เรื่อง ใด คือ เป้าหมาย สำคัญ ที่สุด ของการ สร้าง ค่า นิยม 12 ประการ

การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ ได้แก่
1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10.รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11.มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำหรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา และ
12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

เพิ่มคอมเมนต์ใหม่

ความหมายของค่านิยม

ค่านิยม (Values) เป็นความคิดและพฤติกรรมของบุคคลในสังคมที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ยอมรับมาปฏิบัติตามและหวงแหนไว้ระยะหนึ่ง ค่านิยมมักเปลี่ยนแปลงไป ตามกาลสมัยและความคิดเห็นของคนในสังคม ค่านิยมจึงเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ การประเมิน การเลือกและการตัดสินใจของบุคคลว่าควรทำหรือไม่ควรทำ มีค่าหรือไม่มีค่า สำคัญหรือไม่สำคัญ นอกจากนี้ค่านิยมยังทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจให้บุคคลมุ่งสู่เป้าหมายที่ต้องการ มีผู้ให้ความหมายของค่านิยมไว้ดังนี้

พระมหาอดิศร ถิรสีโล (2540) ได้ให้ความหมายว่า ค่านิยมหมายถึง แนวความประพฤติหรือสภาพของการกระทำใดๆที่บุคคล หรือสังคมนิยมชมชอบ และเห็นว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การประพฤติปฏิบัติจึงยอมรับยึดถือมาเป็น แนวทางประพฤติอย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยก็ชั่วระยะหนึ่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเองหรือสังคม

ฤกษ์ชัย คุณูปการ (2539) ให้ความหมายไว้ว่า ค่านิยมหมายถึง ความเชื่อของบุคคลส่วนใหญ่ซึ่งเชื่อว่าสิ่งหนึ่งมีค่า มีความสำคัญและเป็นสิ่งที่ปรารถนา การประพฤติปฏิบัติที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับนั้นย่อมมีค่านิยมของสังคมแฝงอยู่ภายในหรือการประพฤติปฏิบัติที่บุคคลใดมีความพึงพอใจย่อมมีค่านิยมของ บุคคลนั้นแฝงอยู่ภายในด้วย

จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อต่อสิ่งต่างๆของบุคคลในสังคมที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเองและสังคม โดยค่านิยมของบุคคลจะแฝงอยู่ภายใน ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและเจตคติ

http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1.htm

เพลง ค่านิยม 12 ประการ

หนึ่งรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

สองซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้

สามกตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ

สี่มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา

ห้ารักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ

หกไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา

เจ็ดเรียนรู้ อธิปไตย ของประชา

แปดรักษา วินัย กฎหมายไทย

เก้าปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส

สิบไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้

สิบเอ็ดต้อง เข็มแข็ง ทั้งกายใจ

สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

เรื่อง ใด คือ เป้าหมาย สำคัญ ที่สุด ของการ สร้าง ค่า นิยม 12 ประการ

ต้าน‘ค่านิยม 12 ประการ’เท่ากับต้านความดี? : สำราญ สมพงษ์รายงาน

               

หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ยึดการปกครองบริหารประเทศด้วยมุ่งหวังที่ลดความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม และมีแนวทางต่างๆที่ต้องการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติในจำนวนนั้นมีการกำหนด "ค่านิยม 12 ประการ" ขึ้นมาด้วย ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจะด้วยเหตุผลใดก็ตามทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของแต่ละบุคคลไม่สามารถที่จะไปก้าวล่างสิทธิส่วนบุคคลได้

                "ค่านิยม 12 ประการ" นั้นคือ 1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10.รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 11.มีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป และ12.คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ตัวเอง

                หากพิจารณาแล้วก็มีเนื้อหาคล้ายๆกับเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่10 อย่างด้วยกัน 1. นับถือศาสนา 2. รักษาธรรมเนียมมั่น 3. เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ 4. วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน 5. ยึดมั่นกตัญญู  6. เป็นผู้รู้รักการงาน 7. ต้องศึกษาให้เชียวชาญ ต้องมานะบากบั่นไม่เกียจไม่คร้าน 8. รู้จักออมประหยัด 9. ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญให้เหมาะกับการสมัยชาติพัฒนา 10. ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษสมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนาจะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

                เมื่อพิจารณาโดยเนื้อหาก็ไม่ได้แต่กต่างกันเท่าใดนักก็สอดคล้องกับหลักคุณธรรมจริยธรรมสำหรับคนดีทั่วๆไป

                หลังจากที่ได้สอบพระถามและบุคคลที่มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาเพื่อให้วิเคราะห์ว่าค่านิยม 12 ประการตรงตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาข้อใดบ้างสามารถประมวลได้ดังนี้

                1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ตรงกับหลักธรรมว่าด้วย ทิศ 6

                2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม   ตรงกับหลักธรรมว่าด้วย  สัจจะ ทาน ขันติ และอนัตตา

                3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์  ตรงกับหลักธรรมว่าด้วยธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดีคือกตัญญูกับกตเวที

                4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตรงกับหลักธรรมว่าด้วยหลักการศึกษาทั่วไปและจัดอยู่ในหัวข้อธรรมในมงคล 38 ประการ

                5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

                6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน  ตรงกับหลักธรรมคือ  มีศีลธรรมก็ตรงตัวอยู่แล้ว มีสัจจะ หลักของทาน มีความเมตตากรุณามุทิตาตามหลักพรหมวิหาร 4 ประการ

                7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

                8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

                9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                10.รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

                11.มีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ตรงกับหลักธรรมคือธรรมเป็นโลกบาลคือธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการคือ หิริคือความละอายต่อบาป และโอตตัปปะคือความเกรงกลัวต่อบาป

                และ12.คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าผลประโยชน์ตัวเอง

                แม้นว่าจะมีเสียงต้าน สำหรับ น.ส.นันทิยา สว่างวุฒิธรรม ว่าที่อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวถึงการขับเคลื่อนงาน สวธ. ในปี 2558 ว่า ได้ปรับยุทธศาสตร์การทำงานของ สวธ.ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องการรื้อฟื้นค่านิยมที่ดีงาม 12 ประการของคนไทยให้กลับคืนมา โดยจะดำเนินการ 4 กิจกรรมหลัก คือ 1.โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในมิติวัฒนธรรม โดยคัดเลือกเยาวชนจาก 5 ภูมิภาคมาเข้าค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การผลิตรายการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์รณรงค์ให้คนไทยน้อมนำแนวพระราชดำริมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 2.โครงการเสริมสร้างน้ำใจไมตรีเพื่อความสามัคคีในสังคม ผลิตละครสั้น และสารคดี เกี่ยวกับน้ำใจไมตรีและค่านิยม 12 ประการ เช่น การสร้างน้ำใจด้วยการมอง ยิ้ม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส รู้จักมารยาทในสังคม

                       3.โครงการสืบทอดประเพณี ค่านิยม และความเป็นไทย ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ไทย-อังกฤษ ประชาสัมพันธ์การจัดประเพณีสำคัญของประเทศไทย นำร่องจากการเผยแพร่ประเพณีลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายนนี้ จัดค่ายพัฒนาทักษะภาษาไทย ผลิตสารคดีสั้นชุดเด็กสร้าง “ยิ้ม ไหว้ ขอบคุณ ขอโทษ” เพื่อปลูกฝังมารยาทแก่เด็กไทย กิจกรรมการประกวดดนตรีไทย  และดนตรีพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงของชาติเฉลิมพระเกียรติ และ 4.โครงการส่งเสริมเครือข่ายการดำเนินงานทางวัฒนธรรม เช่น การอบรมอาสาสมัครวัฒนธรรม อบรมผู้นำลูกเสือวัฒนธรรม การคัดเลือกสภาวัฒนธรรมดีเด่นประจำปี 2558 กิจกรรมสานรอยยิ้มอิ่มความสุขกับสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

                ดังนั้น หากไม่มีอคติกับตัวบุคคลหรือการเข้ามาของตัวบุคคลแล้ว ค่านิยม 12 ประการนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่สร้างความเสียหายอะไรเป็นการฝึกสมาธิได้อีกทาง และมีแต่ผลดีกับบุคคลที่นำหลักธรรมเหล่านี้ไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นไม่มีข้อไหนที่สนับสนุนให้มีการโกงเลย