เพราะเหตุใด การปกครองแบบพ่อปกครองลูกจึงเหมาะสมกับอาณาจักรสุโขทัย

ด้านการปกครอง

แบ่งเป็น 2 แบบ เรียกว่า สมบูรณาญาสิทธิราช ดังนี้

1.แบบพ่อปกครองลูก (ปิตุลาธิปไตย)

สุโขทัยมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือ พ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแทนมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบพ่อปกครองลูก (ปิตุลาธิปไตย) ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น

2.แบบธรรมราชา

การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือ กษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรง เกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่าง เดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระ มหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบธรรมราชา ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔

ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้

ในแนวราบ

จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้

ในแนวดิ่ง

ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ

  • พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"
  • ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
  • ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
  • ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)

ใบงานที่ 4.2 พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย

เพราะเหตุใด การปกครองแบบพ่อปกครองลูกจึงเหมาะสมกับอาณาจักรสุโขทัย

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1.  ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

          ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยระยะแรกใช้รูปแบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก  เนื่องจากสุโขทัยยังคงเป็นอาณาจักรที่มีขนาดเล็กมีผู้คนจำนวนไม่มากนัก การใช้รูปแบบการปกครองแบบนี้จึงทำให้ สามารถดูแลราษฎรได้อย่างทั่วถึง ต่อมาในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้มีการแสดงให้เห็นฐานะของ.กษัตริย์ที่ทรงเป็นธรรมราชา  โดยทรงนำเอาหลักทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครองบ้านเมือง  และเริ่มมีการนำราชาศัพท์มาใช้ในราชสำนัก แสดงให้เห็นคติในการปกครองที่กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อีกด้วย 

     2.  การปกครองแบบพ่อปกครองลูกในระยะแรกของอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร และมีความเหมาะสมหรือไม่ อธิบายเหตุผล

            การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นรูปแบบการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใกล้ชิดกับราษฎร เสมือนบิดากับบุตร เห็นได้จากการที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรได้ร้องทุกข์ด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด โดยแขวน กระดิ่งไว้ที่ประตูวัง และพระองค์จะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยพระองค์เอง การปกครองในลักษณะนี้เหมาะสมกับ อาณาจักรสุโขทัยในระยะแรก เนื่องจากยังเป็นอาณาจักรที่มีขนาดเล็ก และราษฎรมีจำนวนไม่มากนัก                                                                                     

     3.  พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการปกครองในสมัยสุโขทัยอย่างไร

               พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ทรงนำหลักทศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความสงบสุขร่มเย็น                                        

     4.  อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตติดต่อกับดินแดนใดบ้าง

             - ทิศตะวันออก มีอาณาเขตไปถึงเมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) 

                - ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตไปถึงเมืองปากยม (จังหวัดพิจิตร) เมืองชากังราว เมืองสุพรรณภาว  เมืองนครพระชุม (อยู่ในเขตกำแพงเพชร) เมืองบางพาน (ในอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร)    
                - ทิศเหนือถึงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตถึงเมืองราด เมืองสะค้า และเมืองลุมบาจาย ทั้ง 3 เมืองนี้อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน   

     5.  อาณาจักรสุโขทัยมีรูปแบบการปกครองบ้านเมืองอย่างไรบ้าง

            พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาด ประทับอยู่ในราชธานี ในระยะแรกพระมหากษัตริย์ทรงมีคำนำหน้าว่า“พ่อขุน” การปกครองมีลักษณะกระจายอำนาจการบริหารจากราชธานีออกไปสู่หัวเมืองต่างๆ แบ่งหัวเมืองเป็นชั้นๆ ตามระยะทางใกล้-ไกล

การปกครองแบบพ่อปกครองลูกของอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

ระบบพ่อปกครองลูก เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะการปกครองแบบโบราณที่ผู้ปกครองเป็นเสมือน “พ่อ” และประชาชนเปรียบเสมือน “ลูกในทางคำศัพท์จะใช้เรียกแทนพฤติกรรมของบุคคล องค์กร หรือการปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพและความอิสระของประชาชน ในบางความหมายจะใช้แทนการเรียกระบบสังคมที่จำกัดสิทธิของคนบางกลุ่มและให้คนบางกลุ่มที่เป็นส่วนน้อย ...

การปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัยได้ผลดีเพราะเหตุใด

1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัยการปกครองลักษณะนี้พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตรการปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยลักษณะเป็นอย่างไร

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นนี้จะมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือ แบบปิตุลาธิปไตย กล่าวคือ พระมหากษัตริย์กับราษฎรจะมีความใกล้ชิดกันเหมือนพ่อกับ ลูก ราษฎรจะให้ความเคารพนับถือพระมหากษัตริย์ประดุจบุตรเคารพบิดา จึงเรียกขาน พระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุน ส่วนพระมหากษัตริย์ปกครองดูแลราษฎรอย่างใกล้ชิดเหมือน พ่อดูแลลูกและปกครองด้วยเมตตา ...

สาเหตุที่ทำให้สุโขทัยไม่สามารถปกครองแบบพ่อปกครองลูกได้เนื่องจากสาเหตุใด

สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง

การปกครองแบบพ่อปกครองลูกของอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร การปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัยได้ผลดีเพราะเหตุใด ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยลักษณะเป็นอย่างไร สาเหตุที่ทำให้สุโขทัยไม่สามารถปกครองแบบพ่อปกครองลูกได้เนื่องจากสาเหตุใด พ่อปกครองลูก สมัยสุโขทัย การปกครองแบบพ่อปกครองลูก สมัยสุโขทัย การปกครองแบบพ่อปกครองลูกในระยะแรกของอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร และมีความเหมาะสมหรือไม่ พ่อปกครองลูกคือใคร พ่อปกครองลูก สมัยใด การปกครองแบบพ่อปกครองลูก ส่งผลดีต่ออาณาจักรสุโขทัยอย่างไร พ่อปกครองลูก ลักษณะการดูแลเป็นอย่างไร การปกครองแบบพ่อปกครองลูก มีลักษณะอย่างไร