ประโยชน์ของการสื่อสาร ภาษาไทย

ประโยชน์ของการสื่อสาร ภาษาไทย

"ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร"

ความหมายของการสื่อสาร

ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร

การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก   การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน            

ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills)  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. ทักษะการฟัง (Listening Skills)
      การฟัง คือ การได้รับสารที่ส่งมาและทำความเข้าใจความหมายของสารที่รับมา ได้อย่างเข้าใจตรงกัน
ความสำคัญ
           - ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
           - ช่วยพัฒนาความรู้
           - ช่วยให้สบายใจ
           - ช่วยระบายความรู้สึก
           - ช่วยให้พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ทักษะการอ่าน (Reading Skills)
      การอ่าน คือ การรู้ สังเกตและทำความเข้าใจความหมายของทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
ความสำคัญ
           - ช่วยสร้างองค์ความรู้
           - ช่วยพัฒนาด้านอารมณ์
           - ช่วยส่งเสริมความคิด
           - ช่วยหาคำตอบ

3. ทักษะการพูด (Speaking Skills)
      การพูด คือ การส่งสารโดยใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาเพื่อให้ผู้ฟังได้รับสารแล้วเกิดความเข้าใจในสารนั้นๆ
ความสำคัญ
           - ช่วยให้ข้อมูล
           - ช่วยโน้มน้าว
           - ช่วยสร้างความบันเทิง
           - ช่วยสร้างสรรค์
           - ช่วยให้รู้สึกดี

4. ทักษะการเขียน (Writing Skills)
       การเขียน คือ การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารถึงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ต่างๆ จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน
ความสำคัญ
            - ช่วยถ่ายทอดและบันทึกข้อมูล
            - ช่วยพัฒนาสติปัญญาและอารมณ์
            - ช่วยสร้างความเข้าใจ
            - ช่วยอธิบาย
            - ช่วยเล่าเรื่อง

               การสื่อสารที่ดี ผู้ที่สื่อสารต้องให้ความสำคัญกับผู้ฟังให้มากกว่า ตัวเราเองเพราะจุดประสงค์ของการสื่อสารคือ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจและคล้อยตามแนวความคิด ดังนั้นหากเราสื่อสารได้ตรงกับความต้องการของผู้ฟังแล้วย่อมทำให้การสื่อสารสมบูรณ์ การให้ความสำคัญในการพัฒนาตัวเองให้เป็นนักสื่อสารที่ดีควรพัฒนาทักษะดังนี้
  - การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  - การพูดให้จูงใจผู้ฟัง
  - การรับฟังความต้องการของผู้ฟัง
  - การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
  - การมองผู้ฟังด้วยทัศนคติเชิงบวก        
           การพัฒนาด้านการสื่อสารกับผู้อื่นต้องคอยจับสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างเรากับผู้ฟังให้ได้ก่อน เพราะหากการเชื่อมต่อไม่สมบูรณ์การสื่อสารย่อมติดๆ ขัดๆ ตัวอย่างของการเชื่อมต่อ เช่น 
           ผู้ฟังให้ความสนใจ, ผู้ฟังเห็นด้วยและมีส่วนร่วม, ผู้ฟังเปิดเผยแนวความคิด 
ทักษะของการสื่อสารที่ดี ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายก็จะกลายเป็นธรรมชาติในตัวเอง

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
                 นักสื่อสารจะสร้างความสัมพันธ์ก่อนการสื่อสารโดยการเข้าใจความต้องการของผู้ฟัง พูดในเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ อยู่ในโลกของผู้ฟัง มีความรักให้กับผู้ฟัง อยากช่วยเหลือผู้ฟัง มากกว่าความต้องการของผู้สื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดี และความเข้าใจในเจตนาของผู้สื่อสาร ว่าต้องการสื่อสารเพื่อจุดประสงค์ใด ถ้าผู้สื่อสารเปิดใจก่อน ก็จะได้รับการเปิดใจจากผู้ฟังเช่นเดียวกัน

การพูดให้จูงใจผู้ฟัง

             นักสื่อสารที่ดีจะเริ่มต้นการพูดน่าสนใจ มีพลังในการสื่อสารกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้นที่จะรับฟัง โดยการทำให้ผู้ฟังมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน เห็นคุณค่าและประโยชน์จะเกิดขึ้นเมื่อนำไปปฏิบัติ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟังมากกว่าเรื่องของผู้สื่อสาร หากเป็นเรื่องของผู้สื่อสารก็เป็นเพียงประสบการณ์ที่อยากให้ผู้ฟังได้นำไปคิดและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟังอีกทีหนึ่ง

การรับฟังความต้องการของผู้ฟัง

         นักสื่อสารบางคนพยายามที่จะสื่อสารความต้องการของตัวเอง จนลืมทำหน้าที่รับฟัง ทำให้ผู้ฟังปิดรับการสื่อสารด้วยเช่นกัน เพราะผู้ฟังก็อยากให้ผู้สื่อสารเข้าใจความต้องการของเขาด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นนักสื่อสารที่ดีจะสนใจความต้องการของผู้ฟัง และสื่อสารข้อความหรือข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ การสื่อสารก็จะเกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้ข้อมูลไม่ตกหล่น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้ฟังต้องการจะรับฟังอยู่แล้ว

การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์

           การสื่อสารที่ดีถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งผู้ฟังอยากได้รับความสนใจ อยากได้รับการยอมรับ และชอบคำชมมากกว่าคำตำหนิ หากนักสื่อสารเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของผู้ฟัง และปฏิบัติตัว ดังที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ก็จะทำให้นักสื่อสาร สามารถต่อเชื่อมกับผู้ฟังได้ง่าย และตรงตามที่ผู้ฟังต้องการ จะทำให้ข้อความหรือข้อมูล และวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เหมาะสมกับผู้ฟังมากยิ่งขึ้น แต่หากนักสื่อสาร หลีกเลี่ยง หรือไม่สนใจธรรมชาติของมนุษย์ สนใจในสิ่งที่ต้องการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ย่อมทำให้ไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้ฟังเต็มประสิทธิภาพ

การมองผู้ฟังด้วยทัศนคติเชิงบวก

            การสื่อสารให้กับผู้อื่น ย่อมไม่ราบรื่นทุกครั้งไป เนื่องจากความคิดเห็นของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ภาษาที่ใช้อาจถูกตีความไปอีกแบบหนึ่งได้  ดังนั้นนักสื่อสารต้องมองผู้ฟังด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ตีความด้านลบ และไม่จินตนาการไปเองว่าผู้ฟังรู้สึกอย่างไร เพราะมิเช่นนั้นนักสื่อสารก็จะใช้น้ำเสียง สีหน้า กริยา และคำพูดที่เป็นเชิงลบได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการต่อต้านจากผู้ฟังด้วยเช่นกัน คนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นเพราะ 
     - ความเชื่อไม่เหมือนกัน 
     - ค่านิยมที่ยึดถือแตกต่างกัน 
     - ประสบการณ์ในอดีตไม่เหมือนกัน 
     - กฎ-มาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้วยกัน

           ดังนั้นหากต้องการให้การสื่อสารสมบูรณ์และเกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย นักสื่อสารควรระวังแนวความคิดที่แตกต่างกันตรงนี้ไว้ด้วย

           การพัฒนาการสื่อสารของตัวเองไม่ยาก เพราะเรามีโอกาสที่จะสื่อสารกับบุคคลทั่วๆไปอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากฝึกฝนและปรับปรุงให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆย่อมทำให้เรากลายเป็นนักสื่อสารที่ดีในอนาคตแน่นอน   “การสื่อสารที่ดี คือ ผู้ฟังได้ประโยชน์จากเรื่องที่เราสื่อสารไป”

           ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องใช้ทักษะการสื่อสารหลายทักษะ
ร่วมกัน เพื่อจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้  และนอกเหนือจากการสอนแล้ว  ครูต้องทำงาน
ด้านอื่นๆ ในสถานศึกษาด้วย  จะเห็นได้ว่าการทำงานของครู จะต้องอาศัย
ทักษะการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย "การฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน"

ประโยชน์ของการสื่อสาร ภาษาไทย

"ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูทุกคนต้องมี"

1. ทักษะการฟัง (Listening Skills) ครูจะใช้เพื่อ

            - เก็บและรวบรวมข้อมูล
            - แลกเปลี่ยนข้อมูล
            - รับฟีดแบค
            - ให้เข้าใจเรื่องราว
            - เรียนรู้เรื่องราว
            - สร้างสายสัมพันธ์
            - ได้ทราบมุมมองที่แตกต่าง
            - เพื่อให้การช่วยเหลือ
            - ขจัดข้อขัดแย้ง
            - สร้างความไว้วางใจ

2. ทักษะการอ่าน (Reading Skills) ครูจะใช้เพื่อ

          - แสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบ
           - ตรวจสอบงานของนักเรียน
           - ทำความเข้าใจเนื้อหา
           - เพิ่มเติมองค์ความรู้
           - รับรู้วิทยาการก้าวหน้า
           - กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
           - ให้เห็นหลากหลายมุมมอง
           - เกาะติดกระแส ทันสมัยต่อเหตุการณ์
           - ฝึกทักษะการคิด
   
3. ทักษะการพูด (Speaking Skills) ครูจะใช้เมื่อ


           - ให้/ถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนข้อมูล
           - อธิบายสร้างความกระจ่าง
           - สร้างบรรยากาศ
           - สร้างสายสัมพันธ์
           - ให้ฟีดแบค
           - ให้กำลังใจ
           - ถามกระตุ้น
           - นำเสนอมุมมองแตกต่าง
           - โน้มน้าว

4. ทักษะการเขียน (Writing Skills) ครูจะใช้เมื่อ

           - สร้างความเข้าใจและความน่าสนใจ
           - สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เช่น แนวคิดหลักการ องค์ความรู้ หนังสือ
           - ถ่ายทอดเรื่องราว
           - บันทึกเรื่องราว
           - เล่าเรื่อง อธิบาย
           - แสดงความคิดเห็น
           - แนะนำให้คำปรึกษา

ประโยชน์ของการสื่อสาร ภาษาไทย

ประโยชน์ของการสื่อสาร ภาษาไทย

"การสื่อสารในการเรียนการสอน"
1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน ประกอบด้วย..
    ครู, เนื้อหาบทเรียนหรือกิจกรรมต่างๆ, ช่องทางสื่อสาร, ผู้เรียน, สิ่งรบกวน
2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิด
    ความรู้ กล่าวคือ..  เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
    ตลอดจนการอบรมสั่งสอน อาจเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทาง
    ควรมีการเน้นหรือทบทวนคำสั่งหรือข้อตกลง เพื่อให้เกิดความจำ
    และความเข้าใจที่ถูกต้อง การสื่อสารควรมีลักษณะสร้างแรงบันดาลใจ
    เป็นกันเอง แสดงถึงความเอื้ออาทร และมีเจตคติที่ดีต่อกัน
3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
    ครูที่มีการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความหมาย มีชีวิต
    ชีวา มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและบทเรียน  เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ ครูผู้สอนควร
    ใช้สื่อการสอนสองทางให้มากที่สุด เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหา
    สาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลอย่างไร ครูและผู้เรียนสามารถปรับกระบวนการ
    สื่อสารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

ประโยชน์ของการสื่อสาร ภาษาไทย

ที่มา : http://thaiforcommunication.weebly.com/