ตัวอย่าง การเขียนโครงการพัฒนา หมู่บ้าน

ตัวอย่าง การเขียนโครงการพัฒนา หมู่บ้าน

ตัวอย่างประเภทโครงการที่ควรดำเนินการ

ตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ

********************

1. ร้านค้าชุมชน (อุปโภค – บริโภค/ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร/ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ฯลฯ)

2. ตลาดชุมชน

3. โรงน้ำดื่มชุมชน

4. บริการประปาหมู่บ้าน/ชุมชน

5. ปั๊มน้ำมันชุมชน

6. เกษตรฟาร์มรวม (ปศุสัตว์/ประมง/เกษตรแปลงรวม/พืชเศรษฐกิจ/ฯลฯ)

7. โรงสีข้าวชุมชน

8. ธนาคารข้าว/ ยุ้งฉางชุมชน

9. โรงเรือน/ ลานตากผลผลิตทางการเกษตร

10. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

11. บริการเครื่องจักรกล/ วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร

12. การรับซื้อ – จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร

13. การผลิตปุ๋ยชุมชน/ ดินสำหรับปลูกพืช

14. ศูนย์บริการเมล็ดพันธุ์

15. การผลิตอาหารสัตว์

16. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า/ หนัง

17. การผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน (งานประดิษฐ์/ งานจักสาน/ งานเครื่องปั้นดินเผา/ งานไม้)

18. การผลิตวัสดุก่อสร้าง (อิฐมอญ/ อิฐบล็อก/ เสาปูน ฯลฯ)

19. ศูนย์นวดแผนไทย (นวด/อบ/ประคบสมุนไพร)

20. การผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

21. บริการที่พัก(รีสอร์ท/โฮมสเตย์)

22. บริการพาหนะเพื่อการท่องเที่ยว (รถจักรยาน/รถจักรยานยนต์/รถราง/แพ/เรือยนต์/เรือพาย ฯลฯ)

23. บริการพาหนะเพื่อการขนส่ง

24. บริการเคาเตอร์เซอร์วิส

25. บริการจัดงานชุมชน(การจัดงานพิธี/การจัดงานประเพณี/การจัดงานต่างๆ)

ตัวอย่าง การเขียนโครงการพัฒนา หมู่บ้าน

ตัวอย่างประเภทโครงการที่ไม่ควรดำเนินการ

ตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ

********************

1. โครงการปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ

2. โครงการตู้น้ำหยอดเหรียญ

3. โครงการประหยัดพลังงานโดยแผงโซล่าเชลล์

4. โครงการจัดซื้อรถไถรถยนต์

5. โครงการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต

6. โครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด

7. โครงการขยายเขตไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

8. โครงการขยายเขตประปาของการประปาส่วนภูมิภาค

9. โครงการก่อสร้าง/ต่อเติม/ซ่อมแซม ที่ไม่เกิดรายได้

10. โครงการขุดลอกคูคลอง/ขุดเจาะบ่อบาดาล

11. โครงการก่อสร้างซ่อมแซม/ปรับปรุงถนน

12. โครงการวางท่อระบายน ้า

13. โครงการลานกีฬาชุมชน

ถ้าทราบแล้ว อย่าลืมกดแชร์จากปุ่มด้านล่างให้เพื่อนทราบด้วยนะครับ จะได้ไม่ตกข่าว

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
หน่วยงานหลัก สาขาระบบสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
หน่วยงานร่วม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อชุมชน บ้านสมบูรณ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวอุมาพร ไชยสูง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ ๑๔๕ หมู่ ๑ ถนนสุรินทร์ - ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๐๐๐
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 085-0192011
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท
ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาคุณภาพชีวิต
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารและการแปรรูป - ฮาลาล การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและ การจัดการภัยพิบัติ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทะเลสาบสงขลา ประมงและการเพาะเลี้ยง สังคมพหุวัฒนธรรม การศึกษา ภาษา สุขภาพและการแพทย์ Digital Smart city Smart Education Smart Health Smart Farmand Creative Economy การจัดการพลังงาน พลังงานชีวภาพ พลังงานน้ำ ลม แดด สังคมสูงวัย (Aging Society) ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง (Social Quality) ภายใต้แผนปฏิรูปด้านสังคม
หลักการและเหตุผล
แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นความยั่งยืนด้านการพัฒนาในระดับชุมชนและท้องถิ่น โดยยึดเป้าหมายสำคัญ คือ การหนุนเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพหรือขีดความสามารถ ในการจัดการปัญหาความเดือดร้อนด้วยตนเองเป็นหลัก ซึ่งส่งผลในระดับชุมชนท้องถิ่นต่างตระหนัก และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการแก้ปัญหาร่วมกันของชาวบ้าน มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 1) ภูมิปัญญาและความรู้ที่สืบสานและประยุกต์ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก 2) องค์กรชุมชนและกลุ่มผู้นำที่มีคุณธรรมและภูมิปัญญารวมถึงการจัดตั้งกลุ่มและจัดระเบียบชุมชน และ 3) เวทีการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการบุกรุกจากภายนอก
จากการลงพื้นที่ทำงานของทีมนักวิจัยอย่างต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ “พัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ในปีที่ 1 และ 2 ภายใต้โครงการหมู่บ้านราชมงคลอีสาน พบว่า สภาพปัญหาของชาวบ้านสมบูรณ์ หมู่ 3 ต.กุดหวาย อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ มีสาเหตุมาจากชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างประสบปัญหา ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้คุณภาพ ราคาตกต่ำ การใช้สารเคมี การบุกรุกที่สาธารณะ มีรายได้น้อย ขาดอาชีพเสริม รวมไปถึงขาดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การท่องเที่ยวโดยชุมชน การทำเกษตรแบบอินทรีย์ ปศุสัตว์ การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้จาการเกษตรและปศุสัตว์ และการบริหารจัดการ โดยเรื่องราวที่เกิดขึ้นส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน จึงเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางและรูปแบบการแก้ไขปัญหาของตนและชุมชน โดยมีจุดเริ่มต้นจากผู้นำชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ด้วยพันธกิจสำคัญในการบริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น ให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและวิธีการที่นำไปสู่การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนมีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ นั้นคือ การสำรวจสภาพปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การทำจัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ด้วยการศึกษาบริบทชุมชนใน 4 ด้าน ประกอบด้วย กายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จัดทำแผนที่มือ แผนที่ชุมชน เชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีระบบโดยใช้เวทีประชาคมเป็นเครื่องมือในทวนสอบและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้วิเคราะห์ตนเอง โดยมีทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ชวนคิด ชวนคุยด้วยกระบวนการเหนี่ยวนำ ให้องค์ความรู้ตามความต้องการของชุมชน ประเมินและติดตามผลแบบเสริมพลัง การพูดคุยกับแกนนำ ซึ่งการจัดเวทีประชาคมชาวบ้านต่างได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งการพูดคุยด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานความเป็นจริง การศึกษางานนอกพื้นที่ รวมถึงมีวิทยากรมาอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องจนกระทั้งนำสู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนเพื่อนำชุมชนสู่การพึ่งพาตนเองและกันเองอย่างเข้มแข็ง

การค้นหาต้นทุนทางสังคมของชุมชน เพื่อนำมาสร้างกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากปัญหาเป็นแนวทางที่ชุมชนเลือกบริหารจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วมตามแผนพัฒนาชุมชน ที่ได้จัดทำขึ้นในปีที่ 1 และปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดทำแผนพัฒนาประจำปี
กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน
กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาเกษตรอินทรีย์
กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาอาชีพ
กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการใช้แรงงานจากควายเพื่อการพึ่งพาตนเอง
กิจกรรมที่ 6 การติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานและสรุปโครงการ
ความมุ่งมั่น ตั้งใจและความพร้อมเพียงที่จะร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อพลิกฟื้นให้ชุมชนบ้านสมบูรณ์สามารถยืนหยัดดำรงอยู่ได้และเป็นหมู่บ้านที่ศักยภาพ หนุนเสริมให้ชุมชนสามารถจัดการตนเอง นำสู่การพึ่งตนเองและกันเองได้ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาหมู่บ้านสมบูรณ์สู่การพึ่งพาตนเองและกันเองอย่างเข้มแข็ง
2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ภายใต้ศักยภาพ ความพร้อมและตามความต้องการชุมชน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
นำเข้าสู่ระบบโดย
ตัวอย่าง การเขียนโครงการพัฒนา หมู่บ้าน
nantawan_6726 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 19:14 น.