ข้อดี ของ การเรียน กายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัด

ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการตรวจประเมิน วินิจฉัยการบำบัดหรือรักษาความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรค หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกตินอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการแก้ไข และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการของร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดหรือการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดด้วยหลักการความรู้วิชาการทางกายภาพบำบัดอย่างมีมาตรฐานและหลักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ 

ลักษณะของงานที่ทำ 

แต่เดิมนั้น การบำบัดรักษาคือ การบีบนวดด้วยมือ การอาศัยความร้อนและการใช้เครื่องมืออื่นๆ ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นโดยตั้งโรงเรียนกายภาพบำบัด เพื่อศึกษาวิธีการและส่งเสริมงานทางด้านกายภาพบำบัดให้มีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องมือทางกายภาพบำบัด โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ผลการบำบัดรักษาเป็นที่น่าพอใจ และประชาชนทั่วไปได้รู้จักคำว่ากายภาพบำบัดมากขึ้น และยอมรับว่านักกายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญต่อการแพทย์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยปราศจากภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปประกอบอาชีพการงานได้รวดเร็ว นักกายภาพบำบัดจะให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ 

- ด้านพัฒนาการ (Development) 

- ด้านอายุรกรรม (Medicine) 

- ด้านศัลยกรรม (Surgery) 

- ด้านระบบประสาท (Neurology) 

- ด้านกระดูกและข้อ (Orthopedics) 

- ด้านจิตเวช (Psychiatry) 

- ด้านผู้สูงอายุ (Geriatric) หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐาน 

นักกายภาพบำบัด มีหน้าที่บำบัดรักษาผู้อื่นตามคำสั่งแพทย์โดยการใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ การบริหารร่างกายเฉพาะท่า เช่นการดึง การนวด และเทคนิคอื่นๆ ทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยทาง ออร์โธปิดิคส์ คือผู้ป่วยทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อซึ่งอาจเกิดจากโรคบางชนิดหรืออุบัติเหตุ มุ่งเน้นให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความพิการ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีความเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม พัฒนาการการรับรู้ และความรู้ความเข้าใจด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งได้แก่ การใช้กิจกรรมที่ได้วิเคราะห์โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องพยุงส่วนของร่างกาย หรือ อุปกรณ์ช่วยต่างๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษในการบำบัดรักษาเฉพาะทาง เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ 

นักกายภาพบำบัดจะรักษาอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด อัมพาต โรคหัวใจ หรือโรคประสาทด้วยวิธีกายภาพบำบัด หรือวิธีอื่นๆ ที่มิใช่การรักษาด้วยยา และโดยปกติเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งของแพทย์ ชี้แจงผู้ป่วยให้ออกกำลังกาย เพื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อไม่ปกติ และหย่อนประสิทธิภาพใช้มือนวดตามร่างกายของผู้ป่วยให้การรักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม แสงอัลตราไวโอเลต หรืออินฟราเรดและมุ่งเน้นช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่องให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ และจะต้องให้การช่วยเหลือด้านพัฒนาการร่างกาย ด้านจิตเวช 

โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบ ดังนี้ 

1. ช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่อง รวมทั้งให้การบำบัดรักษาในเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ 

2. ช่วยกระตุ้น ฟื้นฟู และส่งเสริมความสามารถในผู้ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ และการเรียนรู้ 

3. สอน และฝึกหัดกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนย้ายตัว สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร เป็นต้น 

4. ให้การรักษาพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางกาย เช่น เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทานในการทำงาน เป็นต้น 

5. ดัดแปลงอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริม และเทียมให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย รวมทั้งฝึกหัดการใช้และการดูแลรักษา 

6. ดัดแปลงสภาพบ้าน และขจัดสิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรม 

7. ให้การรักษาพิเศษแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ สังคม อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรค ช่วยลด หรือขจัดแรงขับทางอารมณ์ แก้ไข และปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวล 

8. ประเมินสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ความสนใจงานนิสัยในการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงทักษะ และศักยภาพในการประกอบอาชีพ 

9. แนะนำโครงการการใช้ชีวิต และการปรับตัวภายหลังการเกษียณให้ผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาทางร่างกายหรือพิการ

สภาพการจ้างงาน

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้สามารถทำงานได้ทั้งหน่วยงานและภาครัฐ และได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ และยังสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือหารายได้พิเศษโดยการรับทำกายภาพบำบัดกับผู้ป่วยที่ต้องการให้ทำกายภาพบำบัดที่บ้าน 

ผู้ปฏิบัติงานนักกายภาพบำบัด-Physiotherapist มีกำหนดเวลาทำงานตามปกติทั่วไป คือ วันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 - 48 ชั่วโมง และอาจได้ค่าล่วงเวลาเมื่อต้องทำงานล่วงเวลา

สภาพการทำงาน

สถานที่ทำงานของนักกายภาพบำบัดจะเป็นโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลทั่วไปซึ่งจะมีห้องสำหรับทำกายภาพบำบัด โดยมีอุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้ช่วยในการบำบัดรักษา หรือในกรณีที่ต้องทำกายภาพบำบัดนอกสถานที่ซึ่งอาจจะเป็นบ้านของคนไข้ นักกายภาพบำบัดควรที่จะต้องดูแลแนะนำการจัดสถานที่ให้เหมาะสมสำหรับการทำกายภาพบำบัดคนไข้ให้ได้ผลสูงสุดในการฟื้นฟูสภาพคนไข้ให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ 

-สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (กายภาพบำบัด) 

-มีความชำนาญในทักษะวิชาชีพมีจริยธรรมอันดีงาม และมีความตั้งใจที่จะให้บริการหรือให้การดูแลรักษาผู้ป่วยผู้พิการทุกเพศทุกวัย 

-มีความอดทน และใจเย็นที่จะให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำคนไข้ที่ต้องการให้หายจากสภาพร่างกายที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูให้สู่สภาพปกติ 

การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า สมัครสอบเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์บัณฑิต(กายภาพบำบัด) หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิปริญญาตรีในกรณีที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของเอกชนจะต้องสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ สาขากายภาพบำบัดก่อนจึงจะปฏิบัติงานได้

โอกาสในการมีงานทำ

นักกายภาพบำบัดจะสามารถทำงานตามหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนดังต่อไปนี้ 

- โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเฉพาะทาง 

- ศูนย์ฟื้นฟูสภาพผู้พิการ 

- สถาบันให้การดูแลหรือบำบัดรักษาผู้สูงอายุ 

- ทัณฑสถาน 

- ศูนย์รักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 

- สถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยทางจิตสังคม 

- ศูนย์บริการทางสาธารณสุข 

- โรงเรียนรัฐบาล 

- โรงเรียนหรือคลินิกสำหรับเด็กพิเศษ 

- ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก 

การเจ็บป่วย การเกิดความวิตกกังวล เกิดความกลัวในเรื่องปากท้อง การอยู่รอดในปัจจุบัน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อร่างกาย และจิตใจจากปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ทำให้ความต้องการนักกายภาพบำบัดในการให้ความช่วยเหลือมีปัญหานั้นสูงตามไปด้วย เนื่องจากเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ร่างกาย และชีวิตมนุษย์ การทำงานจึงต้องอาศัยวิธีการที่ถูกต้องนักกายภาพบำบัดต้องเรียนรู้ประสบการณ์ ต้องดูว่าจะเริ่มทำการบำบัดตรงจุดใดเช่น ผู้ป่วยเป็นอัมพาตซึ่งต้องบริหารร่างกายเฉพาะท่า เป็นต้น นักกายภาพบำบัดที่มีความสามารถจะมีโอกาสได้งานทำสูง

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

นักกายภาพบำบัดที่ได้รับการอบรมในวิชาที่เกี่ยวกับงานและมีประสบการณ์ในทำงานมีโอกาสก้าวหน้าในการทำงานตามระบบราชการ และระเบียบที่องค์กรธุรกิจ เอกชนกำหนด นอกจากนี้สามารถประกอบอาชีพอิสระได้โดยอาจจะเปิดสถานที่สำหรับกายภาพบำบัด หรือรับทำงานกายภาพบำบัดให้คนไข้ที่บ้าน สำหรับนักกายภาพบำบัดที่มีความสามารถในการบริหารงาน ก็อาจจะเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารทางด้านกายภาพบำบัดในสถาบันนั้นๆ ได้

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

2.มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

4.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

5.มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

6.มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

7.มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

8.มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกายภาพบำบัด สาขาวิชากายภาพบำบัด

9.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชากายภาพบำบัด

10.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

11.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

12.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด

13.มหาวิทยาลัยคริสเตียน คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด 

14.มหาวิทยาลัยรังสิต คณะกายภาพบำบัด 

15.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะกายภาพบำบัด

ที่มา: กองส่งเสริมการมีงานทำ