เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่

เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
Name Last modifiedSize Description
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
Parent Directory   -  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ชิ้นงาน เรื่อง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ.doc 2012-08-10 22:06 220K  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ชิ้นงาน เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ.doc 2012-08-15 21:30 222K  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ชิ้นงาน เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลกกับน้ำหนักของวัตถุ.doc 2012-08-15 17:50 220K  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
หน่วยที่ 4 แรงกับการเคลื่อนที่.doc 2015-12-10 22:46 5.7M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 1 การเคลื่อนที่ของวัตถุ.doc 2015-12-10 22:47 5.4M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 2 เราออกแรงอะไรบ้างที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ฯ.doc 2015-12-10 22:51 2.2M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 3 แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 1.doc 2015-12-10 23:16 1.4M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 4 แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 2.doc 2015-12-10 22:54 1.4M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 5 แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 3.doc 2016-01-19 02:04 1.5M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 6 แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 4.doc 2015-12-10 23:00 1.4M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 7 การโยนวัตถุขึ้นไปในอากาศ.doc 2015-12-11 21:15 2.0M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 8 การเดินขึ้นและเดินลงบันได.doc 2015-12-10 23:03 1.5M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 9 วัตถุสิ่งของหนักเท่าไร.doc 2016-01-23 22:13 1.5M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
แผนที่ 10 มาประดิษฐ์เฮลิคอปเตอร์กัน.doc 2015-12-10 23:07 1.8M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ใบงานที่ 18 หน่วยที่ 4 แผนที่ 1.doc 2012-08-10 21:48 350K  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ใบงานที่ 19 หน่วยที่ 4 แผนที่ 2.doc 2012-08-15 17:26 195K  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ใบงานที่ 20 หน่วยที่ 4 แผนที่ 3.doc 2012-08-10 21:50 1.2M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ใบงานที่ 21 หน่วยที่ 4 แผนที่ 4.doc 2012-08-15 17:27 3.9M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ใบงานที่ 22 หน่วยที่ 4 แผนที่ 7.doc 2012-08-10 21:53 4.9M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ใบงานที่ 23 หน่วยที่ 4 แผนที่ 8.doc 2012-08-15 17:37 1.2M  
เฉลย ใบงาน วิทยาศาสตร์ ป.3 แรงและการเคลื่อนที่
ใบงานที่ 24 หน่วยที่ 4 แผนที่ 9.doc 2016-01-23 22:28 325K  

    

แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
เรื่อง แรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

โดย
นางสาวสุพัตรา ตาดม่วง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนบ้านหนองสะแกสน
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

คำนำ
เอกสารประกอบการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ฉบับนี้ ทางผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน มีการจัดทำเนื้อหาและแบบฝึกใบงานพร้อมเฉลยให้สามารถศึกษาได้เอง เอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้รวบรวมเรียบเรียงสาระสำคัญโดยสังเขปชัดเจน เนื้อหาที่ได้บรรจุในเอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้มาจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อแกนกลางเพื่อให้มีความเหมาะสมกับนักเรียน
        ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณ เพื่อนครู ครูผู้อาวุโส ครูชำนาญการ ศึกษานิเทศน์ และ
ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจสอบความถูกต้องของแบบฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ฉบับนี้ด้วยดี และขอบใจนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือ
ในการเรียนและช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดบางประการจนทำให้เอกสารฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหากมีความผิดพลาดข้อบกพร่องข้อเสนอแนะ คำติชมใดพึงมี ถือเป็นการสร้างกุศลยิ่งแก่แวดวงวิชาการผู้เขียนขอน้อมรับด้วยความยินดี

                                         .........................................................
ผู้จัดทำ

คำแนะนำสำหรับครูในการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ

การนำแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ฉบับนี้ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรให้คำแนะนำในการเรียนรู้พร้อมทำข้อตกลงในการเรียน และปฏิบัติดังนี้
1. ครูผู้สอนควรให้คำแนะนำขั้นตอนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แก่นักเรียนอย่างละเอียด เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนเข้าใจตรงกัน รวมทั้งการให้คะแนนทั้งการทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน และคะแนนจากแบบฝึกเสริมทักษะแต่ละกิจกรรม
2. แบบฝึกเสริมทักษะฉบับนี้ นอกจากการใช้สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว ยังสามารถนำใช้สอนเสริมนอกเวลาเรียนปกติ หรือตามความเหมาะสม
3. ครูผู้สอนต้องอธิบายขั้นตอนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะนี้กับนักเรียนทีละขั้นตอน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนศึกษาเนื้อหาและทำแบบฝึกเสริมทักษะครูจะต้องบันทึกคะแนนทุกครั้งไว้ด้วย
4. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามความเหมาะสม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
5. ครูผู้สอนให้นักเรียนศึกษาองค์ความรู้ ที่อยู่ในแบบฝึกเสริมทักษะโดยศึกษา ทำความเข้าใจอธิบาย ซักถาม ประกอบแล้วจึงให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะในแต่ละกิจกรรม
6. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะตั้งแต่ต้นจนจบตามลำดับในแผนการจัดการเรียนรู้
7. ครูผู้สอนตรวจแบบฝึกเสริมทักษะที่นักเรียนได้ทำใบกิจกรรมพร้อมบันทึกคะแนนทุกครั้งให้เรียบร้อยให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน
8. ครูผู้สอนดำเนินการตรวจแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบ และสังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมของนักเรียน บันทึกคะแนน และแจ้งผลการประเมินแก่นักเรียนเป็นรายบุคคล

คำแนะนำสำหรับนักเรียนในการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ

เอกสารประกอบการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นนี้ จัดทำขึ้นเป็นนวัตกรรมสำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองและมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องแรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนใช้ได้ถูกต้อง โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ถึงความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าและเป็น ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
1. ให้นักเรียนอ่านคำแนะนำสำหรับนักเรียนก่อนลงมือศึกษาเอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ทุกครั้ง
2. นักเรียนควรอ่านและทำแบบทดสอบก่อนเรียนตามที่กำหนดไว้ในแบบฝึกเสริมทักษะให้ครบทุกกิจกรรม
3. นักเรียนควรตั้งใจศึกษาและทำความเข้าใจคำชี้แจง และคำสั่งก่อนที่จะลงมือปฏิบัติกิจกรรมในแบบฝึกเสริมทักษะต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในแบบฝึกเสริมทักษะ
4. นักเรียนควรอ่านทบทวนแบบฝึกเสริมทักษะแต่ละแบบฝึกที่ทำทุกครั้งก่อนส่งครู เพื่อตรวจทานความถูกต้อง
5. นักเรียนควรสำรวจตนเองว่าทำคะแนนในแบบฝึกเสริมทักษะในแต่ละแบบฝึกและแบบประเมินต่างๆ ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับใด เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาตนเองให้มีความสามารถมากขึ้น
6. ให้นักเรียนตั้งใจทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยความตั้งใจและเต็มความสามารถ เพราะคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนจะเป็นคะแนนเก็บที่ใช้ในการประเมินผลของนักเรียน
7. หากนักเรียนมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจในเนื้อหาของเอกสารประกอบการเรียนรู้ เล่มนี้และต้องการทบทวนเนื้อหาใหม่อีกครั้งหรือต้องการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้เป็นตัวอย่างในกรณีศึกษาเพิ่มเติม นักเรียนสามารถยืมเอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้แต่ต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดีและไม่สูญหาย

สารบัญ

เรื่อง    หน้า
คำนำ    1
คำแนะนำสำหรับครูการใช้แบบฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์    2
คำแนะนำสำหรับนักเรียนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะวิทยาศาสตร์    3
แบบทดสอบก่อนเรียน    4
ใบความรู้    5
ใบงานที่ 1    6
ใบงานที่ 2    7
ใบงานที่ 3    8
ใบงานที่ 4    9
ใบงานที่ 5    10
ใบงานที่ 6    11
แบบทดสอบก่อนเรียน    12
แบบบันทึกคะแนน    13

แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. แม่เหล็กดูดวัตถุชนิดใดได้
ก.     กระดาษ
ข.     ผ้า
ค.     ไม้
ง.    ตะปู
2. ขั้วเหนือของแม่เหล็กจะชี้ไปทางทิศใดเสมอ
ก. ทิศเหนือ
ข. ทิศใต้    
ค. ทิศตะวันออก
ง. ทิศตะวันตก
3.

จากภาพ แม่เหล็กจะเกิดแรงอะไร    
ก. แรงผลัก ข. แรงเหวี่ยง
ค.     แรงดึงดูดกัน ง. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
4. การวางแม่เหล็กในลักษณะใดจะเกิดแรงดึงดูดกัน    
ก.

ข.

ค.

