กลยุทธ์การตลาดเครื่อง สํา อา ง

นางสาวภัคจิรา วชิรศรีสุนทรา

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่อง กลยุทธ์การตลาดเเละปัจจัยของการเลือกใช้เครื่องสำอางของญี่ปุ่นประเภทเมคอัพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกใช้ พฤติกรรมในการเลือกใช้ เเละความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้เครื่องสำอางประเภทเมคอัพของญี่ปุ่น เเละศึกษากลยุทธ์การตลาดเครื่องสำอางของเเบรนด์ KANEBO โดยการเก็บข้อมูลเเบบสอบถามทางอินเตอร์เน็ตจากกลุ่มผู้บริโภคเครื่องสำอางประเภทเมคอัพของญี่ปุ่นจำนวน 405 คน เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เเละวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เเละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้บริโภคเครื่องสำอางประเภทเมคอัพของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 21-40 ปี เเละมีรายได้ต่อเดือนต่ากว่า 10,000 บาท โดยมีเเหล่งที่มาของรายได้จากการทำงาน ข้อมูลพฤติกรรมการเลือกซื้อพบว่า ส่วนใหญ่สนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเมคอัพด้านตกเเต่งผิวหน้า ส่วนใหญ่เลือกใช้หรือซื้อผลิตภัณฑ์เเบรนด์ Biore บ่อยที่สุด ความถี่ในการเลือกซื้อเครื่องสำอางคือ 2-3 เดือนต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายในเเต่ละครั้งประมาณ 501-1,000 บาท โดยเลือกซื้อจากเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า โดยรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์พบว่าคุณภาพของสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อมากที่สุด ข้อมูลปัจจัยด้านราคาพบว่าเรื่องราคาเหมาะสมกับคุณภาพมีอิทธิพลมากที่สุด ข้อมูลปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายพบว่าการที่เเหล่งจำหน่ายสินค้ามีความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลมากที่สุดเเละข้อมูลปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดพบว่าการจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด เเละผู้บริโภคเครื่องสำอางประเภทเมคอัพของญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเลือกซื้อ/ใช้เครื่องสาอางประเภทเมคอัพของญี่ปุ่นอยู่ในระดับมากที่สุด เเละนอกจากนี้จากผลการศึกษาพบว่า เเบรนด์ KANEBO มีการวางเเผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเเข่งขันทางการตลาดเเละต้องการยกระดับเเบรนด์ให้อยู่ในระดับสากลโดยการปรับโฉมของเเบรนด์ใหม่ มีการเปิดตัวเเบรนด์เเละผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของเเบรนด์ให้เป็นเครื่องสำอางระดับพรีเมียมหรือสินค้ามีราคาเเละคุณภาพที่สูง มีการรักษาฐานลูกค้าเดิมเเละต้องการขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยการให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เเละโฆษณาเเบรนด์ยิ่งขึ้นผ่านสื่อต่างๆทางอินเตอร์เน็ตเเละเน้นให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าในเเถบประเทศเอเชียเป็นหลักโดยทางเเบรนด์คาดว่าหลังจากการปรับเปลี่ยนเเผนกลยุทธ์ทางการตลาด เเล้วจะต้องมีส่วนเเบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า

บทความวิจัยฉบับเต็ม

กลยุทธ์การตลาดเครื่อง สํา อา ง

Views: 87

หัวข้อ : วารสาร K Sme Inspried นวัตกรรมนำความล้ำ ทำให้ชีวิตง่าย ขยายโอกาสธุรกิจ 
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2018.aspx

วิถีชีวิตผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจกับสุขภาพและอาหารการกินที่ดีมากขึ้น ทำให้มูลค่าสินค้าออร์แกนิกเฉพาะในไทยสูงถึงเกือบ 3 พันล้านบาท และมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นอกจากนี้ ภายใต้นโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่ส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เช่น 

  • ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2560-2564 
  • อุตสาหกรรมในอนาคตกลุ่ม S-Curve เช่น อุตสาหกรรมเกษตร-เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 

น่าจะทำให้อุปสงค์และอุปทานตลาดออร์แกนิกในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม


5 ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีบทบาทในตลาดออร์แกนิก

นอกเหนือจากสินค้าออร์แกนิกรูปแบบเดิม ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาดแล้ว มีการคาดการณ์ว่า กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิกที่มาพร้อมนวัตกรรมและตอบโจทย์เทรนด์การบริโภคหรือการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามามีบทบาทในตลาดออร์แกนิกมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มต่อไปนี้

  1. กลุ่มอาหารออร์แกนิกแปรรูปขั้นสูง เช่น กลุ่มซูเปอร์ฟู้ด, กลุ่มอาหารปราศจากสารกันบูด/กลูเตน/สารแต่งสี และพวกผงสกัดจากพืช
  2. อาหารออร์แกนิกเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารสำหรับเด็ก ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ (เช่น นมออร์แกนิกแคลอรีต่ำ)
  3. อาหารเสริมและวิตามิน เช่น สารสกัดจากพืชออร์แกนิกที่ช่วยบำรุงร่างกายและความงาม
  4. เครื่องดื่มออร์แกนิก เช่น กลุ่มเครื่องดื่มที่เติมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม
  5. อาหารออร์แกนิกพร้อมรับประทาน เช่น ข้าวออร์แกนิกฟรีซพร้อมอุ่น สแน็กบาร์จากธัญพืชออร์แกนิก อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิก

3 กลุ่มเป้าหมายสำคัญของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก

  1. กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Millennial) มีกว่า 20 ล้านคน พฤติกรรมที่น่าสนใจของกลุ่มนี้คือ
  • ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงหันมาเอาใจใส่สุขภาพตนเองและคนในครอบครัว
  • เข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ตัดสินใจซื้อง่าย
  • ชอบจับจ่ายผ่านช่องทางดิจิทัล
  • สนใจติดตามผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ รวมถึงการใช้ชีวิต ผ่านโซเชียลมีเดีย และนำมาปรับใช้ในชีวิต
  1. กลุ่มผู้สูงอายุ (Aging-Society) จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี พ.ศ.2561เป็น 13% ในปี พ.ศ.2563 ทำให้ประชากรกลุ่มนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • ผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางขึ้นไปและมีกำลังซื้อสูง
  • มีลูกหลานดูแลผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
  • ปัจจุบันจะเริ่มเห็นมีการใช้โซเชียลมีเดียด้วยตัวเองมากขึ้น เพื่อการสื่อสารหาข้อมูลและสั่งซื้อสินค้า
  1. กลุ่มผู้ป่วย ผู้คนในปัจจุบันเผชิญกับความเครียดจากการทำงานและการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสังคมเมือง มีการสะสมสารพิษในร่างกายจากภาวะแวดล้อม จึงต้องการอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

3 ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิก

1. ราคาจับต้องได้-ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • มองหาสินค้าที่ดีกับสุขภาพ แต่ต้องเหมาะสมกับราคา
  • มักซื้อสินค้าจากการบอกต่อของคนใกล้ตัว
  • ชอบทดลอง ดังนั้นควรมีขนาดเล็ก ราคาไม่สูง ถ้าดีจะกลับมาซื้อซ้ำ

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • ตั้งราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
  • สื่อสารผ่านคนดังทางโซเซียลมีเดีย
  • ต้องหาซื้อได้ง่ายและมีขนาดทดลอง

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • วัยรุ่น-วัยทำงาน
  • กลุ่มแม่บ้านที่จับจ่ายของเข้าบ้าน

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกประเภทต่างๆบรรจุถุง
  • ข้าว+อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิกแบบฟรีซพร้อมอุ่น
  • กลุ่มอาหารเช้า เช่น ซีเรียล สแน็กบาร์ธัญพืช
  • เครื่องดื่มออร์แกนิก (น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว)
  • ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ เพื่อความงามและการรักษาโรค ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เช่น วิตามิน/อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/ส่งเดลิเวอรี

2. เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • นิยมใช้สมาร์ทโฟนสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
  • ทำอาหารเองน้อยลง รับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น
  • เลือกสินค้าจากคุณภาพ ความสะดวกสบายและดีต่อสุขภาพ

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • สื่อสารผ่านคนดังทางโซเซียลมีเดีย
  • สินค้าต้องมีความหลากหลาย แปลกใหม่ มีมาตรฐาน และนวัตกรรม

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • วัยรุ่น-วัยทำงาน
  • กลุ่มคนเมืองรายได้ปานกลางขึ้นไป

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกประเภทต่างๆบรรจุถุง
  • ข้าว+อาหารพร้อมรับประทานออร์แกนิกแบบฟรีซพร้อมอุ่น
  • กลุ่มอาหารเช้า เช่น ซีเรียล สแน็กบาร์ธัญพืช
  • เครื่องดื่มออร์แกนิก (น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว)
  • ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ เพื่อความงามและการรักษาโรค ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เช่น วิตามิน/อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/ส่งเดลิเวอรี

3. มุ่งเน้นคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ให้คุณค่าเฉพาะ (Functional Food Product)

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • ปัจจัยด้านราคาเป็นรองเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพ
  • มักหาข้อมูลจากคนใกล้ตัว และสื่อต่าง ๆ
  • คนซื้อส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่ หรือลูกหลานของคนในครอบครัว
  • ให้ความสำคัญกับใบรับรองมาตรฐานระดับสากล

กลยุทธ์ทางการตลาด

  • สินค้าต้องมีความหลากหลาย แปลกใหม่ มีมาตรฐาน และนวัตกรรม
  • มีใบรับรองมาตรฐานสินค้า
  • ให้ข้อมูลสินค้าเชิงลึกกับลูกค้าได้
  • จำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

  • กลุ่มครอบครัวที่มีเด็กเล็ก-ผู้ป่วย-ผู้สูงอายุ
  • กลุ่มนักท่องเที่ยว
  • กลุ่ม Expat และครอบครัว

สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ

  • ข้าวออร์แกนิกน้ำตาลต่ำ
  • กลุ่มอาหารซูเปอร์ฟู้ด เช่น เมล็ดเชีย
  • ผลสกัดจากผักและผลไม้ออร์แกนิก
  • อาหารกลุ่มฟรีฟอร์ม (ปราศจากสารกันบูด/สารแต่งสี/กลูเตน) เช่น เส้นพาสตาปราศจากกลูเตน
  • ร้านอาหารและผู้ให้บริการเกี่ยวกับออร์แกนิก ทั้งที่มีหน้าร้านและบริการออนไลน์/เดลิเวอรี
  • อื่นๆ เช่น สินค้าออร์แกนิกต่าง ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในตลาดออร์แกนิก

การจะอยู่ในธุรกิจออร์แกนิกนั้น นอกเหนือจากการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์แล้ว ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการยังขึ้นอยู่กับ

1) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เช่น การได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก จากองค์กรหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับ การรีวิวจากผู้บริโภค/ผู้ใช้จริง

2) สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งในเรื่องของนวัตกรรมอาหาร การออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารออร์แกนิกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (ฟรีซพร้อมอุ่นสำหรับสังคมเมือง) ข้าวออร์แกนิกน้ำตาลต่ำ (สำหรับกลุ่มที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก) อาหารออร์แกนิกกลุ่มฟรีฟอร์ม (สำหรับคนแพ้กลูเตน) เป็นต้น

3) การเพิ่มช่องทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น 

  • การทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์/โซเชียลมีเดีย
  • การชำระเงินที่รวดเร็วและทันสมัย เช่น การชำระเงินผ่าน Mobile Banking
  • การขนส่งสินค้าด้วยระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เช่น บริษัทขนส่งเอกชนที่เพิ่มบริการส่งผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ในลักษณะเฉพาะในรูปแบบฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร (Farm to Table) ส่งตรงถึงผู้บริโภค

Published on 15 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย