถดำเนินการตามข้อเรียกร้องได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ก็น่าจะอยู่ในแง่ของความสามารถเข้าถึงตลาดหรือรักษาส่วนแบ่งของตลาดของตนในประเทศคู่ค้าเอาไว้ได้ในระยะยาว

           ในประเทศไทยนั้นมีหน่วยงานของรัฐหลายองค์กรที่ทำการติดตามมาตรการNTMsและนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ผู้ประกอบการมาโดยตลอดลักษณะของเนื้อหาที่องค์กรเหล่านี้นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปของข่าวสารหรือเนื้อหาของมาตรการใหม่ๆเช่นประเทศผู้ออกมาตรการรายละเอียดของมาตรการการมีผลบังคับใช้ผลกระทบของมาตรการประเภทผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายที่จะได้รับผลกระทบ การนำเสนอผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจและการเสนอข้อมูลจากการอบรมจากการสัมมนาผู้ประกอบการฯลฯอย่างไรก็ตามการทำงานของรัฐในส่วนนี้ถือว่ามีความซ้ำซ้อนกันเป็นอย่างมากทำให้ผู้ประกอบการต้องหาข้อมูลจากหลายช่องทางเพราะไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้มาจากองค์กรเดียวจะครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและบุคลากรของรัฐโดยใช่เหตุอีกด้วยด้วยเหตุนี้โครงการติดตามกระแสมาตรการNTMs ซึ่งทำการศึกษาโดยนิรมลสุธรรมกิจและคณะ(2553) และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้พยายามนำเสนอและวิเคราะห์ตัวแปรเฝ้าระวัง(early warnings)ที่สำคัญของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังต่างประเทศอย่างเป็นระบบระเบียบรวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการ NTMs ต่อเศรษฐกิจไทยตลอดจนส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย ทั้งนี้โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องที่จะมีการดำเนินต่อไปเช่นการออกจุลสารรายไตรมาสที่นำเสนอเนื้อหาด้านมาตรการ NTMs ที่มีผลกระทบต่อสินค้าทั่วๆไปและตัวแปรเฝ้าระวังที่อาจนำไปสู่มาตรการNTMs ใหม่ๆเพื่อเป็นต้นแบบของInformation Bridging Centre ในอนาคต

2. ตัวชี้วัดจับตามาตรการ NTMs

           ตัวชี้วัดจับตาที่ส่งสัญญาณว่าจะมีการนำมาตรการ NTMs มาบังคับใช้กับสินค้าส่งออกของไทยหรือไม่ที่สำคัญคือข้อมูลด้านการส่งออกของไทยได้แก่ส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าไทยในประเทศเป้าหมายอัตราการเติบโตของสินค้าไทยในประเทศเป้าหมายราคาสินค้าในประเทศเป้าหมายและต้นทุนการผลิตในไทยโดยดูว่าถ้าสินค้าไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าการขยายตัวรวมของสินค้านำเข้าในตลาดนั้นๆสามารถแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศเป้าหมายทั้งในราคาและคุณภาพ ก็อาจกลายเป็นการส่งสัญญาณให้ประเทศผู้นำเข้าเพ่งเล็งและคิดค้นหามาตรการNTMs ต่างๆเข้ามาควบคุมการนำเข้าสินค้าไทยก็เป็นได้อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่าตัวชี้วัดจับตาทางเศรษฐกิจดังกล่าวมีบทบาทน้อยลงในปัจจุบันและมาตรการ NTMs ก็คงมุ่งบังคับใช้กับทุกประเทศนอกจากนี้ไทยมิได้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ดังนั้นตัวชี้วัดจับตาที่เกี่ยวกับการส่งออกของไทยก็จะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่ากับการส่งออกของจีนหรือของประเทศคู่แข่งของไทยรายใหญ่อื่นๆแต่ถ้าเมื่อใดผู้นำเข้ามีการตรวจพบสารปนเปื้อนในสินค้าไม่ว่าสินค้านั้นจะนำเข้ามาจากประเทศใดก็ตามหรือมีคุณภาพไม่ตรงตามมาตรฐานของประเทศที่ผู้นำเข้ากำหนดไว้ก็จะทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าชนิดนั้นๆเพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบมาถึงการส่งออกของไทยด้วย

