การ เจริญ เติบโต ที่ สมวัย ม. 1

การ เจริญ เติบโต ที่ สมวัย ม. 1
>> บทความสุขภาพ
>> สำนักงานอาหารและยา
>> กิจกรรมพัฒนาสุขภาพ
>> คุยกันเรื่องสุขภาพ
>> ธรรมะเพื่อสุขภาพ
>> คลีนิคอาสา
>> แบบมดสอบสุขภาพจิต
>> แบบประเมิณความเครียด
>> Thaihealth

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบน

ตัวชี้วัด

1. อธิบายความสำคัญของระบบประสาท  และระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ  การเจริญเติบโต  และพัฒนาการของวัยรุ่น
2.  อธิบายวิธีดูแลรักษาระบบประสาท  และระบบต่อมไร้ท่อให้ทำงานตามปกติ
3.  แสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย
4.  วิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกายของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน
5.  อธิบายวิธีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจิตใจ อารมณ์  และพัฒนาการทางเพศอย่างเหมาะสม
6.  แสดงทักษะการปฏิเสธเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
7.  เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัย
8.  วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการภาวะโภชนาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
9. ควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
10. การสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ
11.  แสดงวิธีปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย
12.  อธิบายลักษณะอาการของผู้ติดสารเสพติดและการป้องกันการติดสารเสพติด
13.  อธิบายความสัมพันธ์ของการใช้สารเสพติดกับการเกิดโรคและอุบัติเหตุ
14.  แสดงวิธีการชักชวนผู้อื่นให้ลด  ละ  เลิกสารเสพติด     โดยใช้ทักษะต่าง ๆ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายในวัยรุ่นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการทั้งปัจจัยภายในร่างกายและปัจจัยภายนอกร่างกายการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของร่างกาย การวิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะการเจริญเติบโตของร่างกายกับเกณฑ์มาตรฐานจะทำให้สามารถส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัยได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด    

ม ๑/๔  แสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย

จุดประสงค์การเรียนรู้  

    ด้านความรู้

    - อธิบายความหมายรวมถึงเนื้อหาของสุขบัญญัติแห่งชาติ ๑๐ ประการได้

   ด้านทักษะและกระบวนการ

   - ปฏิบัติตนในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย

   ด้านคุณลักษณะ      

   - แสดงพฤติกรรมการมีวินัยและใฝ่เรียนรู้

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

   -  สังเกตการนำเสนอ

   -  สังเกตพฤติกรรม

   -  ตรวจสอบความสำเร็จของชิ้นงาน

เครื่องมือ

   -  มิติคุณภาพแบบการให้คะแนนรูบิค

   -  แบบสังเกต

เกณฑ์

-  ผ่านระดับพอใช้ขึ้นไป

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเจริญเติบโตพัฒนาการของวัยรุ่นมีผลมาจากการทำงานเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อจึงต้องรู้วิธีการดูแลรักษาเพื่อให้ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำงานปกติ ปัญหาภาวะโภชนาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเกิดจากการกินอาหารจึงควรเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับวัย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

          ตัวชี้วัด

          มาตรฐาน พ ๑.๑  เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

  ตัวชี้วัด     ม๑/๔  แสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย

จุดประสงค์การเรียนรู้  

    ด้านความรู้

    - บอกความสำคัญของการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานของวัยรุ่น

    - วิเคราะห์เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของวัยรุ่นได้

    ด้านทักษะและกระบวนการ

   - นำเสนอแนวความคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ให้เพื่อนฟังได้

    ด้านคุณลักษณะ      

  - แสดงพฤติกรรมการมีวินัยและมีจิตสาธารณะ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

   -  สังเกตการนำเสนอ

   -  สังเกตพฤติกรรม

   -  ตรวจสอบความสำเร็จของชิ้นงาน

เครื่องมือ

   -  มิติคุณภาพแบบการให้คะแนนรูบิค

   -  แบบสังเกต

เกณฑ์

-  ผ่านระดับพอใช้ขึ้นไป

    ๑. ภาวะการณ์เจริญเติบโตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของวัยรุ่นการเจริญเติบโตของวัยรุ่นนั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกบางคนเจริญเติบโตช้า บางคนเจริญเติบโตเร็วและในขณะที่บางคนมีการเจริญเติบโตที่สมวัย

            ๑.๑ ภาวะการเจริญเติบโตของวัยรุ่นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น เป็นผลมาจากการทำงานของฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากตุ่มไร้ท่อ ซึ่งควบคุมกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตที่เราสามารถสังเกตได้ มีดังนี้

๑.มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะน้ำหนัก ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น

ทำให้วัยรุ่นจำนวนมากไม่สามารถที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทัน จึงส่งผลให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ได้ง่าย

๒.เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือมีวุฒิภาวะทางเพศ คือ ในวัยรุ่นชายจะมีการเคลื่อนตัว

ของอสุจิ ที่เรียกว่าฝันเปียก ส่วนในวัยรุ่นหญิงนั้นจะมีประจำเดือนตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ บ่งบอกลักษณะเฉพาะของเพศหญิงและเพศชาย

           ๓.เริ่มมีการค้นหาตัวเอง โดยมีแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญ ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพัง

เมื่ออยู่บ้าน แต่ชอบร่วมกลุ่มเมื่ออยู่กับเพื่อน ซึ่งในวัยรุ่นนี้เพื่อนจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก และในขณะเดียวกันการเชื่อฟังพ่อแม่ก็ลดน้อยลง

    ๔.เริ่มมีวิจารณญาณในการคิดและการตัดสินใจมากขึ้นสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรดีไม่ดี

๕.ยึดตัวเองเป็นสำคัญ มีความคิด ความเข้าใจที่เป็นตัวเองมากขึ้น มักต่อต้านในสิ่งที่

ไม่ยุติธรรมจนทำให้บางครั้งเป็นผลทำให้เกิดช่องระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่

            ๑.๒ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของวัยรุ่น การที่วัยรุ่นมีการแตกต่างกันในการเจริญเติบโตและพัฒนาการนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย ๒ กลุ่ม ดังนี้

                ๑)ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยที่มีอยู่แล้วภายในร่างกายของมนุษย์ แล้วส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ประกอบด้วย

                    ๑.๑)พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะเฉพาะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน ทำให้มนุษย์มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปดังพันธุกรรมจึงเป็นเครื่อง กำหนดขอบเขต ลักษณะ และความสามารถของบุคคลซึ่งลักษณะทั่วไปของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มี ๒ ลักษณะซึ่งแยกแล้วได้ดังนี้

                    ๑.) ลักษณะทางกายสัดส่วนของร่างกาย ความสูงหรือความเตี้ย รูปลักษณะภายนอก เช่น ผมหยิกตาเล็ก สีของตา สีของผม ผิวขาว-ดำ เป็นต้น

                     ๒.)กลุ่มเลือดที่แตกต่างกันไป เช่น A,B,O และ AB เป็นต้น

           ๓.)เพศ ซึ่งการเป็นเพศชายหรือหญิงนั้น ขึ้นอยู่กับโคโมโซม ที่ได้รับจากพ่อแม่

                    ๔.)ความผิดปกติและโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรค  โลหิตจางโรคด่างขาว โรคผิวหนังเกล็ดปลา เป็นต้น

                    ๑.๒) ลักษณะทางสติปัญญา พบว่าเด็กที่เกิดในตระกูลที่มีระดับสติปัญญาต่ำจะมีแนวโน้มของเชาว์ปัญญาที่ ต่ำไปด้วย แต่ก็ไม่เสมอไปทุกราย เนื่องจากพบว่าอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม การกระตุ้น และการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก จะช่วยในการเพิ่มสติปัญญาเพิ่มมากขึ้นได้

                     ๑.๓) พื้นฐานทางอารมณ์ จิตใจ พบว่าบุคคลที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ จิตใจที่มั่งคง จะทำให้มีพัฒนาการทางด้านต่างๆ ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านร่างกาย สังคม บุคลิกภาพ หรือสติปัญญา โดยอารมณ์นั้นเป็นผลเนื่องมากจากพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อมภายนอกประกอบกัน ดั้งนั้นวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ต่างๆ ภายในร่างกาย ค่อนค่างมาก จึงเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการขึ้นลงของอารมณ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่สามารถปรับพื้นฐานของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ในที่สุด

                ๒.) ปัจจัยภายนอก หมายถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกร่างกายทั้งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ หรือไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

                    ๒.๑) การอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพภายในครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ โดยเริ่มตั่งแต่วัยทารก วัยเด็ก จนกระทั่งถึงวัยรุ่นเนื่องจากมีการซึมซับสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง และการอยู่ในครอบครัวที่มีการอบรมเลี้ยงดูที่ดี มีความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจ ก็จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมทั้งวุฒิภาวะทางดานร่าง กาย อารมณ์ สังคม รวมถึงการมีบุคลิกภาพที่ดี ตลอดจนมีพัฒนาที่สมวัย สามารถใช้ชีวิตอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่ถ้าหากครอบครัวขาดความอบรมเลี้ยงดูและมีสัมพันธภาพที่ไม่ดีแล้ว ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การมั่วสุ่มของวัยรุ่น การเสพสารเสพติดหรือกามมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น

                    ๒.๒) สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ในทุกด้าน หากมนุษย์อาศัยอยู่ในสภาพสังคมที่ดี เอื้ออำนวยต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ก็จะทำให้มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และมีพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา บุคลิกภาพ และด้านอื่นๆ ดีตามไปด้วย แต่ถ้าต้องการเผชิญอยู่ในสังคมที่ไม่เหมาะสม เช่น อยู่ในชุมชนที่เสื่อมโทรม ครอบครัวแตกแยก ก็จะส่งผลให้เจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ดำเนินไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร

                    ๒.๓) อาหารที่บริโภคมีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นนั้น เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารต่างๆ ที่ครบถ้วนทั้ง ๕ หมู่ และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยทำให้ร่างกายและอวัยวะต่างๆ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย

                    ๒.๔) การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัย โดยช่วยในการเสริมสร้างกระดูกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เสริมสร้างจิตใจให้แจ่มใสร่าเริงอันเป็นผลทำให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ ดีควบคู่กันไป

                    ๒.๕) การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุถือเป็นปัจจัยที่ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ หยุดชะงักทั้งในลักษณะชั่วคราวหรือถาวรซึ่งอาจทำให้เกิดความพิการของร่างกาย เกิดผลกระทบทางอารมณ์ของผู้ป่วย รวมถึงส่งผลกระทบต่อสังคมรอบข้างโดยวัยรุ่นนับเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการ เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุได้ค่อนข้างมากเนื่องจากมีความคึกคะนองชอบเสี่ยง ชอบท้าทาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บได้โดยง่ายจึงควรต้องมีความระมัด ระวังในการดูแลสุขภาพและสวัสดิ์ภาพของตนเองมากเป็นพิเศษ

๒.) เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของคนเหล่านั้นจะพิจารณาจากน้ำหนักตัวและส่วนสูง เป็นหลักซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์ ภาวะการเจริญเติบโตของวัยรุ่นในแต่ละคนว่ามีการเจริญเติบโตหรือมีพัฒนาการ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ควรเป็นหรือไม่หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นก็จะ ประเมินได้ว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือมีปัญหาทางสุขภาพโดยจะต้องดำเนินการแก้ไข เพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ต่อเนื่องเหมาะสมกับเพศและวัยต่อไป สำหรับเกณฑ์มาตรฐานนี้จะมีการจัดทำขึ้นเป็นระยะๆเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพจริง ของเด็กไทยซึ่งมีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ

        ๒.๑) เกณฑ์มาตรฐานที่เป็นข้อมูลตัวเลขเป็นการแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขว่าในกลุ่มอายุต่างๆนั้นควรมีน้ำหนักและ ส่วนสูงอยู่ในระดับจึงจะเหมาะสมโดยใช้ข้อมูลเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งได้กล่าวถึงน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นโดยนับตั้งแต่ อายุ ๗-๑๓ ปีเป็นสำคัญเนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ต่อเนื่องกัน มาโดยดูได้ดังตารางการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่ได้จัดทำเพียงครั้งเดียวแล้วใช้ได้ตลอดไปแต่จะมี การจัดทำเป็นระยะๆเพราะอัตราการเจริญเติบโตของเด็กไทยมีแนวโน้มที่จะเจริญ เติบโตเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีการรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีการรณรงค์ให้เด็กดื่มนมหรือมีการ ออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อดังนั้นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของน้ำหนักและส่วน สูงจึงต้องจัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการเจริญเติบโตที่เป็น ปัจจุบันของไทย

          ๒.๒) เกณฑ์มาตรฐานการที่เป็นกราฟและเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตเป็นการนำข้อมูลตัวเลขมาแสดงด้วยกราฟโดยการจุดข้อมูลต่างๆลงบนกราฟแล้ว เชื่อมโยงข้อมูลแต่ละจุดเพื่อแสดงระดับการเจริญเติบโตและแนวโน้มที่เปลี่ยน แปลงไปซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายและหญิง อายุ ๕-๑๘ ปี เพื่อใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น