บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

บริษัทมีการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยมีการแต่งตั้ง 1) คณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) ระดับพื้นที่ ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานโดยการเลือกตั้งตัวแทนจากนายจ้างและลูกจ้าง ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดและมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดแล้ว บริษัทมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครอบคลุมทุกพื้นที่การดำเนินการของบริษัท โดยจัดให้มี 2) คณะอนุกรรมการความปลอดภัยฯ ระดับสายงาน มีวาระและการคัดสรรคณะกรรมการทุก 2 ปี มีหน้าที่ในการพิจารณาประเด็นปัญหาจากคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) ระดับพื้นที่ รวมถึงพิจารณาอนุมัติงบประมาณ ซึ่งดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของ 3) คณะกรรมการนโยบายความปลอดภัยฯ ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ประกาศและถ่ายทอดนโยบายให้แต่ละสายงานนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ครอบคลุมพนักงานทุกระดับในองค์กร รวมไปถึงผู้รับเหมาและคู่ค้าตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท

Show

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการนำผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมาปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน พื้นที่การทำงาน การอบรมพนักงาน รวมถึงปรับปรุงอุปกรณ์ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

ยกระดับอาชีวอนามัย สร้างความปลอดภัยน่าทำงาน

บริษัทตระหนักถึงสิทธิด้านความมั่นคงปลอดภัยของ โดยมุ่งเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ ภายในปี 2573 รวมถึงมอบความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงาน บริษัทจึงดำเนินการจัดสภาพแวดล้อม และพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดคณะกรรมการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และแผนการพัฒนาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมทั้งดำเนินตลอดจนยกระดับการจัดการให้เทียบเคียงระดับสากล เพื่อดูแลพนักงานให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

นโยบายและเป้าหมายความปลอดภัย กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย

บริษัทกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีความมุ่งมั่นสู่การดำเนินธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ==> ดาวน์โหลด

ปัจจัยตัวชี้วัดหน่วยวัดเป้าหมาย ปี พ.ศ. 2565-2573อาชีวอนามัยและความปลอดภัยจำนวนและอัตราผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการทำงานของพนักงานและผู้รับเหมา(หน่วย : ราย / 1 ล้านชั่วโมงทำงาน)0 รายจำนวนและอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงานของพนักงานและผู้รับเหมา (Lost Time Injury Rate: LTIFR)(หน่วย : ราย / 1 ล้านชั่วโมงทำงาน)มีแนวโน้มลดลง 40% และเป็น 0 ในปี 2573

รวมทั้งสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการ สร้างบรรยากาศ จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย จัดสรรเครื่องมือ และอุปกรณ์ป้องกันภัยที่เพียงพอและเหมาะสมให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อลด ควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านความปลอดภัยที่วางไว้ ผ่านการดำเนินการ ดังนี้

การประเมินความเสี่ยง โดยการระบุสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง

1. ระบุกิจกรรม/พื้นที่/ลักษณะงาน

  • งานที่ทำเป็นประจำ (Routine)
  • งานที่ทำเป็นครั้งคราว (Non-Routine)
  • กิจกรรมหรืองานจากพื้นที่ภายนอกที่มีความเสี่ยง (Out side Workplace)
  • กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับผู้รับเหมา/หน่วยงานอื่น (Contractor)

2. ชี้บ่งอันตราย

  • สภาพแวดล้อม (Environmental)
  • เครื่องจักร/เครื่องมือ/อุปกรณ์ (Equipment)
  • วัสดุ/วัตถุดิบ (Materials)
  • การกระทำหรือพฤติกรรม (Human Behavior)
  • สภาพการทำงาน (Condition)
  • คน (เกิดจากตัวพนักงานเอง)
  • ปัจจัยทางสังคม

3. ประเมินความเสี่ยง

ความรุนแรง/โอกาสเกิดL (น้อย)M (ปานกลาง)H (สูง)L (น้อย)ความเสี่ยงเล็กน้อย (1)ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (2)ความเสี่ยงปานกลาง (3)M (ปานกลาง)ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (2)ความเสี่ยงปานกลาง (3)ความเสี่ยงสูง (4)H (สูง)ความเสี่ยงปานกลาง (3)ความเสี่ยงสูง (4)ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (5)

4. จัดทำทะเบียนความเสี่ยง

ระดับความเสี่ยงการดำเนินการยอมรับไม่ได้ (5)หยุดการทำงานในกิจกรรมงานทันที แล้วแก้ไขให้ระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยต้องมีการตรวจสอบการแก้ไขดังกล่าวก่อนอนุญาตให้ปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำเป็นมาตรการควบคุม ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการสูง (4)ลดระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยทบทวนมาตรการควบคุมที่มีอยู่/ยกเลิก/จัดทำมาตรการใหม่/จัดทำวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการ ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการปานกลาง และยอมรับได้ (2,3)ทบทวนความเหมาะสมของมาตรการควบคุมที่มีอยู่ เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่องและตรวจสอบการปฏิบัติการโดยหัวหน้างานอย่างเข้มงวดเล็กน้อย (1)ตรวจสอบการทำงานเป็นประจำโดยหัวหน้างาน,จป.,คปอ.

