ข้อ ใด ไม่ใช่ องค์ประกอบ ของดนตรีในสังคม และ วัฒนธรรม

ในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น นอกจากเราจะต้องการปัจจัยสี่ ในการดำเนินชีวิตแล้วเราก็ยังต้องการสิ่งที่ จะมาจรรโลงใจอีกด้วยเพราะบ่อยครั้ง ที่เรามักจะเกิดความไม่สบายใจ เกิดความเหงา ความกังวลใจ มีความเครียด หรือเกิดความหวาดกลัว เสียงดนตรีจึงกลายเป็นสิ่งหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะแทบจะไม่มีวันไหนเลยใช่ไหมล่ะค่ะ ที่เราจะไม่ได้ยินเสียงดนตรี ซึ่งเราคงจะคุ้นเคยกับดนตรี กันมาช้านาน แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า จริงๆ แล้ว ดนตรี มันคืออะไร กันแน่

ความหมายของดนตรี ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศกหรือรื่นเริง” ดนตรีจึงถูกนำมาใช้เป็นสื่อ ที่ในการบ่งบอกถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ขับร้อง หรือบรรเลงดนตรี ที่สามารถสัมผัสถึงผู้ฟัง ให้รับรู้ได้ง่าย และยังช่วยทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน และเกิดความสุขจากการฟังดนตรีอีกด้วย ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ดนตรีได้มีบทบาทสำคัญ ในการทำกิจกรรมต่างๆแทบทุกกิจกรรม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ด้านต่างๆ ดังนี้

          ดนตรี กับศาสนา และพิธีกรรม ในศาสนา และพิธีกรรมตามความเชื่อของ แต่ล่ะบุคคล ดนตรีได้ถูกนำมาใช้ เช่น ใช้ในบทสวด หรืออธิษฐานขอพร การบวงสรวง บูชา ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ใช้ทำสมาธิ และใช้เป็นส่วนประกอบของพิธีการต่างๆ เช่น การเปิดงาน ปิดงาน

          ดนตรี กับวัฒนธรรมประเพณี แต่ล่ะท้องถิ่น ก็จะมีวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกันไปดนตรีก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป สำหรับประเพณีไทยดนตรีจะถูกนำมาใช้ทั้งงานรื่นเริงและงานที่แสดงถึงความโศกเศร้า หรือแม้แต่ประเพณีที่เกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ  ก็ล้วนมีดนตรีมาเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

          ดนตรี กับการศึกษา ในการเรียน การสอน ได้นำดนตรีมาใช้เป็นสื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เกิดความสนุกสนาน พัฒนาสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจในการเรียน  ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ดนตรียังช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี นาฏศิลป์ และการขับร้องอีกด้วย

          ดนตรี กับสุขภาพ ดนตรีมีผลต่อ สุภาพร่างกายของคนเรา ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยต่างๆ และยังลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดของร่างกายได้ดีอีกด้วย

          ดนตรี กับสังคม และสถาบันต่างๆ ดนตรีช่วยให้เราเกิดความรัก ความสามัคคี มีความยึดมั่น เคารพเทิดทูนในสถาบันของตนเอง เป็นเครื่องบำรุงจิตใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ดี และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกัน อีกด้วย

          ดนตรี กับจิตวิทยา ดนตรีมีผลอย่างมากต่อจิตใจของคนเราค่ะช่วยให้เราเปลี่ยนจากนิสัยที่ก้าวร้าว เป็นอ่อนโยนลงได้ ทำให้เรามีสติ มีสมาธิมากขึ้น ช่วยจรรโลงใจ ส่งเสริมสุขภาพจิตและช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น

          ดนตรี กับอาชีพ ธุรกิจ ดนตรีช่วยให้เรา สามารถสื่อสารกับผู้รับได้ดี มากกว่าการสื่อสารโดยการพูด หรือการบรรยาย ช่วยให้ธุรกิจของเราเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น ใช้ประกอบการประชาสัมพันธ์ หรือการโฆษณา ช่วยกระตุ้นให้ เราสามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เรามีโอกาสประสบผลสำเร็จ ในการประกอบอาชีพได้มากยิ่งขึ้น

          ดนตรี กับกีฬา  ดนตรีได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของการเล่นกีฬา ต่างๆ เพราะทำให้เกิดความครึกครื้น สนุกสนาน สร้างความฮึกเหิม ในการแข่งขันสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทีมและช่วยให้ผู้เล่นมีกำลังใจ ในการแข่งขันมากขึ้น

จะเห็นได้ว่าดนตรี เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนเราตั้งแต่เกิดจนตายเพราะไม่ว่าเราจะทำกิจกรรมใดก็ล้วนมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้นเลยล่ะค่ะดนตรีเป็นสุนทรียศาสตร์ เมื่อเราได้ฟังดนตรี เราจะเกิดความสบายอกสบายใจเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจให้เกิดความสุข สนุกสนานสงบและผ่อนคลาย เราจึงได้พัฒนา สร้างสรรค์ดนตรีควบคู่กับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ เป็นศิลปะในการสื่อสาร ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ไปสู่ ผู้ฟัง ที่ง่ายต่อการสัมผัส ดนตรีจึงเป็นภาษาสากล ที่ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ภาษาใด ก็สามารถรับรู้ และเข้าใจ อรรถรสของดนตรีได้เป็นอย่างดี

Share this...

ข้อ ใด ไม่ใช่ องค์ประกอบ ของดนตรีในสังคม และ วัฒนธรรม

Facebook

ข้อ ใด ไม่ใช่ องค์ประกอบ ของดนตรีในสังคม และ วัฒนธรรม
AccessDeniedAccess DeniedTR4R9DXXSF5AX4X8gm9cDXnAlEGpytJB9dVLj0kBxMCmveJy49p0Gl/bZOKrLMfr2d+EjZR9eeIVmHdIexKnr8RFkQ4=AccessDeniedAccess DeniedPZ9C72NZE17Q31SGPKoZKlJJ+Sq4mNsu/wovQ8Om/ydiAgRVEAsLKEvG08ut6p0zkZx6E5L63SoLxr7GUIuRR4xDruk=

‘องค์ประกอบของดนตรี’ คือ ส่วนสำคัญซึ่งก่อเกิดเป็นดนตรีขึ้นมา สำหรับวันนี้เราจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีในภาพรวม ได้แก่ปัจจัยเหล่านี้ เสียง, ทำนอง, เสียงประสาน, จังหวะ รวมทั้งรูปแบบของดนตรี

เสียง (Tone)

สำหรับเสียง หรือ Tone นั้น จะมีความแตกต่างกันไปจากเสียง ซึ่งเรียกว่า Noise โดยลักษณะของการเกิดเสียงในลักษณะนี้ เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอ หากแต่ Noise เกิดมาจากการสั่นสะเทือนที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นเสียงดนตรี ที่ได้มาจากการเป่า/ร้อง/ดีด/สี จะมาในลักษณะ Tone เนื่องจากการสั่นสะเทือนดำเนินอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนั่นเอง

ระดับเสียง (Pitch)

คือ ความสูง – ต่ำของเสียง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะก่อให้เกิดเสียงสูง หากแต่ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนช้า ก็จะทำให้เกิดเสียงต่ำ ซึ่งภายในหูของมนุษย์สามารถแยกเสียงได้ ตั้งแต่ระดับความถี่สั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที ถึง 20,000 ครั้ง / วินาที

สีสันของเสียง (Tone Color)

คือ ความแตกต่างของเสียง ที่มาจากแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน ทางด้านการดนตรีแล้วก็มาจากการใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายประเภท อีกทั้งยังรวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในบทเพลงหนึ่ง ถ้าขับร้องโดยผู้ชาย ผู้ฟังก็จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกแตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง เป็นต้น หรือ ทางด้านการบรรเลงดนตรี ถ้าเป็นการบรรเลงเพลงเดี่ยว ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือ มีความแตกต่างจากการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สำหรับลักษณะที่มีความแตกต่างกันนี้ ถูกเรียกว่าสีสันของเสียง โดยคุณสมบัติจำนวน 4 ประการของเสียง ที่นำมารวมกันก่อให้เกิดเสียงดนตรีที่มีความหลากหลาย จนกระทั่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทำให้ดนตรีเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง สามารถสรุปได้ว่าเสียงดนตรีประกอบด้วย ต่ำ/สูง/สั้น/ยาว/เบา/ดัง นอกจากนี้ก็ยังมีเสียงที่แตกต่างกันไป ตามแต่เครื่องดนตรีแต่ละชนิด

ท่วงทำนอง (Melody)

สำหรับท่วงทำนอง คือ การจัดเรียงของเสียงซึ่งมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ระดับของเสียง รวมทั้งความยาวของเสียง ตามปกติทั่วไปแล้ว ดนตรีจะประกอบไปด้วยท่วงทำนอง โดยเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมาก นอกจากนี้ท่วงทำนองต่างมีหลากหลายคุณลักษณะตามองค์ประกอบของทำนองนั้นๆ

เสียงประสาน (Harmony)

จัดเป็นองค์ประกอบของดนตรีประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานของเสียง มากกว่า 1 เสียง สำหรับเสียงประสานจัดเป็นองค์ประกอบทางดนตรี ที่มีความซับซ้อนมากกว่าจังหวะหรือทำนองเสียอีก ทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความประณีตในการประพันธ์ หากแต่ถึงกระนั้นในบางวัฒนธรรม ก็อาจไม่พบการประสานเสียงของดนตรีเลยก็ได้ เช่น ดนตรีประจำท้องถิ่นหรือดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเน้นในเรื่องของความเรียบง่าย และเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

จังหวะ (Rhythm)

ดนตรีทุกประเภทในโลกนี้ จะต้องประกอบด้วยความช้า – เร็ว ของจังหวะเพลง เช่น เพลงที่ใช้ในการประกอบการเต้นรำเพื่อสร้างความสนุกสนาน ก็จะมีจังหวะที่กระชับ รวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่ามีความตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้ในการกล่อมเด็ก ซึ่งมีจังหวะค่อนข้างช้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปัจจัยเรื่องเวลา จึงเป็นอีกปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดยิบย่อย เช่น ความเร็วของจังหวะ / อัตราจังหวะ และจังหวะ

อย่างไรก็ตามสำหรับในวัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็ไม่ได้มีการแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ได้มีการระบุไว้ว่าจะต้องบรรเลงบทเพลงอย่างไร หากแต่ผู้บรรเลงก็สามารถกระทำอย่างสอดประสานกันได้ดี อันเนื่องมาจากมีความเข้าใจร่วมกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในบทเพลงเถาของประเทศไทย ผู้บรรเลงจะทราบว่าจะต้องมีการบรรเลงให้ช้าหรือเร็วอย่างไรนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำกับจังหวะของฉิ่งในแต่ละท่อนเพลงนั่นเอง จากความแตกต่างขององค์ประกอบทางดนตรีนี่เอง ที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์มากมายขึ้นมา เมื่อฟังได้ฟังก็ทราบได้ทันทีว่าบทเพลงในลักษณะนี้เป็นแนวใด