มนุษย์แต่ละคนมีแนวทางในการเลือกอาชีพอย่างไรบ้าง

มาลองวิเคราะห์ 7 วิธีหลัก ๆ ที่เหล่าคน เจนวาย(Gen Y) ใช้ในการตัดสินใจเลือกอาชีพให้กับตัวเองดูสิ แล้วจะรู้ว่าคุณเองก็สามารถเลือก ‘งานที่ชอบและอาชีพที่ใช่’ ได้เช่นกัน

1. พิจาณาดูว่าตัวเองชอบการทำงานแบบไหน

มนุษย์แต่ละคนมีแนวทางในการเลือกอาชีพอย่างไรบ้าง

บางคนชื่นชอบการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ในขณะที่บางคนอาจชอบการทำงานแบบฉายเดี่ยว แต่ไม่ว่าคุณจะชอบแบบไหน อย่างน้อยก็ขอให้แน่ใจว่าชอบจริงๆ เพื่อที่ว่าคุณจะสามารถเลือกงานได้อย่างตรงใจตัวเองที่สุด เพราะหากไม่รู้ว่าตัวเองชอบแบบไหนแล้ว ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้เช่นกัน ที่จะหาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่จะทำให้คุณมีความสุขได้

2. ตั้งเป้าหมายของรายได้ที่ต้องการ

แม้ว่าการเลือกอาชีพ ไม่ควรยึดเรื่องเงินเดือนเป็นหลัก แต่อาจเป็นการง่ายกว่า หากคิดไว้แล้วว่าตัวเองอยากจะได้งานรูปแบบไหนในช่วงเงินเดือนใดที่ตั้งไว้ การเริ่มต้นแบบนี้อาจช่วยในการตีวงอาชีพให้แคบลงได้

3. หาวันหยุดให้ตัวเองสักช่วงหนึ่ง

มนุษย์แต่ละคนมีแนวทางในการเลือกอาชีพอย่างไรบ้าง

ลองหยุดสักพักเพื่อตามหาประสบการณ์ใหม่ๆ เพราะยังมีอะไรให้ได้ลองผิดลองถูกอีกมาก สำหรับคนที่ยังตามหาตัวเองไม่เจอ ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร อยากทำตอนไหน หรือนานแค่ไหนนั้น ถ้าจะให้ดี ควรชั่งใจกับตัวเลือกที่คุณมีอยู่ให้ดีๆ ก่อนที่จะลงมือทุ่มเทพยายามกับมันในระยะยาว

4. ลองทำแบบประเมินตนเอง

บางครั้งเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่าความสามารถของเรามีอยู่มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากยังไม่เคยมีใครมาลองท้าทายเลยสักครั้ง ดังนั้นจึงควรลองทำแบบทดสอบเพื่อประเมินคุณลักษณะเฉพาะตัวและรูปแบบในการทำงานที่เหมาะสมของตัวเองดู แล้วลองหาทางขัดเกลาคุณลักษณะนั้นๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งลองคิดหาตัวเลือกในการทำงานที่เหมาะกับความเป็นตัวเราให้มากที่สุด มากกว่าจะเป็นแค่เส้นทางทั่วๆ ไปที่ใครๆ ก็เลือกเดิน

5. ลองทำสิ่งใหม่ๆ

ลองทำสิ่งเล็กๆ สิ่งใหม่ๆ ที่อาจไม่ใช่สิ่งที่อยากทำจริงๆ ดู เนื่องจากการได้รู้จักสิ่งที่ไม่ชอบมากขึ้น ย่อมหมายถึงการได้รู้จักความชอบของตัวเองมากขึ้นเช่นกัน อาจฟังดูเชยสักหน่อย แต่รับรองว่าช่วยได้และให้ผลชัดอย่างแน่นอน

6. รู้ว่าตนเองถนัดอะไร

มนุษย์แต่ละคนมีแนวทางในการเลือกอาชีพอย่างไรบ้าง

การรู้ว่าตนเองถนัดอะไร ทำอะไรได้ดี ล้วนสามารถพัฒนาทักษะของคุณให้ก้าวไปได้ไกลขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น หากการทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดมากๆ แล้วมีความสุข ก็ควรจะพัฒนาและทำสิ่งนั้นให้สุดไปเลย เนื่องจากการได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัด ย่อมเป็นสิ่งที่สมควรทำอยู่แล้ว

