บ่าว หมายถึง หัวใจชายหนุ่ม

สรุปเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม

บ่าว หมายถึง หัวใจชายหนุ่ม
  ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์ 

       หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้

พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ  เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์  โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนวนิยาย

ลักษณะการแต่ง

หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้

  1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้

2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”

3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน…” “แต่เพื่อน…” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย

4).การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์”โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์

5).ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย

2.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง

3.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

4.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต

5.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ

6.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต

7.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร

8.สื่อถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของวัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้

เรื่องย่อ

         นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป

 

 ข้อความสำคัญของจดหมายจดหมายฉบับที่ ๑ เรือโอยามะมะรูในทะเลแดง–         การรักเมืองไทยเปรียบเหมือนรักพ่อแม่แต่การรักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย–         การเต้นรำเหมือนชีวิตของฉัน เพื่อนๆเคยล้อว่าถ้าฉันไม่เต้นรำนานๆถึงปวดท้อง–         การเต้นรำมาสู้สำคัญเท่าเรื่องที่ไม่ได้กอดผูหญิงนั่นแหละ ถ้าไม่มีการเต้นรำ เราจะวิ่งไปกอดเขาดื้อๆใครเขาจะยอม–         ในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้พบเห็นผู้ชาย–         ฉันแทบอยากจะพาเอาลีลี่เข้าไปเสียด้วยแล้ว แต่นึกสงสารหล่อนที่จะต้องไปตกในหมู่คน “อันศิวิไลช์” จะทนทานไม่ไหว      จดหมายฉบับที่ ๔ บ้านที่หัวลำโพง–         ฉันต้องไหว้คนมาเสียมากต่อมากจนนับไม่ถ้วน ฉันแทบจะลงรอยท่ป็นท่าประณมอยู่ เสมอป็นแล้วและหลังก็เกือบจะโค้งเพราะคำนับคนไม่ได้หยุด–         ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อ คือ อยากให้ฉันเข้ารับราชการในราชสำนัก แต่ผู้ที่ต้องการสมัยนี้มันมีมากมายจนเหลือตำแหน่ง–         ฉันบอกว่าจะลองประกอบอาชีพค้าขายดูบ้างแต่คุณพ่อไม่ยอมให้ทำเช่นนั้น ท่านว่าค้าขายไม่มีหนทางที่จะเป็นใหญ่เป็นโตต่อไปได้–         ฉันได้ไปเรียนมาจากยุโรป..จะแต่งงานแบบคลุมถุงชนไม่ได้เลย–         กรุงเทพฯหาที่เที่ยวยากเพราะขาดเร็สตอรังศ์และโรงละครดีๆจดหมายฉบับที่ ๕ ถนนหัวลำโพง–         ในที่สุดฉันเป็นอันได้เข้ารับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์–         ฉันไปดูตัวแม่กิมเน้ยแล้วหน้าตาหล่อนเหมือนนางชุนฮูหยิน ตายาว หลังตาชั้นเดียว ผิวขาวดี ใช้เสื้อผ้าดีถูกแฟชั่นแต่แต่งเครื่องเพชรมากไป–         รายที่ฉันเล่ามาในจดหมายว่าได้เห็นที่โรงพัฒนากรนั้น ได้สืบสาวว่าหล่อนชื่ออุไร ได้ข่าวว่าหล่อนเป็นผู้หญิงสมัยใหม่แท้ ไม่หดหู่กลัวผู้ชาย–         ถ้าได้รู้จักผู้หญิงอย่างเช่นแม่อุไรแล้วจะทำให้ฉัยค่อยวายค่อยวายคิดถึงเมืองอังกฤษได้และจะทำให้ชีวิตเป็นของน่าดำรงอีกด้วย–         หล่อนจะพอใจในตัวฉันหรือไม่ก็ยังไม่รู้ได้ เพราะหล่อนเป็นผู้ที่มีชายตอมมานานแล้วจดหมายฉบับที่ ๖ ถนนหัวลำโพง–         นึกๆก็น่าประหลาดอยู่ที่ในเมืองเรานี้พี่น้องจูบกันไม่ได้เหมือนอย่างฝรั่งเขา แต่นึกไปอีกทีก็เห็นว่าห้ามไว้ดีกว่า ของฝรั่งเขาพี่น้องแต่งงานกันไม่ได้ แต่ของเราเป็นผัวเมียกันได้เท่ากับไม่ได้เป็นญาติกัน–         ฉันได้เห็นอย่างแน่นอนว่าหล่อน “ปอปูลาร์”ปานใด หล่อนราวกับดวงไฟที่มีตัวแมลงบินตอมว่อนอยู่ หล่อนได้ยอมให้ฉันพาเที่ยวทุกคืน เต้นรำด้วยกัน กิน “สัปเป้อร์”ด้วยกันทุกคืน คนอื่นๆพากันริษยาฉันเป็นแถว–         หล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดของฉันได้พบในกรุงสยาม ไม่ใช่งามแต่รูปทั้งกิริยาก็งามยวนใจ พูดก็ดีและเสียงเพราะราวกับเพลงดนตรี–         นึกถึงชุนฮูหยินที่คุณพ่ออยากได้เป็นลูกสะใภ้นัก หล่อนแต่งตัวไปเสียเพียบเพื่อ “โช” คน พราวทั้งตัวราวกับหุ่นที่เขาติดของสำหรับขายจดหมายฉบับที่ ๙ หัวหิน–         การแต่งงานของฉันหาได้เป็นไปโดยสมปรารถนาทุกประการไม่ แต่ข้อสำคัญคือว่าได้แต่งงานกันแล้ว ทำให้ค่อยโล่งใจไปมากเพราะตามที่เป็นอยู่ก็แต่ก่อนรู้สึกว่ามันไม่งดงามเลย–         ท่านไม่อยากได้แม่อุไรมาเป็นลูกสะใภ้ โดยรังเกียจว่าได้เคยรู้จักมักคุ่นกับผู้ชายมาหลายคนแล้ว ที่บ้านนั้นใช้คำเรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้”–         ในที่สุดฉันต้องบอกท่านว่า “ถ้าจะให้คอยอีกปีหนึ่งละก็คุณพ่อต้องได้หลานเสียนั้นแล้ว” ท่านตะลึงเป็นครู่หนึ่ง จึงกล่าวว่า “ เมื่อเจ้าได้ชิงสุกก่อนห่ามเสียเช่นนั้นแล้ว พ่อก็สิ้นพูด”–         เมื่อแต่งงานแล้วได้ตกลงมา “ฮันนี่มูน” ที่หัวหิน แม่อุไรว่าเราเริ่มรักกันจริงจังที่หัวหิน แต่ฤดูนี้คนไม่ค่อยมากัน ออกจะเงียบๆอยู่จดหมายฉบับที่ ๑๑ บ้านถนนสี่พระยา–         “บ้าน!”คำนี้ที่จริงควรเป็นคำไพเราะที่สุดสำหรับมนุษย์ แต่อนิจจาฉันเป็นคนอาภัพ ไม่ได้รับความสบายกายสบายใจด้วยคำว่า “บ้าน” นี้เลย–         ถ้าขืนอยู่ที่เพชรบุรีต่อไปอีกสองหรือสามวันก็คงต้องอายขอายหน้าเขาเป็นแน่ ชาวเพชรบุรีคงได้เห็นฉันกับเมียวิวาทกันกลางเมือง–         แม่อุไรเมียรักของฉัน เขาดูเหมือนจะถือคติตรงกันข้าม คือเห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าเป็นเกียรติยศดี–         เมื่อมาถึงสถานีไม่มีผู้มารับเลยจนคนเดียว ทำให้แม่อุไรโกรธและบ่นไม่รู้จบพูดจาแดกดันจนฉันขอไว้เพราะการทะเลาะต่อหน้าคนแจวเรือจ้างดูไม่เป็นการงดงามเลย–         เสียใจที่ดิฉันเป็นลูกผู้ดี ไม่เคยต้องยกต้องขนของอะไรเองจดหมายฉบับที่ ๑๒ บ้านที่ถนนสี่พระยา–         จริงอยู่การที่ฉันหย่ากับแม่อุไรได้ถูกบางคนนินทาติโทษ แต่ฉันถือคติว่าการแต่งงานเป็นกิจส่วนตัว ไม่มีผู้ใดมารับสุขรับทุกข์แทนได้–         ฉันเห็นว่าการที่ฉันคงเป็นผัวหญิงที่ไม่ด้อยู่ในบ้านฉันและไปอยู่ที่บ้านชายอื่นนั้น เป็นการหน้าด้านพ้นวิสัยจะทำได้–         เขาตกลงหาบ้านให้แม่อุไรที่ราชประสงค์ เขาได้เงินเดือน ๗๐๐ บาท มีบ้าน๒หลัง เมีย๘คน ม้า๔ตัว เล่นกีฬาและเลี้ยงเพื่อนฝูงบ่อยๆเก่งไหม?–         ฉันได้ย้ายตำแหน่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์–         ส่วนทางเสือป่า ฉันได้เข้าไปประจำอยู่กรมม้าหลวงแล้ว การที่เคยฝึกหัดในกองฝึกหัดนายทหารที่อ๊อกฟอร์ดนั้นเป็นผลดีแก่ฉันทีเดียว นได้เป็นผู้รั้งผู้บังคับบัญชาหมวดผู้๑ และได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่เอก จดหมายฉบับที่ ๑๕ กรมเสือป่าม้าหลวง ร.อ.พระราชวังสนามจันทร์–         มีการเต้นรำของกระทรวงต่างประเทศ พระยาตระเวนพาลูกสาวไปแต่ไม่ได้พาแม่อุไรไปด้วยเพราะยังไม่ได้เป็นผัวเมีย “โดยทางราชการ”–         งานฤดูหนาวพระยาตระเวนเดินดวงอยู่กับแม่สร้อยโดยมาก ส่วนแม่อุไรคงนึกแค้นไม่น้อยเพราะเขาถือตัวว่า เป็นผู้หญิงงามลัยั่วยวนมากที่สุดในเมืองไทยและเชื่อว่าจะผูกใจอันรวนเรของพระยาตระเวนไว้ได้–         หล่อนคงเห็นชอบตามสุภาษิตอังกฤษว่า “ขนมปังครึ่งก้อนยังดีกว่าไม่มีเลย”–         ความจริงมีอยู่ว่าผู้ชายใดยิ่งมีชื่อเสียงเป็นนักเลงผู้หญิงมักก็ยิ่งหาเมียง่าย–         เมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดีๆพร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆเท่านั้นแหละ ผู้ชายพวกมักมากในกามซึ่งจะต้องกลับความคิดและเปลี่ยนความประพฤติจดหมายฉบับที่ ๑๗ บ้านที่ถนนสี่พระยา–         ฉันมีความยินดีที่ฉันได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว นับว่าได้ขึ้นเร็วเกินกว่าที่ฉันเองคาดหมาย–         หล่อนแต่งตัวเรี่ยม เสื้อแพรสีชมพูบางๆนุ่งซิ่นไหมสีชมพู ประดับเครื่องเพชร พลอยพองาม แต่ผัดหน้ามากไปสักหน่อย–         คุณหลวงจะลงโทษอย่างไรดีฉันยอมรับทุกอย่าง ขอแต่ให้มีความกรุณาต่อดิฉันผู้เป็นสัตว์ผู้ยากเท่านั้น–         พระยาตระเวนต้องการบ้านที่ราชประสงค์สำหรับแม่สร้อยเมียรักเขาอยู่ เขาจึงขอให้แม่อุไรไปอยู่ที่อื่น บ้านก็ไม่มีจะอยู่ เงินทองก็ไม่มีใช้สอย–         หล่อนได้ขุดอู่ตามใจตนเองแล้ว เมื่อนอนในอู่นั้นไม่สบายจะโทษใครได้ การที่หล่อนกับฉันจะกลับคืนดีกันใหม่นั้น ฉันไม่แลเห็นหนทางที่จะเป็นไปได้          จดหมายฉบับที่ ๑๘ บ้านที่ถนนสี่พระยา–         ฉันต้องรีบบอกข่าวดีให้ทราบ แม่อุไรตกลงแต่งงานกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ซึ่งนับว่าโชคดีสำหรับหล่อน–         หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้างคือ          “ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน” ถึงใจไม่ช่วงเขาก็มีเงินพอที่จะซื้อความสุขให้แม่                   อุไรได้–         ฉันขอบอกตรงๆว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว ซึ่งฉันหวังว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตกันต่อไปโดยยั่งยืนจีรัง–         หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน เป็นลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก ฉันกับหล่อนได้คุ้นเคยพูดจากันเป็นที่ต้องใจแล้ว เจ้าคุณพิสิฐกับคุณพ่อของฉันก็ชอบกันมาก พอพ่อประเสริฐกลับเข้ามากรุงเทพฯก็เตรียมตัวเป็นเพื่อนบ่าวทีเดียวเถิด. 

ข้อคิดที่ได้รับ

1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น

2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ

3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย

4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย