กิจกรรม 6.5 ตอนที่ 1 การ กํา หน ด ประเด็นในการทดสอบและประเมินผล

1. ประเด็นคำถาม (Q&A) ของหัวข้อการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร (Corporate Governance & Leadership : CG&Leadership)

Q1 ตามเกณฑ์ Enable ใหม่ ในการจัดทำแผนดำเนินงานด้าน CSR รัฐวิสาหกิจต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ครบถ้วนตามเกณฑ์การประเมิน

 ตอบ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับนั้น ได้แก่มาตรฐาน ISO 26000 ซึ่งเป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ Corporate Social Responsibility in Process ; CSR in Process) แผนแม่บทระยะยาวด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (CSR in Process) ควรมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

  1. ทิศทางระยะยาว
  2. วัตถุประสงค์ นโยบาย/เป้าประสงค์
  3. ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
  4. ยุทธศาสตร์
  5. เป้าหมายหลัก
  6. รายละเอียดการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ครบถ้วน ทั้ง 4 ด้าน
  7. ความเชื่อมโยงและสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายระยะยาวกับวัตถุประสงค์จัดตั้งและพันธกิจ

โดยแผนปฏิบัติงานประจำปีด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (CSR in Process) ควรมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

  1. วัตถุประสงค์
  2. เป้าหมาย
  3. ขั้นตอน
  4. ระยะเวลา
  5. งบประมาณ ค่าใช้จ่าย

Q2 การเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปีเกี่ยวกับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบีบนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำเป็นต้องจัดทำหรือไม่

ตอบ มีความจำเป็น โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นสะท้อนการกระจายตัวของการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ตามตัวอย่างด้านล่าง

2.1 รายละเอียดของโครงสร้างผู้ถือหุ้น

กิจกรรม 6.5 ตอนที่ 1 การ กํา หน ด ประเด็นในการทดสอบและประเมินผล

ที่มา รายงานประจำปี ธกส.

2.2 รายละเอียดของโครงสร้างเงินทุน

กิจกรรม 6.5 ตอนที่ 1 การ กํา หน ด ประเด็นในการทดสอบและประเมินผล

ที่มา รายงานประจำปี กฟภ.

Q3 ข้อมูลการถือครองหลักทรัพย์ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้ระบุในรายงานประจำปีอย่างไร

ตอบ

  1. เปิดเผยข้อมูลหลักทรัพย์ (หุ้น) ที่สำคัญครบถ้วนร้อยละ 100 ของกรรมการ ทั้งคณะโดยข้อมูลเชื่อถือได้ถูกต้อง ทันกาล และมีสาระสำคัญ*ครบถ้วนสมบูรณ์
  2. สาระสำคัญของข้อมูลหลักทรัพย์ (หุ้น) ที่กรรมการถือครองที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ หมายถึง ข้อมูลการถือหลักทรัพย์ (หุ้น) ของกรรมการเฉพาะบริษัทที่อยู่ในธุรกิจ/อุตสาหกรรมหลักหรือธุรกิจหลัก ที่รัฐวิสาหกิจดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และกรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) ดังกล่าวในสัดส่วนที่มากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท

รายละเอียดตามตัวอย่างด้านล่าง

  1. รายละเอียดของข้อมูลการถือครองหลักทรัพย์ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ 

กิจกรรม 6.5 ตอนที่ 1 การ กํา หน ด ประเด็นในการทดสอบและประเมินผล

ที่มา รายงานประจำปี กฟภ.

Q4 รัฐวิสาหกิจควรเผยแพร่รายงานประจำปีเมื่อใด

ตอบ ค่าเกณฑ์วัดระดับ 4 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจมีการจัดทำและเปิดเผยรายงานประจำปีให้แล้วเสร็จและเผยแพร่รายงานประจำปีภายใน 1 เดือน หลังจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับรองงบการเงิน (สตง.) หรือภายใน 1 เดือน นับจาก 6 เดือนหลังจากสิ้นปีบัญชีแล้ว สตง. ยังไม่ได้รับรองงบการเงิน

Q5 การรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐต้องครอบคลุมประเด็นอะไรเพื่อให้มีความครบถ้วน

ตอบ รัฐวิสาหกิจกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทาง การกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐ ย่างเป็นระบบ โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การรายงานผลการดำเนินงานด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน
2. การรายงานการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีตามมาตรฐานสากล
3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการ

ทั้งนี้ นโยบายต้องประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นต่ำ ได้แก่ โครงสร้างผู้รับผิดชอบ ระบบการบริหารจัดการ ระบบการส่งเสริมการดำเนินงาน และระบบติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการ และ/หรือคณะอนุกรรมการ

Q6 อธิบายความหมายของ ค่าเกณฑ์วัดระดับ 4 คุณภาพการรายงานผล และ/หรือ ประสิทธิผลของกระบวนการรายงานผลการปฏิบัติงานฯ

ตอบ หลักการคือรัฐวิสาหกิจ ต้องพิจารณาว่า กระบวนการที่กำหนดได้ผลสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของกระบวนการนั้นหรือไม่ เช่น รส. ต้องรายงานผลการปฏิบัติงานฯ นั้น รัฐวิสาหกิจสามารถรายงานถูกต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์อะไรเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ (ค่าเกณฑ์วัดระดับ 5)

Q7 คู่มือจรรยาบรรณต้องแยกจากคู่มือกำกับดูแลหรือไม่

 ตอบ ไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน ผู้ประเมินจะพิจารณาจากเนื้อหา (Content) ว่ามีครบถ้วนหรือไม่ โดยคู่มือจรรยาบรรณควรแยกตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน 

Q8 นโยบายและคู่มือการปฏิบัติงานต้องอยู่ในคู่มือกำกับดูแลที่ดีทุกเรื่องหรือไม่

ตอบ นโยบายและคู่มือการปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในคู่มือกำกับดูแลที่ดีทุกเรื่อง อาจอยู่ในเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ แต่นโยบายต้องประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นต่ำ ได้แก่ โครงสร้างผู้รับผิดชอบระบบการบริหารจัดการ ระบบการส่งเสริมการดำเนินงาน และระบบติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานกับผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการ และ/หรือคณะอนุกรรมการ

Q9 เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีการประเมินตนเองแล้ว รัฐวิสาหกิจต้องนำผลประเมินดังกล่าวเพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ดังนั้น ต้องนำแผนดังกล่าวให้คณะกรรมการเห็นชอบหรือไม่

ตอบ ตามเกณฑ์การให้คะแนนไม่ได้กำหนดว่าคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต้องให้ความเห็นชอบแผนดังกล่าวแต่เนื่องจากแผนดังกล่าวเป็นแผนที่คณะกรรมการจะต้องปฏิบัติ ดังนั้น จึงควรนำเสนอคณะกรรมการเพื่อทราบรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของแผนงานดังกล่าว

Q10 การส่งวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนการประชุม 7 วัน โดยไม่มีครั้งใดนำส่งภายใน 3 วัน หมายความว่าอย่างไร

ตอบ สำหรับค่าระดับ 2 ในการนำส่งวาระการประชุมล่วงหน้าสำหรับการประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจจะต้องนำส่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งวิธีการคิดคะแนน จะคิดโดยใช้ค่าเฉลี่ยของการนำส่งวาระ ทั้งปีด้วยวิธี Pro Rate แต่หากมีครั้งใดที่นำส่งวาระล่วงหน้าน้อยกว่า 3 วัน จะถือว่าไม่ผ่านค่าเกณฑ์วัดระดับ 2

Q11 ในกรณีแผนการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน (RMC) ให้ความเห็นชอบแผนแล้ว จะต้องนำเสนอคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อขอความเห็นชอบอีกครั้งหรือไม่

ตอบ ต้องนำเสนอคณะกรรมการ แต่สามารถนำเสนอเป็นวาระเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือวาระเพื่อทราบได้ขึ้นอยู่กับบริบท อำนาจหน้าที่ และกฎบัตรของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นๆ กำหนดไว้

Q 12 ขอสอบถามในประเด็น ดังนี้

1 หมวด 1 การสนองบทบาทของภาครัฐ - ข้อ 1.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทาง การกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐ / ต้องรายงานถึงกระทรวงผู้กำกับดูแลหรือสามารถรายงานต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

