การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยมี อะไร บาง

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยมี อะไร บาง

วัฒนธรรมไทย หรือ วัฒนธรรม

หมายถึง วิถีแห่งการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ นับตั้งแต่การดำรงชีวิติในแต่ละวัน การกิน การอยู่ การแต่งกาย การพักผ่อน การทำงาน การจราจรการขนส่ง การแสดงอารมณ์ การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งวิถีชีวิตนั้น เริ่มมาจากการที่มีต้นแบบ อาจจะเป็นตัวบุคคลแล้วมีคนส่วนใหญ่ หรือประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยและ ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีงามเพื่อดำรงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมไทย ตราบจบชั่วลูกชั่วหลาน

วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ ดังนี้

1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ
2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย

3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

4. เป็นเครื่องช่วยให้คนไทยภูมิใจในชาติไทย

5. เป็นเครื่องช่วยในการสร้างสัมพันธ์กับนานาชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกันและนำมาปรับใช้กับสังคมไทย

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

1. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น

2. วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น

3. วัฒนธรรมไทยเป็นความคิด ความเชื่อ และหลักการ ที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการสั่งสมและสืบทอดกันมา เช่นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และศาสนา ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวของสตรี เป็นต้น

4. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนแล้ว ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นมาด้วย เช่น การไหว้ จากอินเดีย การปลูกบ้านโดย ใช้คอนกรีต จากวัฒนธรรมตะวันตก หรือการทำสวนยกร่อง จากวัฒนธรรมจีนเป็นต้น

5. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม ศิลปกรรม วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆ เช่น การตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง วัฒนธรรมไทย





การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้

1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เพื่อให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป

2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม

3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม

4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน

6. จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย




การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยต่างๆ

– งานบุญเทศน์มหาชาติ
ประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาแต่โบราณเชื่อกันว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์ผะเหวด หรือเทศน์มหาชาติจบทั้ง 13 กัณฑ์และนครกัณฑ์) ภายในวันเดียวและบำเพ็ญความดีผลบุญที่ผู้นั้นได้กระทำลงไป) จะส่งให้บุคคลนั้นได้ไปเกิดร่วมชาติเดียวกับพระพุทธเจ้า

– ประเพณี “ปอยส่างลอง” หรือ “ประเพณีบวชลูกแก้ว
เป็นประเพณีประจำปีของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป

– ประเพณีสงกรานต์
ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา

– บุญบั้งไฟ
เป็นประเพณีประจำปีของชาวภาคอีสาน ที่สืบเนื่องมาจากพิธีการขอฝนของพญาแถน หรือเทวดา โดยจัดพิธีจุดบั้งไฟเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

– พิธีแรกนาขวัญ หรือ”พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”
เป็นพระราชประเพณีสำคัญ ที่ทำเพื่อเสริมสร้างให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ความหมายของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็เพื่อต้องการให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในพระราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์ตลอดฤดูกาลที่ทำการเพาะปลูก

– งานตานก๋วยสลาก หรือกิ๋นก๋วยสลาก หรือกิ๋นข้าวสลาก
เป็นประเพณีคล้ายกับสลากภัตรของชาวไทยภาคกลาง ต่างกันในด้านการปฏิบัติและพิธีกรรมเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่แล้วคือการให้ทาน ถวายข้าวของให้แก่ ภิกษุสามเณร เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปสู่ปรโลก รวมไปถึงเจ้ากรรมนายเวร และสามารถจะอุทิศผลานิสงฆ์นี้ไปเป็นเนื้อนาบุญให้กับตัวเองในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นความเชื่อมาแต่บรรพบุรุษ เพื่อว่าชาติหน้าจะได้มีกินมีใช้ มั่งมีศรีสุข

การอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ

– การเล่นหมากเก็บ
– การเล่นหมากขุม
– การเล่นม้าก้านกล้วย
– การเล่นวิ่งเปรี้ยว
– การเล่นรีรีข้าวสาร
– การเล่นยักเย่อ
– การเล่นมอญซ่อนผ้า

คนไทยควรอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอย่างไร

ใช้สิ่งที่บันทึกไว้มาเผยแพร่เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม. เราต้องพยายามหาทางอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนเองเอาไว้ แบ่งปันเรื่องราวและข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเราให้กับคนหนุ่มสาวที่อาจไม่รู้จักวัฒนธรรมของตนเองมากนักได้รับรู้ ไม่ว่าจะเจอการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือสังคมอย่างไร พยายามให้ผู้คนได้มามีส่วนร่วมในการพูดคุยและเข้าร่วมทำ ...

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยหมายถึงอะไร

สรุปได้ว่า การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หมายถึง การรักษาศิลปวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นบน ผืนแผ่นดินไทย อันเป็นวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่เป็นมรดกของชนรุ่นหลังต่อไป วัฒนธรรมมี บทบาทมากขึ้นใน ระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวด้วยการแข่งขันในตลาดโลกที่ ซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้ทุกประเทศต่างพยายามหาสิ่งที่แตกต่างและ ...

กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง

1. ประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.
ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์.
งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ และงานกาชาด จังหวัดสุพรรณบุรี.
งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่.
งานเทศกาลอาหารและผลไม้นครปฐม จังหวัดนครปฐม.
งานกาชาดและงานรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง จังหวัดมุกดาหาร.

ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง

วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ 2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย 3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข