ข้อสอบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

1. ข้อใดให้ความหมายของข้อมูลได้ถูกต้อง

     ก. ข้อมูลที่ดีต้องมีการปรับปรุง

     ข. ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้อง

     ค. ควรมีการสำรวจเกี่ยวกับขอบเขต

     ง. ข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมาย

2. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีจำเป็นต้องมีพื้นฐานกี่ประการ

     ก. 5 ประการ                        ข. 6 ประการ

     ค. 8 ประการ                        ง. 9 ประการ

3. การประมวลผลข้อมูลมีกี่ลักษณะ

     ก. 1 ลักษณะ                        ข. 2 ลักษณะ

     ค. 3 ลักษณะ                        ง. 4 ลักษณะ

4. Data Redundancy คือข้อใด

     ก. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล

     ข. หลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องของข้อมูล

     ค. กำหนดระบบความปลอดภัย

     ง. กำหนดให้ข้อมูลมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน

5. DBMS ย่อมาจากคำใด

     ก. Database Maintenance Systems

     ข. Database Management Systems

     ค. Database Modification Systems

     ง. Database Ministration Systems

6.การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลหมายถึงข้อใด

     ก. ข้อมูลจะต้องถูกจัดในลักษณะที่สามารถป้องกัน

     ข. ข้อมูลจะต้องเป็นตัวแทน

     ค. ข้อมูลต้องถูกจัดระบบให้สามารถเลือกเข้าถึงได้ตามจุดมุ่งหมายของผู้ใช้

     ง. เป็นการกำหนดวิธีการที่ระเบียนถูกจัดเก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลบนอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล

7. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงสร้างข้อมูลหรือประเภทข้อมูล

     ก. โครงสร้างองค์ประกอบอย่างง่าย ข. โครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน

     ค. โครงสร้างแบบยาก                ง. โครงสร้างแบบซับซ้อน

8. แฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

     ก. 5 ประเภท                         ข. 4 ประเภท

     ค. 3 ประเภท                         ง. 2 ประเภท

9. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction Files) หมายถึงข้อใด

     ก. การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตามลำดับ

     ข. แฟ้มที่เก็บรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลง

     ค. การประมวลผลแบบกลุ่ม

     ง. การประมวลผลแบบทันที

10.   ระบบการจัดการฐานข้อมูลหมายถึงข้อใด

     ก. เป็นโปรแกรมที่เปิดเผยรายละเอียดซอร์สโค้ดต่อบุคคลทั่วไป

     ข. โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการฐานข้อมูลในการสร้างหรือเรียกใช้

     ค. จัดเก็บข้อมูลได้หลายชนิดข้อมูล

     ง. เป็นโปรแกรมบริหารจัดการด้านฐานข้อมูล

1). ข้อมูลมีความหมายว่าอย่างไร

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

2). แหล่งข้อมูลหมายถึงอะไร

หมายถึง แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งหรือ ที่รวมซึ่งอาจเป็น สภาพ/สถานที่หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้หรือกระบวนการเรียนการสอนที่มีรูปแบบแตกต่างจากกระบวนการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้สอนที่มีครูเป็นผู้สอนหรือศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาเรียนยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของผู้เรียน การประเมินและการวัดผลการเรียนมีลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ตามมาตรา 25 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นเป็นต้น

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
          1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
          2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
          4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
          5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์

ประเภทของแหล่งเรียนรู้
          แหล่งเรียนรู้ จำแนกตามลักษณะที่ตั้งได้ ดังนี้
              1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
              2. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

3). การจัดการแฟ้มข้อมูลแบ่งออกได้กี่วิธี จงอธิบาย

แบ่งเป็น 2 วิธี

     1.  แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File)

     2.  แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file)

 

1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล

เนื่องจากการใช้งานระบบฐานข้อมูลนั้นต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อให้มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลน้อยที่สุด จุดประสงค์หลักของการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อการลดความซ้ำซ้อน สาเหตุที่ต้องลดความซ้ำซ้อน เนื่องจากความยากในการปรับปรุงข้อมูล กล่าวคือถ้าเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกันหลายแห่ง เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูลแล้วปรับปรุงข้อมูลไม่ครบทำให้ข้อมูลเกิดความขัดแย้งกันของข้อมูลตามมา และยังเปลืองเนื้อที่การจัดเก็บข้อมูลด้วย เนื่องจากข้อมูลชุดเดียวกันจัดเก็บซ้ำกันหลายแห่งนั่นเอง ถึงแม้ว่าความซ้ำซ้อนช่วยให้ออกรายงานและตอบคำถามได้เร็วขึ้น แต่ข้อมูลจะเกิดความขัดแย้งกัน ในกรณีที่ต้องมีการปรับปรุงข้อมูลหลายแห่ง การออกรายงานจะทำได้เร็วเท่าใดนั้นจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด และเหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันของข้อมูลแก้ไขไม่ได้ด้วยฮาร์ดแวร์ ขณะที่การออกรายงานช้านั้นใช้ความสามารถของฮาร์ดแวร์ช่วยได้

         2.รักษาความถูกต้องของข้อมูล

เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบกฎบังคับความถูกต้องของข้อมูลให้ได้ โดยนำกฎเหล่านั้นมาไว้ที่ฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะจัดการเรื่องความถูกต้องของข้อมูลให้แทน แต่ถ้าเป็นระบบแฟ้มข้อมูลผู้พัฒนาโปรแกรมต้องเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมกฎระเบียบต่างๆ(data integrity) เองทั้งหมด ถ้าเขียนโปรแกรมครอบคลุมกฎระเบียบใดไม่ครบหรือขาดหายไปบางกฎอาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและพัฒนาโปรแกรมด้วย เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจัดการให้นั่นเอง เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้หลายคนพร้อมกันได้ ดังนั้นความคงสภาพและความถูกต้องของข้อมูลจึงมีความสำคัญมากและต้องควบคุมให้ดีเนื่องจากผู้ใช้อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดกระทบต่อการใช้ข้อมูลของผู้ใช้อื่นทั้งหมดได้ ดังนั้นประโยชน์ของระบบฐานข้อมูลในเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมาก

           3. มีความเป็นอิสระของข้อมูล

เนื่องจากมีแนวคิดที่ว่าทำอย่างไรให้โปรแกรมเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล ในปัจจุบันนี้ถ้าไม่ใช้ระบบฐานข้อมูลการแก้ไขโครงสร้างข้อมูลจะกระทบถึงโปรแกรมด้วย เนื่องจากในการเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบแฟ้มข้อมูลนั้น ต้องใช้โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อเรียกใช้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้นโดยเฉพาะ เช่น เมื่อต้องการรายชื่อพนักงานที่มีเงินเดือนมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน โปรแกรมเมอร์ต้องเขียนโปรแกรมเพื่ออ่านข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลพนักงานและพิมพ์รายงานที่แสดงเฉพาะข้อมูลที่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลข้อมูลเช่น ให้มีดัชนี (index) ตามชื่อพนักงานแทนรหัสพนักงาน ส่งผลให้รายงานที่แสดงรายชื่อพนักงานที่มีเงินเดือนมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือนซึ่งแต่เดิมกำหนดให้เรียงตามรหัสพนักงานนั้นไม่สามารถพิมพ์ได้ ทำให้ต้องมีการแก้ไขโปรแกรมตามโครงสร้างดัชนี (index) ที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะแบบนี้เรียกว่าข้อมูลและโปรแกรมไม่เป็นอิสระต่อกัน สำหรับระบบฐานข้อมูลนั้นข้อมูลภายในฐานข้อมูลจะเป็นอิสระจากโปรแกรมที่เรียกใช้(data independence) สามารถแก้ไขโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลได้ โดยไม่กระทบต่อโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล เนื่องจากระบบฐานข้อมูลมีระบบจัดการฐานข้อมูลทำหน้าที่แปลงรูป (mapping) ให้เป็นไปตามรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เนื่องจากในระบบแฟ้มข้อมูลนั้นไม่มีความเป็นอิสระของข้อมูล ดังนั้นระบบฐานข้อมูลได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาด้านความเป็นอิสระของข้อมูล นั่นคือระบบฐานข้อมูลมีการทำงานไม่ขึ้นกับรูปแบบของฮาร์ดแวร์ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลและไม่ขึ้นกับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูล และมีการใช้ภาษาสอบถามในการติดต่อกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลแทนคำสั่งของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ทำให้ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องทราบรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล ประเภทหรือขนาดของข้อมูลนั้น 

