โครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน doc

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช   ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้

“การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชนั้น   ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม   ความสนใจ  และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป   การใช้วิธีสอน  การอบรมและให้ความรู้สึกกลัวว่า  หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายแก่ตนเอง  จะทำให้เด็กเกิดความเครียด  ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว”

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริจัดตั้งงาน   “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”  เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้  เห็นคุณค่าประโยชน์   ความสวยงาม  เกิดความรัก  และหวงแหน   อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป

สวนพฤกษศาสตร์ คือ แหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่มีชีวิต  จัดปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพถิ่นอาศัยเดิม  มีห้องสมุด  สถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้รักษาสภาพ  อาจเป็นตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่างดอง  หรือเก็บรักษาด้วยวิธีอื่นๆ  พันธุ์พืชที่ทำการรวบรวมไว้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้  นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน  โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว  เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว  อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ในการสอนวิชาต่างๆ

จากพระราชดำริและพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในเรื่องของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานปกติในเรื่องของการเรียนการสอน  และในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษา  ซึ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้มีการประชุมหารือกับองค์การบริหารส่วนตำบลซับตะเคียน  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซับตะเคียน  และเห็นควรที่จะสนองราชดำริ  ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบ้านหนองโกวิทยา  อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

โรงเรียนบ้านหนองโกวิทยา  จังหวัดลพบุรี เป็นโรงเรียนที่จัดสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงามและเป็นโรงเรียนที่มีพรรณไม้ธรรมชาติเป็นจำนวนมาก  โรงเรียนได้เอาใจใส่ดูแลพรรณไม้เป็นอย่างดีแต่ยังขาดการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนมีความรักความร่มรื่นสวยงามของพรรณไม้เท่าที่ควร  จึงมีแนวคิดสอดคล้องกับงานสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คือแหล่งรวบรวมพืชพรรณไม้ต่าง ๆ  ที่มีชีวิต  จัดปลูกตามความเหมาะสม  ในสภาพที่คล้ายกับถิ่นอาศัยเดิมใช้เป็นแหล่งข้อมูลเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณได้  เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ  เพื่อเป็นสื่อให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม  อันก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่อไป นอกจากนี้กิจกรรมทั้งหลายสามารถดำเนินการได้ในพื้นที่โรงเรียน  เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ

            ๒.รายละเอียดของโครงการ (ขั้นตอนการดำเนินงาน)

กิจกรรมที่

รายละเอียดกิจกรรม

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

๑.

สำรวจพันธุ์พืชในสถานศึกษา

พฤษภาคม ๒๕๖๐ – มิถุนายน ๒๕๖๐

นายกุลเกียรติ

เสริมกูลเกียรติ

๒.

จัดทำแผนที่ต้นไม้ในสถานศึกษา

กรกฎาคม ๒๕๖๐ – สิงหาคม ๒๕๖๐

๓.

จัดทำป้าย ชื่อต้นไม้

กรกฎาคม ๒๕๖๐ – สิงหาคม ๒๕๖๐

๔.

บันทึกลักษณะ และ สรรพคุณของต้นไม้

สิงหาคม ๒๕๖๐ – กันยายน ๒๕๖๐

๕.

เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นจากป่าชุมชนเพื่อทดลองเพาะกล้าไม้

ตุลาคม ๒๕๖๐ – มกราคม ๒๕๖๑

๖.

ปลูกป่าร่วมกับชุมชนเพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน  จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อบำรุงต้นไม้

โครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน doc
ดาวน์โหลด คู่มือ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ (pdf)  >>>คลิก<<<

โครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน doc
ดาวน์โหลด ขั้นตอนการสมัครสมาชิก “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” (pdf)  >>>คลิก<<<

โครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน doc

โครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน doc

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดาริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสานึกในการอนุรักษ์พันธ์พืชนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติ ที่จะทาการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนหรือการอบรมที่ให้ความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายต่อตนเอง จะทาให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว”

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ ได้ดาเนินการตอบสนองพระราชดาริ จัดตั้งงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสานึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยให้เยาวชนนั้นใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงามอันก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป

โรงเรียนภู่วิทยา จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดาริ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีแรก ซึ่งได้ดาเนินตามโครงการเพื่อขอรับป้ายสนองพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการสอนและอบรมให้นักเรียนมีจิตสานึกในการอนุรักษ์พืชพรรณ โดยการปลูกฝังให้เห็นความงดงาม ความน่าสนใจ เกิดความปีติที่จะทาการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณให้ครบทุกองค์ ประกอบ ทั้งสาระธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการดาเนินการตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สืบไป

๒. วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้เยาวชนได้ร่วมสนองพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เข้าใจงาน เข้าใจทรัพยากรรอบกาย และเข้าใจหน้าที่ของตนเอง

๒. เพื่อให้เยาวชนเกิดจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรพืช เข้าถึงปัจจัยทางชีวภาพ และกายภาพที่เกี่ยวพันกับพรรณพืช

๓. เพื่อแสวงหาแนวทางในการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เรียนรู้จริงจากธรรมชาติรอบกายมีจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร เกิดมีความรู้ทิ้งทางวิทยาการและทางปัญญา

๔. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ต่างๆ

๕. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวม ตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้และการเก็บรักษา

๓. เป้าหมาย

๑. ด้านปริมาณ

นักเรียนโรงเรียนภู่วิทยา จานวน ๖๔๕ คน

ครูโรงเรียนภู่วิทยา จานวน ๔๖ คน

๒. ด้านคุณภาพ

นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพืชกับปัจจัยทางชีวภาพและกายภาพ สามารถนาความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ประโยชน์ เห็นคุณค่าของพรรณไม้และการจัดการเรียนรู้ และโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ในการดาเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 

พื้นที่ดำเนินงาน

โรงเรียนภู่วิทยา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๖ หมู่ ๔ ตำบลโนนแดง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ ๔๓ไร่ ๙๙ ตารางวา

วิธีการดำเนินงาน

1. ประชุมวางแผนดาเนินงาน และแจ้งให้หมวด/ฝ่ายรับทราบ เพื่อให้เข้าใจจุดประสงค์ของโครงการ และผลงานหรือกิจกรรมที่แต่ละหมวด/ฝ่ายต้องรับผิดชอบ

2. ดำเนินงานตามขั้นตอนองค์ประกอบ ๕ ขั้น ในการดาเนินงานสวนพฤกษศาสตร์

3. ศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดความรู้และเชี่ยวชาญในพืชพรรณที่สนใจที่มีประโยชน์ในชีวิตประจาวันเพื่อนาไปใช้ประโยชน์

4. ศึกษาให้ได้รายละเอียดของพืชที่สนใจคือขิงเพิ่มเติม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยชีวภาพ โดยศึกษาธรรมชาติของชีวิต (รูปลักษณะ การเจริญเติบโต วงจรชีวิต)และพฤติกรรมของสัตว์ที่มีต่อพืชชนิดนั้น โดยใช้วิธีเผ้าสังเกตและเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด ศึกษาเกี่ยวพันกันระหว่างปัจจัยชีวภาพ ปัจจัยทางกายภาพ วิเคราะห์ศักยภาพให้เกิดประโยชน์ โดยเน้นประโยชน์ที่บังเกิดขึ้นแล้วมหาชนได้รับประโยชน์ทั่วกันเป็นการสร้างธรรมะขึ้นในจิตใจของเยาวชน เกิดเป็น “ประโยชน์แท้แก่มหาชน” ซึ่งมีหลักการ คือต้องเป็นประโยชน์ที่กับคนส่วนใหญ่หรือในชุมชน เป็นประโยชน์ที่สืบทอดยาวนาน เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดความสะดวกทางกาย และก่อให้เกิดความเบิกบานทางจิตใจ

5. บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์เข้าสู่การเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ในแต่ละเนื้อหาสาระนั้น ๆ เพื่อร่วมกันศึกษาหาแนวทางในการนาศักยภาพไปใช้ประโยชน์