แรงและการเคลื่อนที่ ม.3 ppt

    - วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนแปลงเป็นการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง เมื่อแรงลัพธ์มีค่าไม่เท่ากับศูนย์กระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งซึ่งมีทิศทางเดียวกับแรงลัพธ์ ทุกแรงกิริยาจะมีแรงปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยขนาดของแรงเท่ากับ แต่ทิศทางตรงข้าม การนำความรู้เรื่องแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาไปใช้อธิบาย เช่น การชักเย่อ การจุดบั้งไฟ

    - แรงพยุง คือ แรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับ ส่วนส่วนที่จมของวัตถุ

    - ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีแรงพยุงมาก

    - วัตถุที่ลอยได้ในของเหลวจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของของเหลว

    - แรงเสียดทานสถิตเป็นแรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุขณะหยุดนิ่ง ส่วนแรงเสียดทานจลน์เป็นแรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุขณะเคลื่อนที่

    - การเพิ่มแรงเสียดทาน เช่น การออกแบบพื้นรองเท้าเพื่อกันลื่น

    - เมื่อมีแรงที่กระทำต่อวัตถุ  แล้วทำให้เกิดโมเมนต์ของแรงรอบจุดหมุน  วัตถุจะเปลี่ยนสภาพการหมุน

    -การวิเคราะห์โมเมนต์ของแรงในสถานการณ์ต่างๆ- ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีแรงพยุงมาก

   - วัตถุที่ลอยได้ในของเหลวจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของของเหลว

   - แรงเสียดทานสถิตเป็นแรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุขณะหยุดนิ่ง ส่วนแรงเสียดทานจลน์เป็นแรงเสียดทานที่กระทำต่อวัตถุขณะเคลื่อนที่

   - การเพิ่มแรงเสียดทาน เช่น การออกแบบพื้นรองเท้าเพื่อกันลื่น

   - เมื่อมีแรงที่กระทำต่อวัตถุ  แล้วทำให้เกิดโมเมนต์ของแรงรอบจุดหมุน  วัตถุจะเปลี่ยนสภาพการหมุน

   -การวิเคราะห์โมเมนต์ของแรงในสถานการณ์ต่างๆ

การเคลื่อนที่

    การเคลื่อนที่  หมายถึง  การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป  แบ่งเป็น 2 ชนิด  คือ                                       

         1. การเคลื่อนที่ 1 มิติ   เป็นการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง  ในแนวราบ  หรือแนวดิ่ง   

         2.  การเคลื่อนที่ 2 มิติ   เป็นการเคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งไปพร้อม ๆกัน  (การเคลื่อนที่ในแนวเส้นโค้ง)   

                                การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ  มีลักษณะเฉพาะ ของการเคลื่อนที่  ดังนี้

                1. การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง  คือ  การเคลื่อนที่ที่มีลักษณะการเคลื่อนย้ายของวัตถุเป็นแนวเส้นตรง     ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งโค้งหรือเลี้ยวเบน  เช่น  รถไฟกำลังวิ่งในรางตรง  การหล่นของผลไม้จากต้น  การปล่อยวัตถุให้หลุดจากมือลงสู่พื้น  เป็นต้น

(การตกของวัตถุในแนวดิ่งถือเป็นการเคลื่อนที่แนวเส้นตรงประเภทหนึ่ง)

                2. การเคลื่อนที่แนวโค้ง (การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์)  คือ  การเคลื่อนที่ที่มีลักษณะโค้ง  เป็นการเคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งไปพร้อม ๆกัน  เช่น  การขว้างลูกบอล  การชู้ทลูกบาสเกตบอลลงห่วง            การยิงปืนใหญ่   เป็นต้น

                3. การเคลื่อนที่แบบวงกลม  คือ  วัตถุเคลื่อนที่เป็นส่วนโค้งรอบจุด ๆ หนึ่ง  โดยมีแรงกระทำในทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง  เช่น    รถไฟเหาะตีลังกา  เป็นต้น

                4. การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย  คือ  การเคลื่อนที่กลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิม  โดยมีแอมพลิจูด  คงเดิม  เช่น  การแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย  เป็นต้น

    การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ตอนที่ 1 - สื่อการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ ม.3