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) มอบหมายให้ผู้บริหารระดับแผนกหรือเทียบเท่าของแต่ละพื้นที่ประเมินความเสี่ยงระบุกิจกรรม/พื้นที่/ลักษณะงาน อาทิ การขับขี่ยานยนต์/มอเตอร์ไซต์ สารเคมี แสง เสียง โดยพิจารณาจากงานที่ทำงานจากพื้นที่ภายนอกที่มีความเสี่ยง รวมถึงงานที่เกี่ยวกับผู้รับเหมา รวมถึงทบทวนความเสี่ยงกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงการควบคุม วัตถุดิบ / กิจกรรม / กระบวนการ / ผลิตภัณฑ์ใหม่ /ผังของกระบวนการทำงาน รวมถึงกรณีมีกฎหมายใหม่ / พบข้อร้องเรียน / การเกิดอุบัติเหตุ และการพิจารณาลดระดับความเสี่ยง ปีละครั้ง โดยการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำปกติ และสถานการณ์ไม่ปกติของการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ควบคู่ไปกับการประเมินความเสี่ยงของพฤติกรรมที่มีผลต่อกิจกรรมการทำงาน พร้อมทั้ง
ชี้บ่งอันตรายและประเมินหานัยสำคัญของลักษณะปัญหาความปลอดภัย ภายใต้กรอบการพิจารณาทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อม (Environmental) 2) เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ (Equipment) 3) วัสดุ / วัตถุดิบ (materials) 4) การกระทำหรือพฤติกรรม (Human behavior) 5) สภาพการทำงาน (Condition) 6) ตัวพนักงาน 7) ปัจจัยทางสังคม

จากนั้นร่วมกันประเมินความเสี่ยงโดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา 1) พิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของอันตราย 2) พิจารณาถึงความรุนแรงจากความสูญเสียของอันตราย จากนั้นจัดทำทะเบียนความเสี่ยงเพื่อนำไปพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ และพิจารณามาตรการควบคุมความเสี่ยง

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การจัดลำดับความสำคัญและบูรณาการแผนปฏิบัติการกับเป้าหมายเชิงปริมาณเพื่อจัดการความเสี่ยง

ผู้รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการการจัดการ ความเสี่ยง และเสนอขอการอนุมัติจากคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ระดับความเสี่ยงการดำเนินการยอมรับไม่ได้ (5)หยุดการทำงานในกิจกรรมงานทันที แล้วแก้ไขให้ระดับความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยต้องมีการตรวจสอบการแก้ไขดังกล่าวก่อนอนุญาตให้ปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำเป็นมาตรการควบคุม ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการสูง (4)ลดระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยทบทวนมาตรการควบคุมที่มีอยู่/ยกเลิก/จัดทำมาตรการใหม่/จัดทำวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการ ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดระยะเวลาดำเนินการปานกลาง และยอมรับได้ (2,3)ทบทวนความเหมาะสมของมาตรการควบคุมที่มีอยู่ เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่องและตรวจสอบการปฏิบัติการโดยหัวหน้างานอย่างเข้มงวดเล็กน้อย (1)ตรวจสอบการทำงานเป็นประจำโดยหัวหน้างาน,จป.,คปอ.

และมอบหมายไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงการ แผนปฏิบัติการ พร้อมกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายเชิงปริมาณและผู้รับผิดชอบ เสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณาอนุมัติโครงการและแผนงาน อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่ ==> ดาวน์โหลด เอกสารหน้า 66-70 , ดาวน์โหลด PDF. หน้า 68-72

ตัวอย่างโครงการวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

ลำดับที่มาของโครงการชื่อโครงการวัตถุประสงค์เป้าหมาย ตัวชี้วัด/หน่วยผู้รับผิดชอบผลการดำเนินงาน1– นโยบายด้านความปลอดภัย
– สถิติอุบัติเหตุในงาน1. หน่วยงานดีเด่นด้านความปลอดภัย– ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุ– อุบัติเหตุในแต่ละหน่วยงานลดลง
– เข้าร่วมกิจกรรมทุกหน่วยงานครบ 12ครั้งปี1. อนุกรรมการด้านไต่สวน
2. จป.วิชาชีพมีการร่วมกิจกรรม 6 ครั้ง 6 เดือน2– นโยบายด้านความปลอดภัยฯ
– สถิติอุบัติเหตุในงาน2. วารสาร SHE DC ขอนแก่น ปี 2564– ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุ– จัดทำวารสารเดือนละ 1 เล่ม
– พนักงานมีส่วนร่วมตอบคำถามท้ายวารสารทุกเดือน1. อนุกรรมการด้านไต่สวน
2. จป. วิชาชีพมีการร่วมกิจกรรม 6 ครั้ง 6 เดือน3– นโยบายด้านอาชีวอนามัยฯและป้องกันโรคจากการทำงาน3. เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงโควิด-19ซ 2564– ป้องกันการเกิดและการระยาดของโรคติดต่อโควิด-19 ภายในศูนย์กระจายสินค้า– ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในศูนย์กระจายสินค้า RDC ขอนแก่น1. อนุกรรมการด้านอาชีวอนามัย
2. จป. วิชาชีพยังไม่พบผู้ติดเชื้อ4– นโยบายด้านความปลอดภัย4. Safety Start at School :(รร.ราชประชานุเคราะห์ 50)– เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายความปลอดภัยสู่ชุมชนและสังคม ครอบคลุมบริบทองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย– จัดกิจกรรมเซฟตี้ เริ่มที่โรงเรียนของหนู อย่างน้อย 1 โรงเรียน/ปี1. อนุกรรมการด้านกิจกรรมและฝึกอบรม
2. จป. วิชาชีพรร.ราชประชานุเคราะห์ 50 สำเร็จตามเป้าหมาย5– นโยบายด้านความปลอดภัย5. รณรงค์สร้างวินัย ขับขี่ปลอดภัยในวันสงกรานต์ 2564:DC ขอนแก่น– เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกความปลอดภัยของพนักงานในการขับขี่ยานยนต์ทุกประเภท ทั้งในและนอกพื้นที่ DC ขอนแก่น– พนักงานมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ระดับดีมาก ขึ้นไปมากกว่า 70%1. คณะอนุกรรมการด้านจราจรและยานยนต์
2. จป. วิชาชีพพนักงานมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม 82.5% สำเร็จตามเป้าหมาย

ตัวอย่างแผนงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

แผนงานและกิจกรรมเป้าหมายงบประมาณผู้รับผิดชอบไตรมาสที่ 1ไตรมาสที่ 2ไตรมาสที่ 3ไตรมาสที่ 4ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.1. รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุในงาน-นอกงานทุกเดือน–จปXXXXXXXXXXXX2. วิเคราะห์อุบัติเหตุ กรณีเกิดอุบัติเหตุในงานและนอกงานทุกเดือน–จป/หัวหน้างานXXXXXXXXXXXX3. จัดทำสถติอุบัติเหตุ และแสดงแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุรายงานข้อมุลสถิติต่อหัวหน้างาน ลูกจ้าง และผู้บริหารทุกเดือน–จปXXXXXXXXXXXX4. ทบทวนการประเมินความเสี่ยงครอบคลุมลักษณะงานที่มีความเสี่ยง1 ครั้ง/ปี–จป/หัวหน้างานXXXXXXXXXXXX5. โครงการอุบัติการณ์/Near Miss/BBSTทุกเดือน–จป/หัวหน้างานXXXXXXXXXXXX

นอกจากนี้ บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงผ่านช่องทางต่างๆ พร้อมทั้ง กำหนดขั้นตอนการสืบสวนอุบัติเหตุ และแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม จากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมาในปี 2564 พบว่ามีกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมความเสี่ยงสูงขั้นตอนการสอบสวนแนวทางแก้ไข

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การทำงานเครื่องจักรในการทำงาน (รถ RT & PT)
  • การรายงานอุบัติเหตุ
  • การสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ
  • การจัดทำมาตรการป้องกัน
  • การจัดสร้างอุปกรณ์ควบคุม
  • การฝึกอบรมสร้างความตระหนัก
บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การทำงานในที่อับอากาศ
  • การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis)
  • การขออนุญาตการทำงานในที่อับอากาศ
  • การตรวจวัดอากาศและก๊าซพิษ
  • การใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่อับอากาศ
  • การตรวจและซักซ้อมความเข้าใจจากการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
  • การรายงานผลค่าวัดออกซิเจนและก๊าซพิษ
บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การทำงานบนที่สูง
  • การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis)
  • การขออนุญาิการทำงานบนที่สูง
  • การใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่สูง
  • การตรวจและซักซ้อมความเข้าใจจากการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันตกจากที่สูง
บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การทำงานที่มีความร้อนและประกายไฟ
  • การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis)
  • การขออนุญาตการทำงานที่มีความร้อนและประกายไฟ
  • การเคลียร์พื้นที่ไม่มีเชื้อเพลิงในรัศมี
  • การใช้และการเตรียมถังดับเพลิง
  • การตรวจและซักซ้อมความเข้าใจจากการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันสะเก็ดไฟกระเด็นและการเตรียมถังดับเพลิงพร้อมใช้งาน

ในปี 2564 บริษัทดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงานในองค์กร ผ่าน 3 โปรแกรมหลัก ดังนี้

1) โปรแกรมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและครอบครัวพนักงาน

โครงการจัดรูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Work Arrangement)

บริษัทส่งเสริมการสร้างสมดุลให้กับพนักงานระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life Balance) โดยพนักงานประจำสำนักงานสามารถเลือกเวลาการทำงานให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของตนเองได้ตามช่วงเวลาที่บริษัทกำหนด ได้แก่

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

ช่วงเวลา

07.30-17.00 น.

08.00-17.30 น.

08.30-18.00 น.

09.00-18.30 น.

09.30-19.00 น.

นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบาย และแนวทางให้พนักงานสามารถเลือกทำงาน ณ สถานที่ใดก็ได้ (Work Anywhere) รวมไปถึงให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ (Work from Home) จำนวนสูงสุด 3 วันต่อสัปดาห์ โดยต้องปฏิบัติตามหลัก D M H T T อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 พร้อมกันนี้ บริษัทสนับสนุนระบบการทำงานต่างๆ เพื่อรองรับการทำงานแบบ Work Anywhere ให้พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารและเข้าระบบในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบประชุม Online (Webex, BlueJeans, Microsoft Team, Zoom) ระบบการสื่อสารผ่าน CP ALL Connect และ True Virual Connect รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานใช้ Notebook ที่มีโปรแกรมของบริษัทแทน Desktop Computer เป็นต้น


โครงการบ้านนี้มีรัก สวัสดิการเพื่อบุตรหลานพนักงาน

นอกเหนื่อจากการสนับสนุนสวัสดิการที่ดีและเหมาะสมสำหรับพนักงานแล้ว บริษัทยังเล็งเห็นการสร้างคุณค่าและให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของครอบครัวของพนักงาน โดยมุ่งสนับสนุนสวัสดิการสำหรับครอบครัวพนักงานที่หลากหลาย ดังนี้

  • สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับรองรับบุตรหลานของพนักงานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายเนื่องจากวุฒิภาวะของเด็ก และเยาวชนในพื้นที่การปฏิบัติงานของบริษัท
  • จัดกิจกรรมสำหรับบุตรหลานของพนักงานและผู้บริหารเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง สร้างประสบการณ์การเรียนรู้และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อาทิ กิจกรรม “SPIM Active Learning Science” เรียนรู้วิทยาศาสตร์ใกล้ตัว ผ่าน 2 กิจกรรมการทดลองออนไลน์กับคุณครูชีววิทยาระดับประเทศพร้อมอุปกรณ์การทดลองส่งตรงถึงบ้านแบบไม่มีค่าใช้จ่าย กิจกรรมการอบรมหลักสูตร “หุ่นยนต์และโค้ดดิ้ง” กิจกรรม “บ้าน ซีพีแรม นี้มีรัก” ให้พนักงานและครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดีและเหนียวแน่นในครอบครัว
  • จัดตั้งชมรมหนังสือเล่มแรกสำหรับเด็กเล็ก โดยแบ่งโครงการต่างๆ ตามช่วงวัยของเด็ก ดังนี้
    – โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart) : กลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ตั้งครรภ์ -3 ปี ส่งเสริมให้พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน อย่างน้อยวันละ 10-15 นาที เพื่อปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน และเสริมสร้างสายสัมพันธ์ครอบครัว
    – โครงการพ่ออ่านบ้านอุ่น : กลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ตั้งครรภ์ -3 ปี ส่งเสริมให้พ่อมีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกด้วยตนเองมากขึ้น ผ่านการอ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที
    – โครงการสมรรถนะเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย : กลุ่มเป้าหมาย 3 ปี – 6 ปี ส่งเสริม และให้แนวทางสำหรับพ่อแม่ ในการสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรม และกิจวัตรจนเป็นนิสัยกระทั่งเกิดสมรรถนะตามวัย
    – โครงการเสริมทักษะชีวิต : กลุ่มเป้ามหมาย ไม่จำกัดอายุ ส่งเสริมและให้แนวทางสำหรับพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกให้เหมาะสมกับวัย พร้อมค้นหาบุคลิกภาพเฉพาะตัวของลูกตามแนวทาง “เลี้ยงลูกให้ถูกทาง”


โครงการ “มุมนมแม่”

บริษัทมีสวัสดิการสำหรับพนักงานหญิงในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ คลอดบุตร จนถึงการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโต ดังนี้

  • จัดอบรมให้ความรู้เรื่องนมแม่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
  • กิจกรรมโภชนาการที่ดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
  • กิจกรรมเยี่ยมคุณแม่หลังคลอด เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ และความสัมพันธ์อันดี
  • จัดสถานที่ให้คุณแม่สำหรับให้นมบุตรภายในพื้นที่ปฏิบัติงานศูนย์กระจายสินค้า ซีพี ออลล์

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ


ลดอัตราการการลาออกของพนักงานหญิงหลังจากคลอดบุตร

ก่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกค้า

ความพึงพอใจของพนักงาน

ร้อยละ 100


โครงการ Health for ALL

บริษัท ตระหนักถึงสิทธิด้านสุขภาพของพนักงาน จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีสุขภาพแข็งแรง สร้างความตื่นตัวในการออกกำลังกาย กิจกรรมสุขภาพที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น

  • บริษัท ซีพีแรม จำกัด ดำเนินกิจกรรม “รักษ์สุขภาพ” ต่อเนื่องกว่า 2 ปี ให้แก่พนักงาน พร้อมจัดให้มีการวัดผลสมรรถภาพร่างกายทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ค่าระดับน้ำตาลในเลือด การเผาผลาญโดยการออกกำลังกาย การลดลงของน้ำหนัก สัดส่วนไขมันในร่างกาย และระยะการเดินและวิ่ง
  • บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ Fit From Home เชิญชวนพนักงานออกกำลังกายและวัดผลจากการเผาผลาญแคลอรี่ส่งมาร่วมรับของรางวัล กิจกรรมออกกำลังกายตามกรุ๊ปเลือด โดยการส่งภาพถ่ายขณะออกกำลังกายพร้อมระบุเหตุผลที่เลือกการออกกำลังกายนั้นๆ
  • จัดตั้งกลุ่มคนสุขภาพดี ร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีให้สมาชิกได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ร่วมกิจกรรมสุขภาพและเข้าถึงข้อมูลสุขภาพต่างๆ

2) โปรแกรมลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการขับขี่สำหรับพนักงานร้าน 7-Eleven

ในปีที่ผ่านมาบริษัทรายงานการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีสาเหตุจากการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรของคู่กรณี จึงส่งผลให้พนักงานส่งสินค้าขับขี่รถจักรยานยนต์เสียชีวิต 2 ราย ในปี 2564 นอกเหนือจากการให้พนักงานจัดส่งสินค้า (Rider) ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น สวมหมวกกันน็อก มีใบขับขี่ มี พ.ร.บ. มีประกันภาคสมัครใจ ผ่านการอบรมขับขี่ปลอดภัย แล้วบริษัทยังมุ่งส่งเสริมการสร้างความปลอดภัยในการขับขี่สำหรับพนักงานร้าน 7-Eleven อย่างเข้มข้น ดังนี้

  • ปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยในการใช้ยานยนต์ สำหรับร้าน 7-Eleven โดยเพิ่มแนวปฏิบัติ 7 ข้อควรปฏิบัติ และ 11 ข้อห้ามปฏิบัติของพนักงาน การตรวจสอบความพร้อมของยานยนต์และห้ามไม่ให้ขับขี่ยานยนต์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและข้อร้องเรียน บทบาทผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงบทลงโทษ
  • สร้างวัฒนธรรมการขับขี่ปลอดภัย มุ่งเน้นการอบรม ให้ความรู้เรื่อง “ขับขี่ปลอดภัย” การสื่อสารเชิงรุกด้วยสื่อรณรงค์ที่เข้าใจง่าย และเข้าถึงพนักงานร้าน 7-Eleven ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศได้มากขึ้น อาทิ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) คลิปวีดีโอ โปสเตอร์ 7 ต้อง 11 ห้าม รวมถึงมีการวัดผลการรับรองข่าวสารของพนักงานร้าน 7-Eleven เป็นรายสัปดาห์
  • สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ สำหรับไรเดอร์ (Rider) อาทิ เสื้อพนักงานติดแถบสะท้อนแสง ชุดจับมือถือจักรยานยนต์
  • เพิ่มความเข้มข้นมาตรการการกำกับดูแล และตรวจสอบการปฏิบัติงานของไรเดอร์ (Rider) ดังนี้

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

  • ทดลองใช้รถมอเตอร์ไซไฟฟ้า จำกัดความเร็วไม่เกิน 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อควบคุมความเร็ว ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุอีกทั้งยังช่วยลดมลพิษให้กับชุมชน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองใช้ในร้าน 7-Eleven จำนวน 27 สาขา

3) โปรแกรมลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และการจัดการความเครียด

โครงการยืดเหยียดลดโรค

โครงการยืดเหยีดลดโรคในรูปแบบออนไลน์ ดำเนินงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยเชิญผู้เชียวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrom) แก่พนักงาน พร้อมคำแนะนำเรื่องท่าทางการทำงานที่ถูกต้องเพื่อป้องกันอาหารปวดกล้ามเนื้อ ในปี 2564 มีพนักงานและผู้บริหารเข้าร่วม จำนวน 70 ราย

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน
บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน


โครงการห้องสวัสดิการ Health Center (กายภาพบำบัด)

ให้บริการบำบัดฟื้นฟูอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึง ขาอ่อนแรง ปวดหลัง หรือมีอาการออฟฟิศซินโดรม พร้อมทั้งให้บริการคำปรึกษาและดูแลสุขภาพ โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ในปี 2564 มีพนักงานและผู้บริหารเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน


โครงการโค้ชจิตอาสา

มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้พนักงานสามารถจัดการความเครียดมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาและสามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่กำลังเผชิญอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยบริษัทร่วมมือกับโค้ชจิตอาสา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของ ICF Bangkok Chapter มาเป็นกำลังใจ ชวนพูด ชวนคุย และชวนคิดกับพนักงานของบริษัท โดยเฉพาะพนักงานร้าน 7-Eleven โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในปี 2564 มีพนักงานตอบรับเข้าร่วมโครงการกว่า 300 ราย

การบูรณาการการดำเนินการเพื่อเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

บริษัท มีการจัดทำและคงไว้ซึ่งแผนป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุม ป้องกัน และลดผลกระทบด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ครอบคลุมถึงการระงับเหตุฉุกเฉินในความเสี่ยงแต่ละประเภทที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินนั้น และสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมแผนการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ผู้รับเหมา ชุมชนใกล้เคียงตามความเหมาะสม โดยมีการทบทวนและซ้อมแผนฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ตัวอย่างการดำเนินการ

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

ตัวอย่างตารางฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินประจำปี

แผนฉุกเฉินม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.รวมร้อยละ1. ป้องกันและระงับอัคคีภัย    5326335 241002. สารเคมี กากของเสีย หรือน้ำมันรั่วไหล11  510112 1 221003. ก่อวินาศกรรม     121211191004. น้ำท่วม      1852 1171005. ไฟฟ้าดับ   13521151 191006. เครื่องทำความเย็นขัดข้อง   1 12232  111007. บ่อบำบัดไม่ทำงาน   1  1 1  141008. โรคระบาด Covid-1911111 2     71009. แก๊ซ LPG รั่วไหล    12332   1110010. แผนฉุกเฉินเกิดอันตรายจากงานเชื่อม  1 1    111510011. แผนฉุกเฉินเกิดอันตรายจากงานเชื่อม     1      110012. แผนฉุกเฉินอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต       1    110013. แผนฉุกเฉินกรณีติดอยู่ในห้อง SERVER/ติดในห้องบัตร (ขาดอากาศหายใจ)      1     110014. แผนสปริงเกอร์แตก    111     5100รวม124417241823191494140100

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โปรแกรมการประเมินความก้าวหน้าในการลด/ป้องกันปัญหาสุขภาพ/ความเสี่ยงต่อเป้าหมาย

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประเมินและติดตามความคืบหน้าของโครงการและแผนงานทุกเดือน ทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative) เชิงปริมาณ (Quantitative) เชิงรุก (Proactive) อาทิ การตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน การตรวจความปลอดภัยตามแผนการตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ การตรวจสุขภาพ พร้อมทั้งมีการทบทวนวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการปีละครั้ง

ตัวอย่างการติดตามเชิงปริมาณเพื่อวัดความก้าวหน้าของวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ปี 2564

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

เป้าหมาย ตัวชี้วัด/หน่วยการประเมินผลม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.1. อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน             1.1อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน (Injury Rate:IR) ลดลงการประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน✓XXXXXXXXXหน่วยวัด:(รายx200,000)/ชั่วโมงการทำงาน1.2อัตราการสูญเสียวันทำงาน (Lost Day Rate:LDR) ลดลงประเมินผลรายเดือนโดยตตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓หน่วยวัด:(วันx200,000)/ชั่วโมงการทำงาน1.3อัตราการเกิดโรคจากการทำงาน (Occupational Diseases Rate:ODR) ลดลงประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓หน่วยวัด:(วันx200,000)/ชั่วโมงการทำงาน1.4ไม่มีอุบัติเหตุในงานถึงขั้นหยุดงานเกิน 3 วันประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓หน่วยวัด: จำนวนกรณี1.5 ชั่วโมงการทำงานสะสมต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1,000,000 ชั่วโมงประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓หน่วยวัด: จำนวนกรณี1.6จำนวนกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต (Work-releated fatalities:WF) เป็น 0ประเมินผลรายเดือนโดยตรวจข้อมุลสถิติอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยประจำเดือนจากการทำงาน✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓✓หน่วยวัด: จำนวนกรณี

ตัวอย่างการติดตามเชิงรุกความปลอดภัยของสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven โดยหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานร้าน (Quality Store Standard Inspector) เดือนละครั้ง

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

ตัวอย่างการติดตามเชิงรุกตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โปรแกรมการตรวจประเมินภายใน

บริษัทกำหนดให้มีกระบวนการตรวจประเมินภายในอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กรได้มีการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล โดยร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดทำโครงการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SHE) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยคณะกรรมการกลางปีละ 1 ครั้ง ภายใต้เกณฑ์การตรวจประเมินประสิทธิผลด้าน SHE  ดังนี้

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน
บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การตรวจสอบอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมการทำงานจากภายนอกโดยหน่วยงานอิสระ

บริษัทให้ความสำคัญกับการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานซึ่งถือเป็นทรัพยากร อันมีค่าของบริษัทครอบคลุมไปยังผู้รับเหมาที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษํท ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล บริษัทยกระดับแนวทางการจัดการระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety : OHS) อย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่การรับรอง ISO 45001 : 2018 ในพื้นที่เป้าหมายศูนย์กระจายสินค้าของ ซีพี ออลล์ โดยดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ ประเมินช่องว่าง (Gap) ของระบบปัจจุบันเทียบกับ ISO 45001 : 2018 จัดทำแผนยกระดับ พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อมยื่นขอรับการรับรอง ตรวจประเมินโดย Third Party เพื่อเตรียมพร้อมก่อนรับการตรวจจริง รวมถึงตรวจประเมินประจำปี (Surveillance Audit) เพื่อรักษาระบบ โดยในปี 2564 บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 45001 : 2018 เพิ่ม 3 พื้นที่ คือศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (RDC) ศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (CDC) ศูนย์กระจายสินค้าอาหารแช่แข็ง (FDC) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้พื้นที่เป้าหมายของบริษัท (ระยะที่ 1) ได้รับการรับรองมาตรฐานการ ISO 45001 : 2018 ครอบคลุมร้อยละ 100 และมีแผนขยายการดำเนินการไปยังพื้นที่เป้าหมาย (ระยะที่ 2) พร้อมทั้งยื่นขอการรับรองเพิ่มอีก 4 พื้นที่ ในปี 2565

2562 (Phase1)

  • อบรมให้ความรู้
  • นำมาตรฐาน ISO 45001 : 2018 ประยุกต์ใช้ในทุกพื้นที่
  • วิเคราะห์ช่องว่าง (Gap) ระบบปัจจุบันเทียบ ISO 45001 : 2018
  • จัดทำแผนยกระดับรายพื้นที่
  • คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย (ระยะที่ 1)

2563

  • ขอการรับรอง 7 พื้นที่
  • Pre-Audit โดยหน่วยงานภายนอก

2564

  • ขอการรับรองเพิ่ม 3 พื้นที่
  • Pr-Audit โดยหน่วยงานภายนอก
  • ตรวจประจำปี (Surveillance Audit) Maintain Certification ISO 45001 : 2018 7 พื้นที่
  • ตรวจติดตามโดยผู้ตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)

2565-2566 (Phase 2)

  • คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย (ระยะที่ 2)
  • ขอการรับรองเพิ่ม 4 พื้นที่
  • Pre-Audit โดยหน่วยงานภายนอก
  • ตรวจประจำปี (Surveillance Audit) Maintain Certification ISO 45001 : 2018 10 พื้นที่
  • ตรวจติดตามโดยผู้ตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)
  • ต่ออายุใบรับรอง 7 พื้นที่

แผนการตรวจ SCA สายงานกระจายสินค้า ปี 2564

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย โรคและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

การตรวจสอบการบาดเจ็บจากการทำงาน

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การตรวจสอบการบาดเจ็บจากการทำงาน กลุ่ม Rider

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การตรวจสอบโรคทั่วไป / โรคจากการทำงาน

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

การฝึกอบรม OHS ที่จัดให้กับพนักงานและ/หรือฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักและลดเหตุการณ์ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร สร้างความตระหนัก การสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม และดำเนินการอบรม ให้ความรู้ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง ผ่านโครงการที่หลากหลาย ดังนี้

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการความปลอดภัย มุ่งสู่อุบัติเหตุเป็นศูนย์

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โครงการอบรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาบุคลากร

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โครงการอบรมเพิ่มทักษะขับขี่ปลอดภัยให้กับพนักงานสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โครงการสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานศูนย์กระจายสินค้าและผู้รับเหมาขนส่ง (Kiken Yochi Training : KYT)

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โครงการอบรมสอบใบขับขี่รถ PT รถ Fork Lift ชั่วคราว ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้กับผู้ขับขี่

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โครงการอบรมผู้รับเหมาก่อสร้างเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ก่อนเข้าทำงานในร้าน 7-Eleven และพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า และพื้นที่โรงงาน ซีพี แรม

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โครงการอบรมผู้รับเหมาขนส่ง หลักสูตรการขับรถบรรทุกอย่างมืออาชีพ

บริษัท ที่ ปฏิบัติตามมาตรฐานความ ปลอดภัย ในการ ทำงาน

โครงการฝึกอบรมการเรียนรู้ความปลอดภัย (Safety DOJO) สำหรับผู้รับเหมาและพนักงานในสายการผลิต

โครงการฝึกอบรมการเรียนรู้ความปลอดภัย (Safety DOJO) สำหรับผู้รับเหมาและพนักงานในสายการผลิต

บริษัท ซีพีแรม จำกัด ส่งเสริมสร้างความเข้าใจและจิตสำนึก สร้างความตระหนักถึงพฤติกรรมความปลอดภัยให้กับผู้รับเหมาและพนักงานทุกคนเพื่อลดความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุในการทำงานสร้างเครื่องจำลองอุบัติเหตุใช้สำหรับการฝึกอบรม เช่น อุบัติเหตุไฟฟ้าดูด ของหนักกระแทกอันตรายจากเครื่องจักรที่ไม่มีเซฟตี้การ์ด อันตรายจากการมองไม่เห็นมือของตัวเองในขณะทำงานโครงการนี้เป็นโครงการสนับสนุนเป้าหมายลดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 โดยเป็นการจัดสถานที่ฝึกอบรมให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ มีสถานีจำลองแสดงความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากสถานการณ์ต่างๆ และมีคำอธิบายทั้ง 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาเขมร และภาษาพม่า

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ


ผู้รับเหมาและพนักงานได้รับการเรียนรู้สถานีงานความปลอดภัย

ร้อยละ 100

อัตราความถี่ของการบาดเจ็บ (IFR) ลดลง

ร้อยละ 80

การนำเกณฑ์ OHS มาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างและข้อกำหนดตามสัญญา

บริษัทตระหนักถึงสิทธิด้านความมั่นคงปลอดภัยของ โดยมุ่งเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ ภายในปี 2573 รวมถึงมอบความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงาน บริษัทจึงดำเนินการจัดสภาพแวดล้อม และพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดคณะกรรมการตรวจประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และแผนการพัฒนาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมทั้งดำเนินตลอดจนยกระดับการจัดการให้เทียบเคียงระดับสากล เพื่อดูแลพนักงานให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

ข้อมูลอื่นๆ


ผลการดำเนินงานด้านการดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

GRI Standaredข้อมูลหน่วย2561256225632564ชายหญิงชายหญิงชายหญิงชายหญิงพนักงาน403-9 (a) 2018– จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากการทำงานราย002500002023– อัตราผู้บาดเจ็บทั่งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต)กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงานN/A00.0040N/AN/A0000.0100– อัตราบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมดกรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงานN/A1.222.143.25N/AN/A2.270.693.021.994.362.70– จำนวนชั่วโมงการทำงานรวมชั่วโมง192,955,020222,630,585251,718,321212,606,69367,743,167125,211,85374,829,447147,801,13883,430,837168,287,48469,947,807142,658,887403-10 (a) 2018– จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากการทำงานราย000000000000– อัตราผู้บาดเจ็บทั่งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต)กรณีN/A000N/AN/A000000403-2 (a) 2016– อัตราการขาดงานร้อยละ2.262.342.2812.112.412.182.642.202.582.1310.5312.90– อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR)กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน1.100.711.662.771.930.651.280.432.211.383.592.36– อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานทั้งหมด (OIFR)กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน000000000000ผู้รับเหมา403-9 (a) 2018– จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากการทำงานราย003600002151– อัตราผู้บาดเจ็บทั่งหมดที่มีความรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต)กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงานN/A000.013N/AN/A000000.005– อัตราบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมดกรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงานN/A1.510.521.40N/AN/A2.020.930.800.342.370.86– จำนวนชั่วโมงการทำงานรวมชั่วโมง60,757,23463,698,344232,938,058210,483,28037,375,63623,381,59833,717,99529,980,34988,997,868143,940,19075,208,116135,275,163403-10 (a) 2018– จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคจากการทำงานราย000000000000– จำนวนกรณีที่เจ็บป่วยจากการทำงานทั้งหมดกรณี000000000000– อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR)กรณี/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน000000000000