กระเพาะปัสสาวะอักเสบ วิธีรักษา

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ วิธีรักษา

อีกหนึ่งโรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศที่หลายคนเป็นก็คือ โรคกระเพราะปัสสาวะอักเสบ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้ และวิธีการสังเกตสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่าคุณกำลังจะเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอะไรกันบ้างไปดูกัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection หรือ UTI) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะจนทำให้เกิดการอักเสบ เป็นโรคที่พบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้นกว่าและอยู่ใกล้ทวารหนัก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเชื้อโรคมาก และอาจเกิดการปนเปื้อนทำให้มีโอกาสติดเชื้อและเกิดโรคนี้ได้ง่ายกว่าผู้ชาย

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอย และมีอาการปัสสาวะไม่สุด

  1. ปวดท้องน้อย ปวดแสบเวลาปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด

  1. ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีขุ่น หรือมีสีแดงคล้ายเลือดปนออกมา

  1. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  1. หากมีอาการของโรคกรวยไตอักเสบร่วมด้วยจะมีไข้ หนาวสั่น และปวดเอว

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นอกจากเรื่องของสรีระของผู้หญิงที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังเกิดจากการกลั้นปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมงอยู่เป็นประจำ อาจเพราะต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน หรือการยอมกลั้นปัสสาวะเมื่อเห็นว่าห้องน้ำไม่สะอาด การดื่มน้ำน้อย รวมถึงคนที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เช่น ผู้ที่รับประทานยากดภูมิต้านทาน หรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้ภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิงทำให้ฮอร์โมนเพศที่สร้างความชุ่มชื้นบริเวณเยื่อบุช่องคลอดและเยื่อบุท่อปัสสาวะลดลง จึงง่ายต่อการติดเชื้อ ส่วนการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชายมักพบร่วมกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากการคาสายสวนปัสสาวะ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่สามารถป้องกัน และรักษาได้ง่าย ๆ แต่หากละเลยสัญญาณเตือนของร่างกาย และไม่ได้รับการรักษา เชื้ออาจลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ หากปล่อยไว้จนเกิดการเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ ส่วนในผู้ชายเชื้ออาจลุกลามจนทำให้มีอาการต่อมลูกหมากอักเสบ และถ้าหากมีการติดเชื้อรุนแรงอาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

วิธีการดูแลรักษาเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคปัสสาวะอักเสบ

  1. ดื่มน้ำสะอาดวันละ 2 ลิตร หรือประมาณวันละ 6 – 8 แก้ว

  1. ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งเมื่อรู้สึกปวด ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ

  1. ควรควบคุมหรือลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มบางประเภทเช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล

  1. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอแทนการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน

  1. ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังขับถ่ายจากหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้ามาในท่อปัสสาวะ

  1. ไม่ควรใช้สเปรย์ หรือน้ำยาดับกลิ่นตัวกับอวัยวะเพศ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

  1. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่างหรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะถ้าหากในน้ำมีเชื้อโรคก็จะมีโอกาสในการติดเชื้อได้

  1. ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อรับยาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการรักษา รวมทั้งป้องกันการดื้อยา หรือเมื่ออาการรุนแรงขึ้นควรรีบไปพบแพทย์

แนวทางการรักษา

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นการรักษาคือการให้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับชนิดของเชื้อโรคร่วมกับยารักษาตามอาการ สำหรับยาปฏิชีวนะก็จะมีระยะเวลาในการรักษาและการทานยาที่แตกต่างกันไปตามชนิดของยา เช่น Amoxicillin จะทานวันละ 3-4 ครั้ง หลังมื้ออาหาร และก่อนนอน เป็นต้น ส่วนยารักษาตามอาการส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้ปวด เพื่อคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรซื้อยาทานเอง และมีวินัยในการดื่มน้ำ หรือจิบน้ำบ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน และไม่กลั้นปัสสาวะ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคในอนาคต

แหล่งที่มาของข้อมูล

• คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคคืออะไร? 
     เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น การกลั้นปัสสาวะ เป็นปัจจัยที่พบบ่อยของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ บางคนที่กลั้นปัสสาวะเพราะเห็นว่าห้องน้ำไม่สะอาด มีโอกาสเกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้

อาการ
ปวดท้องน้อย ปัสสาวะไม่สุด ปวดปัสสาวะบ่อยแต่ปัสสาวะได้ครั้งละเล็กน้อย กดที่หน้าท้องจะเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มหรือมีสีแดงคล้ายเลือดปนออกมา

     ปัจจัยเสี่ยง 

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะ ตีบ ,นิ่ว หรือเนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่องคลอดจะแห้ง เชื้อแบคทีเรียจะกระจายไปสู่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
  • การมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ทำให้เชื้อโรคกระจายเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น 
  • คนที่เคยมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้วมีโอกาสเป็นได้อีกบ่อยๆ แต่ไม่ควรมากกว่า 2 ครั้ง ในเวลา 6 เดือน หรือ มากกว่า 3 ครั้งต่อปี

คำแนะนำในการดูแลไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม 6 -10 แก้ว แล้วแต่ความต้องการของร่างกายของ
    

แต่ละคน

  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ ถ้าต้องเดินทางเป็นเวลานานไม่ควรดื่มน้ำมาก ทำให้ต้องกลั้นนปัสสาวะนาน ๆ ซึ่ง  เสี่ยงต่อการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง 
  • ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยให้ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นร่างกายก็จะกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้เอง