พระวินัยแบ่งออกเป็นกี่อย่าง อะไรบ้าง

พระไตรปิฎกและส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก

ย้อนมากล่าวถึงพระไตรปิฎก และส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า มีเรื่องน่าศึกษา และน่านำไปปฏิบัติอย่างไรบ้าง อันแสดงถึงคุณค่า และลักษณะคำสั่งสอนในพระไตรปิฎกโดยย่อ พอมองเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนา เป็นเพชรน้ำหนึ่งของประเทศไทยอย่างไร

พระไตรปิฎก หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่า ติปิฎก หรือเตปิฎก นั้น กล่าวตามรูปศัพท์แปลว่า ๓ คัมภีร์ หรือตำรา ๓ ชุด เมื่อแยกเป็นคำๆ เป็น พระ + ไตร + ปิฎก คำว่า พระ เป็นคำแสดงความเคารพ หรือยกย่อง ไตรแปลว่า ๓ ปิฎกแปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือตำราอย่างหนึ่ง แปลว่า กระจาด หรือตะกร้าอีกอย่างหนึ่ง ที่แปลว่า กระจาด หรือตะกร้า หมายความว่า เหมือนภาชนะ ที่รวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ ไม่กระจัดกระจาย

พระไตรปิฎกแบ่งโดยย่อ

คือ :

๑. พระวินัยปิฎก

ว่าด้วยศีลของภิกษุและ ภิกษุณี
๒. พระสุตตันตปิฎก
ว่าด้วยพระธรรม เทศนาทั่วๆ ไป
๓. พระอภิธรรมปิฎก
ว่าด้วยธรรมะที่ เป็นสาระสำคัญ

โดยเฉพาะคำว่า พระอภิธรรมปิฎก ถ้าเขียนตามพื้นฐานภาษาบาลีจะเขียนว่า พระอภิธัมมปิฎก แต่โดยที่คนไทยนิยมเขียนคำว่า ธรรม พื้นฐานภาษาสันสกฤต จึงเขียนเป็น พระอภิธรรมปิฎก

ส่วนต่างๆ ของแต่ละปิฎก

๑. พระวินัยปิฎก

แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คือ:

๑. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุ
๒. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุณี
๓. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องสำคัญ
๔. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องที่สำคัญรองลงมา
๕. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด

ชื่อในภาษาบาลีของ ๕ ส่วนนั้น คือ
๑. ภิกขุวิภังค์หรือมหาวิภังค์
๒. ภิกขุนีวิภังค์
๓. มหาวรรค
๔. จุลวรรค และ
๕. บริวาร

กล่าวโดยลำดับ เล่มที่พิมพ์ในประเทศไทย วินัยปิฎกมี ๘ เล่ม คือ ส่วนที่ ๑ ได้แก่เล่ม ๑-๒ ส่วนที่ ๒ ได้แก่เล่ม ๓ ส่วนที่ ๓ ได้แก่เล่ม ๔ - ๕ ส่วนที่ ๔ ได้แก่เล่ม ๖-๗ และส่วนที่ ๕ ได้แก่เล่ม ๘

๒. พระสุตตันตปิฎก

แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คือ

๑. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรขนาดยาว เรียกว่า ทีฆทิกาย มี ๓๔ สูตร ได้แก่เล่ม ๙ - ๑๐ -๑๑

๒. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรขนาดกลาง เรียกว่า มัชฌิมนิกาย มี ๑๕๒ สูตร ได้แก่เล่ม ๑๒ - ๑๓ - ๑๔

๓. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรซึ่งประมวล หรือรวมคำสอนประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตตนิกาย มี ๗,๗๖๒ สูตร ได้แก่เล่ม ๑๕ - ๑๙

๔. ส่วนที่ว่าด้วยธรรมะเป็นข้อๆ ตั้งแต่ ๑ ข้อถึง ๑๑ ข้อ และมากกว่านั้น เรียกว่า อังคุตตรนิกาย มี ๙,๕๕๗ สูตร ได้แก่เล่ม ๒๐ - ๒๔

๕. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หรือเล็กๆ น้อยๆ ๑๕ หัวข้อ เรียกว่า ขุททกนิกาย จำนวนสูตรมีมาก จนไม่มีการนับจำนวนไว้ ได้แก่เล่ม ๒๕ - ๓๓ รวมเป็นพระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม

๓. พระอภิธรรมปิฎก

แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน คือ

๑. ส่วนที่ว่าด้วยการรวมกลุ่มธรรมะ เรียกว่า ธัมมสังคณี ได้แก่เล่ม ๓๔

๒. ส่วนที่ว่าด้วยการแยกกลุ่มธรรมะ เรียกว่า วิภังค์ ได้แก่เล่ม ๓๕

๓. ส่วนที่ว่าด้วยธาตุ เรียกว่า ธาตุกถา ได้แก่ส่วนแรกของเล่ม ๓๖

๔. ส่วนที่ว่าด้วยบัญญัติคือ การนัดหมายรู้ทั่วไป เช่น การบัญญัติบุคคล เรียกว่า บุคลคลบัญญัติ ได้แก่ส่วนหลังของเล่ม ๓๖

๕. ส่วนที่ว่าด้วยคำถามคำตอบทางพระพุทธศาสนา เพื่อชี้ให้เป็นความเข้าใจผิดพลาดต่างๆ เรียกว่า กถาวัตถุ ได้แก่เล่ม ๓๗

๖. ส่วนที่ว่าด้วยธรรมะเข้าคู่กันเป็นคู่ๆ เรียกว่า ยมก ได้แก่ เล่ม ๓๘ - ๓๙

๗. ส่วนที่ว่าด้วยปัจจัย คือ สิ่งเกื้อกูลให้เกิดผลต่างๆ รวม ๒๔ ปัจจัย เรียกว่า ปัฏฐาน ได้แก่เล่ม ๔๐ ถึงเล่ม ๔๕ รวม ๖ เล่ม และรวมพระอภิธรรมปิฎกแล้วเป็นหนังสือ ๑๒ เล่ม

กล่าวโดยจำนวนเล่ม เล่ม ๑ - ๘ เป็น พระวินัยปิฎก เล่ม ๙ - ๓๓ รวม ๒๕ เล่มเป็น พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓๔ - ๔๕ รวม ๑๒ เล่มเป็นพระอภิธรรมปิฎก รวมเป็นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม ซึ่งประเทศไทยจัดพิมพ์ขึ้น

พระวินัยแบ่งออกเป็นกี่อย่าง อะไรบ้าง

ความหมายพระวินัย

          วินัย แปลว่า การกำจัด, การเลิกละ, ข้อนำไปให้วิเศษ, ข้อนำไปให้แจ้ง, ข้อนำไปให้ต่าง

          มีอธิบายตามลำดับความหมายนั้นว่า

          การกำจัด หมายถึง เป็นเครื่องมือสำหรับกำจัดอาสวกิเลส เพราะเป็นข้อสำหรับฝึกหัดพัฒนากายกับวาจาให้สงบเย็น เรียบร้อย

          การเลิกละ หมายถึง วิธีการฝึกหัดอบรมเพื่อเลิกละอัชฌาจารคือความประพฤติชั่ว ความประพฤติเสียมารยาท ความประพฤติไม่เหมาะสมแก่สมณะ เมื่อปฏิบัติตามวินัยย่อมเลิกละอัชฌาจารนั้นๆ ได้

          ข้อนำไปให้วิเศษ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นบาทฐานนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุคุณวิเศษสูงขึ้นไปตามลำดับ

          ข้อนำไปให้แจ้ง หมายถึงข้อปฏิบัติที่เป็นบาทฐานนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุถึงความแจ่มแจ้งในธรรม มองเห็นธรรมได้ง่าย เหมือนลมที่กำจัดเมฆหมอกไปหมดสิ้นแล้วทำให้เห็นท้องฟ้าได้แจ่มแจ้งฉะนั้น

          ข้อนำไปให้ต่าง หมายถึงข้อปฏิบัติที่นำให้ผู้ปฏิบัติแตกต่างไปจากคนทั่วไป โดยให้สงบเย็น เรียบร้อยและบรรลุถึงคุณวิเศษระดับต่างๆ มีโสดาปัตติผล เป็นต้น

          อนึ่ง ท่านให้ความหมายคำว่า วินัย ไว้ว่า

          ๑. ชื่อว่า วินัย เพราะมีนัยต่างๆ โดยแบ่งเป็นปาติโมกขุทเทส กองอาบัติมาติกา วิภังค์เป็นต้น (วิวิธนยตฺตา)
          ๒. ชื่อว่า วินัย เพราะมีนัยพิเศษ โดยมีอนุบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อให้มูลบัญญัติหรือบทบัญญัติครั้งแรกรัดกุมครอบคลุมความผิดมากขึ้น หรือผ่อนผันคลายความเข้มงวดลง (วิเสสนยตฺตา)
          ๓. ชื่อว่า วินัย เพราะนำกายวาจาให้ถึงความพิเศษแตกต่าง เหตุป้องกันอัชฌาจารทางกายวาจาไว้ได้(กายวาจานํ จวินยนฺโต)

          โดยภาพรวม คำว่า วินัย หมายถึงคำสั่งสอนส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ที่เนื่องด้วยข้อบัญญัสำหรับเป็นหลักปฏิบัติของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์เรียกโดยทั่วไปว่า พระวินัย ซึ่งหมายความว่า

“ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นระเบียบเดียวกัน ได้แก่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นข้อบัญญัติ เป็นข้อห้าม วางไว้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิด ความสงบเรียบร้อยดีงามในหมู่คณะ เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารหมู่คณะ” 

แนวทางการสร้างสันติภาพในพระวินัย
          สันติภาพ หมายถึง ความสงบ ความสงบสุข แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. สันติภายใน คือ ความสงบกาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคล
          ๒. สันติภายนอก คือ ความสงบกาย วาจา ใจ ของคนอื่น ของสังคม
          พระวินัย เป็นทั้งระเบียบปฏิบัติเพื่อให้เกิดสันติภาพทั้งสองประเภทและมีบทลงโทษเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดพระวินัย เพื่อป้องกันการวิวาทขัดแย้งเมื่อต่างความเห็นกัน

          พระวินัย จัดเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นอันจะนำให้เข้าถึงสันติภาพได้อย่างแท้จริง เพราะทั้งตนเองและผู้อื่นต่างก็อยู่ในระเบียบปฏิบัติที่ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นเป็นปกติ

          พระวินัย ส่วนหนึ่งเป็นศีล โดยเป็นศีลของภิกษุและภิกษุณีจัดเป็น สีลสิกขา และมีข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุและภิกษุณีอื่นๆ อีกแนวทางที่จะสร้างสันติภาพได้นั้นจำต้องปฏิบัติตามพระวินัยโดยทั่วถึงและเป็นปกติในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ทั้งปวงมีระเบียบปฏิบัติรักษา

          พระวินัย ในส่วนของพระปาติโมกข์คือศีลของภิกษุ โดยการประชุมกันฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ในท้ายพระปาติโมกข์นั้นได้สำแดงข้อความไว้ว่า

“ตตฺถ สพฺเพเหว สมคฺเคหิ สมฺโมทมาเนหิ อวิวทมาเนหิ สิกฺขิตพฺพํ”

          ซึ่งแปลได้ใจความว่า

อันภิกษุทั้งปวงแล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชอบพอกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาในสัตถุพจน์อันเป็นหลักสูตรนั้น

          พระสงฆ์ที่อยู่กันอย่างสันติสุขสงบ มีความพร้อมเพรียงกัน ชอบพอกัน และไม่วิวาทกัน รักษาพระศาสนามาได้แต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ก็เพราะต่างก็ปฏิบัติตามพระวินัยด้วยตนเอง ทำ ให้เกิดสันติภายใน และช่วยกันดูแลให้ผู้อื่นให้เกิดสันติภายนอกด้วย จึงทำให้เกิดสันติภาพในหมู่คณะ

          นั่นเป็นการแสดงยืนยันให้เห็นว่า พระวินัยสามารถสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

พระวินัยปิฎกเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ง่าย

         พระวินัยปิฎก คือ ที่รวมพระพุทธพจน์หรือกลุ่มแห่งคัมภีร์อันเป็นพระพุทธพจน์ที่เป็นข้อบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติมารยาท ความเป็นอยู่ตลอดถึงธรรมเนียมปฏิบัติและการทำกิจกรรมของสงฆ์ที่เรียกรวมๆ ว่า วินัยบัญญัติ อภิสมาจาริกวัตร สังฆกรรม อันเป็นข้อที่พึงเว้นบ้าง พึงปฏิบัติตามเพื่อความสง่างามและความเรียบร้อยดีงามของสังฆมณฑลบ้าง

          พระวินัยปิฎกจึงจัดว่าเป็นต้นแบบแห่งการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่สุด เมื่อมีการปฏิบัติตามพระวินัยที่รวมอยู่ในพระวินัยปิฎกด้วยการประพฤติปฏิบัติตามกฎกติกาธรรมเนียมปฏิบัติและสังฆกรรม ตามที่ทรงบัญญัติกำหนดไว้ก็จะทำให้เกิดภาพที่สวยงามของผู้ปฏิบัตินำให้เกิดความน่าศรัทธาเลื่อมใส น่าเคารพกราบไหว้และน่าบูชาด้วยอามิสที่สามารถให้ดำรงชีพอยู่ได้จากคฤหัสถ์เพราะเมื่อมีผู้ปฏิบัติตามพระวินัยข้อนั้นข้อนี้หรือละเว้นไม่ล่วงละเมิดข้อนั้น ข้อนี้ ภาพที่สวยงามของผู้ปฏิบัติก็จะปรากฏให้เห็นทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องบ่มเพาะ ไม่ต้องมีเงื่อนไขอย่างอื่น เห็นเมื่อใดก็เป็นเครื่องหมายให้รู้และได้เห็นเป็นรูปธรรมว่าผู้นั้นปฏิบัติตามพระวินัย

          ส่วนคำสอนที่เป็นธรรม คือที่เป็นพระสุตตันปิฎกและอภิธรรมปิฎกนั้นค่อนข้างเป็นนามธรรม แม้เป็นหลักปฏิบัติสำคัญ แต่จำต้องอาศัยเวลา อาศัยการบ่มเพาะอาศัยเงื่อนไขอื่นประกอบ ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ค่อนข้างยากเช่น ความซื่อสัตย์ความกตัญญูความจริงใจความมีสติเหล่านี้เมื่อเห็นหน้าบุคคลแล้ว ก็ไม่อาจรู้ได้ทันทีว่าผู้นั้นเป็นคนซื่อสัตย์เป็นคนกตัญญูหรือไม่ กว่าจะรู้ได้แน่แท้อาจต้องใช้เวลานาน และข้อธรรมแต่ละอย่างนั้นจำต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะในการปฏิบัติยาวนานกว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้

          เพราะฉะนั้น พระวินัยปิฎกในภาพรวมท่านจึงให้ความสำคัญและแสดงไว้ว่าเป็นชีวิตของพระพุทธศาสนา เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา. 

วินัยมี กี่ อย่าง อะไร บาง

แสดงความคิดเห็น วินัยทางโลก ได้แก่ ระเบียบแบบแผนสำหรับควบคุมคนในสังคม เป็นคำสั่งของสังคม เพื่อให้คนในสังคมนั้นทำ หรือไม่ทำในบางสิ่งบางประการ เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด กฎหมาย กฎกติกา ระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม

พระวินัยปิฎกแบ่งเป็น 3 หมวด อะไรบ้าง

เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาค 1 สุตตวิภังค์ ภาค 2 ขันธกะ ภาค 3 ปริวาร

พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็น 5 หมวดย่อย มีอะไรบ้าง

พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร