เพราะเหตุใดกาค้าขายในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

                โครงสร้างทางเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพเช่นเดียวกับ สมัย

อยุธยาและธนบุรีคือ แต่ละครอบครัวจะผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ที่เหลือจึงนํามาค้าขาย แลกเปลี่ยนกัน 

การทํามาหากินของคนไทยส่วนใหญ่ยังคงเป็นเกษตรกรรม การทํานา ทําสวนเป็นอาชีพหลัก ในพื้นที่บริเวณ

กรุงเทพฯ ธนบุรี ซึ่งสามารถผลิตผลไม้ชั้นดีเช่นเดียวกับสวนบางช้างเมืองสมุทรสงคราม จนมีคํากล่าวขานว่า 

                นอกจากอาชีพทํานาทําสวนแล้ว ยังเกิดชุมชนอาชีพต่างๆ อยู่รวมกันเป็นย่านเหมือนครั้ง กรุงศรีอยุธยา

ซึ่งผลิตสินค้าสืบทอดอาชีพที่เคยมีมาแต่ก่อน เช่น บ้านขมิ้นทําผงขมิ้น บ้านบุทําขันลงหิน บ้านช่างหล่อ หล่อ

พระพุทธรูป บ้านบาตรทําบาตรพระ บ้านหม้อทําภาชนะดินเผา บ้านดอกไม้ทําดอกไม้ไฟ และพลุ และบ้านพาน

                การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สําคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือ การขยายตัวทางการค้า ทั้ง

ภายในและภายนอกประเทศ สินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น อ้อย ฝ้าย มะพร้าว ยาสูบ พริกไทย ดีบุก รวมทั้ง

สินค้าอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน เช่น น้ํามันมะพร้าว น้ําตาลทราย เกลือ ทําให้ปริมาณสินค้าส่งออก เพิ่มขึ้นมากกว่า

                    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้มีการเก็บภาษีอากรใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่แผ่นดิน เช่น 

สมัยรัชกาลที่ 2 มีการเก็บภาษีรังนก ดีบุก พริกไทย ไข่จะละเม็ด (ไข่เต่าทะเล) สมัยรัชกาลที่ 3 เก็บภาษีเกลือ ฝ้าย

ยาสูบ น้ําตาลทราย น้ํามันมะพร้าว ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สําคัญในรัชสมัยนี้

                    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการปรับปรุงระบบการเก็บภาษี เรียกว่า ระบบเจ้าภาษีนายอากร โดย

มอบให้เอกชนเป็นผู้รับการผูกขาดจัดเก็บภาษีอากรแทนขุนนางข้าราชการ ทําให้รัฐได้ค่าภาษี เป็นจํานวนแน่นอน

แต่นายอากรไปเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการเก็บภาษีค่าแรงงาน ชาวจีนเป็นครั้งแรกเรียก

ว่า  การผูกข้อมือจีน แทนการเกณฑ์แรงงาน ต่อมาได้มีการเกณฑ์แรงงาน ชาวจีนมาใช้ในการทํางานโยธาด้วย

ซึ่งเป็นผลดีต่อทางราชการทําให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

                 • การค้ากับต่างประเทศ การค้ากับต่างประเทศเป็นรายได้สําคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ได้แก่

 ภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ ภาษีสินค้าขาเข้า ภาษีสินค้าออก ที่สําคัญคือ กําไรจาก การผูกขาดการค้าของพระ

คลังสินค้า และการส่งสําเภาหลวงไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น ญี่ปุ่น เขมร มลายู ชวา และสิงคโปร์

 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้าขาย กับต่างประเทศขยายกว้างมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการค้า

กับประเทศจีนซึ่งยังคงเป็นการค้าในระบบ บรรณาการเหมือนสมัยอยุธยาและธนบุรี โดยไทยได้ผลประโยชน์ตอบ

แทนจํานวนมาก จากการส่งคณะทูต นําเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนและการนําสินค้าไปขายแล้ว

ซื้อสินค้ากลับมาขาย โดยไม่ต้องเสียภาษี

เพราะเหตุใดกาค้าขายในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 การขนส่งสินค้าจากเรือสำเภา ปรากฎในแม่น้ำเจ้าพระยา

                  การค้าระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า เป็นการค้าของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา พระคลังสินค้า

เป็นหน่วยงานที่ขึ้นต่อกรมพระคลัง มีหน้าที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทําหน้าที่ตรวจตราและ เลือกซื้อสินค้าไว้

ใช้ในราชการก่อนขายให้แก่ราษฎร และได้กําหนดสินค้าผูกขาด ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องขาย ให้รัฐเท่านั้น ห้ามราษฎร

ซื้อขายกับชาวต่างชาติ เช่น ปืน ดินระเบิด กระสุนปืน ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศ นอกจากนี้ยังได้

กําหนดสินค้าต้องห้ามซึ่งเป็นสินค้าหายาก มีราคาแพง และเป็นสินค้า ที่ต่างชาติต้องการ เช่น รังนก ดีบุก งาช้าง 

ที่พ่อค้าชาวต่างประเทศจะต้องซื้อขายผ่านพระคลังสินค้าเท่านั้น

                  นอกจากนั้นยังมีหน้าที่จัดสําเภาหลวงไปค้าขายโดยตรง ทําให้มีรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น การค้า

ต่างประเทศมีทั้งจากการค้าสําเภาหลวงและการค้าสําเภาส่วนตัวของเจ้านายและขุนนาง โดยเฉพาะ พระบาท

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดํารงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ว่าราชการกํากับ

กรมพระคลัง ทรงแต่งสําเภาไปค้าขายเป็นการส่วนพระองค์รํารวยจนสมเด็จ พระบรมชนกนาถ (รัชกาลที่ 2) ออก

พระนามเรียกพระองค์ว่า เจ้าสัว พระราชทรัพย์จากการค้าขายนี้ ส่วนหนึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อนํามาใช้จ่ายใน

ทางราชการ

                  ในสมัยรัชกาลที่ 2 หน่วยงานเดิมที่ดูแลเกี่ยวกับการค้าและชาวต่างชาติคือ กรมท่าในสังกัดกรมพระ

คลัง เดิมมี 2 กรม คือ กรมท่าซ้าย มีพระยาโชฎีกราชเศรษฐีเป็นเจ้ากรมดูแลการค้าทางจีน เขมร กรมท่าขวา มี

พระยาจุฬาราชมนตรีเป็นเจ้ากรมดูแลการค้าทางอินเดีย เปอร์เซีย มลายู ชวา เมื่อมีการค้ากับชาวตะวันตก เพิ่มขึ้น

และมีการตั้งบ้านเรือนในเมืองไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มกรมท่ากลางหรือกรมท่าฝรั่งให้ดูแล รับผิดชอบการ

ติดต่อกับชาวตะวันตกขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมพระคลัง

                  ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เริ่มมีการผลิตเพื่อการส่งออก เช่น ส่งเสริมให้มีการทําไร่อ้อย ไร่ฝ้าย ไร่ยาสูบ เพื่อ

การค้า น้ําตาลทรายกลายเป็นสินค้าออกที่สําคัญที่สุดของไทยในสมัยนี้ รองลงมาคือฝ้าย ไม้ฝาง ดีบุก และข้าวซึ่ง

ไทยส่งไปขายยังเมืองจีน

                  ชาติตะวันตกชาติแรกที่มาค้าขายกับไทยสมัยรัตนโกสินทร์คือ โปรตุเกส ต่อมามีชาติอังกฤษและ

สหรัฐอเมริกา ชาติตะวันตกเหล่านี้ต่างไม่พอใจการค้าในระบบผูกขาดกับไทยจึงได้ส่งทูตมาเจรจากับไทย

                  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ตกลงทําสนธิสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ เมื่อ

พ.ศ.2369 เรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์ โดยมีข้อตกลงสําคัญคือ อนุญาตให้พ่อค้าไทยและอังกฤษ ค้าขายโดยเสรี 

แต่ห้ามมิให้พ่อค้าซื้อข้าวเพื่อส่งออกนอกประเทศ สินค้าประเภทปืน กระสุนปืน และดินปืน ต้องขายให้ทางราชการ

เท่านั้น และไทยจะเก็บภาษีในอัตราที่แน่นอน ซึ่งต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ทํา สนธิสัญญากับไทยโดยยึดสนธิสัญญา

เบอร์นีย์เป็นหลัก

                  สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการผูกขาดการค้าต่างประเทศจากพระคลังสินค้า

ไปเป็นระบบเจ้าภาษีนายอากร อันเป็นการเปิดโอกาสให้พ่อค้าเอกชนที่เป็นเจ้าภาษีนายอากรทําการผูกขาดสินค้

แทนพระคลังสินค้า โดยผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าภาษีนายอากรจะต้องออกไปสํารวจผลิตผลที่ตนจะผูกขาด แล้วมา

ประมูลการจัดเก็บภาษีให้ราชการ ผู้ชนะการประมูลคือ ผู้เสนอเงินสูงสุดในแต่ละปีให้ทางราชการ ซึ่งจะได้รับการ

แต่งตั้งเป็นเจ้าภาษีนายอากร (ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน) ผลผลิตที่จัดเก็บได้เจ้าภาษีนายอากร จะส่งขายเป็นสินค้าออก

ต่อไป

                  นอกจากนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยเพิ่มมากขึ้น ชาวจีน

 ส่วนใหญ่มีความขยัน อดทน และอุตสาหะ เป็นแรงงานรับจ้างแทนการเกณฑ์แรงงานไพรหลวงได้อย่าง มี

ประสิทธิภาพ ชาวจีนบางคนเป็นช่างต่อเรือ ดังปรากฏมีอู่ต่อเรือตามริมแม่น้ําเจ้าพระยา และหัวเมือง ชายทะเล ทาง

ด้านการค้าต่างประเทศ ชาวจีนมีบทบาทสําคัญในการค้าสําเภาหลวง ทั้งของราชการ เจ้านาย และขุนนาง ส่วนการ

ค้าภายในประเทศ ชาวจีนจะทําหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางขนส่งผลผลิตจากไร่นาของ ราษฎรเข้าสู่เมืองและนําสินค้า

จากเมืองไปขายให้แก่ราษฎรในชนบท และในช่วงที่การค้าขยายตัวและ มีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรเพิ่ม

ขึ้น ชาวจีนได้ทําการเพาะปลูกเพื่อการตลาด พืชสําคัญได้แก่ พริกไทย อ้อย ยาสูบ ฝ้าย และมีการตั้งโรงงานแปรรูป

ผลผลิตทางการเกษตร เช่น โรงงานน้ําตาล การทําเหมืองเหล็ก เหมืองดีบุก นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เศรษฐกิจ

ไทยเจริญรุ่งเรืองขึ้น และเป็นผลให้ ชาวจีนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และฐานะทางสังคมได้อย่างรวดเร็ว

                  กล่าวได้ว่าการค้ากับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง ชนิดและ

ประเภทของสินค้าซึ่งเดิมเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ เช่น รังนก ไม้ฝาง หนังกวาง น้ํามันมะพร้าว ได้กลายเป็น

สินค้าที่มีกรรมวิธีการผลิตซับซ้อนขึ้น เช่น น้ําตาล เกลือ น้ํามันมะพร้าว โดยทางราชการส่งเสริม การแต่งเรือ

สําเภาค้าขายยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีเรือสินค้าต่างชาติมาค้าขายเพิ่มขึ้นทําให้ ราชการจัดเก็บภาษี

สินค้าขาเข้า สินค้าขาออก สินค้าปากเรือรวมทั้งค่าธรรมเนียมอื่นๆ ได้เป็นจํานวนมาก สรุปได้ว่าการค้าต่างประเทศ

เป็นปัจจัยสําคัญทําให้เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นฟื้นตัวขึ้น อย่างรวดเร็ว และเป็นรากฐานสําคัญใน

การพัฒนาประเทศในสมัยต่อมา