ง. ถูกทุกข้อ
5. ข้อใดคือประโยชน์ของแม่เหล็ก
ก. มีสมบัติดึงดูดสารแม่เหล็กจึงใช้แยกกระดาษได้
ข. มีความแข็งกว่าเหล็กจึงใช้ในการก่อสร้าง
ค. ขั้วเหนือชี้ไปทางทิศเหนือและขั้วใต้ชี้ไปทางทิศใต้
ง. ถูกทุกข้อ    6. การออกแรงในลักษณะใดที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่วัตถุเคลื่อนที่
ก. เปิดลิ้นชัก
ข. ดึงโซ่สุนัข
ค. ขว้างลูกฟุตบอล
ง. โยนลังใส่ของ
7. การกระทำในข้อใดทำให้วัตถุเคลื่อนที่ช้าลง
ก.    เข็นรถขึ้นเนิน
ข.    กลิ้งลูกฟุตบอลลงทางลาด
ค.    ผลักกล่องให้ตกจากโต๊ะ
ง.    ปั่นจักรยานลงทางลาด
8. ขณะที่เพื่อนแกว่งชิงช้าอยู่ ถ้าเราออกแรงดึงชิงช้าในทิศทางตรงกันข้าม ชิงช้าจะเคลื่อนที่อย่างไร
ก.    แกว่งเร็วขึ้น
ข.    ช้าลงแล้วหยุดนิ่ง
ค.    แกว่งสูงจากพื้นมากขึ้น
ง.    ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
9.    สิ่งใดที่ไม่ได้เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก
ก.    ดินสอตกจากโต๊ะ
ข.    หินตกจากหน้าต่าง
ค.    กระโดดจากไม้กระดานลงน้ำ
ง.    เดินสะดุดล้มบนทางเท้า
10. วัตถุใดเคลื่อนที่โดยไม่เปลี่ยนทิศทาง
ก.    ใบไม้ที่ลอยวนอยู่ในสระ
ข.    ขว้างวัตถุให้เคลื่อนที่ขึ้นไปบนฟ้า
ค.    ลูกฟุตบอลถูกเขี่ยเพื่อหลบคู่ต่อสู้
ง. ลูกขนไก่ถูกตีให้ข้ามตาข่ายไปฝั่งตรงข้าม

เรื่องแรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ชื่อ............................................................................เลขที่........................

ทดสอบก่อนเรียน
ข้อ    ก    ข    ค    ง
1                
2                
3                
4                
5                
6                
7                
8                
9                
10

ใบงานที่ 1

แรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของนักเรียนต้องใช้ทั้งแรงดึงและแรงผลัก นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร

                                                                                                                                                                 2. แรง คืออะไรจงอธิบาย

                                                                                                                                                                 3. การดึง คืออะไรจงอธิบาย

                                                                                                                                                                 4. การผลัก คืออะไรจงอธิบาย

                                                                                                                                                                 5. ในการส่งลูกฟุตบอลให้เพื่อนต้องออกแรงหรือไม่จงอธิบาย

                                                                                                                                                                 6. การออกแรงในลักษณะใดบ้างที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่วัตถุเคลื่อนที่

                                                                                 ใบงานที่ 2

แรงแม่เหล็ก

ชื่อ                            ชั้น            เลขที่

คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. นักเรียนคิดว่า นักเรียนตกปลาได้อย่างไร

                                                                                 2. นักเรียนคิดว่า แท่งเหล็กที่ผูกเป็นเบ็ดตกปลาคืออะไร

                                                                                 3. นักรียนทราบหรือไม่ว่าแม่เหล็กทำอะไรได้บ้าง

                                                                                 4. แม่เหล็กดึงดูดวัตถุใดได้บ้าง

                                                                                 5. เมื่อนำแม่เหล็กไปวางไว้ที่จอโทรทัศน์ แม่เหล็กไม่ดูดจอโทรทัศน์ แสดงว่าโทรทัศน์ไม่ใช่สารแม่เหล็ก นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร

                                                                                                                         6. นักเรียนจะเลือกใช้สิ่งใดในการหาทิศทางระหว่างแม่เหล็กหรือเข็มทิศ เพราะอะไร

                                                                                                                         7. ตัวอักษร N และ S ปรากฏบนแม่เหล็กทั้ง 2 ข้าง เรียกว่าอะไร

                                                                                 8. แม่เหล็กมีกี่ขั้ว อะไรบ้าง

                                                                                 ใบงานที่ 3
ผลของแรงโน้มถ่วงของโลก
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนดูภาพแล้วบอกว่า เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างไร

1.

2.

3.

ใบงานที่ 4
ผลของแรงโน้มถ่วงของโลก การหาน้ำหนักของวัตถุ
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1) แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลต่อวัตถุอย่างไร

                                                 2) นักเรียนคิดว่า วัตถุ สิ่งของ หรือคนในภาพจะตกลงสู่พื้นหรือไม่ เพราะอะไร

                                                 3) นักเรียนคิดว่า แรงโน้มถ่วงเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียนอย่างไรบ้าง

                                                 4) นักเรียนสามารถทราบน้ำหนักของตนเองได้อย่างไร

                                                 5) เครื่องมือใดที่ใช้ในการหาน้ำหนักของวัตถุต่างๆ

                                                 6) “การที่แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้สิ่งต่างๆ ตกลงสู่พื้นโลก ทำให้ตัวเราและวัตถุต่างๆ มีน้ำหนักเช่นเดียวกัน เพราะถ้าไม่มีแรงโน้มถ่วง ตัวเราและวัตถุต่างๆ ก็จะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก” นักเรียนคิดว่า คนเราสามารถอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักได้หรือไม่ เพราะอะไร

                                                                                                  7) น้ำหนักของวัตถุ มีความเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างไร

                                                 8) น้ำหนักของวัตถุที่นำมาชั่งบนโลกและน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งบนดวงจันทร์แตกต่างกันอย่างไร

                                                 9) ถ้านักบินอวกาศชั่งน้ำหนักตัวของตนเองบนโลกและบนดวงจันทร์จะได้น้ำหนักแตกต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร

                                                 10) วัตถุในห้องเรียน สิ่งใดบ้างที่มีขนาดใหญ่ และสิ่งใดบ้างที่มีขนาดเล็ก

                                                                                                  11) นักเรียนคิดว่า สิ่งของที่มีขนาดใหญ่กับสิ่งของที่มีขนาดเล็ก สิ่งใดเคลื่อนที่ได้ยากกว่ากัน เพราะอะไร

                                                 12) นักเรียนคิดว่า ระหว่างโต๊ะเรียนกับกระเป๋านักเรียน สิ่งใดเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่ากัน เพราะอะไร

                                                                                                  ใบงานที่ 5
ผลของแรงลัพธ์ แรงเสียดทาน
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1) กีฬาชักกะเย่อหากทีมสีฟ้าและทีมสีแดงดึงเชือกด้วยแรงที่เท่ากัน เชือกจะเคลื่อนที่หรือไม่ เพราะอะไร

                                                 2) หากกรรมการให้ทีมสีแดงเพิ่มสมาชิกได้อีก 2 คน ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เพราะอะไร

                                                                                                  3) หากต้องการทำให้เชือกมีการเคลื่อนที่ไปทางฝั่งทีมสีฟ้า นักเรียนคิดว่าต้องทำอย่างไร

                                                                                                  4) กิจกรรมใดบ้างที่ต้องออกแรงหลายแรงร่วมกัน เพื่อทำให้วัตถุเคลื่อนที่

                                                 5) แรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่กระทำต่อวัตถุในทิศทางเดียวกันเท่ากับผลรวมของแรงทั้งสองแรงนั้นจริงหรือไม่ อย่างไร

                                                 6) ในชีวิตประจำวันนักเรียนคิดว่ากิจกรรมใดบ้างที่จะทำให้เกิดแรงเสียดทาน

                                                 7) แรงเสียดทานหมายถึงอะไร

                                                                                                  8) นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดตั้มจึงปั่นจักรยานผ่านพื้นทรายได้ยากลำบาก

                                                                                                  9) หากนักเรียนมีโอกาสได้ปั่นจักรยานผ่านพื้นทรายจะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับตั้มหรือไม่ เพราะอะไร

                                                                                                  10) การปั่นจักรยานผ่านพื้นคอนกรีตกับพื้นทรายมีความแตกต่างกันอย่างไร

                                                                                                  11) นักเรียนคิดว่า กิจกรรมในชีวิตประจำของเราเกี่ยวข้องกับแรงเสียดทานหรือไม่ อย่างไร

                                                                                                  แรงในชีวิตประจำวัน
    แรง (force) หมายถึง สิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้วัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง
สภาพของวัตถุ เช่น เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เปลี่ยนขนาดของอัตราเร็ว หรือเปลี่ยนขนาด
รูปร่างของวัตถุ แรง มีหน่วย เป็น นิวตัน (N) (เป็นการให้เกียรติแก่เซอร์ไอแซค นิวตัน
ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก) แรง เป็น ปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งมีขนาดและทิศทางสัญลักษณ์
ที่เขียนแทนแรง แรง ทำให้วัตถุ
1. จากหยุดนิ่งกลายเป็นเคลื่อนที่
2. จากเคลื่อนที่กลายเป็นเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลงหรือหยุดนิ่ง
3. เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่
4. เปลี่ยนรูปร่าง
แรงแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1. แรงที่เกิดจากมนุษย์ เช่น แรงดึง แรงผลัก แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง
2. แรงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แรงลม แรงน้ำ แรงโน้มถ่วง
แรงดึง แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่มาหาตัวเรา ใช้แรงจากกล้ามเนื้อของเรา เช่น รับของ เก็บของจากพื้น ชักเย่อ ลากของ
    แรงผลัก แรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกจากเรา ใช้แรงจากกล้ามเนื้อของเรา เช่น ตีแบด เตะบอล โยนของ เข็นรถ ไสรถ ผลักของ ถ้าเราออกแรงเตะลูกบอลในทิศเดียวกับลูกบอลที่กำลังเคลื่อนที่ เราจะใช้แรงน้อยกว่า เตะลูกบอลที่หยุดนิ่ง ถ้าเราเตะลูกบอลที่หยุดนิ่งก็จะใช้แรงน้อยกว่าเราออกแรงเตะลูกบอลที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาหา
    แรงที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง เช่น แรงบีบ ขยำ เป่า ปั้น วัตถุที่รูปร่างเปลี่ยนแปลงเมื่ออกเราออกแรงและสามารถกลับสู่่สภาพเดิม - ฟองน้ำ ลูกโป่ง สปริง หนังยาง วัตถุที่รูปร่างเปลี่ยนแปลงเมื่ออกเราออกแรงและไม่สามารถกลับสู่่สภาพเดิม - ดินเหนียว ดินน้ำมัน
    แรงธรรมชาติ แรงโน้มถ่วง หรือ แรงดึงดูดของโลก ค้นพบโดย เซอร์ ไอแซก นิวตัน โดยสังเกตจากการหล่นของลูกแอปเปิล
- ดึงดูดวัตถุอยู่บนพื้นผิวโลก ไม่ให้หลุดลอย
- ทำให้สิ่งของมีน้ำหนัก เราจึงต้องใช้แรงเพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่
- ทำให้สิ่งของตกหล่นได้
    แรงน้ำ - น้ำท่วม น้ำป่าพัดคนและสัตว์จนเสียชีวิต ทรายดูด
แรงลม - พายุ ไต้ฝุ่น ทอร์นาโด กังหันหมุน

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
การเคลื่อนที่แบบวงกลม หมายถึง การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เกิดขึ้นเนื่องจาก
วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ขณะนั้นมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลม เรียกว่า
แรงเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เช่น การโคจรของ
ดวงจันทร์รอบโลก
ชนิดของแรง
1.1 แรงย่อย คือ แรงที่เป็นส่วนประกอบของแรงลัพธ์
1.2 แรงลัพธ์ คือ แรงรวมซึ่งเป็นผลรวมของแรงย่อย ซึ่งจะต้องเป็นการรวมกันแบบปริมาณเวกเตอร์
1.3 แรงขนาน คือ แรงที่ที่มีทิศทางขนานกัน ซึ่งอาจกระทำที่จุดเดียวกันหรือต่างจุดกันก็ได้
มีอยู่ 2 ชนิด – แรงขนานพวกเดียวกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางไปทางเดียวกัน – แรงขนาน
ต่างพวกกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางตรงข้ามกัน
    1.4 แรงหมุน หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยหมุนรอบจุดหมุน ผลของ
การหมุนของ เรียกว่า โมเมนต์ เช่น การปิด-เปิด ประตูหน้าต่าง
    1.5 แรงคู่ควบ คือ แรงขนานต่างพวกกันคู่หนึ่งที่มีขนาดเท่ากัน แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ และวัตถุ
ที่ถูกแรงคู่ควบกระทำ 1 คู่ กระทำ จะไม่อยู่นิ่งแต่จะเกิดแรงหมุน
1.6 แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุ
ที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก

    แรงเสียดทาน ความหมายของแรงเสียดทาน คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ เกิดขึ้นทั้งวัตถุที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ และจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

บัตรภาพ

แม่เหล็กแท่ง    
แม่เหล็กเกือกม้า

แม่เหล็กตัวยู

     แม่เหล็กทรงกระบอก

แม่เหล็กรูปวงแหวน

     เส้นแรงแม่เหล็ก

1. การออกแรงในลักษณะใดที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่วัตถุเคลื่อนที่
ก. เปิดลิ้นชัก
ข. ดึงโซ่สุนัข
ค. ขว้างลูกฟุตบอล
ง. โยนลังใส่ของ
2.

จากภาพ แม่เหล็กจะเกิดแรงอะไร    
ก. แรงผลัก ข. แรงเหวี่ยง
ค.     แรงดึงดูดกัน ง. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3. ขณะที่เพื่อนแกว่งชิงช้าอยู่ ถ้าเราออกแรงดึงชิงช้าในทิศทางตรงกันข้าม ชิงช้าจะเคลื่อนที่อย่างไร
ก.    แกว่งเร็วขึ้น
ข.    ช้าลงแล้วหยุดนิ่ง
ค.    แกว่งสูงจากพื้นมากขึ้น
ง.    ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
4. วัตถุใดเคลื่อนที่โดยไม่เปลี่ยนทิศทาง
ก.    ใบไม้ที่ลอยวนอยู่ในสระ
ข.    ขว้างวัตถุให้เคลื่อนที่ขึ้นไปบนฟ้า
ค.    ลูกฟุตบอลถูกเขี่ยเพื่อหลบคู่ต่อสู้
ง.    ลูกขนไก่ถูกตีให้ข้ามตาข่ายไปฝั่งตรงข้าม
5. ข้อใดคือประโยชน์ของแม่เหล็ก
ก. มีสมบัติดึงดูดสารแม่เหล็กจึงใช้แยกกระดาษได้
ข. มีความแข็งกว่าเหล็กจึงใช้ในการก่อสร้าง
ค. ขั้วเหนือชี้ไปทางทิศเหนือและขั้วใต้ชี้ไปทางทิศใต้
ง. ถูกทุกข้อ    6. แม่เหล็กดูดวัตถุชนิดใดได้
ก.     กระดาษ ข.     ผ้า
ค.     ไม้ ง.    ตะปู
7. การกระทำในข้อใดทำให้วัตถุเคลื่อนที่ช้าลง
ก.    เข็นรถขึ้นเนิน
ข.    กลิ้งลูกฟุตบอลลงทางลาด
ค.    ผลักกล่องให้ตกจากโต๊ะ
ง.    ปั่นจักรยานลงทางลาด
8. สิ่งใดที่ไม่ได้เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก
ก.    ดินสอตกจากโต๊ะ
ข.    หินตกจากหน้าต่าง
ค.    กระโดดจากไม้กระดานลงน้ำ
ง.    เดินสะดุดล้มบนทางเท้า
9. การวางแม่เหล็กในลักษณะใดจะเกิดแรงดึงดูดกัน
ก.

ข.

ค.

ง. ถูกทุกข้อ
10. ขั้วเหนือของแม่เหล็กจะชี้ไปทางทิศใดเสมอ
ก.     ทิศเหนือ
ข. ทิศใต้    
ค.     ทิศตะวันออก
ง. ทิศตะวันตก

เรื่องแรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ชื่อ...............................................................................เลขที่........................

ทดสอบหลังเรียน
ข้อ    ก    ข    ค    ง
1                
2                
3                
4                
5                
6                
7                
8                
9                
10

แบบบันทึกคะแนน
        การทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน และแบบฝึกทักษะ    
เรื่องแรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ชื่อ................................................................................................ชั้น..........................................เลขที่....................

โรงเรียน............................................................................

สังกัด........................................................................

แบบทดสอบ/แบบฝึก    คะแนนเต็ม    คะแนนที่ได้    หมายเหตุ
แบบทดสอบก่อนเรียน    10        
แบบทดสอบหลังเรียน    10        
แบบฝึกทักษะใบงานที่ 1-6    60        
รวมคะแนนทั้งหมด    80

ลงชื่อ......................................................ครูผู้สอน
( ....................................................... )
ตำแหน่ง................................................

บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. (2544). โครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
    คุรุสภาลาดพร้าว.
    . (2550). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน     วิทยาศาสตร์
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ และคณะ. (2544). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนวิทยาศาสตร์.    กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.
    . (2547). วิทยาศาสตร์ ป.3 ชุดปฏิรูปวิธีการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร :
    บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.
ไสว ฟักขาว. (2540). โครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : เอมพันธุ์.

ภาคผนวก

          เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน/ หลังเรียน

ข้อ    ก่อนเรียน    หลังเรียน
1    ง    ข
¬2    ก    ค
3    ค    ค
4    ก    ข
5    ค    ค
6    ข    ง
7    ก    ก
8    ข    ง
9    ง    ก
10    ข    ก

แนวคำตอบบันทึกผลกิจกรรม /
ใบงาน

เฉลย ใบงานที่ 1

แรงและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของนักเรียนต้องใช้ทั้งแรงดึงและแรงผลัก นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร
(แนวตอบ เห็นด้วย เพราะในชีวิตประจำวันของเราต้องมีการออกแรงเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งบางกิจกรรมต้องออกแรงดึง บางกิจกรรมต้องออกแรงผลัก หรือบางกิจกรรมต้องใช้ทั้งแรงดึงและแรงผลัก)
2. แรง คืออะไรจงอธิบาย
แรง หมายถึง สิ่งที่กระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงสภาพไป
3. การดึง คืออะไรจงอธิบาย
การดึง เป็นการออกแรงกระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วทำให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่เข้าหาตัว
4. การผลัก คืออะไรจงอธิบาย
การผลัก เป็นการออกแรงกระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วทำให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ออกจากตัวเรา
5. ในการส่งลูกฟุตบอลให้เพื่อนต้องออกแรงหรือไม่จงอธิบาย
(แนวตอบ ต้องมีการออกแรง)
6. การออกแรงในลักษณะใดบ้างที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศที่วัตถุเคลื่อนที่
(แนวตอบ แรงเสียดทาน)

เฉลยใบงานที่ 2

แรงแม่เหล็ก
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. นักเรียนคิดว่า นักเรียนตกปลาได้อย่างไร
เหล็กตรงปลายเบ็ด ดูดที่เย็บกระดาษที่ติดกับตัวปลา
2. นักเรียนคิดว่า แท่งเหล็กที่ผูกเป็นเบ็ดตกปลาคืออะไร
แม่เหล็ก
3. นักรียนทราบหรือไม่ว่าแม่เหล็กทำอะไรได้บ้าง
ดูดสิ่งของบางอย่างได้
4. แม่เหล็กดึงดูดวัตถุใดได้บ้าง
ดูดสิ่งเป็นโลหะเหมือนกันได้
5. เมื่อนำแม่เหล็กไปวางไว้ที่จอโทรทัศน์ แม่เหล็กไม่ดูดจอโทรทัศน์ แสดงว่าโทรทัศน์ไม่ใช่สารแม่เหล็ก นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร
ไม่เห็นด้วย เพราะส่วนประกอบของโทรทัศน์แต่ละส่วนผลิตจากวัสดุหลายประเภท บางชิ้นส่วนของโทรทัศน์ผลิตจากวัสดุที่แม่เหล็กดึงดูดได้ เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แต่บางชิ้นส่วนก็ผลิตจากวัตถุที่แม่เหล็กดึงดูดไม่ได้ เช่น จอโทรทัศน์ จึงไม่อาจสรุปได้ว่าโทรทัศน์ไม่ใช่สารแม่เหล็ก
6. นักเรียนจะเลือกใช้สิ่งใดในการหาทิศทางระหว่างแม่เหล็กหรือเข็มทิศ เพราะอะไร
เข็มทิศ เพราะเป็นเครื่องชี้บอกทิศ มีเข็มเป็นแม่เหล็ก ปลายข้างหนึ่งชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ซึ่งมีความแม่นยำในการบอกทิศมากกว่าแท่งแม่เหล็ก
7. ตัวอักษร N และ S ปรากฏบนแม่เหล็กทั้ง 2 ข้าง เรียกว่าอะไร
ขั้วแม่เหล็ก
8. แม่เหล็กมีกี่ขั้ว อะไรบ้าง
แม่เหล็กมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือและขั้วใต้

เฉลย ใบงานที่ 3

ผลของแรงโน้มถ่วงของโลก
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนดูภาพแล้วบอกว่า เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างไร

1.

2.

3.

เฉลย ใบงานที่ 4
ผลของแรงโน้มถ่วงของโลก การหาน้ำหนักของวัตถุ
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1) แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลต่อวัตถุอย่างไร
(แนวตอบ : แรงโน้มถ่วงของโลกทำให้วัตถุมีน้ำหนักและตกลงสู่พื้นโลกเสมอ)
2) นักเรียนคิดว่า วัตถุ สิ่งของ หรือคนในภาพจะตกลงสู่พื้นหรือไม่ เพราะอะไร
(แนวตอบ : ตกลงสู่พื้น เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุต่าง ๆ จึงทำให้วัตถุ สิ่งของ หรือคนตกลงสู่พื้นเสมอ)
3) นักเรียนคิดว่า แรงโน้มถ่วงเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียนอย่างไรบ้าง
(แนวตอบ : เช่น การยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ได้ยาก การทำสิ่งของหล่นพื้นจะเกิดความเสียหาย เป็นต้น)
4) นักเรียนสามารถทราบน้ำหนักของตนเองได้อย่างไร
(แนวตอบ : ชั่งน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก)
5) เครื่องมือใดที่ใช้ในการหาน้ำหนักของวัตถุต่างๆ
(แนวตอบ : เครื่องชั่ง)
6) “การที่แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้สิ่งต่างๆ ตกลงสู่พื้นโลก ทำให้ตัวเราและวัตถุต่างๆ มีน้ำหนักเช่นเดียวกัน เพราะถ้าไม่มีแรงโน้มถ่วง ตัวเราและวัตถุต่างๆ ก็จะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก” นักเรียนคิดว่า คนเราสามารถอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักได้หรือไม่ เพราะอะไร
(แนวตอบ : คนเราไม่สามารถอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักได้ เพราะถ้าไม่มีแรงโน้มถ่วงของโลก คนและสิ่งต่างๆ บนโลกจะลอยเคว้งคว้างไปมาในอากาศ และจะทำให้เราเคลื่อนที่ไปในบริเวณที่ต้องการได้ยากลำบาก)
7) น้ำหนักของวัตถุ มีความเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างไร
(แนวตอบ : น้ำหนักของวัตถุเกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อมวลของวัตถุ จึงทำให้วัตถุมีน้ำหนัก)
8) น้ำหนักของวัตถุที่นำมาชั่งบนโลกและน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งบนดวงจันทร์แตกต่างกันอย่างไร
(แนวตอบ : น้ำหนักของวัตถุที่ชั่งบนโลกจะมีค่ามากกว่าน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งบนดวงจันทร์)
9) ถ้านักบินอวกาศชั่งน้ำหนักตัวของตนเองบนโลกและบนดวงจันทร์จะได้น้ำหนักแตกต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร
(แนวตอบ : ต่างกัน เพราะดวงจันทร์กับโลกมีแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างกัน 6 เท่า)
10) วัตถุในห้องเรียน สิ่งใดบ้างที่มีขนาดใหญ่ และสิ่งใดบ้างที่มีขนาดเล็ก
(แนวตอบ : สิ่งที่มีขนาดใหญ่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ กระเป๋านักเรียน เป็นต้น สิ่งที่มีขนาดเล็ก เช่น ยางลบ ดินสอ สมุด หนังสือ เป็นต้น)
11) นักเรียนคิดว่า สิ่งของที่มีขนาดใหญ่กับสิ่งของที่มีขนาดเล็ก สิ่งใดเคลื่อนที่ได้ยากกว่ากัน เพราะอะไร
(แนวตอบ : สิ่งของที่มีขนาดใหญ่เคลื่อนที่ได้ยากกว่า เพราะมีมวลและมีน้ำหนักมากกว่า)
12) นักเรียนคิดว่า ระหว่างโต๊ะเรียนกับกระเป๋านักเรียน สิ่งใดเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่ากัน เพราะอะไร
(แนวตอบ : กระเป๋านักเรียน เพราะมีขนาดเล็กกว่าโต๊ะเรียน จึงมีมวลน้อยกว่า และสามารถเคลื่อนที่ได้ง่ายและสะดวกกว่าโต๊ะเรียน)

เฉลย ใบงานที่ 5
ผลของแรงลัพธ์ แรงเสียดทาน
ชื่อ                            ชั้น            เลขที่        
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1) กีฬาชักกะเย่อหากทีมสีฟ้าและทีมสีแดงดึงเชือกด้วยแรงที่เท่ากัน เชือกจะเคลื่อนที่หรือไม่ เพราะอะไร
(แนวตอบ ถ้ามีการกระทำต่อวัตถุในทิศทางตรงข้ามโดยค่าของแรงเท่ากัน จะทำให้เชือกไม่เคลื่อนที่)
2) หากกรรมการให้ทีมสีแดงเพิ่มสมาชิกได้อีก 2 คน ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เพราะอะไร
(แนวตอบ เชือกจะเคลื่อนที่มาทางทีมสีแดง เพราะทีมสีแดงมีผลรวมหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุเดียวกันมากกว่าสีฟ้า)
3) หากต้องการทำให้เชือกมีการเคลื่อนที่ไปทางฝั่งทีมสีฟ้า นักเรียนคิดว่าต้องทำอย่างไร
(แนวตอบ เพิ่มสมาชิกให้ทีมสีฟ้ามากกว่าทีมสีแดง เพราะทีมสีฟ้าจะได้มีผลรวมหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุเดียวกันมากกว่าแดง)
4) กิจกรรมใดบ้างที่ต้องออกแรงหลายแรงร่วมกัน เพื่อทำให้วัตถุเคลื่อนที่
(แนวตอบ เช่น