สุขศึกษา ม.3 เรื่อง อิทธิพลของสื่อต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  อธิบายสาเหตุปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ด้านทักษะและกระบวนการ

   วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ด้านคุณลักษณะ
  1. แสดงพฤติกรรมการมีวินัย

  2. แสดงพฤติกรรมการใฝ่รู้

  3. แสดงพฤติกรรมมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

  4. แสดงพฤติกรรมมีจิตสาธารณะ

1. สื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง

      สื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง มีดังนี้

1.1 อินเทอร์เน็ต

        อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่มีอิทธิพลและมีบทบาทต่อชีวิตของคนทั่วโลก เนื่องจากเป็นสื่อที่มีความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร มีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยให้ศึกษาค้นคว้า มีเกมและความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ จึงมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ใช้บริการเพื่อความบันเทิงต่างๆ ซึ่งการบริโภคสื่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการเลียนแบบและซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง สื่ออินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง มีดังนี้

                  1. เว็บไซต์ลามกเป็นเว็บไซต์ที่มีคลิปหรือภาพลามก ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบและนำไปสู่ความรุนแรงทางเพศ

                     2. การพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักผ่านโปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat)ซึ่งนำไปสู่อันตรายและ
ความรุนแรงทางเพศ จากการถูกล่อลวงไปข่มขืนหรือการชิงทรัพย์

                    3. การโฆษณาชวนเชื่อซึ่งในเว็บไซต์จะมีการโฆษณาสินค้าประเภท เช่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ข้อความโฆษณาที่เกินจริงทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ และการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งให้รู้สึกสะดวก สบาย จึงได้รับความนิยมมาก บางครั้งอาจทำให้ได้รับสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เพราะไม่ได้เลือกหรือเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ

                    4. ข่าวหรือข้อมูลที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายเช่น ข่าวนักเรียนนักศึกษาตีกัน ข้อมูลการ
ทำระเบิด สูตรยารักษาโรค ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบและการนำไปทดลองปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายได้

1.2 เกมคอมพิวเตอร์

           เกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ความรุนแรง มีส่วนทำให้ผู้เล่นเกมนั้นใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวันได้โดยผู้เล่นมักคิดว่าเป็นการฝึกทักษะความว่องไว พัฒนาชั้นเชิงในการต่อสู่ไล่ล่า การเอาชนะ การทำร้ายการฆ่าฟันกันด้วยวิธีและอาวุธต่างๆ หากกระทำเป็นประจำ ก็ย่อมทำให้เกิดการซึมซับความรุนแรงไว้ในจิตใจมากขึ้น ซึ่งจะให้
ผู้เล่นมีความก้าวร้าว พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ความรุนแรงมากขึ้น

1.3 สื่อทางลบ

          สื่อต่างๆ ในสังคมมีมากมาย สำหรับสื่อทางลบคือสื่อที่อาจทำให้ผู้เสพเกิดพฤติกรรมทางลบได้
สื่อทางลบที่เป็นปัญหาอยู่ในสังคมไทย มีดังนี้

          1. สื่อลามกเช่น หนังสือโป๊ หนังสือการ์ตูนลามก หนังสือที่มีภาพโป๊ วีซีดีลามก ซึ่งสื่อเหล่านี้หาซื้อ
ได้ง่าย และเมื่อวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้เสพสื่อเหล่านี้ ก็เป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การกระทำรุนแรงทางเพศได้ เพราะ
จะทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศจนยับยั้งห้ามใจไม่ได้ ต้องมีการระบายอารมณ์ทางเพศ จึงเกิดเหตุการณ์ข่มขืนได้

          2. ภาพยนตร์ที่นำเสนอความรุนแรงเช่น วีซีดี หรือดีวีดีภาพยนตร์ที่มีการใช้ความรุนแรงต่อสู้ ฆ่าฟันกัน
เมื่อดูเป็นประจำก็จะซึมซับอยู่ในจิตใจ และคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาจึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรงได้

      3. ละครโทรทัศน์ที่นำเสนอความรุนแรงละครที่นำเสนอเนื้อหาการใช้ความรุนแรงต่อกันตามบทบาทที่
ผู้แสดงได้รับ เช่น ฉากผู้หญิงตบตี ด่าทอ แย่งชิงคู่รักกัน ผู้ชายต่อสู้ ทำร้ายกัน การทะเลาะวิวาทกัน ซึ่งจะทำให้
ผู้ชมอยากติดตามและซึมซับความรุนแรงจากตัวละคร มีอารมณ์ร่วมด้วย จนเกิดการเลียนแบบตัวละครโดย
ไม่รู้ตัว

    4. ข่าวเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงซึ่งปรากฏในสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือหนังสือพิมพ์ ทำให้ผู้อ่านและผู้ชมข่าวเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงจากสื่อต่างๆ นั้น ซึมซับความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว และอาจนำความรุนแรงที่ซึมซับไว้นั้น ไปใช้ในสังคมจนเกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น

         5. หนังสือพิมพ์ที่มีภาพและเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการโฆษณาชวนเชื่อ หนังสือและ
นิตยสารบางเล่มจะมีการแพร่ภาพและเนื้อหา หรือนำข่าวที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงบรรจุไว้ในหนังสือ เมื่อ
ผู้อ่านได้อ่านได้อ่านก็จะซึมซับความรุนแรงจากภาพและเนื้อเรื่อง และอาจนำความรุนแรงที่ซึมซับไว้นั้นไปใช้กับผู้อื่น นอกจากนี้นิตยสารยังมีการโฆษณาสินค้าที่ใช้ข้อความดึงดูดใจ หรือใช้ผู้โฆษณาที่มีชื่อเสียง ทำให้
ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า
จากสื่อโฆษณาดังกล่าวโดยไม่พิจารณารายละเอียดของสินค้าไห้รอบคอบ

2. อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง

          สื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบหรือทำตามอย่างสิ่งที่เผยแพร่ผ่านสื่อ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัย ทำแล้วได้รับความสนใจ สื่อจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง ดังนี้

          2.1 การทะเลาะวิวาทการนำเสนอข่าวการทะเลาะวิวาทของนักเรียนหรือนักศึกษาผ่านสื่อต่างๆ ทำให้เกิด
การเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง โดยเฉพาะข่าวการถ่ายคลิปวีดีโอการทำร้ายร่างกายกันที่เผยแพร่สื่อต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรทัศน์

      2.2การซื้อสินค้าตามโฆษณาการซื้อสินค้าที่โฆษณาโดยใช้ดารานักร้องที่มีชื่อเสียง โดยไม่พิจารณา
คุณภาพของสินค้า ซึ่งอาจทำให้ได้สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพเพราะไม่ได้เห็นสินค้าจริงก่อนซื้อ

         2.3 การมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหาร
เสริมแทนการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหาร
ฟาสต์ฟูด เพราะเห็นโฆษณาจากสื่อเป็นประจำ และคิดว่าเป็นค่านิยมที่ถูกต้องทันสมัย ทำให้มีนิสัยใช้เงินฟุ่มเฟือย และเกิดปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง

        2.4 การใช้สารเสพติด การใช้สารเสพติดที่ไม่ผิดกฎหมายอย่างบุหรี่ หรือสุรา โดยเลียนแบบจากดารา
นักร้องที่มีชื่อเสียงหรือตนเองชื่นชอบ ในละครหรือภาพยนตร์ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัย

        2.5 การแต่งกายตามแฟชั่น การแต่งกายของดารานักร้องหรือภาพแฟชั่นเสื้อผ้าที่ปรากฏบนนิตยสาร
หรือหนังสือบันเทิงซึ่งบางครั้งเป็นการแต่งกายที่ล่อแหลม เช่น ใส่กระโปรงหรือกางเกงขาสั้น เสื้อกล้าม
สายเดี่ยว ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายทางเพศ

           การบริโภคสื่อควรวิเคราะห์และเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพและป้องกันการเกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