3. มาตรการNTMs เฉพาะเรื่องที่สำคัญ

3.1 การติดตามการกำหนดมาตรการ NTMs กรอบพหุภาคี
           หลักการขององค์การการค้าโลก (WTO) คือการสนับสนุนให้มีการใช้มาตรการทางด้านภาษีศุลกากรเป็นมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศเพียงอย่างเดียวต่อมาเมื่อการค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นWTO ได้อนุญาตให้มีการนำมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรมาใช้ได้แต่จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของความตกลงต่างๆของ WTO ซึ่งต่อมาWTO ก็ได้มีกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าต่างๆเป็นจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกดังนั้นบทเรียนจากข้อพิพาทต่างๆจึงควรถูกนำมาเป็นแนวทางการติดตามมาตรการ NTMs ในอนาคตด้วยยกตัวอย่างเช่น(1) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Standard: SPS) แต่ละประเทศสามารถกำหนดระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมได้แต่ต้องยึดเหตุผลทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัดและต้องส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าและความโปร่งใส(2) มาตรการที่เกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า(Technical Barriers to Trade: TBT)ห้ามมีการเลือกปฏิบัติต้องไม่สร้างอุปสรรคต่อการค้าเกินความจำเป็นต้องอิงข้อกำหนดทางเทคนิคขององค์การระหว่างประเทศให้มีการยอมรับร่วมกันมีความโปร่งใส และให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษและแตกต่างกับประเทศกำลังพัฒนา(3)ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS)ให้มาตรการภายใต้การตกลงGATS ไม่รวมถึงมาตรการที่ใช้กับผู้บริโภคการเข้าถึงตลาดจะต้องไม่เป็นการจำกัดการนำเข้าบริการ (โควตาการนำเข้าเท่ากับศูนย์)จะต้องไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่สมควรและไม่เป็นการจำกัดการค้าบริการอย่างแอบแฝงและได้มีการกำหนดไว้ว่าการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตจัดเป็นการให้บริการรูปแบบข้ามพรมแดน(4)ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-Related Intellectual Property Rights: TRIPs)ให้การคุ้มครองเฉพาะส่วนของสิทธิทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น และหากมีข้อจำกัดการคุ้มครองจะต้องพิจารณาว่าไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติและไม่เสื่อมเสียอย่างไม่สมควรต่อประโยชน์อันชอบธรรมของผู้ทรงสิทธิ (5) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการค้าเช่นมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ประเทศคู่ค้าที่มีพันธกรณีระหว่างประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโต ออกมาตรการเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศโดยเฉพาะสาขาที่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมิให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางการค้าโดยบังคับใช้กฎหมายของตนกับสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศที่ไม่มีกฎหมายในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นไทยได้ (6) มาตรการด้านการขนส่งทางอากาศภายใต้ข้อกำหนดของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศหรือ IATAได้ส่งเสริมให้มีการจัดสรรเวลาสำหรับการจราจรทางอากาศณท่าอากาศยาน (Airport slot allocation) ด้วยวิธีการประมูล (auction)เพื่อแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติ 

3.2 การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในประเทศคู่ค้า
           การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในประเทศคู่ค้าของโครงการนี้มี 4 ประเทศเป้าหมายคือญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรปและจีนเนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยและยังมีข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยอีกด้วยผลการศึกษาพบว่าประเทศคู่ค้าจะให้ความสำคัญต่อ NTMs ที่แตกต่างกันโดยญี่ปุ่นจะเน้นมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสหรัฐอเมริกาจะเน้นมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตสหภาพยุโรปจะเน้นมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (ซึ่งมักครอบคลุมทุกขั้นตอนการผลิตตลอดจนบรรจุภัณฑ์และการกำจัดซาก) ส่วนจีนนั้นมีแนวโน้มจะออกมาตรการ NTMs ที่คล้ายกับสหภาพยุโรปมากขึ้นซึ่งรายละเอียดสามารถดูได้ในตารางที่ 1

ตารางที่1 บทเรียนและผลกระทบต่อไทยของมาตรการ NTMs รายประเทศ
 

ติดตามรายประเทศ

บทเรียนต่อไทย

ผลกระทบต่อไทย

ญี่ปุ่น:เน้นความปลอดภัยของผู้บริโภค

– ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามความต้องการของผู้บริโภค

– ผู้บริโภครับผิดชอบส่วนหนึ่งต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นการรีไซเคิลโดยผู้ผลิต

เตรียม facilities

– การกีดกันสินค้านำเข้าจะดำเนินการผ่านด้านผู้บริโภคเช่นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเรื่องความปลอดภัยของสินค้าดังนั้นการส่งออกสินค้าของไทยอาจไม่ถูกกีดกันจากมาตรการทางการค้าหากแต่จะถูกปฏิเสธจากผู้บริโภคเอง

– ต้องติดตามกฎระเบียบอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าสาหรับสินค้านำเข้า

– ต้องติดตามการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่าสินค้าใดกำลังประสบปัญหาการส่งออกไปประเทศต่างๆเหล่านี้

– ธุรกิจไทยอาจมีต้นทุนธุรกรรมเพิ่มขึ้นในการดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาตรการด้านแรงงานเด็กและแรงงานบังคับและมาตรการด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯลฯ

– ต้องติดตามมาตรการต่างๆที่แตกต่างกันระหว่างมาตรการระดับประเทศและมาตรการระดับท้องถิ่นหรือมลรัฐ

สหรัฐอเมริกา:เน้นคุ้มครองผู้ผลิต

– เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

– เพื่อรักษาระดับการแข่งขันให้เท่าเทียมกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีกฎระเบียบหย่อนยานกว่า

– เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดต่างประเทศ

สหภาพยุโรป:เน้นด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

– มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหนึ่งมากมายครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบกระบวนการผลิตผลผลิตและบรรจุภัณฑ์

– เน้นการแวดระวังล่วงหน้าก่อนเกิดปัญหา

– ระบบ Rapid Alert ที่มีการแจ้งเตือนประเทศสมาชิกอย่างรวดเร็วและมีการจัดระดับของความรุนแรงจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศใดๆซึ่งจะเป็นข้อมูลสาหรับการส่งออกของไทยในการเตรียมการป้องกันมิให้เกิดปัญหา

จีน:เน้นคุ้มครองผู้ผลิต

เลียนแบบกฎระเบียบเหมือนสหภาพยุโรปเช่น WEEE (Waste on Electric and Electronic Equipment) และRoHS (Restrictions on Hazardous Substances)

ต้องติดตามกฎระเบียบทั้งของระดับประเทศและระดับภูมิภาค

ที่มา: นิรมลสุธรรมกิจและคณะ(2553)

3.3 การติดตามกระแสมาตรการ NTMs ในกลุ่มผลิตภัณฑ์

           การติดตามกระแสมาตรการ NTMs เฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของโครงการนี้จำแนกออกเป็น4กลุ่มคือผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและสาขาบริการมาตรการ NTMs ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลิตภัณฑ์เป้าหมายทั้ง 4 กลุ่มนั้นได้อาศัยมาตรการต่างๆที่กำหนดโดยภาครัฐทั้งที่อยู่ในรูปของกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับภายในประเทศและมาตรการหรือมาตรฐานระหว่างประเทศซึ่งอาจสรุปได้ว่า

           () มาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจะมีรายละเอียดมากมายซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค

           () มาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (เช่นอัญมณีและสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม) จะมีรายละเอียดน้อยกว่าและเน้นเรื่องความเป็นธรรมจากการใช้แรงงานและการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

           () มาตรการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์และชิ้นส่วน)จะเน้นเรื่องมาตรฐานสินค้าเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการใช้งานและมาตรฐานด้านความปลอดภัยจากการใช้งาน

           () มาตรการที่เกี่ยวกับสาขาบริการ(service sector) นั้นเน้นเรื่องการเปิดตลาดและการเข้าถึงแหล่งจำหน่ายแต่มาตรการที่ประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญในอนาคตคือมาตรฐานแรงงานที่ส่งออกเพื่อเป็นผู้ให้บริการด้านโภชนาการ (พ่อครัวแม่ครัว) ด้านสุขภาพ (แพทย์โรงพยาบาลการนวดแผนโบราณ) และมาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยวเช่นความสะอาดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นต้น

4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

           4.1    ประเด็นที่ควรติดตามและเฝ้าระวังที่เกี่ยวกับมาตรการ NTMs ภายใต้กรอบของ WTO ในภาพรวมได้แก่ควรมีการติดตามความคืบหน้าในการจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศรวมทั้งข้อพิพาทใหม่ๆที่เกิดขึ้นควรมีการปรึกษาหารือกับประเทศคู่ค้าถึงความสอดคล้องของมาตรการกับความตกลงเป็นระยะๆควรมีการเผยแพร่ผลคำวินิจฉัยที่คาดว่ามีผลกระทบต่อหน่วยงานที่จัดทำมาตรฐานและควรทบทวนมาตรฐานหรือมาตรการให้สอดคล้องกับแนวการวินิจฉัยข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

           4.2    แนวทางการติดตามกระแสมาตรการ NTMs สำหรับการส่งออกของไทยขั้นต่อมาที่ต้องรีบดำเนินการคือการติดตามรายประเด็น (Issue-based หรือ Case-based) เนื่องจากการติดตามมาตรการ NTMs ที่ผ่านมานั้นพบว่าไม่ว่าจะเป็นการศึกษารายผลิตภัณฑ์หรือรายประเทศต่างก็มีประเด็นเงื่อนไขที่นำมาใช้เป็นมาตรการNTMs คล้ายๆกันเช่นประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากการอุปโภคบริโภคสินค้าประเด็นเรื่องการควบคุมสารเคมีและประเด็นเรื่องการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นต้นนอกจากนี้แล้วในอนาคตน่าจะเห็นความเชื่อมโยงกันของมาตรการ NTMs จากหลายกรอบเวทีมากขึ้นกล่าวคือผลิตภัณฑ์ใดๆอาจจะเกี่ยวข้องกับมาตรการ NTMs มากกว่า 1 มิติ (ภายใต้กรอบ WTO ด้วยกัน) หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับมาตรการ NTMs ที่มาจากเวทีต่างกันเช่น() สินค้าชุมชนเพื่อการส่งออก (เช่นสินค้า OTOP) ที่อาจจัดได้ว่าเป็นสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากการค้าเสรีสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental Goods and Services: EGS)และยังเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ ()การเข้ามาของธุรกิจต่างชาติด้านบริการเพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบการค้าบริการและกรอบการค้า EGS อาจเกิดความขัดแย้งกันในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมกล่าวคือการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจ Environmental Service ย่อมนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยแต่หากธุรกิจนี้เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างเสรีก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อธุรกิจของคนไทยเนื่องจากบริษัทต่างชาติมีความได้เปรียบทางด้านเงินทุนและเทคโนโลยีมากกว่า () สินค้านำเข้าเพื่อช่วยลดโลกร้อน (ภายใต้กรอบ UNFCCC: อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) อาจจะเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกรอบการค้าเสรีสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม (EGS) ก็ได้ขึ้นอยู่กับขอบเขตนิยามของ EGS ภายใต้กรอบ WTO และขึ้นอยู่กับขอบเขตภายใต้กรอบ UNFCCC

           4.3    แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการ NTMs ต่อผู้ประกอบการไทยและภาครัฐของการศึกษานี้พบว่าผลกระทบด้านต้นทุนเป็นประเด็นสำคัญที่สุดทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรจะเน้นเปรียบเทียบต้นทุน” (economic cost) กับผลประโยชน์” (economic benefit) ที่จะได้รับจากการดำเนินการตามกฎระเบียบของมาตรการ NTMs ที่ใช้ในประเทศคู่ค้า(ทั้งแบบบังคับและแบบสมัครใจ) เพื่อให้เกิดต้นทุนต่อสังคมไทยต่ำสุดหรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยสูงสุดโดยต้นทุนที่ควรวิเคราะห์ได้แก่ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นต้นทุนธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ NTMs ที่เกิดขึ้นต้นทุนการเรียนรู้และเกาะติดสถานการณ์มาตรการ NTMs ในต่างประเทศต้นทุนการกำหนดกฎหมายภายในประเทศเพื่อรองรับมาตรการ NTMs ของต่างชาติและต้นทุนค่าเสียโอกาสในการไม่ปฏิบัติตามมาตรการ NTMs

           4.4    กิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้าน NTMs สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กควรให้มีการจัดทำ () การประชุมสัมมนาเฉพาะกลุ่ม (focus group) เพื่อเป็นช่องทางในการได้มาซึ่งข้อมูลที่มาจากประสบการณ์ตรงและการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติจริง() การประชุมระดมสมอง (brainstorming) เพื่อหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการศึกษารายละเอียดติดตามมาตรการ และวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และการเมืองเป็นต้น() เอกสารเผยแพร่ที่มีรูปแบบเหมาะสมจนสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้โดยเนื้อหาที่สำคัญและยังไม่มีหน่วยงานใดนำเสนอได้แก่ผลกระทบของมาตรการต่อผู้ประกอบการไทยและเศรษฐกิจไทยและประเด็นจับตามองซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการติดตามมาตรการ NTMs ต่อไปในอนาคต

           4.5    แนวทางการเตรียมการรับมือกับมาตรการ NTMs ในอนาคตจะประกอบด้วยการนำประเด็นจับตามองมาวิเคราะห์ถึงแนวทางการเตรียมการรับมือทั้งเชิงรับและเชิงรุกโดยในระยะอันใกล้นี้ควรมุ่งเน้นการติดตามและเตรียมการรับมือกับมาตรการ NTMs ของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งประเทศดังกล่าวนี้มักจะกำหนดมาตรการ NTMs รูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าของประเทศไทย

           4.6    ในอนาคตควรมีองค์กรที่สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน(Collaborating Centre)หรือศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร” (Information Bridging Centre)ทำหน้าที่โดยตรงในการประสานงานติดตามวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการ NTMs ของประเทศคู่ค้าได้อย่างมีบูรณาการ 

เอกสารอ้างอิง
นิรมลสุธรรมกิจและคณะ (2553).
            โครงการติดตามกระแสการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่อากรศุลกากรสำหรับสินค้าไทยส่งออกไปต่างประเทศ(NTMs Watch), คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

การกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศมีวิธีการอย่างไร

วิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ.
การตั้งกำแพงภาษี ... .
การควบคุมสินค้า ... .
การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ... .
การห้ามนำเข้าสินค้าจากบางประเทศ ... .
ให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมในประเทศ.

การแกไขปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ คืออะไร

มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTMs) มักถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตน การติดตามการกำหนดมาตรการ NTMs ในกรอบพหุภาคี ได้เน้นการดูผลจากกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าต่างๆขององค์การการค้า

การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศมีกี่รูปแบบ

การกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) และ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers)

อุปสรรคทางการค้า Trade Barrier คืออะไร

อุปสรรคทางการค้า, Example: มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่เป็นการจำกัดการค้าเสรี ระหว่างองค์กรหรือหน่วยธุรกิจของประเทศนั้นกับต่างประเทศ มาตรการต่างๆ เหล่านี้ รวมถึง ภาษี โควต้า (ดู QRs) การห้ามซื้อขายสินค้า การคว่ำบาตรทางการค้า (ดู Boycott) กฎระเบียบต่างๆ ที่ทำให้การค้าขายดำเนินไปอย่างไม่คล่องตัว [สิ่งแวดล้อม]

การกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศมีวิธีการอย่างไร การแกไขปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ คืออะไร การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศมีกี่รูปแบบ การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ มีอะไรบ้าง การกีดกันการค้าระหว่างประเทศ มีกี่ประเภท การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ตัวอย่าง การแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ คืออะไร สาเหตุการกีดกันทางการค้า มีอะไรบ้าง ผลเสียของการกีดกันทางการค้า คืออะไร มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ มีอะไรบ้าง การกีดกันทางการค้า มีกี่ประเภท