พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทย สรุป

ชื่อหนังสือ :การเมืองการปกครองไทย
:พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ.2475-2540)
โดย :ภูริ ฟูวงศ์เจริญ

สถาบันพระปกเกล้า,2563
ISBN :9786164881419
พิมพ์ครั้งที่1/จำนวนหน้า 640 หน้า :ภาพประกอบ

รายละเอียดโดยย่อ
ผลงานงานมันสมอง ความพากเพียร และมุมานะของ อาจารย์ภูริ
ค้นคว้ารวบรวมข้อมูล และภาพ (หายาก) ทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองการปกครองไทย

เนื้อหาในเล่ม
บทนำ : ทำไมต้องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 : ปฐมบทประชาธิปไตย (พ.ศ. 2475-2481)
บทที่ 2 : ท่านผู้นำ เพลิงสงคราม และสันติภาพ (พ.ศ. 2481-2488)
บทที่ 3 : การเปลี่ยนผ่านบนโลกใบใหม่ (พ.ศ. 2488-2501)
บทที่ 4 : ยุคพัฒนาภายใต้ระบอบปฏิวัติ (พ.ศ. 2501-2511)
บทที่ 5 : ห้วงเวลาแห่งความผันผวน (พ.ศ. 2511-2522)
บทที่ 6 : ประชาธิปไตยครึ่งใบ (พ.ศ. 2522-2531)
บทที่ 7 : สู่การปฏิรูปการเมือง (พ.ศ. 2531-2540)
บทสรุป : ธรรมชาติของการเมืองการปกครองไทย


หนังสือจำหน่าย
ติดต่อสอบถาม ศูนย์หนังสือ สถาบันพระปกเกล้า
โทรศัพท์ 0-2143-9231
E-mail: 
Facebook: ศูนย์หนังสือสถาบันพระปกเกล้า 

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ 

    ด้านการเมืองการปกครอง มีพัฒนาการตั้งแต่ระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัย และเข้าสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย

    ด้านเศรษฐกิจ มีพัฒนาการมาตั้งแต่การผลิตแบบพึ่งตนเอง พัฒนาสู่การผลิตเพื่อขาย การผูกขาดด้านการค้า และขยายตัวเป็นแบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

    ด้านสังคม มีพัฒนาการจากสังคมชนชั้นในสมัยสุโขทัยเข้าสู่สังคมศักดินาในสมัยอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงสังคมประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

    ด้านวัฒนธรรม ชนชาติไทยมีวัฒนธรรมของตนเองต่อมารับวัฒนธรรมจากภายนอก ได้แก่ วัฒนธรรมอินเดีย จีน และอิสลาม ต่อมารับวัฒนธรรมตะวันตก วัฒนธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำมาปรับปรุง เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทยในปัจจุบัน

พัฒนาการของชาติไทย มีพัฒนาการในช่วงการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ดังนี้

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง

    การเมืองการปกครองของไทยพิจารณาจากสถาบันพระมหากษัตริย์และรูปแบบการปกครองที่ใช้บริหารประเทศ การติดต่อกับชาติตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ยังทรงผนวช ทรงติดตามความเคลื่อนไหวของชาติตะวันตก โดยเรียนภาษาอังกฤษ ทรงสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษที่เผยแพร่ที่สิงคโปร์ด้วยพระองค์เอง อีกทั้งศึกษาคริสต์ศาสนาเพื่อเข้าใจความคิดของชาติตะวันตก เมื่อขึ้นครองราชย์พระองค์จึงเริ่มปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันมัยแบบตะวันตก

    ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนให้เห็นความคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าทรงมีสถานภาพเป็นสมมติเทในรูปแบบพิธีการ แต่บทบาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคล้ายกับกษัตริย์สมัยสุโขทัย ด้วยเหตุนี้จึงได้รับสมญานามว่า “พระปิยมหาราช”

