ครอบครองเพื่อเสพ กฎหมายใหม่

การมีไว้ในครอบครอง เสพ และจำหน่ายสารเสพติดที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้ เป็นความผิดตามกฎหมายไทย โดยความผิดดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาและจะเป็นคดีให้ศาลอาญาพิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม นักโทษคดียาเสพติดอาจได้รับการพิจารณาให้รับการรักษาในสถานบำบัดแทนการติดคุกก็ได้

สารเสพติดให้โทษที่ทำให้เกิดความผิดตามที่กฎหมายไทย มีการกำหนดไว้ 5 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้

ประเภทที่ 1 – เฮโรอีน, แอมเฟตามีน, เมทแอมเฟตามีน (หรือยาบ้า, ยาไอซ์)
ผู้ที่กระทำความผิดโดยการครอบครองเพื่อเสพ หรือเสพสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 นี้มีโทษตามกฎหมายคือ โทษจำคุกอย่างสูง 10 ปีและโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และในกรณีที่มีการครอบครองสารเสพติดให้โทษในประเภทนี้เกินกว่า 20 กรัมกฎหมายให้ถือว่าเป็นการครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งโทษขั้นสูงสุดคือ ประหารชีวิต

ประเภทที่ 2 – มอร์ฟีน, โคเคน, เคตามีน, โคดีน, ฝิ่น, สารสกัดจากฝิ่น, เมทธาโดน
การครอบครองสารเสพติดในประเภทที่ 2 นี้อาจทำได้โดยถูกกฎหมายหากเป็นการครอบครองเพื่อวัตถุประสงค์และในจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้าเป็นการครอบครองที่ขัดต่อข้อกำหนดของกฎหมายแล้วนั้นย่อมเป็นความผิด และมีโทษคือ โทษจำคุกขั้นสูง 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเภทที่ 3 – วัตถุที่ทำให้เกิดความมึนเมา สารที่สกัดได้จากฝิ่น และสารที่มีส่วนประกอบของสารเสพติดในประเภทที่ 2 ที่ใช้ในทางการแพทย์ อาจมีไว้ในครอบครองได้ตามกฎหมาย ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายเช่นกัน

ประเภทที่ 4 - สารที่ใช้ประกอบเป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง มีความผิด โทษจำคุก 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเภทที่ 5 – วัตถุที่ทำให้เกิดความมึนเมา สารเสพติดอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ใน 4 ประเภทก่อน ประกอบด้วย กัญชา และเห็ดเมา
ผู้ครอบครอง หรือเสพสารเสพติดในประเภทนี้ มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในประเทศไทยพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เป็นกฎหมายหลักสองฉบับที่กำหนดลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดและโทษจากกการทำความผิดเกี่ยวกับสารเสพติด รวมทั้งกำหนดตัวเจ้าหน้าที่ที่จะรับผิดชอบไว้โดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่ว่าจะมีเพียงกฎหมายสองฉบับนี้เท่านั้นในประเทศไทยยังมีกฎหมายอื่นๆที่กำหนดโทษเรื่องยาเสพติดไว้อีกด้วย

7แนวทางต่อสู้คดียาเสพติด ประเด็นครอบครองเพื่อเสพ พร้อมตัวอย่างคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องจำนวน 32 คดี

  • มีนาคม 20, 2022

นับแต่ประมาณปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา ได้มีการประกาศแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยการแก้ไขเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการครอบครองยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ ในกรณีที่ครอบครองยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด จากเดิมถือเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่าครอบครองครองเพื่อจำหน่าย โดยปัจจุบันได้แก้ไขให้เป็นข้อสันนิษฐานไม่เด็ดขาด

จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เสพยาเสพติดซึ่งครอบครองยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดได้ต่อสู้คดี ว่าตัวเองมียาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ไม่ได้มียาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อจำหน่าย

ปลพปัจจุบันนี้ทางศาลยุติธรรมได้มีการ เผยแพร่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีที่น่าสนใจลงในเว็บไซต์ จึงทำให้การทำงานของทนายความในปัจจุบันทำงานได้ง่ายขึ้น ผู้เขียนจึงได้รวบรวมคำพิพากษา ของศาลชั้นต้นในประเด็นการต่อสู้คดีเรื่องครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ เพื่อให้เพื่อนทนายความและผู้สนใจใช้สำหรับประกอบการทำงานในคดีลักษณะดังกล่าว

     ทั้งนี้การนำสืบและต่อสู้คดีข้อหาครอบครองเพื่อเสพติดตามแนวคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัจจุบีนมีตัวอย่างมีเผยแพร่มาประมาณ 30 คดีเศษโดยผู้เขียนได้รวบรวมไว้ดังนี้ กดคลิกเพื่ออ่านคำพิพากษา

ซึ่งจากตัวอย่างคำพิพากษาศาลช้นต้นดังกล่าว สามารถสรุปแนวทางนำสืบและถามค้านในการต่อสู้คดีได้โดยสังเขป ดังนี้

ข้อ 1. สาเหตุที่ถูกจับกุม สาเหตุที่ถูกจับกุมนั้นเป็นเพราะเหตุบังเอิญ (เช่นเจ้าหน้าที่ ตั้งด่านแล้วตรวจค้นจับกุม หรือพบเห็นพิรุธในสถานบันเทิง หรือสถานที่อื่นๆจึงเรียกตรวจค้น)  หรือเป็นเพราะตั้งใจมาจับกุม เช่น มีสายลับแจ้งหรือมีการสืบสวนว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติด จึงได้มีการตรวจค้นจับกุม

ถ้าสาเหตุที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมเป็นเพราะเหตุบังเอิญ ไม่ได้ถูกสายลับแจ้งข้อมูล หรือไม่ได้มีการสืบสวนทางลับ หรือไม่ได้ถูกซัดทอดว่ามีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดก่อนถูกจับกุม  ย่อมมีน้ำหนักให้เชื่อถือได้ว่า ผู้ต้องหามียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพเท่านั้น อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจบางชุด อาจจะอ้างว่า ได้ข้อมูลในทางลับ หรือมีสายลับ แจ้งมาว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติด ถ้าหากข้อมูลดังกล่าวไม่มีพยานหลักฐานรองรับ ก็ไม่สามารถรับฟังเป็นผลร้ายกับผู้ต้องหาได้ และเป็นหน้าที่ของทนายความที่จะต้องถามค้านในประเด็นนี้ให้ชัดเจน 

ข้อ 2. ขณะถูกจับกุมและขณะให้การในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาได้ให้การว่าอย่างไร  ประเด็นเรื่องการให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนนั้น ศาลมักจะถือเป็นประเด็นสำคัญ ที่ศาลจะหยิบยกขึ้นมาเพื่อประกอบการพิจารณาทุกครั้ง โดยศาลจะถือว่าการให้การทันทีในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเวลาใกล้เคียงกับเวลาเกิดเหตุนั้น มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ เพราะยังไม่มีเวลาปรับแต่งคำให้การ โดยหากผู้ต้องหาให้การในชั้นจับกุม ในชั้นสอบสวนว่ามียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ก็จะทำให้น้ำหนักการต่อสู้ในชั้นพิจารณามีมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ตามประสบการณ์ของผู้เขียน ถ้าผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์ว่าผู้ต้องหามียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมหรือพนักงานสอบสวนก็มักจะแนะนำผู้ต้องหาว่าให้ให้การไปว่ามียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพเท่านั้นอยู่แล้ว 

ข้อ 3.ลักษณะการเก็บยาเสพติด ถ้าลักษณะของกลางที่พบ เป็นการเก็บไว้ในที่เปิดเผย หรือไม่ได้มีการซุกซ่อนอย่างมิดชิด เช่นนี้ศาลมักจะมองว่า เป็นพฤติการณ์ของผู้เสพยาเสพติดที่ไม่ค่อยมีความระมัดระวังตัวเท่ากับผู้จำหน่ายที่จะซ่อนของกลางไว้อย่างมิดชิด และหากลักษณะการเก็บนั้นไม่ปรากฏลักษณะเป็นการเก็บในแบบที่เตรียมพร้อมจะแบ่งจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไป เช่น มีการแบ่งบรรจุเป็นถุงๆในลักษณะพร้อมแบ่งจำหน่าย ก็จะเป็นหนึ่งในประเด็นที่จะทำให้ศาลนำมาวินิจฉัยว่าน่าจะมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของทนายความที่จะต้องถามค้านในประเด็นนี้ให้ปรากฏชัดแจ้ง 

ข้อ 4.สิ่งของอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่พบพร้อมกับยาเสพติดถ้าในการตรวจค้นจับกุมนั้นพบสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการเสพยาเสพติดเช่นอุปกรณ์การเสพร่วมอยู่ด้วย ก็จะเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้ศาลเห็นว่าผู้ต้องหามียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพ  แต่ในทางกลับกันขณะถูกตรวจค้นจับกุม ถ้าพบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขายยาเสพติดเช่น ถุงแบ่งจำหน่าย ตาชั่งดิจิตอล แค่นี้ก็ทำให้ศาลเชื่อว่าน่าจะมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 

ข้อ 5.จำนวนยาเสพติดของกลาง ถึงแม้กฎหมายจะเปิดโอกาสให้การครอบครองยาเสพติดเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด มีโอกาสต่อสู้ในประเด็นว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพไม่ได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่การครอบครองยาเสพติดดังกล่าวก็ต้องมีจำนวนไม่มากเกินสมควร ถ้าหากยาเสพติดดังกล่าวมีจำนวนมาก ก็จะต้องนำสืบเหตุผลอธิบายว่าเหตุใดจึงมีจำนวนมาก เช่นต้องซื้อเป็นครั้งละมากๆเพื่อที่จะได้ราคาถูกและไม่ต้องเสี่ยงออกไปซื้อหลายครั้ง หรือ วันหนึ่งจะต้องเสพจำนวนหลายมากจึงต้องซื้อกักตุนไว้ ซึ่งบางครั้งการมียาเสพติดไว้ในครอบครองประมาณ 50 เม็ด แต่มีเหตุผลอันสมควรศาลก็พอเชื่อได้อยู่ว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (ดูตัวอย่างคำพิพากษาศาลชั้นต้น)  แต่อย่างไรก็ตามหากมีจำนวนมากเกินไปจริงๆเช่นมีหลายร้อยเม็ด ไม่แนะนำให้สู้คดี เพราะอย่างไรก็ฟังไม่ขึ้นว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ 

ข้อ6 . ระวัติ การประกอบอาชีพ การกระทำความผิดก่อนหน้า  ถ้าผู้ต้องหามีประวัติเกี่ยวข้องเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดมาก่อน เช่นนี้การต่อสู้คดีย่อมจะมีน้ำหนักน้อย แต่ถ้าหากผู้ต้องหาไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาก่อน หรือเคยมีประวัติเกี่ยวข้องเป็นแต่เพียงผู้เสพเท่านั้น ก็จะเป็นหนึ่งในน้ำหนักที่ศาลจะนำมาวินิจฉัยว่าผู้ต้องหาไม่ได้จะได้มียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย  นอกจากนี้การประกอบอาชีพ และรายได้ของผู้ต้องหาก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าผู้ต้องหามียาเสพติดเป็นจำนวนมากมีราคาสูงแต่ไม่ปรากฏว่าประกอบอาชีพมีรายได้ที่แน่นอน เช่นนี้อาจจะทำให้ศาลมองว่าผู้ต้องหามีรายได้จากการจำหน่ายยาเสพติด เป็นปกติวิสัย ดังนั้นการที่ผู้ต้องหาประกอบอาชีพอะไร มีประวัติการศึกษาการทำงานเป็นอย่างไรมีรายได้จากทางไหน จึงเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จะต้องนำสื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของศาล 

ข้อ7.ผลการตรวจสอบการเสพยาเสพติดขณะถูกจับกุม ธรรมดาแล้วในคดียาเสพติดผู้ต้องหามักจะถูกตรวจสอบพร้อมกันด้วยว่าได้เสพยาเสพติดหรือไม่ ถ้าผลการตรวจปรากฏว่าผู้ต้องหาได้เสพยาเสพติดมาก็จะเป็นหนึ่งในประเด็นที่ศาลนำมาประกอบการวินิจฉัยใช้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เสพยาเสพติดจริง แต่ถ้าผลการตรวจไม่พบว่าผู้ต้องหาเสพยาเสพติดมาก่อน ก็อาจจะเป็นประเด็นที่จะทำให้ศาลวินิจฉัยว่าผู้ต้องหาไม่ได้เป็นผู้เสพและอาจจะเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติด

เหตุผลดังกล่าวมานี้ เป็นเหตุผลโดยสังเขปที่ศาลจะนำมาวินิจฉัยในประเด็นการสู้คดีประเด็นเรื่องมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพ อย่างไรก็ตามในแต่ละคดีย่อมมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์หรือโทษก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทนายความที่ต้องถามค้านและนำสืบข้อเท็จจริงที่จะเป็นประโยชน์แก่รูปคดี เพื่อประกอบการวินิจฉัยคดีของศาลต่อไป  และต้องขอขอบคุณสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ได้พัฒนา ระบบการเผยแพร่คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไปและทนายความเป็นอย่างยิ่ง

แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

comments

กฎหมายใหม่ครอบครองเพื่อเสพกี่เม็ด

กฎหมายใหม่ ที่แก้ไขให้เป็นธรรมมากขึ้น จากความพยายามของหลายภาคส่วน ในที่สุดกฎหมายฉบับใหม่ก็มีการเปลี่ยนแปลง จาก 'ครอบครองยาเสพติดเกิน 15 เม็ด ให้ถือว่า มีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย' ก็กลายเป็น 'ครอบครองยาเสพติดเกิน 15 เม็ด ให้สันนิษฐานว่า มีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย' เพิ่มโอกาสให้นักโทษและผู้ต้องสงสัยอีกหลายคน

ครอบครองเพื่อจําหน่ายติดกี่ปี

มาตรา 66. จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิ เกินปริมาณที่กำหนด ตามมาตรา15วรรค3แต่ไม่ถึง20 กรัม จำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต

ยาเสพติดมีกี่ประเภท 2565

๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท ๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน ๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย

ยาเสพติดคุกกี่ปี

ผู้ที่กระทำความผิดโดยการครอบครองเพื่อเสพ หรือเสพสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 นี้มีโทษตามกฎหมายคือ โทษจำคุกอย่างสูง 10 ปีและโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่มีการครอบครองสารเสพติดให้โทษในประเภทนี้เกินกว่า 20 กรัมกฎหมายให้ถือว่าเป็นการครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งโทษขั้นสูงสุดคือ ประหารชีวิต