Product กับ goods ต่าง กัน อย่างไร

รายการสอนและรายการเรียน

จุดมุ่งหมายบทเรียนนี้

1.   ความหมายของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

2.   การแบ่งประเภทของสินค้า

3.   แหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

4.   ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีความรู้เกี่ยวกับ สินค้า

1. นักเรียนรู้ความหมายของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

2. นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่ามีสินค้าอะไรบ้างในตลาด

3. นักเรียนสามารถแสวงหาแหล่งความรู้เกี่ยวกับสินค้าได้

4. นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่าการมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าช่วยพนักงานขายได้อย่างไร

                                  การเสนอขายให้ได้ผลนั้น พนักงานขายต้องมีความรู้ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้าอย่างละเอียด เพื่อจะได้ตอบคำถามลูกค้าได้ถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการซื้อสินค้า อีกทั้งยังช่วยในการตอบคำถามข้อโต้แย้งได้เป็นอย่างดี   และช่วยให้พนักงานขายมีความเชื่อมั่นในตนเองและตัวสินค้าด้วย

ความหมายของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 

                                สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ ( Product ) หมายถึง การนำผลิตผล ( Produce )หรือวัตถุดิบ ( Raw Material ) ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ ปลา แร่ธาตุ ฯลฯมาผ่านกรรมวิธีในการผลิต อาจจะใช้เครื่องจักร ออกมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์    

ประเภทของสินค้า

                                แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

                               1. สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods)

                               2. สินค้าอุตสาหกรรม ( Industrial Goods)

สินค้าอุปโภคบริโภค ( Consumer Goods)   คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง 

แบ่งตามลักษณะการซื้อของผู้บริโภคได้ 4 ชนิด คือ
 

                1. สินค้าสะดวกซื้อ ( Convenience Goods) เป็นสินค้าที่เป็นของกินของใช้ประจำวันที่ราคาไม่แพง ใช้เป็นประจำ และเคยชินกับยี่ห้อ เช่น ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย 

ยาสีฟัน ไม้ขีด   นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

                2. สินค้าเปรียบเทียบซื้อ( Shopping Goods )   เป็นสินค้าราคาสูง คงทนถาวร

ซื้อไม่บ่อยนัก จะเลือกยี่ห้อที่เหมาะกับตนเอง   ต้องมีการเปรียบเทียบหลาย ๆ ร้าน หลาย ๆ ยี่ห้อ

เปรียบบริการ สมรรถนะ รูปแบบ ราคา คุณภาพ ฯลฯ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า  ตู้เย็น โทรทัศน์   เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

                3. สินค้าเจาะจงซื้อ ( Specialty Goods )   มีความพอใจเป็นพิเศษ จะซื้อยี่ห้อนี้เท่านั้น มีความภักดีสูง เช่น เครื่องสำอาง น้ำหอม คอมพิวเตอร์ รถยนต์   ฯลฯ

                4. สินค้าไม่แสวงซื้อ( Unsought Goods )   เป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางตลาด หรือเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเกินอำนาจซื้อ ไม่เห็นความสำคัญ หรือ ความจำเป็น ผู้ขายต้องใช้ความพยายาม และต้องเป็นการขายตรงถึงจะได้ผล เพราะเป็นสินค้าขายยาก เช่น ประกันภัย สารานุกรม    วิตามินบำรุง    เครื่องออกกำลังกาย   เครื่องนุ่งห่อมราคาแพงมากๆ  เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ: 25 กันยายน 2558 สร้างเมื่อ: 25 กันยายน 2558 อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2559

ความหมายของสินค้าและบริการ

    

สินค้า คือ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ ฯลฯ ที่จับต้องได้สามารถขนส่งหรือเคลื่อนย้ายไปมาได้ โดยสามารถนำเอาไปเป็นกรรมสิทธิ์ได้ ในอดีตจะใช้การแลกเปลี่ยนกัน ส่วนปัจจุบันจะเป็นการใช้เงินตราแลกเปลี่ยนกัน
     บริการ คือ ผู้ให้บริการหรือผู้ขายให้การช่วยเหลือ หรือดำเนินการเพื่อประโยชน์ ความสุขกาย ความสุขใจหรือความสะดวกสบายให้แก่ผู้รับบริการหรือผู้ซื้อ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่เมื่อผู้รับบริการได้รับบริการแล้ว อาจเกิดความประทับใจหรือไม่ประทับใจกับสิ่งเหล่านั้น

สินค้าและบริการ เหมือนกัน และต่างกันอย่างไร

    

สินค้าและบริการเหมือนกันคือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างหรือผลิตขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ความต่างอยู่ตรงที่คุณลักษณะ คือสินค้าสามารถจับต้องได้เช่น โทรศัพท์มือถือ เก้าอี้ ปากกา ส่วนบริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่นการฟังเพลง ดูภาพยนตร์ การท่องเที่ยว

ความแตกต่างระหว่างสินค้าและบริการ

1.จับต้องได้กับจับต้องไม่ได้
     -  สินค้า จะมีตัวตนและคุณสมบัติที่ชัดเจน ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลจากประสาทสัมผัสทั้งห้าได้ จึงทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น และง่ายกว่าการตัดสินใจซื้อบริการ
     -  บริการ ไม่สามารถมองเห็น จับต้อง หรือรู้สึกถึงบริการใดๆ ก่อนการซื้อและรับบริการได้ แต่จะสามารถรับรู้ว่าบริการนั้นดีหรือไม่ก็ต่อเมื่อได้รับบริการนั้นๆ แล้ว

2.การแบ่งแยกได้
     -  สินค้า สามารถแยกกระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การซื้อ และการบริโภคออกจากกันได้อย่างชัดเจน สามารถผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก และสามารถแบ่งแยกออกเป็นหน่วยย่อยและขายให้ผู้บริโภคได้พร้อมกันหลายๆ ราย
     -  บริการ การให้บริการและการรับบริการต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ไม่สามารถแยกกระบวนการผลิตและการบริโภคบริการออกจากกันได้ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในด้านผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลและข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งทำให้สามารถให้บริการได้เพียงครั้งละ 1 ราย พนักงานผู้ให้บริการ 1 คนจึงไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าหลายๆ รายในเวลาเดียวกันได้

3.ความไม่แน่นอน
     -  สินค้า ในขณะที่การผลิตสินค้าอาศัยปัจจัยสำคัญคือวัตถุดิบ เครื่องจักร และกระบวนการผลิตที่สามารถเตรียมพร้อม ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ง่าย
     -  บริการ ในการให้บริการไม่ได้มีเพียงวัตถุดิบ เครื่องจักร หรือกระบวนการบริกาที่เหมือนกันเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่ส่วนบริการ และเกิดขึ้นเฉพาะสถานการณ์เดียวเท่านั้น

4.จัดทำมาตรฐานได้ยาก
     -  สินค้า การผลิตสินค้าสามารถจัดทำมาตรฐานได้ชัดเจนทั้งรูปแบบ คุณภาพ และปริมาณ ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการผลิต ควบคุม และตรวจสอบได้ เนื่องจากสามารถกำหนดปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตได้ชัดเจน
     -  บริการ ในขณะที่การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการให้บริการกลับเป็นกลับเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการบริการเกิดความสะดวกและดูมีตัวตน

5.ไม่สามารถเก็บไว้ได้
     -  สินค้า ธุรกิจผู้ผลิตสินค้าสามารถทำการคาดคะเนล่วงหน้าและทำการผลิตเก็บไว้เพื่อรองรับปริมาณความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
     -  บริการ การบริการผลิตได้เพียงครั้งละหนึ่งหน่วย และจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดการซื้อและรับบริการในขณะเดียวกัน แต่ปัญหาของธุรกิจบริการคงจะไม่เกิดขึ้นถ้าหากความต้องการซื้อกับความต้องการขายมีปริมาณที่ตรงกัน จึงทำให้เกิดการบริการไม่พอเพียง และสูญเสียโอกาสกับลูกค้ารายอื่นๆ


บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo