ความร้อนและแก๊ส ม.6 ข้อสอบ

ความร้อนและแก๊ส ม.6 ข้อสอบ

ตัวอย่างข้อสอบ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

ตัวอย่างข้อสอบ, ประเภทของสื่อ, แบบทดสอบ

เชิญศึกษาตัวอย่างข้อสอบ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส พร้อมเฉลยและแนวการให้คะแนน คลิกได้ที่ภาพด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดไฟล์

ความร้อนและแก๊ส ม.6 ข้อสอบ

Comments

comments

ความร้อนและแก๊ส ม.6 ข้อสอบ

เลือกไซต์นี้

  • หน้าแรก
  • ความร้อน
  • แก๊สอุดมคติ
  • ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
  • พลังงานภายในระบบ
  • การประยุกต์
  • ข้อสอบ+เฉลย
  • ข้อสอบย้อนหลัง
  • ข่าวสาร
  • คณะจัดทำ
  • ติดต่อ-สอบถาม

ความร้อน

  • - อุณหภูมิ

  • - ความจุความร้อน

  • - การขยายตัวของวัตถุเนื่องจากความร้อน

  • - สถานะและการเปลี่ยนสถานะของสาร

  • - การถ่ายโอนความร้อน

แก๊สอุดมคติ

  • - กฎของบอยล์

  • - กฎของชาร์ล

  • - กฎของแก๊สอุดมคติ

ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

  • -ความดันและพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊ส

  • -อัตราเร็วของโมเลกุลของแก๊ส

พลังงานภายในระบบ

  • - พลังงานภายในระบบ

การประยุกต์

  • - เครื่องยนต์แบบต่างๆ

  • - ไอน้ำอากาศและความดันไอ

ข้อสอบ+เฉลย

Comments

แบบทดสอบ

1. เติมน้ำเย็น 14 °C ปริมาณ 200 g ลงไปในแก้ว แล้วใช้เปลวไฟจากตะเกียงลนก้นแก้วจนกระทั่งน้ำมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 19 °C พลังงานความร้อนที่เปลวไฟจากตะเกียงถ่ายเทให้มีค่ากี่กิโลจูล (กำหนดให้ ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำเท่ากับ 4.2 kJ/kg K)

ก. 2.1                                   ข. 4.2                                   ค. 6.3                                   ง. 8.4

2. กาต้มน้ำไฟฟ้าให้ความร้อนขนาด 700 W น้ำรับพลังงานความร้อน 80นานกี่นาที จึงต้มน้ำ 500 g ที่ 4 °C มีอุณหภูมิเป็น 100 °C (กำหนดให้ ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำเท่ากับ 4.2 kJ/kg K)

ก. 3                                      ข. 4                                      ค. 5                                      ง. 6

3. วัตถุชิ้นหนึ่งมีมวล 500 g เมื่อให้ความร้อนกับวัตถุนี้ด้วยอัตราคงที่ 1 kJ/s เป็นเวลา 4 นาที พบว่าอุณหภูมิของวัตถุเปลี่ยนไป 96 °C จงหาความจุความร้อนจำเพาะของวัตถุนี้เป็นกี่กิโลจูลต่อกิโลกรัม เคลวิน

ก. 2                                      ข. 3                                      ค. 4                                      ง. 5

4. ผลักก้อนเหล็กมวล 6 kg เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ไปบนพื้นฝืดได้ระยะทาง 60 m พบว่าก้อนเหล็กมีอุณหภูมิเปลี่ยนไป 0.60 °C ถ้าความร้อนเปลี่ยนมาจากแรงเสียดทานทั้งหมด สัมประสิทธิ์ความเสียดทานของพื้นกับก้อนเหล็กมีค่าเท่าใด (กำหนดให้ ความจุความร้อนจำเพาะของเหล็กเท่ากับ 0.50 kJ/kg K)

ก. 0.4                                   ข. 0.5                                   ค. 0.6                                   ง. 0.7

5. ก้อนหินน้ำแข็งมวล 3 kg มีอุณหภูมิ 0 °C ตกลงไปในทะเลสาบ ที่มีอุณหภูมิ 0 °C เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าน้ำแข็งละลายไป 0.20 kg  น้ำแข็งตกลงมาจากระดับความสูงกี่เมตร (กำหนดให้ ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของน้ำแข็งเท่ากับ 300 kJ/kg)

ก. 100                                  ข. 150                                  ค. 200                                  ง. 250

6. ลูกกระสุนปืนยิ่งทะลุผ่านก้อนน้ำแข็งในเวลา 0.6 s พบว่ามีน้ำแข็ง 0.1 kg เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำ 0 °C ถ้าการละลายของน้ำแข็งเกิดจากการสูญเสียพลังงานของลูกปืนเพียงอย่างเดียว อยากทราบว่าลูกปืนสูญเสียพลังงานให้น้ำแข็งกี่กิโลจูลต่อวินาที (กำนหนดให้ ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวเท่ากับ 333 kJ/kg)

ก. 33.3                                 ข. 44.4                                 ค. 55.5                                 ง. 66.6

7. ปริมาณความร้อนทั้งหมดกี่กิโลจูลที่ทำให้มวลน้ำแข็ง 500 g อุณหภูมิ 0 °C กลายเป็นน้ำหมด และสุดท้ายน้ำ 50 g เดือดกลายเป็นไอ (กำนหนดให้ ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวเท่ากับ 300 kJ/kg ,ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำเท่ากับ 4.2 kJ/kg K ,ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอเท่ากับ 2,265 kJ/kg)

ก. 472.8                                             ข. 210.0                                             ค. 150.0                                             ง. 112.8

8ปริมาณความร้อนในวัตถุหนึ่งคืออะไร

ก. ระดับความร้อนในวัตถุนั้น       

ข. ค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของแต่ละโมเลกุลของวัตถุนั้น                                            

ค. ผลบวกของพลังงานจลน์ของโมเลกุลทุกโมเลกุลของวัตถุนั้น                    

ง. พลังงานกลที่เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนภายในวัตถุนั้น

9. ในการใช้ปรอทบรรจุในเทอร์มอมิเตอร์ มีคุณสมบัติไม่ดีอย่างไร

ก. ทำให้บริสุทธิ์ได้ยาก                                                 ข. วัดอุณหภูมิสูงกว่าปกติธรรมดาได้ไม่ดี

ค. วัดอุณหภูมิต่ำกว่าปกติธรรมดาได้ไม่ดี                 ง. มองเห็นได้ยาก

10จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

     1) ขณะความร้อนทำให้สารเปลี่ยนอุณหภูมิ จะไม่เกิดการเปลี่ยนสถานะ

      2) การเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวกลายเป็นไอ ขณะที่ยังไม่ถึงจุดเดือดเรียกว่า การระเหย

      3) การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งกลายเป็นไอ ขณะที่ยังไม่ถึงจุดเดือดเรียกว่า การระเหิด

       ข้อความใดถูกต้อง

ก. ข้อ 1 , 2 และ 3                             ข. ข้อ 1 และ 3                    ค. ข้อ 1 และ 2                    ง. ข้อ 2 และ 3

11. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

     1) C คือ ความจุความร้อนของสาร

      2) c คือ ความจุความร้อนของสาร

      3) ความจุความร้อนของสาร มีหน่วยเป็น จูลต่อเคลวิน (J/K)

       ข้อความใดถูกต้อง

ก. ข้อ 1 , 2 และ 3                             ข. ข้อ 1 และ 3                    ค. ข้อ 1 และ 2                    ง. ข้อ 2 และ 3

12. จากความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิต่างๆ ดังนี้      C/100 = F-32/180 = R/80 = K- 273/100

เมื่อ C คือ เซลเซียส ,F คือ ฟาเรนไฮต์ ,R คือ โรเมอร์ และ K คือ เคลวิน ถ้าน้ำอุณหภูมิ 290 เคลวิน จะเป็นกี่องศาฟาเรนไฮต์
ก. 37.0
                                 ข. 49.0                                 ค. 52.4                                 ง. 62.6

ความร้อนและแก๊ส ม.6 ข้อสอบ

ความร้อนและแก๊ส ม.6 ข้อสอบ

เฉลย

ข้อ1  ข                  ข้อ6   ค              ข้อ11    ง                ข้อ16    ข              

ข้อ2  ง                   ข้อ7   ก              ข้อ12     ง               ข้อ17    ง 

ข้อ3  ง                   ข้อ8   ค              ข้อ13     ข              ข้อ18     ง

ข้อ4  ข                   ข้อ9   ง              ข้อ14     ค              ข้อ19     ก       

ข้อ5  ค                   ข้อ10 ก              ข้อ15     ค              ข้อ20     ก