แบบทดสอบหลังเรียน หน่วย ที่ 8 อินเทอร์เน็ต และ บริการ ออนไลน์

1.ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้งาน Internet
ก. การรับส่ง e – mail จัดทำคู่มือ
ข. การดาวน์โหลดฟรีแวร์
ค. การอัพโหลดข่าวการศึกษา
ง. การให้ข้อมูลเท็จเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง

2. เว็บไซต์ลักษณะใดที่ควรให้การสนับสนุนและควรเข้าชมที่มากสุด
ก. เว็บไซต์สารคดี
ข. เว็บไซต์หนังสยองขวัญ
ค. เว็บไซต์ขายบริการทางเพศ
ง. เว็บไซต์หาคู่ทางอินเตอร์เน็ต

3. การกระทำในข้อใดควรให้การสนับสนุน ในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
ก. โพสภาพลามกอนาจารเป็นประจำ
ข. อัพเดทข่าวสารความรู้ใหม่ ๆ เป็นประจำ
ค. ส่งไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเป็นประจำ
ง. ก็อปปี้แผ่นเกม เพลง ภาพยนต์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

4. เพราะเหตุใดการใช้อินเตอร์เน็ตจึงต้องมีการลงชื่อเข้าใช้และมีรหัสผ่าน
ก. เพื่อไม่ให้เล่นเกม
ข. เพื่อใช้ในการนับสถิติการเข้า
ค. เพื่อเข้าถึงด้วยรหัสผ่านที่ตนชอบ
ง. เพื่อป้องกันการเข้าอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาติ

5. ข้อใดอธิบายความหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้องที่สุด
ก. กระบวนการต้มตุ๋นหลอกลวงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ข. การโจรกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของตนเอง
ค. การขโมยความลับทางการค้าของบริษัทโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ง. การกระทำการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

6. ผู้ที่กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พวกใดคือพวกอาชญากรมืออาชีพ
ก. Cracker
ข. Career Criminal
ค. Com Artist
ง. Darnged Person

7. ข้อใดบอกแนวทางป้องกันปัญหาอาชญากรรม คอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง
ก. วางระบบการติดต่อสื่อสารความเร็วสูง
ข. วางแนวทางและกฎเกณฑ์ในการรวบรวม พยานหลักฐาน
ค. ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สมัยใหม่
ง. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนให้ เกิดความยั่งยืน

8. สมทรงโพสต์รูปภาพที่ลามกลงในเฟสบุ๊กถือว่ามีความผิดจะต้องต้องได้รับโทษอย่างไร
ก. จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

9. สมหญิงไปโพสต์ด่าว่าเพื่อน โดยไม่มีมูลความจริง สมหญิงต้องรับโทษเช่นไร
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
ข. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ง. จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท

10. ผู้ใดส่งอีเมล์ให้แก่บุคคลอื่นก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญ โดยไม่สามารถบอกเลิกหรือแจ้งยกเลิกได้ ต้องรับโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ข. ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท
ค. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ง. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 แสนบาท

หน่วยที่  8 อินเทอร์เน็ตและการใช้บริการบนอินเทอร์เน็ต

เนื้อหาสาระ (Content)

ในสังคมยุดข่าวสารเช่นปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญขึ้นและที่หลายคนได้ยินกันคุ้นหูเป็นอย่างดีคือ คำว่า อินเตอร์เน็ต ด้วยคุณสมบัติที่ทำงานด้วยความเร็วทำให้อินเทอร์เน็ตมีการขยาบวงกว้างไปเรื่อยๆ โดยอินเตอร์เน็ตเข้าไปมีบทบาทในทุกสายสายอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน

8.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตมีผู้รู้หลากหลายได้ให้คำจำกัดความไว้เพื่อศึกษาหลายอย่าง แต่ทั้งหมดทั้งมวลถือว่าเป็นแง่มุมมองความคิดที่ถูกต้องดั้งนี้

อินเทอร์เน็ต (lnternet) ย่อมมาจากคำว่า lnternationl Network หรือ Connection Network

หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน โดย

อาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมโยงด้วย TCP /lP ( Transmission Control Protocol/lnternet protocol) เดียวกันเป็นข้อกำหนด เพื่อให้เกิดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน

อินเตอร์เน็ต (lnternet) คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวหรือเรียกว่าโพรโทคอล (Protocol)ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีชื่อว่า ทีซีพี /ไอพี (TCP/lP :Transmissioon Control Protocol/Internet Protocol) ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ตเป็นเสมือนใยแมงมุมที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดทีเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัวและไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจผ่านจุดอื่นๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลายๆ เส้นทางการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ (Cyberspace) อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมายรวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา2คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง  Inter  หมายถึง ระหว่างหรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่ายเมื่อนำความหมายของทั้ง2คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet Protocol) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน Internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึงIP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet Assigned Number Authority)ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูและ IPV4 ทั่วโลกเป็นPublic Addressที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่างๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC(Asia Pacific Network information Center)

8.2ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

1.เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึกและกว้าง เพาระข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียนผู้สูงอายุก็สร้างได้

2.เป็นแหล่งรับหรือส่งข่าวสารได้หลายรูปแบบเช่น Mail, Board, SMS หรือWeb เป็นต้น

3.เป็นแหล่งใช้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น

4.เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเช่น e-commerce หรือเป็นการโอนเงิน

5.ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสารในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลาที่ลดลง

6.เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค่า บริการหรือ องค์กร

8.3 วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

เมื่อต้องการเข้าใช้บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตนั้นจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อที่นิยมกันมี3ประเภท ดังนี้

8.3.1 เชื่อมโยงกันโดย (Direct connection)

วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดแต่เป็นวิธีเสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุดดั้งนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์หรทอเครือข่ายอื่นๆ และการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือตลอด24ชั่วโมงและทุกวัน จะใช้อินเทอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่

สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษเช่น Leased Line, ISDNเป็นต้น อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็นGatewayสู่อินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์เราเตอร์ทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือเน็ตเวิร์กขิงหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะไปยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISPเนื่องจากว่า  ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ตดั้งนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กของหน่วยงานนั้นจะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

8.3.2 เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ Dialup IP

การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อที่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตก็ค่อยทำการเชื่อมต่อ และเมื่อเลิกใช้ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง

  การเชื่อมจ่อวิธีใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือ เมื่อไรที่ต้องการชิ้นเทอร์เน็ตให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ผู้ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือสมัคเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) ก่อน เมื่อสมัคเป็นสมาชิกแล้ว ทาง ISP ใช้ชื่อผู้ใช้ (User Account)และรหัสผ่าน(Password )พร้อมทั้งเบอร์โทรสัพท์สำหรับติดต่อใช้อินเตอร์เน็ต

8.3.3เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ  Terminal Emulation

การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะกาสรเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงรูปแบบการใช้งาน มรรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบText เท่านั้น ไม่สามารถใช้แบบกรฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเทอร์เน็ตมีลักษณะการใช้งานแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Webเป็นต้น ส่วนบริการที่ลักษณะการใช้เป็นTextย่อมสามารถใช้การติดต่อวิธีนี้ได้ เช่นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)

8.4.1 โมเด็ม (Modem:Modulator _Demodulator)

โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก และแปลงสัญญาณอนาล็อกกลับเป็นดิจิตอล มาจากคำว่า Modeltory/Demodulatorกระบวนการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก เรียกว่า

 มอดูเลชั่น (Modulation)

  โดเด็มเป็นอุปกณ์การสื่อสารชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์เป็นช่องทางสื่อสารข้อมูลโดยหน้าที่ของโมเด็มคือ การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นข้อมูลอนาล็อกเพื่อให้ข้อมูลสามารถเดินทางไปตามสายโทรศัพท์ได้และเมื่อไปถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางจะมีโมเด็มอีกตัวแปลงข้อมูลอนาล็อกให้กลับเป็นข้อมูลดิจิตอลแล้วส่งเข้าไปประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไปนี้ ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการให้ระบบเครือข่ายของตนสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ จะต้องติดตั้งโมเด็มด้วยเสมอ (ยกเว้นองค์การที่มีการเช่าL

Eased Line)

1.ชนิดของโมเด็ม ในปัจจุบันมีโมเด็มให้เลือกใช้อยู่ 3ชนิด คือโมเด็มแบบอินเตอร์เน็ตโมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล และโมเด็มแบบไร้สาย

(1) โมเด็มแบบอินเทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นแผงวงจรติดตั้งอยู่ภายในเคส (Case) ดั้งนั้นชื่อของโมเด็มชนิดนี้จึงเรียกว่า โมเด็มแบบอินเทอร์นอลนั่นเองราคาของโมเด็มอินเทอร์นอลนั้นถูกกว่าแบบเอ็กซ์เทอร์นอลมาก แต่มีหน้าที่การทำงานเหมือนกันและข้อเสียตรงที่การติดตั้งยากและเคลื่อนย้ายไม่สะดวก

(2) โมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล (Exteral Modem) เป็นโมเด็มที่มีลักษณะกล่องแยกออกมาต่างห่างไม่ใช่เป็นการ์ดเหมือนอินเทอร์นอล อาศัยช่องเสียบด้านหลังเคส (Case) ที่เรียกว่า  พอร์ต (Port) เป็นจุดเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดซึ่งการเลือกชื้อโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอล ผู้ชื่อจะต้องพิจารณาที่พอร์ตด้วยว่าใช้เชื่อมต่อกับพอร์ตแบบใด เช่นพอร์ต USB หรือพอร์ต Serial เป็นต้น ส่วนราคาของโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลจะสูงกว่าแบบอินเทอร์นอล แต่มีข้อดีคือติดตั้งและเคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่ายกว่ามีความทนทาน ความเสถียรภาพ สามารถตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของโมเด็มได้โดยตรง

(3)โมเด็มแบบไร้สาย(Wireless Modem) ใช้การสื่อสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ่าแต่ปัจจุบันจะมีราคาสูงกว่าโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลและอินเทอร์นอล

2.คุณลักษณะของโมเด็ม

(1) ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (Rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆ มรหน่วยเป็น บิต/วินาที(bps) หรือกิโลบิต/วินาที่ (kbps)ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000bpsจะเรียกว่า โมเด็มขนาด56k

(2) ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล(Compression)ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆเป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ-ส่งสัญญาณ

(3) ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและโทรสาร(FaxCapabilities)ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ-ส่งข้อมูล หากมีซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมแล้วสามารถใช้แฟคโมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้ เมื่อพิมพ์เข้าไปที่แฟคโมเด็ม ระบบจะส่งเอกสารของไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้

(4)ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด(Ersoror Control)ต่างๆมากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

(5)ออกแบบให้ใช้ไดทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆไปมี2รูปแบบคือโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก(Externa Modems) และแบบติดตั้งภายใต้ (Inernal Modems)

(6) ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

3.การเลือกชื่อโมเด็ม สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกชื่อโมเด็มมาใช้งาน เช่น

(1) เข้ากันได้กับคอมพิวเตอร์ของเรา

(2)เข้ากันได้ระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของเรา

(3)ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ

(4)เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน

(5) การบีบอัดข้อมูล

(6)ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด

(7)รับ-ส่งโทรสารได้

(8)ซอฟต์แวร์สื่อสาร

4.สิ่งที่ต้องใช่ร่วมกับโมเด็ม การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชนจากแหล่งข้อมูลนั้น

จะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้หรือไม่

(1)ซอฟต์แวร์สื่อสาร

(2)พอร์ตอนุกรม (Serial Port)

(3) Fast UART เป็นซิปตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ตอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลขอลข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ตอนุกรม

(4) Serial Cable เป็นสาย Cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ตอนุกรมของคอมพิวเตอร์(ต้องตรวจสอบดูว่าเป็นConnector แบบ 9ขาหรือ25ขา)

(5) Expansion Slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมีExpansion Slot ใช้งานโดยจะต้องถอดฝากครอบฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งโมเด็มลงไปบนExpansion Slotso

8.4.2 ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)

ADSI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการขนส่งข้อมูลสายโทรศัพท์ด้วยความเร็วสูงซึ่งเป็นเทคโนโลยีประเภทหนึ่งของ DSLนอกจากADSLแล้วยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีพื้นฐานจากDSL เช่น

SDSL,IDSLและ HDSL เป็นต้นสำหรับหัวข้อนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของ ADSLเท่านั้น เนื่องจากเทคโนโลยีในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉาะในประเทศไทย  สำหรับADS เป็นการพัฒนาเทคโนโลยี DSL ให้มีรูปแบบการส่งข้อมูลแบบ Asymmetric คือ ความถี่ของการรับและส่งข้อมูลไม่เท่ากันโดย ADSL เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการรับส่งข้อมูลหรือDownstream มากกว่าการส่งข้อมูลหรือ Upstream ทำให้ADSL เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการรับข้อมูลซึ่งคือผู้ใช้ทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กเพราะมีความต้องการรับข้อมูลสูงมากกว่าการส่งข้อมูลโดย ADSLจะแบ่งช่วงสัญญาณเป็น 3ส่วน คือสำหรับใช้ในการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์ สำหรับใช้ในการส่งสัญญาณโทรศัพท์ สำหรับใช้ในการส่งข้อมูล และสำหรับใช้ในการรับข้อมูล

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วย ที่ 8 อินเทอร์เน็ต และ บริการ ออนไลน์

  รูปที่ 8.1 ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) 

1.การแบ่งช่วงความถี่ของ DSL DSL  เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพื่อให้การขนส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเร็วในการขนส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น และรองรับข้อมูลได้หลายรูปแบบเทคโนโลยี DSL นั้นจะแบ่งช่วงความถี่ออกเป็น3 ลักษณะคือ

(1) ช่วงความถี่ต่ำ จะใช้สำหรับการส่งสัญญาณขิงโทรศัพท์ ซึ่งอยู่ในช่วง 0 -4 KHZ เท่านั้น

(2) ช่วงความถี่ในการรับส่งข้อมูล เป็นช่วงความถี่ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลจากเครือข่ายรียกว่า “Downstream”ซึ่งเทคโนโลยีของDSL แต่ละประเภทมีความกว้างของช่วงและอัตราการรับข้อมูลแตกต่างกัน

(3) ช่วงความถี่ในการส่งข้อมูล เป็นช่วงความถี่ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลจากเครื่องผู้ใช้ไปยังเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า Upstreamdy

 2.อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ DSL เทคโนโลยี DSL แต่ละประเภทมีและสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล และระยะทางในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แตกต่างกัน

เทคโนโลยี DSL ในแต่ละประเภทจะเชื่อมต่อและใช้อุปกรณ์เฉพาะ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบDSL มีดั้งนี้

(1)       DSLAM (Digital Subscriber Line Access Multiplexer) จะถูกติดตั้งไว้ที่ชุมสายโทรศัพท์เพื่อเป็นตัวกลางในการรวมสัญญาณและส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้ โดยมีหน้าที่รวมการเชื่อมต่อระหว่างสถานีต่างๆ กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสาธารณะเข้าด้วยกัน

(2)       DSL Modem เป็นอุปกรณ์โมเด็มที่ใช้สำหรับเทคโนโลยี DSL โดยเฉาะซึ่งมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณตามประเภทของ DSL ที่เลือกใช้

(3)       Splitter เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้เพื่อแยกสัญญาณโทรศัพท์และสัญญาณDSLออกจากกัน ทำให้สามารถใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์ได้พร้อมกัน

(4)       Micro Filter  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กรองเฉพาะสัญญาณ DSL ออกโดยไม่ให้รบกวนสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งจะเชื่อมต่อกับโทรศัพท์เพื่อให้สามารถใช้งานกับระบบ DSL ได้

8.4.3 DNS (Domain Name Sytem) และDSL Serverv(Domain Name  Systemserver)

DNS และDNS Server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง Local เอง จาก Cache ในเครื่อง Local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการเพราะหมายเลข  IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษรให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก การอ้างถึงเครื่องใดบนอินเทอร์เน็ต จะใช้ชื่อDNS เช่นwww.ntc.ac.th แต่ในการใช้งานจริงนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ เมื่อรับคำสั่งแล้วจะขอ(Reduest)เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการหมายเลข IP Address (ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์Yellow) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นDNS ServerหรือName Server ตัวName Server เมือได้รับReduest จะตอบหมายเลข IP Address กลับมาให้สำหรับ www.ntc.acth นั้นขะตอบกลับมาเป็นxxx.xxx.xxx.xxx.จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มทำการติดต่อ กับคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งจะผ่านกระบวนการ คือแบ่งข้อมูลออกเป็น Packetumu จ่าหัวด้วย IPจากนั้นส่งPacket ไปซึ่งจะวิ่งผ่าน Gateway ต่างๆ มากมายไปยังเป้าหมาย บางที่จะพบกรณีที่คอมพิวเตอร์ที่เป็น Name Serer นั้นไม่ทำงาน จะไม่สามารถติดต่อเครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตอีกต่อไปนี้ โดยใช้ชื่อ DND Server หากทราบ IP Address สามารถใช้IP Addressได้โดยตรง ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งสมุดโทรศัพท์ของ Name Server ด้วยเหตุนี้จึงทำการเก็บชื่อและ IP Address ไว้ในสมุดโทรศัพท์ส่วนตัวประจำเครื่องเช่นบนระบบยูนิกซ์มีไฟล์/etc/hosts สำหรับเก็บชื่อDNS ที่ใช้บ่อย

1.การทำงานของระบบ DNS ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีผู้ต้องการจะโทรศัพท์หาใคร (นั้นจะเปิดสมุดโทรศัพท์ดู เพื่อค้นหาหลายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่ต้องการติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นจะทำการสอบถามหลายเลขIP ของเครื่องที่ต้องสื่อสารด้วยกับ DNS Server จะทำการค้นหาหลายเลขดังกล่าวในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้โฮสต์ ทราบ ระบบDNS แบ่งเป็น3ส่วน คือ

(1) Name Resolvers จุดประสงค์หลักของ DNS คือ การแปลงชื่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นหลายเลขIP ในเทอรของ DNS แล้วเครื่องไคลเอนต์ที่ต้องการสอบถามหลายเลข IP จะรียกว่า รีโซลเวอร์(Resolver) ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นรีโซลเวอร์นั้นจะถูกสร้างมากับแอปพลิเคชั้น หรืออาจเป็นไลบรารีที่มีอยู่ในเครื่องไคลเอนต์

(2) Domain Name Space ฐานข้อมูลระบบDNS มีโครงสร่งเป็นต้นไม้ซึ่งจะเรียกว่าโดเมนเมนสเปซ(Domain Name Space)แต่ละโดเมนจะมีชื่อและสามารถมีโดเมนย่อยหรืออซับโดเมน(Subdomain)การเรียกชื่อจะใช้จุด(.) เป็นตัวแบ่งแยกระหว่างโดเมนหลักและโดเมนย่อย

(3) Name Servers เนมเซิร์ฟเวอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมที่จัดการฐานข้อมูลส่วนระบบ DNS เนมเซิร์ฟจะตอบกลับการร้องขอทันที่โดยการค้นหารข้อมูลในฐานข้อมูลตัวอง หรือจะส่งต่อการร้องขอ ไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์อื่น ถ้าเนม้ซิร์ฟเวอร์มีเรคคอร์ดของส่วนของโดเมน แสดงว่า เนมเซิร์ฟเวอร์นั้นเป็นเจ้าของโดเมนนั้น (Authoritatiive) หากไม่มีจะเรียกว่า NonAuthorititaive

2.ข้อจำกัดของระบบ SND รับรู้เฉพาะตัวอักษรละติน(ASCll Character Set) ในRFC1035 ระบุว่าสัญลักษณ์ที่ใช้ได้ในโดเมนเมนคือ

(1) ตัวเลข a ถึง Z (Case lnsensitive)

(2) เลข0-9

(3)เครื่องหมายยติภังค์ (-)

3.การนำไปประยุกต์ใช้งานเชิงสร้างสรรค์ มีการประยุกต์จากระบบ DNS มาเป็นระบบDDNS โดยทีมงานThai-DDN คือDDNS (Dynamic Domain Name System)

จากข้อจำกัดของระบบ DNS ได้กลายมาเป็นจุดกำเนิดในการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีชื่อโดเมนภาษาไทยในปี2542 โดยกลุ่มผู้ประดิษฐ์คิดค้นชาวไทยที่เอื้ออำนวยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเรียกดูเว็บไซต์ชื่อโดเมนภาษาไทยเต็มรูปแบบ และเปิดโอกาสให้เจ้าของเว็บไซต์ที่ประสบปัญหากับการมีชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่จดจำยาก หรือใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลำบาก สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนภาษาไทยให้กับเว็บไซต์ของตัวเอง โดยใช้ตัวแปลงรหัสภาษาท้องถิ่นเพื่อทำงานร่วมกับระบบDNS

4. ประเภท DNS มี4 ประเภท คือ

(1) Master Name Server เป็นฐานข้อมูลหลักของโดเมน การเพิ่ม/แก้ไข/ลบ ข้อมูล Masterอย่างเดียว

(2) Slave Nam e Server ทำหน้าที่สำเนาข้อมูลมาจาก Master ตามเวลาที่กำหนดโดยอัตโนมัติหรือด้วยการที่เราสั่งเอง

แต่ละประเภทแบ่งย่อยเป็น 2ประเภท คือ

(1)       Forward Lookup Zone จะทำหน้าที่แปลงชื่อโดเมนหรือชื่อโฮสต์เป็น IP Address

(2)       Reverse Lookaup Zone จะทำหน้าที่แปลงค่า IP Address ให้เป็นชื่อโฮสต์

8.4.4. Domain Name Server

เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมที่เก็บฐานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อโดเมน (Domain Name)และหมายเลขไอพี (IP Address) และให้บริการแปลงโดเมนเนมเป็นหลายเลขไอพีเมื่อมีการร้องขอ เพื่อใช้อ้างอิงถึงที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหลายเลขไอพีตรงกับชื่อโดเนมที่ร้องขอ

ลักษณะสำคัญพื้นฐาน

1.แต่ละ Node จะมี Label แทนNode โดยมีความยาวได้ 63 ตัวอักษร

2.Nodeที่เป็น Root จะแทนด้วย Null Label

3.ตัวอักษรที่แทน Label ไม่ว่า ตัวเล็ก หรือตัวใหญ่มีค่าเท่ากัน

4. Domain Name ในแต่ละ Node คือLabel จากNode นั้นเรียงขึ้นไปจนถึง Root Node โดยแต่ละ Label จะถูกคั่นด้วยจุด

5.Domain Name แบ่งเป็น2ลักษณะ คือ

(1) Domain Name ที่ลงท้ายด้วยจุด เรียกว่า Absolute Domain Name หรือFully

(2) Qualified Domain Name (FQDN ) เช่น sun.tuc.noao.edu.

ถ้าDomain Name ไม่ได้จบด้วยจุดถือว่า Domain Name นั้นยังไม่สมบูรณ์ ถือว่าเป็นแบบย่อๆโดยจะมี Softwareในการทำให้ได้มาซึ่งชื่อที่สมบูรณ์ หรือ FQDN

8.4.5 Name Server

Name Server  ทำหน้าที่ในการให้บริการ โดยหากถามด้วยชื่อ จะตอบหมายเลข IP และหากถามหมายเลขIP จะตอบด้วยชื่อ ระบบเนมเซิร์ฟเวอร์จะทำการติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ด้วยกันเอง และมีการจัดวางระบบเพื่อสอบถามข้อมูลระหว่างกัน ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเนมเซิร์ฟเวอร์และเชื่อมโยงกับดาต้าเบสอื่นเป็นชั้นๆ เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS)

ลำดับชั้นของเนมเชิร์ฟเวอร์ (Hierarchy of Name Space)

Zone Domain และ Zone8nv ตัวเดียวกันServer จะสร้างฐานข้อมูลที่เรียกว่า Zone File เพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้องโหนดภายในโดเมนนั้นๆ

Primary and Secondary Server แบ่งเป็น2ประเภท

1.             Primary Server  ทำหน้าที่ในการเก็บไฟล์ที่เกี่ยวกับ Zone Server ต้องสร้างบำรุงรักษาและอัปเดต Zone File

2.             Secondary  Sever มีการถ่ายโอนข้อมูลที่เกี่ยวกับ Zone มาจาก S0egxHo9hv’,uerver อื่นๆ (primaryหรือ Secondary) Sever นี้ไม่ต้องสร้างหรืออัปเดต Zone File

8.4.6 TCP /IP

การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถุกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โพรโทคอล  (Protocol) ซึ่งในระบบอินเทอร์เน็ต จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP /IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

TtionCP ย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโพรโทคอลที่ให้บริการแบบ Connection-Oriented คือ จะทำการสร้างความเชื่อมต่อระหว่างเป็นทาง(Source) และปลายทาง(Destination) ก่อนที่จะการรับส่งข้อมูล และจะทำการส่งข้อมูลทั้งหมดจนแล้วเสร็จ ทำให้มีความน่าเชื่อมถือ

IP ย่อมาจากคำว่า lnternet Protocol (IP) เป็นโพรโทคอลที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-ส่ง Packet เป็น Protocol ที่ให้บริการแบบConnectionless คือจะทำการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างต้นทาง(Source) และปลายทาง( Destination) ก่อนที่จะทำการส่งข้อมูล กล่าวกล่าวคือในการส่งข้อมูลแต่ละครั้งนั้น Source จะทำการส่งข้อมูลออกไป Desstinatination  เลยโดยไม่ได้ทำการตกลงกันก่อน ทำให้มีความน่าเชื่อถือน้อยเพราะข้อมูลอาจสูญหายระหว่างทางได้

IP Address หรือหมายเลขไอพี คือ หมายเลขประจำตัวที่ใช้ในการระบุตัวตนเองอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เราเตอร์ และเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในเครือข่ายซึ่งปัจจุบันที่ใช้งานอยู่นี้จะเป็นเวอร์ชั่น4 (IPV4) ซึ่งจะต่างกับ MAC Address นั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในเครือข่ายเดียวกันต้องมาซ้ำกัน

IP Address เป็นชุดตัวเลขฐานสองขนาด 32บิต โดยเพื่อให้ง่ายในการจำจึงแบ่งออกเป็น4ส่วนส่วนละ8บิต (หรือ1Byte) คั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) แล้วแทนค่าเป็นเลขฐาน10 แต่ละส่วนมีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 ตัวอย่างเช่น 11000000.00000001.00000001.00000011.เขียนแทนค่าเป็นเลขฐาน10ไดเป็น192.1.2.3.

TCP และIP มีหน้าที่ต่างกัน

1.             TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วนๆหรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน ปลายทาง จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย หากเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางจะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่

2.             IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address

TCP/IP Protocol มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน3 ประการคือ

1.เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน

2.ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่น ในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางที่ใช้เป็นผู้ช่วยรับ ส่งเกิดเสียหายไม่ได้ หรือสายสื่อบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนิดต่อไปได้โดยอัตโนมัติ

3.มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วนเช่นการจัดแฟ้มส่งข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ Real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง(Voice) และข้อมูล (Data)

โพรโทคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ lnternet Protocol (โพโทคอลIP) เนื่องจาก เมื่อโพรโทคอลอื่นๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้องอาศัยผนึกข้อมูล (Encapsulation)ไปกับโพรโทคอล IP ที่มีกบไกการระบุเส้นทาง (Routable)

Protocol คือ ระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้องหรือ TCP /IP

8.4.7 Subnet

1. Subnet คือ การแบ่งเครือข่ายใหญ่ให้เป็นหลายเครือข่ายย่อยโดยการนำบิตที่เป็นส่วนของ Host ID มาเป็น Network ID ผลที่ได้ คือ จำนวน Network ID หรือเครือข่ายจะเพิ่มขึ้นแต่จำนวนของHost ID หรือเครื่องคอมพิวเตอร์จะลดลง

2 Subnet   Mask คือ  ตัวเลขที่ใช้แสดงว่าส่วนไหนของ IP Addressเป็นNetwork ID และส่วนไหนเป็นHost ID ซึ่ง Subnet Mask จะมีความยาวเท่ากัน IP  Address คือ32บิต โดยในส่วนNetwork IDนั้นทุกบิต จะเป็น1และในส่วนHost ID นั้นทุกบิตจะเป็น0

8.5 โพรโทคอลอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องอาศัยการทำงานของโพรโทคอลต่างๆ หลากหลายชนิด เพื่อรองรับหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันแบบหลายรูปแบบ ดังนั้นการสื่อสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนอกจากจะมีโพรโทคอลหลักอย่าง TCP/IP,UDP และARP ที่ทำงานอยู่ภายในชุดโพรโทคอล TCP/IP แล้วยังมีโพรโทคอลอื่นๆ ที่น่าสนใจ ละมีบทบาทในการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังต่อไปนี้การเชื่อมต่อที่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสารหลายรูปแบบ เช่น VoIp และ Multimedia Conference เป็นต้น SIP เริ่มคิดค้นเมื่อ ค..1996 และประกาศเป็นมาตรบานเมื่อปี ค..1996  SIP เป็นโพรโทคอลที่ทำงารอยู่ในชั้นติดต่อระดับแอปพลิเคชัน

(Application Layer) ถูกออกแบบมาให้มีความเป็นอิสระในการทำงานซึ่งสามารถทำงานได้โพรโทคอล TCP และUDPการทำงานของโพรโทคอล  SIP เป็นแบบ peer-to-peer ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการติดต่อของทั้งสองฝั่งโดยอุปกรณ์ทั้ง2ฝั่ง จะเป็นการควบคุมและจัดการข้อมูลต่างๆผ่านทางเครือข่ายปัจจุบันมีการนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อ

Session เข้ากับSession ของตนที่มีอยู่แล้วในเวลาเดียวกัน ในเทคโนโลยี VoIP โพรโทคอล  SIPจะทำหน้าที่ควบคุมในกาโทรตั้งแต่เริ่มต้นการติดต่อเปลี่ยนแปลงต่างๆจนกระทั้งยกเลิกการติดต่อเมื่อวางสาย การส่งข้อมูลของ SIP จะอยู่ในลักษณะ Text-Based กล่าวคือข้อมูลที่ส่งด้วยSIP จะเป็นข้อความที่มนุษย์สามารถอ่านรู้เรื่องได้ ซึ่งอาจมีรูปแบบในการเขียนที่แตกต่างกันแต่สามารถทำความเข้าใจกับข้อความนั้นได้

ฟังก์ชันที่ SIP สนับสนุน มีดังนี้

1. User Location การกำหนด Endpoint ที่ใช้เซสชันการสื่อสาร

2.  User Capabilies การกำหนดมีเดียและพารามิเตอร์ของมีเดียที่ใช้ในการสื่อสาร

3.User Availability การกำหนดความต้องการของผู้ถูกเรียกว่าต้องการเข้าร่วมในเซสชันหรือไม่

4.Call Setup การสร้าง การเรียกและกำหนดพารามิเตอร์ของการเรียก Call Handling การจัดการกับการเรียก รวมทั้งการโอนย้าย การเรียก และการสิ้นสุดการเรียก การติดต่อสื่อสารด้วยโพรโทคอล SIP ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นจำเป็นต้องใช้ SIP  Address สำหรับเป็นที่อยู่ให้ทราบว่า มีการติดต่อด้วย  SIP  อาจจำเป็นต้องระบุตำแหน่งของตนไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้มีที่อยู่แน่นอน ในการติดต่อสื่อสารผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตSIP จำเป็นต้องอาศัยโพรโทคอลอืนๆ เพื่อสนับสนุนให้สามารถขนย่งข้อมูลไปยังปลายทางได้สำเร็จ เช่น DNS ที่สามารถแปลงจากชื่อหรือ URL เป็นหลายเลข IP            ได้จึงสามารถส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่ายได้ เป็นต้น

8.5.2  IPX/SPX

โพรโทคอลIPX/SPX  ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่โด่งดังมาจากระบบปฏิบัติการ  Netware ของบริษัท Novell โดยใช้กันมาในสมัยก่อนที่ Windows  NT Server จะเกิด แต่ถึงแม้จะมี Windows ทุกรุ่นโดยตั้งชื่อใหม่เป็น Microsoft   IPX/SPX  

Compatible Protocol ซึ่งนับเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดมาก  เนื่องจากผู้ใช้สามารถที่จะใช้ Windows ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Netware ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม Netware Client ของNovell อย่างไรก็ตาม โพรโทคอล  IPX/SPX ที่มีอยู่ในตัว Windows นั้นอาจไม่สามารถทำงานบางอย่างได้เหมือนกับIPX/SPX  ขนาดแท้ของ  Netware

ได้ซึ่งในกรณีนี้อาจต้องเปลี่ยนไปติดตั้งโปรแกรม NetwareCilent แทนปัจจุบันโพรโทคอลIPX/SPX ลดบทบาทมากไปพอสมควร แม้แต่โปรแกรมNetware รุ่นใหม่ๆ (Netware5) ยังเปลี่ยนไปใช้โพรโทคอล  TCP/IP เป็นหลักในปัจจุบันโปรแกรมที่ยังใช้ประโยชน์มาก โพรโทคอล  IPX/SPX  คือโปรแกรมเกมที่เล่นผ่านระบบLAN

8.5.3 NetBEUI

 โพรโทคอล  NetBEUIหรือ  NetBios Enhanced User lntrface นั้นเป็น โพรโทคอลที่ไม่มีส่วนในการระบถเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routable Protocol) โดยจะใช้วิธีการBroadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัด