จุดเริ่มต้นของรัฐประศาสนศาสตร์เกิดขึ้นจากแนวคิดผู้ใด

ประวัติความเป็นมาของคณะรัฐประศาสนศาสตร์

จุดเริ่มต้นของรัฐประศาสนศาสตร์เกิดขึ้นจากแนวคิดผู้ใด

การก่อตั้งคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     กลางปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลสหรัฐ โดย FAO (Foreign Operations Administration) ได้นำเสนอความช่วยเหลือในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพขั้นพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนา โดย ให้ความช่วยเหลือในการก่อตั้งสถาบันการศึกษาทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก (อ้างถึงใน Laohavinchien,1985)

     ในระหว่างการให้ความร่วมมือกับวิทยาลัยประสานมิตรนั้น มหาวิทยาลัยอินเดียนา ได้เริ่มเจรจาต่อรองกับรัฐบาลไทยในการนำเสนอหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นผลจากการมาเยือนก่อนหน้านี้ของ Mr. Walter Laves ในปี พ.ศ. 2496 ทางมหาวิทยาลัยอินเดียนา ได้ให้การแนะนำเป็นการเฉพาะและอบรมบุคลากรสำหรับสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์แห่งใหม่ ทั้งยังได้ให้แนวปฏิบัติในการจัดองค์การ วิธีการสอน การพัฒนาห้องสมุด การวิจัย การให้คำปรึกษา การประชาสัมพันธ์หลักสูตร และหลักสูตรฝึกอบรม

     วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ได้มีการลงนามมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการจัดตั้งคณะ รัฐประศาสนศาสตร์ (Institute of Public Administration-IPA) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสัญญาดังกล่าว AID (Agency for Internal Development) ได้ให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือทางการเงินผ่าน FOA และรัฐบาลไทย เป็นระยะเวลา 3 ปี แห่งความร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัยเพื่อบรมมหาบัณฑิตของหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้มีการลงนามที่กรุง Washington D.C. โดย นาย Wells นายกสภามหาวิทยาลัยอินเดียนา นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของประธานาธิบดี ไอเซนอาวร์ วัตถุประสงค์ของสัญญา (อ้างถึงใน IU 1955:1)

  • สร้างความเข้มแข็งในหลักสูตรการศึกษา สาขารัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เผยแพร่และส่งเสริมวิจัยตลอดจนสนับสนุนโคงการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาโครงการฝึกอบรมและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการดังกล่าวของมหาวิทยาลัยสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐบาล
  • จัดการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา

     คณะรัฐประศาสนศาสตร์จึงได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การจัดการศึกษาเริ่มสอนรัฐประศาสนศาสตร์ใน ปี พ.ศ. 2499 ถึง 2503 รัฐบาลสหรัฐได้ส่งคณาจารย์จากมหาวิยาลัยอินเดียนามาร่วมวางหลักสูตร และสอน จนกระทั่งดำเนินการสอนเป็นจำนวนถึง 15 รุ่น โดย รุ่นแรกทำการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งช่วงเวลาเดียวกันนั้น นักเรียนไทยจำนวน 41 คน ได้ผ่านการคัดเลือกได้รับการส่งตัวไปศึกษาต่อในวิชาการระดับสูงด้านรัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาใกล้เคียง ในจำนวน 35 คน ได้รับการส่งตัวไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (IPA) มีคณะทำงานทั้งหมด 71 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน จาก ทั้งหมด 19 คน ที่เป็นคนไทย และในขณะนั้น มีอาจารย์ชาวไทยจำนวน 13 คน ที่สำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา (อ้างถึงใน Kanjanaprakorn, 1974:3) และต่อมา IPA มีการสอนโดยคณาจารย์ฝ่ายไทยทั้งหมด

การก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

     ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 60 AID ได้ลดความช่วยเหลือลงตามนโยบายการตอบสนองบทบาทของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ดังนั้น มูลนิธิ Ford ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือพร้อมกับโครงการก่อตั้งสถาบันแห่งใหม่ ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาชาติ ตัวแทนภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ของมูลนิธิ Ford เป็นผู้ร้องขอให้การจัดตั้งทีมงานผู้บุกเบิกในการให้ความรร่วมมือกับภาครัฐบาล ในการวางแผนการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มูลนิธิดังกล่าวให้การตอบสนองนโยการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นในปี พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้ปรารภกับ Mr. David Rockfeller แห่งมูลนิธิ Rockfeller ในเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศไทย รวมทั้งการก่อตั้งสถาบันสการศึกษาในระดับสูง เพื่อสร้างบุคลากรที่สามารถรับใช้ประเทศชาติในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศ

     ในช่วงเวลาสองปีภายหลังการวางแผนและเจรจาต่อรอง มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Countium for Interantional Activiteis-MUCIA เพื่อก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยอินเดียนาเป็นหนึ่งในห้ามหาวิทยาลัยสมาชิกผู้ก่อตั้ง MUCIA มีการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทย จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถาบันที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งครั้งนี้ ศาสตราจารย์ Woodworth Thrombley ศาสตราจารย์ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอินเดียนา และที่ปรึกษาคนแรกของ MUCIA ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยในปลายปี พ.ศ. 2508 เพื่อช่วยเหลือในการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2509

การสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

     สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 และพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2509 (ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2509) โดย พระราชบัญญัติการจัดตั้งสถาบันดังกล่าว ทำให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย และเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี อันประกอบด้วยหน่วยงานระดับคณะ 4 คณะ คือ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และคณะสถิติประยุกต์ โดยมีเนื้อหาหลักของหลักสูตรเป็นลักษณะสหวิทยาการ ภายใต้การสนับสนุนด้านทุนดำเนินการจากมูลนิธิฟอร์ด และความร่วมมือทางวิชการกับ MUCIA แต่วันสถาปนาอย่างเป็นทางการคือวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ซึ่ง ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี และนายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เป็นผู้ประกอบพิธีเปิด (อ้างถึงใน Karnjanapakorn et. Al., 1974:5) และมีการสรรหาอธิการบดีเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2509 และรองอธิการบดี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2509 (อ้างถึงใน Karnjanaprakorn et.al.,1974:5) ซึ่ง ดร. บุญชนะ อัตถากร ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และดร.ชุบ กาญจะประกร ดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการบดีคนแรก และช่วงการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (USOM) ได้ให้ความช่วยเหลือด้วยการอนุมัติให้ฝ่ายไทยใช้เงินทุนสมทบ 20 ล้านบาทสำหรับใช้ในโครงการวิจัย

สารคดีเทิดพระเกียรติ ชุด ในหลวงกับการศึกษาไทย ตอนที่ 3
ให้สัมภาษณ์ โดย รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์
อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วัตถุประสงค์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

     วัตุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ตามพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2509 มี 3 ข้อ ดังนี้

          1. ให้การศึกษาวิชาการบริหารและการพัฒนา

          2. ทำการวิจัย

          3. ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง

(ที่มา: ปรับปรุงจาก หนังสือ 50 ปี (2549-2548) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2509-ปัจจุบัน)

  • ศูนย์การศึกษาในสถานที่ตั้ง

ภายหลังจากการโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นคณะภายใต้สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 คณะ ประกอบด้วย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสถิติประยุกต์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นคณะของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในช่วงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ในระยะแรก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรระดัปริญญาโท ทำการสอนในเวลาราชการ และต่อมาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ได้มีการเปิดหลักสูตรใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ตามลำดับ ดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2527 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาเอกด้านการบริหารการพัฒนาจัดการเรียนการสอนเป็นภาคภาษาไทย จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ดำเนินการสอนได้ 8 ปี (4 รุ่น)
  • ปี พ.ศ. 2530 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท ทำการเรียนการสอนนอกเวลาราชการใน กรุงเทพ ฯ เป็นรุ่นแรก โดย มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชนในภูมิภาคซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ได้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีได้เรียนนอกเวลาทำงาน
  • ปี พ.ศ. 2536 คณะมีการปรับปรุงหลักสูตรจากการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกด้านการบริหารการพัฒนาเป็นภาคภาษาอังกฤษ โดย มีวัตถประสงค์เพื่อให้สถาบันได้พัฒนาเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนด้านการบริหารการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชมหาบัณฑิต รุ่นแรกใน กรุงเทพ ฯ
  • ปี พ.ศ. 2544 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ
  • ปี พ.ศ. 2547 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
  • ปี พ.ศ. 2561 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต โดยเปิดสอนภาคภาษาอังกฤษ (สาขาวิชาเอก Public Policy and Strategic management)
  • ปี พ.ศ. 2560 (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มีการปรับปรุงหลักสูตรในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก และได้ปรับชื่อหลักสูตรในระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้แก่- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการการบริหารการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ) -((Ph.D. (Development Administration)) (International Program) เป็นชื่อหลักสูตร เป็น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนา) หลักสูตรนานาชาติ (Ph.D. in Governance and Development) (International Program) และ
    – หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Public Administation; DPA) เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต Ph.D. in Public Administation
  • ปี พ.ศ. 2562 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต โดย

เปิดสอนภาคภาษาอังกฤษ

  • ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง

     การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งเกิดจากแนวคิดของคณาจารย์ของคณะรัฐประศาสนศาสตร์พิจารณาเห็นว่า ผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกภูมิภาคของประเทศไทยต่างเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดย เฉพาะข้าราชการ และผู้บริหารองค์กร ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้เสียสละไปทำงานห่างไกลแล้ว ยังเสียเปรียบผู้ที่ทำงานในส่วนกลาง และหรือกรุงเทพมหานครซึ่งมีความพร้อมด้านคมนาคม มีโอกาสทางสังคม และมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย ดังนั้น การพัฒนาข้าราชการและผู้บริหารองค์การจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญใน การพัฒนาประเทศต่อไป คณะจึงมีแนวคิดในเรื่องการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย คณะจึงทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อจัดตั้งสำนักงานโครงการปริญญาโท ภาคพิเศษ (เรียนนอกเวลาราชการ) ในหลาย ๆ จังหวัด ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการของ ผู้ประสงค์ที่จะเรียนในพื้นที่ และความต้องการของสังคมและชุมชน คณะจึงได้มีการเปิดการเรียนการสอนในจังหวัดต่าง ๆ และมีการย้ายสำนักงานไปยังศูนย์การศึกษาจังหวัดต่าง ๆ ด้วยเหตุผลของระยะเวลาการทำความร่วมมือของสถาบันการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ผู้สนใจเรียน ความต้องการของชุมชน และเหตุผลและความจำเป็นอื่น ๆ ตามบริบทของพื้นที่จัดการศึกษาและสถานการณ์ในยุคนั้น ๆ หลักการพิจารณาสถานที่ตั้งของสำนักงานคณะเน้นสถานที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ผู้เรียนที่สามารถเดินทางมาเรียนนอกเวลาราชการได้ รวมถึงความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและชุมชนแวดล้อมด้วย ลำดับการจัดการศึกษานอสถานที่ตั้งในระดับปริญญาโท ในภูมิภาคของประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้งของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มีดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์) ต่อมาย้ายไป จังหวัด ลำปาง (สำนักงาน ณ วิทยาลัยโยนก) และจังหวัดลำพูน (อาคารเรียนก่อสร้างใหม่ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่)
  • ปี พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดนครราชสีมา (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยครูนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา) จัดการเรียนการสอนจนถึงปี 2537 (รุ่นที่ 5-6) (ต่อมาได้ย้ายสำนักงานซึ่งเป็นอาคารก่อตั้งใหม่ ณ ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน)
  • ปี พ.ศ. 2534 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ โรงเรียนสุราษฎร์เทคโนโลยี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ปี พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สำนักงานที่ตั้ง ณ โรงเรียนวัดคลองเรียน) ต่อมามีการย้ายไปสำนักงาน ณ วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อ ปี พ.ศ. 2556
  • ปี พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัด ภูเก็ต (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยอาชีวะ จังหวัดภูเก็ต) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 6 รุ่น
  • ปี พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี (โรงเรียนอุดรวิทยา จังหวัดอุดรธานี)
  • ปี พ.ศ. 2538 เปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมาหบัณฑิต ศูนย์การศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

(อาคารเรียนก่อนสร้างใหม่ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่) และในปี พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรการจัดภารภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (อาคารเรียนก่อสร้างใหม่ภายใต้ความร่วมมือของชุมชน) และต่อมา พ.ศ. 2550 มีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จังหวัดนครราชสีมา

  • ปี พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจพิษณุโลก)
  • ปี พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี

(สำนักงานที่ตั้ง ณ โรงเรียนโพธิ์สัมพันธ์ จังหวัดชลบุรี) จำนวน 2 รุ่น ต่อมา ปี พ.ศ. 2543 ได้ย้ายสำนักงาน ณ สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยมหาดไทย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

  • ปี พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต

ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยมหาดไทย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี)

     ปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2562) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ต้ง 4 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์การศึกษา จังหวัด สุราษฎร์ธานี 2) ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 3) ศูนย์การศึกษา จังหวัดอุดรธานี และ 4) ศูนย์การศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (ปัจจุบันย้ายสำนักงานทำการ ณ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) และศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี ณ โรงเรียนโพธิสัมพันธ์ และปัจจุบันย้ายสำนักงานไปยัง วิทยาลัยมหาดไทย)และเปิดสอนหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต 1 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี

การบริการวิชาการ

นอกจากภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนแล้ว คณะรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีการให้บริการ

วิชาการทั้งหลักสูตรฝึกอบรมและวิจัย โดย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ริเริ่มจัดหลักสูตรอบรม “ หลักสูตรพัฒนาผู้จัดการระดับสูง (Mini Master of Management-MMM)” เปิดอบรมครั้งแรกให้กับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2534 และดำเนินการพัฒนาหลักสูตรเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และมีการให้อบรมประเภท In-house Training อย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน มีหลักสูตรฝึกอบรมประเภท Public Training ที่ได้รับความนิยม ได้แก่

วีดีทัศน์แนะนำคณะรัฐประศาสนศาสตร์

แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/11/2019