การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ

       การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของไทยมุ่งปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย เพื่อให้เกิดกรเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะ ความเข้าใจ ทัศนคติ ระบบความเชื่อต่างๆ ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลเพราะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

ดังนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง กระบวนการพื้นฐานในการพัฒนาทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้ครอบคลุมและเกิดความสมดุลอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบันและในอนาคตอย่างเท่าเทียมกัน

2.การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development : ESD)

สาระสำคัญสำหรับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีดังนี้

  • การมีวิสัยทัศน์ (envisioning) หลักมีอยู่ว่าหากเราทราบจุดหมายที่เราจะไปให้ถึง เราจะสามารถวางแผนดำเนินการเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายได้ดีขึ้น
  • การคิดเชิงวิจารณญาณและการคิดใคร่ครวญ (critical thinking and reflection) เป็นการเรียนรู้ที่จะมีการตั้งคำถาม
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (systematic thinking) เป็นการยอมรับในความซับซ้อน และมองหาความเชื่อมโยงและการ่วมมือ
  • การสร้างคู่พันธมิตรหรือหุ้นส่วน (building partnerships) ส่งเสริมการพูดคุยทำความเข้าใจและการเจรจาต่อรองการเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน
  • การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (participation in decision-making) ควรได้จัดให้มีการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ตามบริบทของวัฒนธรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือแต่ล่ะกลุ่มที่แตกต่างกัน
  1. ความสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

หัวใจสำคัญของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน ซึ่งหมายถึง การพัฒนาที่ก่อให้เกิดดุลยภาพระหว่างการกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ดังนั้น นัยสำคัญในการส่งเสริมแนวคิดของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา ความรู้(knowledge) ทักษะ (skills) และมุมมอง (perspectives) ของคนในสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สมดุลและยั่งยืน

ความรู้ (Knowledge)

สำหรับความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับ

  • สถานการณ์และปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโลกที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่
  • ประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของชาวโลก เพื่อให้สามารถตัดสินใจและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม มีความสอดคล้องกับแนวคิดและแนวทางที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ

ทักษะ (Skills)

ประชากรของโลกทุกคน ยังต้องได้รับการเสริมทักษะหรือความชำนาญ ที่จำเป็นต่อการดำรงตนในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเงื่อนไขของสังคมหรือชุมชนที่ตนอยู่ร่วมอาศัย ตัวอย่างของกลุ่มทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมที่ยั่งยืน มีดังนี้

  • ทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถจัดระเบียบการคิดทีละด้านอย่างเป็นระบบ มีการดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้การเขียนคำพูด และท่าทาง เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรมและสถานการณ์
  • ทักษะในการวิเคราะห์ และวางแผนล่วงหน้า สามารถนำข้อมูลและความรู้ที่มีอยู่มา เปรียบเทียบ ประมวลผล แปลความหมาย และกำหนดเป้าหมายในอนาคตที่ต้องการ
  • ทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับค่านิยม (values) สามารถประเมินปัญหาหรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัว ตระหนักถึงความสำคัญของการมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ถูกต้อง และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนในสังคมไทย
  • ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล สามารถสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้างไว้ได้ยืนยาว
  • ทักษะการอยู่ร่วมในสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างปลอดภัย รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่จะนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

มุมมอง (Perspectives)

การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เน้นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถมองได้รอบด้าน ครอบคลุมทั้งที่เป็นประเด็นปัญหาในระดับโลก และความเชื่อมโยงหรือผลกระทบของปัญหาเหล่านั้นในระดับท้องถิ่น

ดังนั้น การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงจำเป็นต้องมองให้เข้าใจถึงรากฐานของปัญหา และสามารถมองคาดการณ์ออกไปให้เห็นถึงความน่าจะเป็นในอนาคต

มุมมองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่

  • ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ทุกๆ ปัญหามีที่มาและที่ไป
  • การมองให้เข้าใจถึงชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ รวมถึงมองออกไปให้เข้าใจถึงบริบทที่กว้างไกลออกไป
  • ก่อนที่บุคคลจะทำการตัดสินใจ หรือชี้ขาดในเรื่องใดๆ จำเป็นต้องมองให้รอบด้าน และพยายามมองจากมุมที่แตกต่างกัน
  • ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของโลก ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
  1. เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการศึกษา

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต

UN Sustainable Development Goals (SDG) :17 aspects for future world

ในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดในห้อข้อที่ 4 ซึ่งกล่าวถึงการศึกษา

เป้าหมายที่ 4 การได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ

            ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 เป็นต้นมา มีความก้าวหน้าในการจัดบริการการศึกษาระดับประถมศึกษาถ้วนหน้าเป็นอย่างมาก อัตราการได้รับการศึกษารวมของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 91 ในปี พ.ศ.2558 และจำนวนเด็กทั่วโลกที่ไม่ได้รับการศึกษาลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง

นอกจากนี้อัตราผู้ที่มีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ยังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เด็กหญิงได้เข้าเรียนหนังสือมากขึ้นกว่าเดิม การจะให้มีการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึงสำหรับทุกคนนั้น ได้ตอกย้ำความเชื่อที่ว่า การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในกลไกที่สำคัญที่สุดและอยู่เหนือบทพิสูจน์ใด ๆ การศึกษาจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน   เป้าหมายนี้สร้างความมั่นใจว่าเด็กหญิงและเด็กชายทุกคนจะสำเร็จการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายภายในปีพ.ศ.2573 นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการเข้าถึงการฝึกอบรมอาชีพในราคาที่เหมาะสมและอย่างเท่าเทียมกัน