          4. มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง

ถ้าหากทุกคนสามารถเรียกดูและเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งหมดได้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลได้ และข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลที่ไม่อาจเปิดเผยได้หรือเป็นข้อมูลเฉพาะของผู้บริหาร หากไม่มีการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล ฐานข้อมูลก็จะไม่สามารถใช้เก็บข้อมูลบางส่วนได้

           5. ใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง

มีการควบคุมการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลจากศูนย์กลาง ระบบฐานข้อมูลสามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายคนได้ กล่าวคือระบบฐานข้อมูลจะต้องควบคุมลำดับการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เช่นขณะที่ผู้ใช้คนหนึ่งกำลังแก้ไขข้อมูลส่วนหนึ่งยังไม่เสร็จ ก็จะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้คนอื่นเข้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลนั้นได้ เนื่องจากข้อมูลที่เข้ามายังระบบฐานข้อมูลจะถูกนำเข้าโดยระบบงานระดับปฏิบัติการตามหน่วยงานย่อยขององค์กร ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจะมีสิทธิในการจัดการข้อมูลไม่เท่ากัน ระบบฐานข้อมูลจะทำการจัดการว่าหน่วยงานใดใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลในระดับใดบ้าง ใครเป็นผู้นำข้อมูลเข้า ใครมีสิทธิแก้ไขข้อมูล และใครมีสิทธิเพียงเรียกใช้ข้อมูล เพื่อที่จะให้สิทธิที่ถูกต้องบนตารางที่สมควรให้ใช้

5).ฐานข้อมูลหมายถึงอะไร

ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ (Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 4

1. ข้อใดให้ความหมายของข้อมูลได้ถูกต้อง

     ก. ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้อง

     ข. ข้อมูลที่ดีต้องมีการปรับปรุง

     ค. ข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมาย

     ง. ควรมีการสำรวจเกี่ยวกับขอบเขต

2. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีจำเป็นต้องมีพื้นฐานกี่ประเภท

     ก. 9 ประการ                        ข. 8 ประการ

     ค. 6 ประการ                        ง. 5 ประการ

3. การประมวลผลข้อมูลมีกี่ลักษณะ

     ก. 4 ลักษณะ                        ข. 3 ลักษณะ

     ค. 2 ลักษณะ                        ง. 1 ลักษณะ

4. Data Redundancy คือข้อใด

     ก. หลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องของข้อมูล

     ข. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล

     ค. กำหนดให้ข้อมูลมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน

     ง. กำหนดระบบความปลอดภัย

5. DBMS ย่อมาจากคำใด

     ก. Database Management Systems

     ก. Database Maintenance Systems

     ค. Database Modification Systems

     ง. Database Ministration Systems

6. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลหมายถึงข้อใด

     ก. ข้อมูลจะต้องเป็นตัวแทน

     ข. ข้อมูลจะต้องถูกจัดในลักษณะที่สามารถป้องกัน

     ค. เป็นการกำหนดวิธีการที่ระเบียนถูกจัดเก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลบนอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล

     ง. ข้อมูลต้องถูกจัดระบบให้สามารถเลือกเข้าถึงได้ตามจุดมุ่งหมายของผู้ใช้

7. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงสร้างข้อมูลหรือประเภทข้อมูล

     ก. โครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน           ข. โครงสร้างองค์ประกอบอย่างง่าย

     ค. โครงสร้างแบบซับซ้อน            ง. โครงสร้างแบบยาก

8. แฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

     ก. 2 ประเภท                         ข. 3 ประเภท

     ค. 4 ประเภท                         ง. 5 ประเภท

9. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction File) หมายถึงข้อใด

     ก. แฟ้มที่เก็บรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลง

     ข. การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตามลำดับ

     ค. การประมวลผลแบบทันที

     ง. การประมวลผลแบบกลุ่ม

10.   ระบบการจัดการฐานข้อมูลหมายถึงข้อใด

     ก. โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการฐานข้อมูลในการสร้างหรือเรียกใช้

     ข. เป็นโปรแกรมที่เปิดเผยรายละเอียดซอร์สโค้ดต่อบุคคลทั่วไป

     ค. เป็นโปรแกรมบริหารจัดการด้านฐานข้อมูล

     ง. จัดเก็บข้อมูลได้หลายชนิดข้อมูล