2 หมวด 3 สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น - ข้อ 3.1 นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการบริหารสิทธิของผู้ถือหุ้นตามกฎหมาย/นโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าวควรมีลักษณะอย่างไร อาทิ หากองค์กรมีนโยบายหรือแนวปฏิบัติภายในที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในอยู่แล้ว สามารถนำมา Apply เข้ากับส่วนนี้ได้หรือไม่

3 หมวด 8 จรรยาบรรณ - ข้อ 8.1 การจัดให้มีและเสริมสร้างพฤติกรรมตามคู่มือจริยธรรมฯ/การติดตามผลว่า คู่มือจริยธรรมฯ สามารถเสริมสร้างหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของรัฐวิสาหกิจ มีแนวทางดำเนินงานอย่างไร

ตอบ 1. รายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐต้องนำเสนอ ถึงกรรมการผู้จัดการ/ผู้ว่าการ/ผู้อำนวยการหรือคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ในอนาคต รัฐวิสาหกิจต้องนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสหากิจ หรือ สคร. เพื่อให้มีลักษณะเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียน  และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ต้องรายงานผลการปฏิบัติงานฯ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ถ้าองค์กรมีนโยบายหรือแนวปฏิบัติภายในที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในอยู่แล้ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

3. สามารถทำเป็นแบบสำรวจพฤติกรรมเพื่อสอบถาม การรับรู้ การตระหนัก และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมที่ระบุอยู่ในคู่มือ

Q 13  การบริหารจัดการทางการเงินในประเด็นการแยกบัญชีทางการเงินเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมมีความแตกต่างกันอย่างไร (กิจกรรมเชิงสังคม ได้แก่ Social Enterprise project :SE project และกิจกรรม CSR หรือกิจกรรมบริจาคหรือไม่)

ตอบ หากบริบทของรัฐวิสาหกิจมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมหรือได้รับนโยบายในการให้ความช่วยเหลือสังคม ต้องกำหนดแนวทางในการแยกบัญชีระหว่างเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมให้ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงของรัฐวิสาหกิจ โดยต้องเป็นกิจกรรมที่เน้นการช่วยเหลือสังคมและกลุ่มเป้าหมายตามนโยบายภาครัฐ  โดยไม่รวมกิจกรรม CSR กับกิจกรรมบริจาค เพื่อให้ทราบต้นทุนที่แท้จริงในส่วนของการดำเนินการตามนโยบาย

Q14 ผลการดำเนินงานของคณะทำงานและคณะอนุกรรมการด้านกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน (Governance Risk and Compliance : GRC) ต้องนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ(Audit Committee: AC) พิจารณา ก่อนคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจหรือไม่

ตอบ หากการพิจารณาด้านกระบวนการปฏิบัติงาน เกณฑ์การประเมินผลไม่ได้กำหนดว่า ต้องนำเสนอผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน (Governance Risk and Compliance : GRC) ต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายใน (Audit Committee) พิจารณา
ก่อนคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ แต่การพิจารณาด้านการสอบทานกระบวนการด้าน GRC ตามแผนตรวจสอบภายในประจำปีแล้ว ผลการสอบทานต้องนำเสนอคณะกรรมการตรวจาสอบพิจารณา

Q15 ตัวชี้วัดที่ 1.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐของเกณฑ์การประเมินด้านกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร ที่กำหนดให้นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการรายงานผล กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐอย่างเป็นระบบ โดยครอบคลุมประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1. การรายงานผลการดำเนินงาน
ด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน 2. การรายงานการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีตามมาตรฐานสากล
และ 3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการ จึงขอสอบถามว่ารายละเอียดของรายงานผลต้องมีรูปแบบอย่างไร นอกจากนี้ การกำหนดนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติตามตัวชี้วัดดังกล่าวต้องมีการแยกเป็น 3 ด้านหรือสามารถรวมทั้ง 3 ด้านได้หรือไม่

ตอบ การรายงานการปฏิบัติงานการกำกับดูแลที่ดี รัฐวิสาหกิจต้องสามารถอ้างอิงการรายงานผลการดำเนินงาน ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับคู่มือหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ.2562 และแนวทางปฏิบัติได้ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากคู่มือหลักการและแนวทางการกำกับดูแลฯ มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลสำหรับการรายงานปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ซึ่งรายละเอียดของการรายงานผลการดำเนินงานจะเป็นประเด็น
ที่องค์กรสามารถปฏิบัติและไม่การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับกิจการ
ตามที่กำหนดไว้ เช่น การรายงานผลการดำเนินงานด้าน Compliance เป็นต้น ทั้งนี้ การกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติเป็นภาพรวมทั้ง 3 ด้าน

Q16 การกำหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนและการชดเชยในกรณีคู่แข่งและเจ้าหน้าที่ถูกละเมิดสิทธิทางกฏหมาย สามารถใช้เเนวทางการบริหารจัดการข้อร้องเรียนและแนวทางการเยียวยาด้านสิทธิมนุษยชนได้หรือไม่

ตอบ ในกรณีดังกล่าว สามารถดำเนินการโดยเเนวทางการบริหารจัดการข้อร้องเรียนและแนวทางการเยียวยาด้านสิทธิมนุษยชน

Q17 ตัวชี้วัดที่ 8.1 การจัดให้มีและเสริมสร้างพฤติกรรมตามคู่มือจริยธรรมจรรยาบรรณในรัฐวิสาหกิจ โดยค่าเกณฑ์วัดระดับที่ 1 ได้กำหนดให้ “คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำกับให้รัฐวิสาหกิจจัดทำคู่มือจริยธรรม จรรยาบรรณที่ครบถ้วนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลทั้งระดับคณะกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน จึงขอสอบถามว่า รัฐวิสาหกิจมีการจัดทำคู่มือกรรมการแล้ว โดยมีรายละเอียดของแนวปฏิบัติที่ดีของกรรมการ และจรรยาบรรณกรรมการ ดังนั้น รัฐวิสาหกิจดำเนินการตามค่าเกณฑ์วัดระดับที่ 1 ใช่หรือไม่

ตอบ หากรายละเอียดของคู่มือกรรมการรัฐวิสหากิจได้ระบุแนวปฏิบัติที่ดีของกรรมการ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลที่ดี จึงจะเป็นการดำเนินการตามค่าเกณฑ์ชี้วัดระดับที่ 1

Q18 นโยบายเมื่อได้มีการนำเสนอให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจลงนามเห็นชอบแล้ว ให้ผู้บริหารสูงสุด
ของรัฐวิสาหกิจลงนามได้หรือไม่

ตอบ สามารถให้ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจลงนามได้

Q19 ในกรณีที่เกิดวิกฤต เช่น กรณีโควิด จะมีผลต่อการให้คะแนน ในข้อ 1 หรือไม่

ตอบ ไม่มีผลกระทบ เนื่องจากผลคะแนนในหัวข้อ CG จะกล่าวถึงในกรณีที่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง
คณะกรรมการที่ขาดความรู้ความสามารถจนส่งผลให้รัฐวิสาหกิจไม่สามารถดำเนินการได้บรรลุตาม
เป้าหมาย หรือคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
กำหนดนโยบายให้รัฐวิสาหกิจปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลกระทบ
ทางลบต่อรัฐวิสาหกิจ แต่โควิดไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผลดังกล่าว

Q20 การพิจารณาผลสิ้นปีของรัฐวิสาหกิจนั้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจเพิ่งแต่งตั้งคณะกรรมการรรัฐวิสาหกิจ
ช่วงเดือนเมษายน ส่งผลให้มีการว่างเว้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะมีการพิจารณาอย่างไร

ตอบ ประเมินเต็มรูปแบบ ไม่ได้ลดหย่อนให้ในกรณีที่ไม่ได้มีคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดำรงตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม 
ต้องนำเสนอประเด็นตรงนี้ให้คณะกรรมการประเมินผล และควรให้เหตุผลประกอบ
ถึงสาเหตุที่ว่างเว้น พร้อมทั้งชี้แจงเพิ่มเติมในช่วงที่มีคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแล้วได้ดำเนินการอะไร
ไปแล้วบ้าง ควรเขียนให้ชัดเจน

Q21 การใช้ข้อมูลภายในมีนโยบายอยู่หลากหลายที่ แนวทางในการตอบสามารถดึงนโยบายดังกล่าว
มาตอบได้เลยใช่หรือไม่

ตอบ นโยบายการใช้ข้อมูลภายในอาจอยู่ในเอกสารใดๆ ขององค์กรได้ แต่จะสามารถนำมาแสดง
ในระบบได้

Q22 ในการรายงานการเงิน หรือไม่ใช่การเงิน ควรชี้แจงอะไรบ้าง ผู้ประเมินจะดูอะไร

ตอบ การติดตามผลการดำเนินงานด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (ข้อ 10.1) และคุณภาพของรายงาน
ผลการดำเนินงานด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (ข้อ 10.2) จะพิจารณาเรื่องของคุณภาพ โดยต้องมี
การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับเป้าหมาย ว่ามีผลการดำเนินงานอย่างไรบ้าง และระบุถึงสาเหตุ
ไม่ว่าจะเป็นผลการดำเนินการที่ดีกว่าเป้าหมาย หรือไม่ดีกว่าเป้าหมาย
ที่วางไว้อย่างไร พบปัญหาอุปสรรค
อย่างไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ รายละเอียดพวกนี้ควรชี้แจงอยู่ในรายงานการประชุมคณะกรรมการ
และควรส่งรายงานการประชุมของคณะกรรมการทั้งปี เนื่องจากต้องการที่จะเห็นวาระการประชุม
กระบวนการทำงานทั้งหมด เพื่อความครบถ้วน และความสะดวก ในการพิจารณาและให้คะแนน

Q23 รายงานการพัฒนาความยั่งยืนที่ต้องได้รับการยอมรับ (ข้อ 9.3) ต้องให้ third party
ประเมินตามเกณฑ์ GRI หรือไม่

ตอบ ตามเกณฑ์ไม่ได้บังคับว่าเป็น third party ที่ประเมิน โดยอาจจะให้ third party
ประเมินหรือรัฐวิสาหกิจประเมินตนเอง

Q24 สคร. มีกำหนดการ Site Visit เมื่อไหร่ 

ตอบ การ Site Visit จะมีในช่วง 2-3 เดือนหลังสิ้นปีบัญชีของรัฐวิสาหกิจ

Q25 จำเป็นจะต้องทบทวนการทบทวนกฎบัตรภายในไตรมาสแรกของปีหรือไม่

ตอบ  ตามเกณฑ์การประเมินผลในหัวข้อการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กรนั้น ไม่ได้มีการวัดผล
ในส่วนของการทบทวนกฎบัตร แต่จะมีการวัดผลเฉพาะการทบทวนนโยบายและคู่มือฯ อย่างไรก็ตาม
ตามแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลที่ดีควรมีการทบทวนกฎบัตรเป็นประจำทุกปี

Q26 ในหัวข้อที่ 9.1 นวัตกรรมและความยั่งยืน หากรัฐวิสาหกิจกำหนดผู้รับผิดชอบ
การจัดทำรายงานการพัฒนาความยั่งยืนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และในกรณีที่หน่วยงานยังไม่มี
โครงสร้างเป็นทางการแต่ให้หน่วยงานอื่นรับผิดชอบระหว่างการจัดทำโครงสร้างผู้รับผิดชอบ
จะถือว่ามีการกำหนดผู้รับผิดชอบหรือไม่

ตอบ  สามารถดำเนินการได้

Q27 ข้อ 6.9 การประเมินคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแล้วจำเป็นต้องมีการประเมินคณะกรรมการชุดย่อย
ด้วยหรือไม่

ตอบ  ตามเกณฑ์การประเมินผลจะพิจารณาเฉพาะการประเมินตนเองของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

Q28 เกณฑ์ด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร ข้อ 6.3 การกำหนดทิศทาง กลยุทธ์
และจัดให้มีแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปี ระดับที่ 3 ระบุว่าคณะกรรมการ
รัฐวิสาหกิจจัดให้รัฐวิสาหกิจมีแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีองค์ประกอบ
ครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้จริงจนทำให้รัฐวิสาหกิจบรรลุผลสำเร็จ ทั้งด้านการเงินและ
ไม่ใช่การเงินได้อย่างแท้จริงตามเป้าหมายที่กำหนดนั้น มีประเด็นดังนี้

  1. คำว่า "องค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์" หมายความว่าอย่างไร และประเมินจากอะไร
  2. คำว่า "สามารถนำไปใช้ได้จริง" วัดจากผลสำเร็จของตัวชี้วัดที่ปรากฏตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (SO) หรือตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์ หรือตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 3 ระดับของตัวชี้วัดครับ

ตอบ  

1. จะต้องวิเคราะห์ออกมาตามกระบวนการของด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และมีองค์ประกอบ
เช่น ชื่อแผนงาน กิจกรรม ขั้นตอนดำเนินงาน แผนภูมิต่างๆ (Chart) ผู้รับผิดชอบ
และแหล่งที่มาของงบประมาณ (ถ้ามี) โดยจะดูถึงความสอดคล้องระหว่างแผนยุทธศาสตร์
ระยะยาวกับแผนปฏิบัติการประจำปีว่ามีการถ่ายทอด (Cascade) ลงไปจริงหรือไม่

  1. หากแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวและแผนปฏิบัติการประจำปีมีคุณภาพหรือมีองค์ประกอบ
    ตามที่กำหนดไว้แล้ว จะทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เนื่องจากในแผนดังกล่าว
    จะเห็นถึงขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ระยะเวลาการจัดทำ ผู้รับผิดชอบ และอื่นๆ
    เพราะจะต้องมีการวิเคราะห์มาแล้ว

Q29 นโยบายและคู่มือการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร มีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ถือว่าเพียงพอ
ใช่หรือไม่

ตอบ  จะต้องมีทั้งนโยบายและคู่มือการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร เนื่องจากทั้งนโยบาย
และคู่มือการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยนโยบาย คือ ภาพรวม
ของสิ่งที่องค์กรจะต้องดำเนินการ แต่คู่มือ คือ วิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction) ที่หน่วยงาน
รับผิดชอบต้องนำไปปฏิบัติ

Q30 ตามเกณฑ์กฎบัตรและแผนการดำนินงานจะต้องให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเห็นชอบนั้น
หมายถึงคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจหรือคณะอนุกรรมการชุดย่อย

ตอบ  ตามเกณฑ์การประเมินผลหัวข้อ CG มีเกณฑ์ที่กำหนดให้คระกรรมการรัฐวิสาหกิจ
ต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบอยู่ 5 เรื่อง คือ ข้อ 4.1 เรื่อง CSR In Process ข้อ 6.4
เรื่องแผนการดำเนินงานประจำปี ข้อ 6.8 เรื่องการกำกับดูแลที่ดี ข้อ 7.2 เรื่องแผนบริหารความเสี่ยง
และควบคุมภายใน และข้อ 9.1 เรื่องนวัตกรรม ทั้งนี้ หากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจได้แต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการเพื่อรับผิดชอบในแต่ละเรื่องและได้ให้อำนาจในการพิจารณาไว้แล้ว คณะอนุกรรมการ
ก็สามารถดำเนินการพิจารณาได้ แต่เกณฑ์การประเมินผลจะพิจารณาต่อเมื่อคณะอนุกรรมการได้นำเสนอ
เป็นวาระต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อทราบ/พิจารณาเห็นชอบ

Q31 ข้อ 3.1 นโยบายและแนวการบริหารสิทธิของผู้ถือหุ้น ในกรณีที่กระทรวงการคลังถือหุ้นเพียง
ผู้เดียวจะต้องจัดทำด้วยหรือไม่

ตอบ  เกณฑ์การประเมินในข้อนี้ จะใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่มีผู้ถือหุ้นอื่นมากกว่ากระทรวงการคลัง
เพียงผู้เดียว สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินจำเป็นจะต้องอธิบายถึงรายละเอียด
ของบริบทของ รัฐวิสาหกิจที่เห็นควรยกเว้นเกณฑ์การประเมินในหัวข้อดังกล่าว

Q32 กรณีที่รัฐวิสาหกิจได้จัดทำคำสั่งเรื่องการรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์แล้ว
จำเป็นต้องทำนโยบายและแนวปฏิบัติในเรื่องนี้อีกหรือไม่

ตอบ  ต้องพิจารณาว่าคำสั่งดังกล่าวมีรายละเอียดที่ครบถ้วนตามองค์ประกอบของนโยบาย
และแนวปฏิบัติหรือไม่ เช่น แสดงถึงระบบบริหารจัดการ กลไกการกำกับดูแลต่างๆ ตามที่คู่มือ
เกณฑ์ได้ระบุไว้ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการระบุไว้อย่างครบถ้วนก็สามารถใช้คำสั่งดังกล่าวแทนได้

Q33 ในหัวข้อที่ 6 คณะกรรมการ หัวข้อย่อยที่ 6.5 การติดตามความเพียงพอของระบบบริหาร
จัดการองค์กร ระดับที่ 1 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจพิจารณาเห็นชอบ/รับทราบแผนการจัดการองค์กร
ก่อนเริ่มปีบัญชี และระดับที่ 2 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีส่วนร่วมในการติดตามความเพียงพอ
ของระบบตรวจสอบภายใน โดยกำหนดความถี่อย่างน้อยเป็นรายไตรมาส นั้น คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบกำกับดูแลติดตามผลการปฎิบัติงานอยู่แล้ว ทางฝ่ายตรวจสอบ
ภายในต้องนำเสนอรายงานผลต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจหรือไม่ และต้องรายงานแบบใด ส่งรายงาน
หลังคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ เข้าร่วมรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ

ตอบ  ให้นำผลที่ได้จากการกำกับดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
นำเสนอเป็นวาระเพื่อทราบในการประชุมของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจด้วย

Q34 ในเรื่องของนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ต้องจัดทำเป็นนโยบายเลยหรือไม่

ตอบ  ต้องจัดทำโดยอาจอ้างอิงตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทน
กรรมการรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ หัวข้อนี้อยู่ในหัวข้อที่ต้องเปิดเผย
ในรายงานประจำปี

ซึ่งรัฐวิสาหกิจจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ จึงอาจไม่จำเป็น
ต้องจัดทำเป็นนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการแยกออกมาต่างหาก

Q35 ข้อ 6 คณะกรรมการ ในข้อย่อย 6.7 ประสิทธิภาพการประชุมของคณะกรรมการ ในระดับที่ 4
คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญและเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
และคณะอนุกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาบอย่างครบถ้วนและสม่ำเสมอ โดยอย่างน้อยร้อยละ 90
ของจำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและคณะอนุกรรมการต่างๆ ทั้งหมด ควรมี
กรรมการ/อนุกรรมการเข้าประชุมร้อยละ 80 ขึ้นไปของจำนวนกรรมการ/อนุกรรมการทั้งหมด ดังนั้น
การจะนับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เฉพาะอนุกรรมการที่เป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ
หรือนับรวมอนุกรรมการทั้งหมด

ตอบ  นับเฉพาะอนุกรรมการที่เป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ

Q36 หัวข้อที่ 9 ความยั่งยืนและนวัตกรรม ข้อย่อย 9.1 การจัดให้มีนโยบายและคู่มือการปฏิบัติงาน
เพื่อการบริหารจัดการนวัตกรรม ระดับที่ 1 กำหนดให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจจัดให้มีนโยบายและคู่มือ
การปฏิบัติงาน เพื่อบริหารจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อกำหนดกรอบแนวทาง
การบริหารจัดการนวัตกรรมของรัฐวิสาหกิจที่ชัดเจนและเป็นระบบ นั้น ในการจัดทำนโยบาย
ด้านนวัตกรรม ผู้ลงนามในนโยบายด้านนวัตกรรมต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
หรือสามารถมอบหมายให้ท่านอื่นลงนามได้

ตอบ  ตามเกณฑ์การประเมินผล หัวข้อที่ 9.1 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นประธานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจลงนาม แต่ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละรัฐวิสาหกิจในการกำหนดอำนาจหน้าที่

Q37 ในเรื่องการระบุอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการในกฎบัตรว่าให้อำนาจหน้าที่ของ
คณะอนุกรรมการสามารถดำเนินการพิจารณาในประเด็นนั้นๆ ได้หรือไม่

ตอบ