เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ประวัติความเป็นมา

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า

วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า

พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ มีดังนี้

1. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระจันทบุรีนฤนาถ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี (ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์) ในสมัยรัชกาลที่ 7 และต่อมาทรงเป็นต้นราชสกุล “กิติยากร” ซึ่งมาจากพระนามของพระองค์นั่นเอง

2. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” จึงเกิดวันรพีขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้น ยังทรงเป็นต้นราชสกุล “รพีพัฒน”

3. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงปราจิณกิติบดี และทรงดํารงตําแหน่งราชเลขาธิการ (หมายถึงเลขาธิการของพระมหากษัตริย์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุล “ประวิตร” อีกด้วย

4. พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช

ดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก รวมถึงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และยังทรงเป็นต้นราชสกุล “จิรประวัติ”

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า

เนื้อหาในวรรณคดีเรื่อง พระบรมราโชวาท

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า

เนื้อเรื่องเป็นการสั่งสอนพระโอรส โดยเริ่มต้นพูดถึงจุดประสงค์ในการส่งพระโอรสไปศึกษาเล่าเรียนยังต่างประเทศ ต่อมาพูดเรื่องเงินที่มอบให้ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์เพื่อป้องกันข้อครหาจากชาวบ้าน จะใช้อย่างไรก็ได้แต่ต้องใช้ให้เกิดคุณค่าที่สุดโดยแนะนำให้นำไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยโดยให้ผู้ดูแลเป็นธุระถอนเงินออกมาให้เพราะยังไม่มีพระโอรสคนไหนอายุถึง 21 ปี และยังกำชับอีกว่าการส่งลูกไปเรียนก็เหมือนการแบ่งมรดกให้ลูกไปศึกษาหาความรู้

ต่อมา พูดถึงการเกิดมามียศ การรับราชการถ้าจะให้ยศต่ำก็ไม่สมควร แต่หากจะให้ยศสูงก็เกรงใจว่าความรู้ความสามารถจะไม่ถึง จึงอยากให้ลูก ๆ ตั้งใจเรียนเพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศชาติ อย่าทำตัวไร้ประโยชน์ อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินแล้วจะทำอะไรไม่ดีกับใครก็ได้ และยังได้ทรงย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เงินว่าไม่ควรฟุ่มเฟือย อย่าก่อหนี้สิน

เนื้อหาต่อไปในจดหมายพูดถึงวิชาที่ควรศึกษา โดยต้องการให้ศึกษาวิชาเลขและภาษาทั้ง 3 ภาษาคือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่อยากให้ละเลยภาษาไทย ควรฝึกภาษาไทยอยู่เสมอเนื่องจากว่าอย่างไรก็ต้องกลับมาทำงานที่ประเทศไทย และยังแนะว่าไม่ให้พูดไทยคำอังกฤษคำ และสุดท้ายคือการบอกกับพระโอรสว่ากรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการจะเป็นผู้ดูแลทุกอย่าง

เมื่อสรุปออกมาแล้วจะได้ใจความหลัก ๆ ทั้ง 7 ข้อดังนี้

1. ไม่ให้ถือตัวว่าเป็นเจ้า ถึงแม้ว่าพระโอรสทั้ง 4 จะเป็นลูกของกษัตริย์ แต่ก็ไม่ให้เจ้ายศเจ้าอย่าง เพราะหากแสดงตัวว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ก็จะถูกจับตามอง จึงให้ตัวเหมือนสามัญชน

2. มรดกที่ประเสริฐกว่าทรัพย์คือความรู้ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียน

3. ตั้งใจอุตสาหะเล่าเรียนเพื่อทำคุณแก่บ้านเมือง เนื่องจากว่าต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าประเทศไทยมาก พระองค์จึงหวังให้พระโอรสทั้ง 4 นำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมากลับมาพัฒนาชาติของตัวเองให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับนานาประเทศ

4. อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน จงประพฤติตัวให้ดี เป็นการตักเตือนให้ประพฤติตัวให้ดี ไม่มีข้อยกเว้นแม้จะเป็นลูกกษัตริย์

5. จงประหยัด อย่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อย่าก่อหนี้ และกำชับเงินที่ส่งไปศึกษาเล่าเรียนนั้นเป็นเงินส่วนพระองค์ซึ่งได้มาจากประชาชน

6. วิชาที่ต้องเรียนคือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และวิชาเลข

7. กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการเป็นผู้คอยดูแลทุกอย่างให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า

น้อง ๆ สามารถอ่านวรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาทฉบับเต็มได้ที่ หอสมุดแห่งชาติ

สำหรับบทเรียนประวัติความเป็นมาวรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาทก็จบลงไปแล้วนะคะ น้อง ๆ จะได้เห็นเรื่องราวคร่าว ๆ ไปแล้ว แต่ในบทเรียนครั้งต่อไป น้อง ๆ จะได้เจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ เรียนรู้คำศัพท์และศึกษาคุณค่าของบทประพันธ์ค่ะ แต่ก่อนที่จะไปเรียนเรื่องนั้น น้อง ๆ ก็อย่าลืมทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนกันไปโดยการเปิดคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างทบทวนบทเรียน ครูอุ้มอธิบายเนื้อหาหลัก ๆ ทั้ง7ข้อให้ออกมาเข้าใจอย่างง่าย ไม่ยากเลยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยนะคะ

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

เหตุใดรัชกาลที่ ๕ จึงไม่ให้พระราชโอรสใช้คำว่า “นาย” นำหน้าพระนาม

ห้ามไม่ให้ใช้ฮิสรอแยลไฮเนสปรินซ์นำหน้าชื่อ (His Royal Hoghness Princes) เพราะไม่ว่าลูก ๆ ทั้งสี่จะทำสิ่งใด เมื่อคนรู้ว่าเป็นลูกของกษัตริย์ ก็ย่อมจับจ้อง ส่งผลให้การใช้ชีวิตของลูก ๆ นั้นยากลำบาก อีกทั้งจะซื้อจ่ายสิ่งของต่าง ๆ ก็อาจถูกตั้งราคาแพงกว่า เพราะผู้คนคิดว่าเป็นคนร่ำรวย

เหตุใดรัชกาลที่ 5 จึงไม่ใช้เงินแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของพระราชโอรส

๒. เงินค่าใช้สอย และค่าเล่าเรียน จะใช้เงินพระคลังข้างที่ ซึ่งฝากไว้ในธนาคารจะจ่ายให้ คนละ๓,๖๐๐ ปอนด์ เพื่อจะให้เรียนจบภายใน ๑๐ ปี เหตุที่ ไม่ใช้เงินแผ่นดิน เพราะพระองค์มีพระ ราชโอรสหลายพระองค์ ถ้าทรงใช้เงินแผ่นดิน หากพระราชโอรสเสด็จกลับมาแล้ว ไม่ทรงทำราชการให้ คุ้มกับเงินแผ่นดิน ก็จะถูกติเตียน

เพราะเหตุใด รัชกาลที่ ๕ จึงใช้เงินพระคลังข้างที่เป็นค่าศึกษาเล่าเรียนของพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ ๕ จึงมีพระบรมราโชวาทแก่พระราชโอรสตอนหนึ่งว่า "เงินพระคลังข้างที่นั้นเองก็เป็นส่วนหนึ่งในเงินแผ่นดินเหมือนกัน" เพื่อให้ทุกพระองค์ทรงประหยัดในการใช้จ่าย เพื่อให้ทรงสำนึกว่าเป็นหนี้บุญคุณแผ่นดิน เพื่อให้ทรงเห็นว่าพระองค์มีเมตตาธรรม

เหตุผลที่แท้จริงที่ ร. ๕ ไม่ต้องการให้พระราชโอรสไว้ยศว่าเป็นเจ้าคือข้อใด

เพราะการไว้ยศว่าเป็นเจ้าไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ เลย เพราะเกรงว่าพระราชโอรสจะนำไปอวดอ้างในทางที่ผิด เพราะเกรงว่าผู้ใกล้ชิดพระราชโอรสจะนำไปอวดอ้างว่าเป็นเจ้านาย