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ซึ่งสังคมทางตะวันตก ได้รับอิทธิพลลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยม พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์จึงเป็นกษัตริย์ทันสมัย เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงละครเป็นสามัญชน หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยินยอมลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงปฏิบัติพระองค์ตามพระราชภาระ ดูแลราษฎรดังเช่นพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน

ยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก รวมทั้งปรับปรุงการปกครองให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้รอดพ้นจากอิทธิพลชาติตะวันตกโดยปรับปรุงการปกครองดังนี้

1. ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีหน้าที่ในการถวายคำปรึกษาและถวายคำแนะนำข้อราชการสำคัญ ๆ แก่พระมหากษัตริย์ ส่วนสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์มีหน้าที่สอดส่องดูแลความเดือดร้อนของราษฎร การชำระคดีความที่มีผู้ทูลเกล้าถวายฎีกา

2. การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง โดยทรงโปรดให้จัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ตามแบบชาติตะวันตกขึ้น ทำให้การบริหารราชการในแต่ละหน่วยงานเป็นระบบและชัดเจนขึ้น

3. การปฏิรูปการปกครองหัวเมือง โดยนำระบบเทศาภิบาล มาใช้ปกครองประเทศ โดยหัว เมืองต่าง ๆ ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็น มณฑล เมือง แขวง ตำบล และหมู่บ้าน    ดังนั้นสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง สถาบันกษัตริย์เข้มแข็งมั่นคงขึ้น 

    การปฏิรูปการปกครองทำให้เกิดการสร้างรัฐประชาชาติ (Nation State) เป็นประเทศหรือรับแบบใหม่ นอกจากนี้แนวคิดเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้รับความสนใจจากปัญญาชาวไทยที่ได้ศึกษาแบบตะวันตกเกิดความเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงการปกครอง จะเห็นได้จากข้อเรียกร้องของเจ้านายและข้าราชการระดับสูง และกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งเกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีนายทหารกลุ่มหนึ่งวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตั้งดุสิตธานีเพื่อเป็นการจำลองเมืองที่มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดกระแสความกดดัน ความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ยุคประชาธิปไตย

    เริ่มต้นโดยคณะราษฎร ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนทำการยึดอำนาจเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินยอมให้อำนาจพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หลังเปลี่ยนการปกครองเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ได้แก่

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

    สมัยรัตนโกสินทร์ยุคใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เศรษฐกิจในยุคนี้เป็นการค้าเสรี โดยไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ สาระสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ได้แก่

1. ให้สิทธิแก่พ่อค้าอังกฤษ (หมายถึง บุคคลในบังคับอังกฤษด้วย) เข้ามาค้าขายตามเมืองท่าของไทยโดยเสรี

2. รัฐบาลไทยเก็บภาษีขาเข้าไม่เกินร้อยละ 3 สินค้าขาออกกำหนดในอัตราตายตัวในแต่ละชนิดสินค้า ส่วนการส่งข้าวออกนั้นห้ามในกรณีเกิดภาวะขาดแคลน

    การค้าเสรีทำให้การค้าแบบผูกขาดของไทยถูกยกเลิกอย่างเด็ดขาด การที่มีเรือชาวต่างชาติมาค้าขายเพิ่มขึ้น และมีการลงทุนทำการค้า อีกทั้งยังนำสินค้าจากต่างประเทศมาจำหน่าย การผลิตสินค้าเป็นไปเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายนอก ชาวนามีบทบาทในการผลิตข้าว ต่อมาชาวนาเริ่มผลิตข้าวเพื่อขายโดยเฉพาะละทิ้งกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การทอผ้า การผลิตเครื่องใช้ประเภทกระบุง ตะกร้า เครื่องใช้ในการจับปลา เนื่องมาจากสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศราคาถูกกว่า หาซื้อง่าย ไม่จำเป็นต้องผลิตเอง เศรษฐกิจไทยจึงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา ผลที่ตามมาทำให้เศรษฐกิจไทยต้องอิงอยู่กับเศรษฐกิจโลกและคนไทยพึ่งพาจากภายนอกประเทศ

พัฒนาการด้านสังคม

    ในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มเปลี่ยนแปลงในด้านความสัมพันธ์ของคนในสังคม ซึ่งเคยผูกพันด้วยภาระหน้าที่ตามโครงสร้างของสังคมและระบบศักดินา ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการจัดจ้างงาน ระยะแรกส่วนใหญ่เป็นการจ้างชาวจีนอพยพ ต่อมากลุ่มนี้กลายเป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทอง จึงเป็นผู้มีอิทธิพลรับใช้ชนชั้นปกครอง เช่น ขุนนาง นายอากร ผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรม การเกษตร โครงสร้างสังคมแบบอยุธยาจึงเปลี่ยนรูปแบบใหม่

    ช่วงที่สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันสมัยแบบตะวันตกเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4 จึงเห็นว่าพัฒนาประเทศให้ทันสมัยจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งทำให้บ้านเมืองปลอดภัย สิทธิของสตรีที่บรรลุนิติภาวะมีอิสระในการเลือกคู่ การส่งเสริมการศึกษา และโปรดให้คณะมิชานารีสอนภาษาอังกฤษแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร เป็นต้น ระบบศักดินาที่แรงงานไม่มีอิสระและการเก็บภาษียังคงเก็บเป็นส่วยนั้นไม่เหมาะกับสังคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงโดยการเลิกไพร่ และทาสในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้พระราชโอรสและข้าราชการไปศึกษาต่างประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้นำความรู้มาพัฒนาประเทศ ในด้านกฎหมาย การแพทย์ จนกระทั่งนักเรียนไทยที่ไปศึกษาต่างประเทศต้องการให้ประเทศไทยมีความเจริญเช่นเดียวกับประเทศตะวันตกจนก่อให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมมีความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นเพราะต่างฝ่ายทั้งชาย หญิงต่างมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง แต่ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมไทยยังเป็นระบบอุปถัมภ์ ประกอบกับความแตกต่างด้านการดำรงชีวิตในสังคมระหว่างคนจนและคนรวยมีมากขึ้น โดยที่รัฐบาลไทยยุคประชาธิปไตยพยายามแก้ไขปัญหาพื้นฐานของสังคม เช่น โครงการพัฒนาชนบท การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นการวางแนวทางการพัฒนาประเทศ เป็นต้น

พัฒนาการด้านวัฒนธรรม

    การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ชัดเจน คือ การยอมรับอิทธิพลชาติตะวันตกในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ยอมรับความเจริญจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาวตะวันตก และพระองค์ทางศึกษาภาษาอังกฤษ คริสต์ศาสนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้โปรดให้ยกเลิกธรรมเนียมเดิมของไทย ได้แก่ ยกเลิกการหมอบคลาน ให้ข้าราชการสวมเสื้อผ้าเข้าเฝ้าให้พระราชโอรสเรียนภาษาอังกฤษทำให้เป็นพื้นฐาน ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยแบบตะวันตก เช่น โรงเรียนสำหรับกุลบุตร กุลธิดา รัชกาลที่ 5 โปรดให้พระราชโอรสและข้าราชการไปศึกษาในประเทศยุโรป เมื่อบุคคลเหล่านี้กลับมา ได้นำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ การแต่งกายแบบตะวันตก การรับประทานอาหารด้วยมีด ช้อน ส้อม กาแฟ การดื่มน้ำชากาแฟ การเล่นกีฬา ดูภาพยนตร์ การนำรถยนต์มาใช้ การใช้ภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมตะวันตกจากชนชั้นสูงได้กระจายสู่สังคมไทย การดำเนินชีวิตที่เป็นแบบชาวตะวันตกมากขึ้นในปัจจุบัน