7. อดทนเข้าไว้

การอดทนรอคอยเพื่องานที่ชอบและอาชีพที่ใช่นั้น อาจเป็นสิ่งที่ยากที่สุด แต่กลับเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในระยะยาว ดังนั้น ควรอดทนเข้าไว้ แล้วรอดูว่าชีวิตของคุณจะก้าวไปสู่เส้นทางแบบไหน ไม่แน่ว่าคุณอาจประหลาดใจกับอนาคตอันสดใสที่รออยู่ข้างหน้า

การตัดสินใจเลือกอาชีพ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญนะคะ เพราะถ้าตัดสินใจเลือกอาชีพเหมาะสมกับตนแล้ว จะทำให้เรามีความสุขและมีความก้าวหน้าในชีวิตประจำวัน ในแต่ละวันทุกคนมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา และบางครั้งต้องตัดสินใจหลายเรื่อง

ซึ่งทุกเรื่องอาจมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับตัวเรา การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้การตัดสินใจที่ดี ต้องรู้หลักการ วิธีการ ขั้นตอน เพื่อจะได้ตัดสินใจให้ดีที่สุดคะ ไม่คิดเป็นเรื่องของโชคลาง การฝึกการตัดสินใจเรื่องอาชีพต้องเรียนรู้กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ รู้วิธีการ และปฏิรูปแบบของการตัดสินใจเลือกอาชีพ การตัดสินใจเลือกอาชีพ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า “งานคือชีวิต” ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นด้านการวางแผนชีวิตด้านอาชีพ ตั้งแต่วัยเรียน ซึ่งเป็นการวางแผนระยะยาวที่ต้องใช้เวลานานจะอาศัยความพยายามอย่างมาก ผลตอบแทนที่ได้รับก็คุ้มค่า สิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ

ประการที่ 1 ปัจจัยภายนอกได้แก่ ข้อมูลด้านอาชีพพอสรุปได้ดังนี้
1. แนวโน้มของตลาดแรงงาน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผู้ทำงานในด้านต่าง ๆ ปัจจุบัน และการพยากรณ์ความต้องการในอนาคต
2. ลักษณะงาน งานที่ต้องทำเป็นประจำมีลักษณะอย่างไร ผู้ทำงานจะต้องทำอะไรบ้างเป็นงานที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเบื่อหน่าย งานใหญ่ หรือ งานเล็ก มีความรับผิดชอบที่สำคัญมากหรือไม่ ฯลฯ
3. สภาพแวดล้อมของงาน ได้แก่สภาพแวดล้อม บรรยากาศ ของงาน เช่น ร้อน สกปรก ฝุ่นมาก เสียงดัง มีสารพิษ มีความขัดแย้งต่าง ๆ ในหน่วยงาน ฯลฯ
4. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ อายุ ได้มีการกำหนดอายุก่อนเกษียณอย่างไร เพศ อาชีพนั้น ๆ
5. การเข้าประกอบอาชีพ การเข้าประกอบอาชีพต้องมีวิธีการอย่างไร โดยการสมัครงานกับนายจ้างหรือสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ด้วย
6. รายได้ ในการประกอบอาชีพมีรายได้โดยเฉลี่ยเท่าไหร่
7. ความก้าวหน้า อาชีพนั้น ๆ มีความก้าวหน้าเพียงใด ต้องมีการอบรมเพิ่มเติม และมีความสามารถเท่าไหร่ถึงจะเลือนขั้น
8. การกระจายของผู้ประกอบอาชีพ มีผู้ประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใดกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือมีอยู่เพียงบางจังหวัด
9. ข้อดีและข้อเสีย อาชีพแต่ละอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการของผู้ประกอบอาชีพนั้น

ประการที่ 2 ปัจจัย ภายในได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความสนใจ บุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัดทักษะ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความรับผิดชอบ ความอุตสาหะ เพศ เชื้อชาติ อายุ ความแข็งแรง สุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง การทำงานเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือไม่ ฯลฯ

กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ กระบวนการที่บุคคลจะพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เช่น ต้องพิจารณาค่านิยม ความสนใจ ความถนัด และคุณสมบัติอื่น ๆ การตัดสินใจสัมพันธ์กับทักษะที่ได้เรียนรู้ ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของบุคคล เช่นหลักในการตัดสินใจ เป็นการสำรวจหนทางที่ จะเป็นไปได้กำหนดว่าจะทำอะไร จะเกิดผลอะไร ในการตัดสินใจ เราต้องรู้จักความสามารถ ความสนใจ ค่านิยมของตนเองและรู้ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง นำความรู้ไปพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ ถ้าได้ข้อมูลมากเท่าใด บุคคลนั้นก็มีโอกาสได้ผลที่พึงปรารถนามากขึ้นเท่านั้น ข้อมูลจากการประเมินนำไปสู่การอภิปรายลักษณะพิเศษของบุคคลที่สามารถเชื่อม โยงกับความต้องการทางการศึกษาและอาชีพ

จะทราบได้อย่างไรว่าอาชีพไหนเหมาะสมกับเรา คนเรามีความถนัด ความสามารถ และความสนใจในงานอาชีพแตกต่างกันคะ บางคนเหมาะที่จะทำงานด้านหัตถกรรม บางคนเหมาะที่จะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรืองานทางด้านวิทยาศาสตร์ ส่วนบางคนเหมาะกับงานทางด้านที่จะสอนดนตรี แต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ข้อสำคัญคือท่านต้องรู้จักตนเอง และรู้จักงานอาชีพต่าง ๆ อย่างกว้างขวางรวมทั้งพิจารณาดูว่า มีงานอะไรบ้างที่ท่านชอบและสนใจมากที่สุด และงานนั้น ๆ เหมาะกับอุปนิสัยและบุคลิกภาพของท่านหรือไม่

ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ขาดทักษะและรายละเอียดข้อมูล เกี่ยวกับโลกอาชีพ
2. ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวอาชีพ การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
3. ขาดการรู้จักตนเอง ด้านความสามารถ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจในอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเราคะ

ข้อสรุปก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. ผู้ตัดสินใจเลือกควรรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัยใจคอ ความรู้ ความถนัด ความสามารถ สุภาพ นิสัย ทัศนคติเกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ฯลฯ
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ลักษณะของงานอาชีพต่าง ๆ ลักษณะของงานอาชีพ ค่าจ้าง สวัสดิการ ความก้าวหน้า ความต้องการของตลาดแรงงาน ฯลฯ

ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. กำหนดปัญหาหรืออุปสรรคให้ชัดเจนว่า เรากำลังตัดสินใจเรื่องอะไร เช่น เรากำลังเลือกแผนการเรียนอะไร หรือเลือกที่จะประกอบอาชีพอะไร
2. สำรวจตัวเลือกต้องรู้จักแผนที่จะเลือกหรืออาชีพที่จะเลือก
3. เปรียบเทียบแต่ละตัวเลือกแตกต่างกันอย่างไร
4. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะเลือกแผนหรืออาชีพทั้งหมด
5. แปลความข้อมูลต้องกำหนดน้ำหนักความสำคัญให้แต่ละตัวเลือก การตัดสินใจเลือกอาชีพมักเกิดขึ้นเมื่อมีอาชีพให้เราตัดสินใจเลือกมากกว่า หนึ่งอาชีพ มีความรู้และประสบการเกี่ยวกับอาชีพที่จะเลือก
6. จัดการกับข้อมูลโดยการให้น้ำหนักความสำคัญแต่ละตัวเลือกในแต่ละประเด็นเมื่อ เราเข้าใจว่าทำไมเราจึงเลือกตัวเลือกนี้มากว่า จะทำให้ตัวเลือกลดลง จนเหลืออาชีพที่เราสนใจเท่านั้น
7. เรียงลำดับประโยชน์ของตัวเลือกจากมากไปหาน้อย จะช่วยให้เห็นความสำคัญของตัวเลือกแต่ละตัวมากขึ้น
8. ตัดสินใจ การตัดสินใจเลือกอาชีพที่ดีจะต้องไม่กังวลใจว่าตัวเลือกที่เหลือจะเหมาะสม กับตัวเรามากน้อยเพียงใด เมื่อเราได้พิจารณาตัวเลือกหลายปัจจัย ได้คิดอย่างรอบคอบ เราต้องตระหนักว่าเราทำดีที่สุดแล้วในขณะนั้น แม้ว่าโดยทั่วไปการตัดสินใจเลือกจะมีความเสี่ยง เพราะไม่รู้ว่าอะไร จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัญหาของเราคือเราจะต้องพยายามเลือกอาชีพที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อตัว เรามากที่สุด ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์ และความรู้สึก ต้องพิจารณาจากความสนใจ บุคลิกภาพ ค่านิยม และความต้องการคะ

กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. ให้นักเรียนมีตัวเลือกในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นในการตัดสินใจเลือก
2. ให้นักเรียนมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกรวดเร็วขึ้น
3. ให้นักเรียนได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง
4. เมื่อนักเรียนมีอิสระในการเลือกมากขึ้นจะมีประสบการณ์การเลือกมากขึ้น
5. ให้รู้นำประสบการณ์ในตัดสินใจเดิมมาใช้ในการตัดสินใจครั้งต่อไป

สำหรับคนรุ่นใหม่ ในยุปัจจุบัน

1. ลองทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อหาประสบการณ์ในการทำงาน

2. รู้จักความถนัดของตัวเองว่าอยากทำอะไร

3. พิจารณาว่าชอบการทำงานแบบไหนในอนาคต

4. ลองทำแบบประเมินต  รวมทั้งแบบทดสอบตัวเองว่า เป็นคนแบบไหน

5. ศึกษาความก้าวหน้าของอาชีพในอนาคต

6. ศึกษารายได้ ว่าประมาณไหน “เงินเดือน” เป็นอีกสิ่งที่ควรศึกษาให้ดีว่า ฐานเงินเดือนในอาชีพที่เราสนใจ อยู่ในอัตราเท่าไหร่ มั่นคงพอที่จะเลี้ยงดูตัวเอง

7. หาเวลาผ่อนคลาย ทบทวนการตัดสินใจ

8. วางแผนไปสู่อนาคตการทำงาน ในอาชีพที่เราสนใจ

 

เราลองมาดูกันว่าจะมีอาชีพใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ หรืออาชีพดัั้งเดิมที่อาจมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต อะไรกันบ้าง

 

  1. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (software developer) 

ปัจจุบันไม่ว่าจะธุรกิจประเภทใดต่างก็พึ่งพาเทคโนโลยีด้วยกันหมดทั้งสิ้น งานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นที่ต้องการในตลาด และด้วยแนวโน้มการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ โอกาสของอาชีพนี้จึงค่อนข้างสดใสและเป็นที่ต้องการมาก

 

  1. รักษาความปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity) 

ด้วยการที่กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ยุคปัจจุบันต้องทำผ่านระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมการเงิน การซื้อขายสินค้า การติดต่อสื่อสาร และเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ฯลฯ การป้องกันการโจรกรรมข้อมูลดิจิตอลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทั้งในระดับปัจเจกและองค์กร

  1. วิศวกรหุ่นยนต์ (robotics engineer) 

วิศวกรส่วนใหญ่จะยังเป็นอาชีพที่ไม่ตกเทรนด์ แต่วิศวกรหุ่นยนต์เป็นสาขาหนึ่งที่มีทิศทางสดใสมาก ๆ ในอนาคต เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ละภาคส่วนตั้งแต่ระบบคลังสินค้า โลจิสติกส์ เกษตรอัจฉริยะ (smart farming) หรือภาคการผลิต (manufacturing) ฯลฯ ต่างก็มีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติด้วยกันทั้งสิ้น

  1. ผู้จัดการโครงการ (project manager) 

เป็นหนึ่งในอาชีพที่นอกจากจะต้องใช้ทักษะด้าน hard skills แล้ว ยังต้องพึ่งพาทักษะด้าน soft skills อย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะต้องรู้รายละเอียดของโครงการอย่างถ่องแท้แล้ว ยังต้องสื่อสาร ประสานงาน สร้างบรรยากาศแห่งทีมเวิร์ค และบริหารปัจจัยต่าง ๆ ภายในทีมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการตามที่กำหนดเอาไว้ และถ้าหากการทำงานจากบ้าน (WFH) กลายมาเป็น new normal ความสามารถในการเป็นผู้จัดการโครงการที่ดีจะมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในสภาวะที่ทุกคนต่างทำงานกันจากทางไกล

  1. นักการตลาด (marketer) 

แพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ได้เอื้อให้ตลาดการค้ามีผู้เล่นมากหน้าหลายตามากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันที่สูงขึ้น และหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถชี้ขาดถึงผลการแข่งขันคือความสามารถในการทำการตลาด ทำให้อาชีพนักการตลาดยังมีความสำคัญและไม่เอ้าท์

 

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้าน e-commerce (e-commerce specialist) 

แม้อาจนับรวมเป็นสาขาย่อยของการตลาด แต่ผู้เชี่ยวชาญด้าน e-commerce ก็มีความโดดเด่นจนสามารถแยกออกมาเป็นการเฉพาะได้ เพราะระบบการค้าออนไลน์มีความสำคัญต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาย่อยนี้มีความสำคัญอย่างมากในกระแสการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาด e-commerce เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการส่งสารไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เวลาจัดแคมเปญการตลาดผ่านระบบ e-commerce ถ้าผู้ประกอบการไม่ชำนาญในการใช้ระบบ สารที่อยากจะส่งไปยังผู้บริโภคก็อาจไปไม่ถึงหรือมีประสิทธิภาพไม่มากพอจนทำให้ไม่สามารถปิดการขายได้ เป็นต้น

  1. นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (mobile application developer) 

ช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือแอปพลิเคชันบนมือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่อื่น ๆ ด้วยความนิยมนี้เองที่ทำให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันเนื้อหอมเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้ขายและผู้ซื้อมาเจอกันได้ง่ายขึ้น

  1. ผู้ผลิตคอนเทนต์ (content creator)​ 

นอกจากการบริหารจัดการและการตลาดแล้ว เรื่องราวของผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ก็เป็นอีกปัจจัยที่สามารถมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด และให้ผลตรงข้ามหากเล่าเรื่องได้ไม่ดีพอ โดยตัวผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีทักษะรอบด้านไม่ว่าจะเป็นการเขียน ถ่ายภาพ/วิดีโอ ตัดต่อ และมีความชำชาญในการเล่าเรื่องบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายโดยเฉพาะออนไลน์ จะโดดเด่นจากผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีความถนัดเพียงเฉพาะทาง

  1. ผู้สร้างสรรค์งานด้าน VFX (VFX/CGI) 

ทักษะในการผลิตงานด้าน Visual Effects (VFX) เป็นที่ต้องการมากขึ้นในแวดวงการสื่อสาร โดยเฉพาะในวงการโฆษณา ละคร และภาพยนตร์ โดยมีแรงหนุนมาจากการแข่งขันด้านการตลาดที่ต้องพึ่งพาการโฆษณาที่ดึงดูดผู้ชมมากขึ้น และความนิยมชมภาพยนตร์ที่มี VFX อลังการมากขึ้นของผู้ชม

  1. ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (creative director) 

หนึ่งในปัจจัยชี้ขาดว่าโครงการใด (ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์โฆษณาหรือแคมเปญการตลาด) จะปังหรือไม่ปังคือความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ที่ดีไม่ใช่แค่ต้องมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะในการคัดกรองความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ จากลูกทีม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโปรเจกต์ของทีมได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพงานด้าน creative ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย อาชีพนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจหรือโครงการที่ต้องเน้นงานด้าน creative

 

  1. นักวิจัยประสบการณ์ลูกค้า (user experience (UX) researcher) 

การที่จะมีกิจกรรมการตลาด แอปพลิเคชัน คอนเทนต์ และประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโปรเจกต์ แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามใจหรือเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ก็ต้องพึ่งพาข้อมูลด้านลูกค้าทั้งในเชิงคุณภาพ (qualitative) และปริมาณ (quantitative) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนักวิจัยด้านประสบการณ์ลูกค้าที่มีความสามารถในการค้นคว้าข้อมูล ประมวลผลข้อมูลดิบ และสามารถสื่อสารผลการศึกษาที่ได้มาอย่างเป็นระบบและเข้าใจง่ายจะเข้ามาเติมเต็มจิ๊กซอว์แห่งความสำเร็จนี้ได้

  1. นักวิเคราะห์ (analyst) 

แม้จะคาบเกี่ยวกับนักวิจัยแต่บางครั้งผู้ที่สามารถวิเคราะห์ ตีความ และนำผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่คนเดียวกับนักวิจัยแต่เป็นนักวิเคราะห์ ขณะเดียวกัน แม้ว่าหุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์ขั้นสูงจะสามารถประมวลผลข้อมูลดิบบางด้านได้เก่งกว่ามนุษย์แล้ว โดยเฉพาะข้อมูลด้านการคำนวณตัวเลข แต่ทักษะในการตีความ วิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายกรณี (scenario analysis) และการสื่อสารผลวิเคราะห์ยังเป็นงานที่มนุษย์ทำได้ดี และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารล้นเกินจนบางครั้งแทบจับต้นชนปลายไม่ถูก ซึ่งอาชีพนักวิเคราะห์สามารถเข้ามาเติมเต็มในส่วนนี้ได้

  1. ที่ปรึกษาทางธุรกิจ (business consultants) 

การแข่งขันที่สูงขึ้น ข้อมูลที่ล้นเกิน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคมากมายในการดำเนินธุรกิจ ทำให้การตัดสินใจของผู้ประกอบการทั้งมือใหม่และรุ่นเก๋าอาจผิดพลาดได้ การมีที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีข้อมูลแน่นและมองเกมขาดก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงและช่วยให้กิจการพิชิตเป้าหมายได้

  1. ตัวแทนการขาย (sale representative) 

แม้จะมีเทคโนโลยีที่ล้ำยุค มีการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ บริหารจัดการระดับเทพ แต่หลาย ๆ ธุรกิจยังต้องพึ่งพาตัวแทนการขายที่เพียบพร้อมไปด้วย soft skills ด้านการสื่อสาร เจรจา ดึงดูดลูกค้าเหมือนเดิม เพราะ AI ยังไม่สามารถทำหน้าที่สานสายสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีเท่ามนุษย์

  1. นักบริบาล (care worker)

การที่สังคมในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงวัยต่อประชากรโดยรวมมากขึ้น งานด้านการดูแลบุคคล (care work) จะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น และด้วยการที่ลูกหลานถูกรุมเร้าและบีบคั้นจากหน้าที่การงานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจไม่มีเวลามาดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวด้วยตนเอง ทำให้ความต้องการในการใช้บริการจาก care worker สูงขึ้นหากแนวโน้มโดยรวมยังดำเนินต่อไป

  1. ที่ปรึกษาสุขภาพจิต (mental health conselor) 

เพราะการแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้น อาหารการกินที่ไม่ถูกสุขอนามัย และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่พร้อมเข้ามารุมเร้าชีวิตผู้คนในยุคดิจิทัลที่มีอัตราเร่งของชีวิตสูงปรี๊ดเช่นนี้ ทำให้ผู้คนมีอาการป่วยทางจิตมากยิ่งขึ้น และด้วยความรู้และการเปิดรับโรคทางจิตมากขึ้น ทำให้อาชีพที่ปรึกษาสุขภาพจิตจึงเป็นอีกอาชีพที่น่าจับตามองมาก ๆ

นักเรียนมีแนวทางในการเลือกอาชีพอย่างไร *

ในการเลือกประกอบอาชีพจะต้องรู้จักตัวเองก่อนเป็นอับดับแรก ว่ามีความถนัด ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกภาพ สุขภาพ นิสัย ทัศนคติที่เกี่ยวกับอาชีพนั้นอย่างไร เช่น บางคนมีความถนัดทางด้านตัวเลข ชอบสังเกต วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุมีผล ชอบแก้ปัญหาใฝ่หาความรู้ เหมาะกับการเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ชอบกิจกรรม ...

ขั้นตอนการเลือกอาชีพมีกี่ขั้นตอน

1. กำหนดปัญหาหรืออุปสรรคให้ชัดเจนว่า เรากำลังตัดสินใจเรื่องอะไร เช่น เรากำลังเลือกแผนการเรียนอะไร หรือเลือกที่จะประกอบอาชีพอะไร 2. สำรวจตัวเลือกต้องรู้จักแผนที่จะเลือกหรืออาชีพที่จะเลือก 3. เปรียบเทียบแต่ละตัวเลือกแตกต่างกันอย่างไร 4. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะเลือกแผนหรืออาชีพทั้งหมด

การเลือกอาชีพสำคัญอย่างไร

การเลือกประกอบอาชีพจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอันมาก คนที่เลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตน ย่อมก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน และยังมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าบุคคลประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับตนเองแล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในการทำงาน และเนื่องจากคนเราต้อง ...

อาชีพที่มีความมั่นคง มีอะไรบ้าง

อาชีพ : ผู้บริหารงานชุมชน ตัวแทนธุรกิจ จิตแพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักรัฐศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล ผู้ทำงานในชุมชน ผู้อำนวยการทางด้านบุคลากร ครู บรรณารักษ์ ข้าราชการต่างประเทศ เป็นต้น